อเมริกาหรือรัสเซีย…. ใครมีอำนาจเหนือกว่ากัน ?

3101

alalam – รัสเซียสามารถที่จะทำลายอเมริกา “ภายในครึ่งชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น”  แต่อเมริกาก็เช่นกันจะสามารถทำลายเครมลิน หลังจากนั้นภายในไม่กี่วินาที

ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (22  ธันวาคม) ประธานาธิบดี Donald Trump ของอเมริกาได้ทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ของตนเองว่า : “อเมริกาจะต้องเสริมสร้างศักยภาพของตนในด้านนิวเคลียร์เพื่อเตรียมที่จะรับมือและเผชิญหน้าจัดกับโลกนิวเคลียร์.”

ทรัมป์ในการดีเบตประธานาธิบดีกล่าวว่า “รัสเซียกำลังมีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์” และกล่าวเสริม: “ประเทศนี้มีอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากและศักยภาพที่เหนือเรา”

แต่ตามคำพูดของ “เจฟฟรีย์ ลูอิส” ผู้ก่อตั้ง “Arms Control Wonk” กล่าวว่า แม้ว่ารัสเซียจะมีการพัฒนาและอัพเกรดขีปนาวุธและหัวจรวดชนิดต่างๆ ทั้งนี้ทัศนะที่ว่ามอสโกมีศักยภาพด้านขีปนาวุธนิวเคลียร์ ที่เหนือกว่า ถือเป็นทัศนะ “ที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน ”

Kingston Reif  ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการปลดอาวุธนิวเคลียร์ ได้กล่าวกับ Business Insider ว่า คลังแสงนิวเคลียร์ของอเมริกา “มีความเหนือชั้นและหาที่เปรียบมิได้”  และการขยายตัวของคลังแสงนิวเคลียร์ของอเมริกามีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิด “การแข่งขันนิวเคลียร์ในโลกที่เพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงคราม “ตามมา

ทั้งนี้การที่มีความหวาดกลัวว่าจะถูกรัสเซียแซงหน้าในด้านนิวเคลียร์ทั้งหมดนั้นถือเป็นสิ่งที่อาจจะเป็นได้ บนแผ่นกระดาษนั้นรัสเซียใหม่มีอาวุธทันสมัยและและซับซ้อนมากขึ้น และโดยรวมแล้วมีอาวุธที่มีประสิทธิภาพจำนวนมากในคลังแสงของรัสเซีย

Yars  RS-24  เป็นจรวดขีปนาวุธข้ามทวีป (Ballistic missiles ) ของรัสเซียที่มีการเปิดตัวเมื่อปี 2000 และมีรายงานว่าสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ถึง 10 ลูก  โดยที่พวกเขาสามารถกำหนดเป้าหมายได้ทุกที่ในอเมริกา

แฟ้มภาพ Sarmat RS-28 หรือ “ปีศาจ 2”

สิบหัวขีปนาวุธนิวเคลียร์มีความเร็วเหนือเสียง (ประมาณ 5 ไมล์ต่อวินาที) ที่สามารถเข้าไปในชั้นบรรยากาศของโลก ประเทศจีนก็ได้ประสบความสำเร็จเทคโนโลยีดังกล่าว  และอเมริกาไม่มีมีวิธีการใดในการกำจัดอาวุธทำลายล้างดังกล่าว

ขีปนาวุธ “Minuteman III ICBM” ของอเมริกาที่มีความเร็วเหนือเสียงสามารถที่เข้าไปในชั้นบรรยากาศของโลกได้  แต่มันสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้เพียงแค่ลูกเดียวเท่านั้น และได้ทำการผลิตขึ้นมาในปี 1970

แต่คำตอบของคำถามที่ว่าอันไหนเหนือกว่ากัน มันไม่อาจสรุปได้ง่ายๆซึ่งต้องอาศัยการเทียบเทียบศักยภาพของแต่ละชนิดของขีปนาวุธ

ลูอิส กล่าวว่าผู้นำยุทธ์ศาสตร์ของสหรัฐมีการครอบครองคลังแสงนิวเคลียร์ของประเทศ มีการเปรียบเทียบขีปนาวุธมานานหลายทศวรรษระหว่างอเมริกาและรัสเซีย และมักจะเลือกขีปนาวุธของอเมริกา

ลูอิส กล่าวว่าในการสัมภาษณ์กับ Business Insider ว่า แม้ว่าคลังแสงของอเมริกาจะไม่มีศักยภาพพอความที่จะทำลายทั้งทวีปได้แต่มันสอดคล้องและพอดีกับความต้องการเชิงกลยุทธ์ของอเมริกา

คลังแสงรัสเซียในการเผชิญหน้ากับอเมริกา

แฟ้มภาพ   Yars  RS-24   จรวดขีปนาวุธข้ามทวีป (Ballistic missiles ) และ  ICBM รัสเซีย ในการแสดงโชว์ศักยภาพในมอสโก

ลูอิส กล่าวว่า “รัสเซียมีการออกแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากเรา  ซึ่งรัสเซียมีการผลิตขีปนาวุธที่สามารถยกระดับความล้ำสมัยและความก้าวหน้า นั่นหมายความว่าจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงขีปนาวุธของพวกเขาในทุกๆทศวรรษ ในทางตรงกันข้ามขีปนาวุธของอเมริกาเหมือนกับรถยนต์เฟอร์รารี คือ ออกแบบเพื่อให้มีความสง่างามและมีความซับซ้อนเพื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าชนวนวิถีพลูโตเนียมจะยังคงอยู่ในสภาพปกติได้ถึงหลายร้อยปี

ลูอิส ยังกล่าวเสริมว่า “มันเป็นความจริงที่ว่าอาวุธนิวเคลียร์รัสเซียมีความล้ำสมัย  แต่วิธีการออกแบบของพวกเขาจะสะท้อนให้เห็นว่า  ไม่จำเป็นต้องที่จะทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะอีกสิบปีข้างหน้าเราก็จะต้องมีการพัฒนาให้ล้ำหน้ากว่านี้

ความแตกต่างเชิงกลยุทธ์มันจะไม่จบลงที่ตรงนี้

รัสเซียมักจะวางขีปนาวุธลงบนรถบรรทุกพิเศษ ในขณะที่อเมริกามันจะชอบใช้รูปแบบไซโลพื้นดิน ที่มีความแม่นยำมากขึ้นและไม่มีความผันผวนของการกำหนดเป้าหมาย ในยุงรุ่งเรืองของสงครามเย็นที่อเมริกาเคยพยายามที่จะยิงขีปนาวุธ ICBM จากรถบรรทุก แต่ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอเมริกาที่เข้มงวดกว่ารัสเซีย ในที่สุดการดำเนินดังกล่าวจึงไร้ผล

ลูอิส กล่าวว่า : “รถบรรทุกของอเมริกาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานในการยิงขีปนาวุธนั้น มีราคาแพงกว่ารัสเซียสิบเท่าที่สามารถทนทานและมีความเสี่ยงน้อยในการแผ่รังสี ”

” แต่อเมริกาก็ไม่สามารถที่จะนำมาใช้วิธีการแบบรัสเซียได้ เพราะเราไม่ได้กำหนดวางขีปนาวุธของเราบนรถบรรทุกที่ไร้สาระ ” ซึ่งในบริบทนี้เองรัสเซียพยายามที่จะก้าวไปสู่มหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ที่เหนือกว่าโดยไม่ต้องคลายถุง !

“อเมริกาชอบในสิ่งที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นสิ่งที่ต้องการบรรลุและดำเนินการให้สำเร็จนั้นจะต้องมาจากบรรดาผู้มีความเชี่ยวชาญและคนที่มีทักษะเฉพาะด้านเท่านั้น “ซึ่งนี่คือความแตกต่างของบุคคลที่อยู่ในกองทัพของอเมริกาและความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ทหารรัสเซีย

ลูอิส กล่าวว่า “กระบวนการจัดตั้งหน่วยงานทหารของอเมริกาจะมีบรรดาเจ้าหน้าที่นายทหารชั้นสัญญาบัตรคอยควบคุมดูแล พวกเขามีประสบการณ์มากและนั่นคือเหตุผลที่อเมริกาดีกว่ารัสเซีย ”

แฟ้มภาพ ขีปนาวุธ Minuteman III พื้นดินไซโลในปี 1989 อเมริกาให้ความสำคัญต่ออาวุธนิวเคลียร์และพวกเขาจะไม่พาเหรดบนถนนมีการวางขีปนุธบนรถบรรทุก

ยกตัวอย่างเช่น อาวุธนิวเคลียร์รัสเซียที่มีชื่อว่า Doomsday (วันโลกาวินาศ) เป็นเรือดำน้ำที่มีความเร็ว100 น็อต {หน่วยวัดความเร็ว } ในมีพิสัยไกลในรัศมี 6,200 ไมล์ในการกำหนดเป้าหมาย และเรือดำน้ำอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีหากมีการจอดเทียบท่าเรือนานหลายปี

แฟ้มภาพ แผนที่ของตอร์ปิโดนิวเคลียร์รัสเซีย

อเมริกาที่ปราศจากอาวุธตอร์ปิโดที่คล้ายกันนี้ จะสามารถรับมือกับรัสเซียได้อย่างไร?

ลูอิส กล่าวว่า อเมริกาไม่สามารถจัดการและรับมือกับอาวุธนิวเคลียร์ที่ทันสมัยที่สุดรัสเซียได้ เพราะสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้

สมมุติว่า รัสเซียยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ ICBM ขึ้นสู่วงโคจรและกำหนดเป้าหมายด้วยความเร็ว 23 มัค  ซึ่งแน่นอนว่าอเมริกาไม่สามารถออกแบบแม้แต่จะใช้เทคโนโลยีทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบสำหรับการทำลายหัวรบนิวเคลียร์ 10  ลูกที่มีความเร็วเช่นนี้

ลูอิส กล่าวว่า “อเมริกาไม่ได้มีการออกแบบและผลิตอาวุธป้องกันขีปนาวุธชนิดนี้  และในทางทฤษฎีและบนกระดาษมันดูว่าเป็นข้อเสนอที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วเรากำลังเผชิญกับหัวรบนิวเคลียร์  1,000 ลูก

ทางออกในเรื่องนี้ก็คือแก้ไขปัญหาด้วยการยิงทำลายขีปนาวุธนี้เสียก่อนที่จะถูกปล่อยยิงออกมาสู่ชั้นบรรยากาศแต่ประเด็นคือขีปนาวุธดังกล่าวจะถูกปล่อยและยิงจากฐานทัพในดินแดนของรัสเซีย ซึ่งมันก็จะสร้างปัญหาเพิ่มมาอีก

แฟ้มภาพ อเมริกามีระบบป้องกันขีปนาวุธที่ทันสมัยที่สุดของโลก แต่ไม่มีระบบการป้องกันขีปนาวุธข้ามทวีปที่มีความเร็วเหนือเสียง

อีกช่องทางหนึ่งคือ การทำลายขีปนาวุธที่ยิงออกมาด้วยการส่งดาวเทียมในชั้นอากาศเป็นตัวทำลายระบบของอาวุธ แต่จากคำพูดของลูอิส ก็คือว่า  เพื่อให้อเมริกาสามารถที่จะปกป้องประเทศจำต้องมีการพัฒนาและยกระดับในด้านระบบเกี่ยวกับอวกาศมากถึง 12  เท่าตัว

การทำลายฝ่ายตรงกันข้าม

แฟ้มภาพ จอห์นเอฟเคนเนดี้อดีตประธานาธิบดีอเมริกาในช่วงวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

ในสมัยการเป็นประธานาธิบดีของจอห์นเอฟเคนเนดี้  อเมริกาต้องเผชิญกับวิกฤติอันนี้ ว่าจะมีการขยายคลังแสงนิวเคลียร์ของตนมากน้อยแค่ไหน รัฐบาลของเคนเนดีตัดสินใจที่จะเสริมสร้างอาวุธนิวเคลียร์ให้มากที่สุด เพื่อถึงเวลาที่จำเป็นจะเพียงพอในการทำลายสหภาพโซเวียต และหลักการนี้ถูกตั้งชื่อว่า “การทำลายล้างที่ชัดเจน”  แต่นักวิจารณ์ชี้ให้เห็นว่าการโจมตีนิวเคลียร์ดังกล่าวคือการโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม  ดังนั้นจึงมีการตั้งชื่อนโยบายดังกล่าวของเคนเนดี้ขึ้นมาใหม่ว่า  “การทำลายฝ่ายตรงกันข้าม”

ลูอิส กล่าวว่า “ในทางทฤษฎีแล้ว มันไม่มีทางที่จะได้รับชัยชนะ”

ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้ในสุนทรพจน์หนึ่งของเขาว่า รัสเซียสามารถที่จะทำลายล้างอเมริกา  “ภายในครึ่งชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น”  แต่ความจริงที่ไม่อาจมองข้ามอีกว่าอเมริกาก็จะสามารถที่จะทำลายล้างเครมลินได้หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วินาที

แฟ้มภาพ สามนิวเคลียร์ของอเมริกา

อเมริกามีสามนิวเคลียร์นี้ไว้ในครอบครองอยู่เสมอ : เรือดำน้ำ พื้นดินไซโลและเครื่องบินทิ้งระเบิด ซึ่งทั้งสามสามารถที่จะติดหัวนิวเคลียร์ได้ทั้งหมด  ไม่ว่ามีการโจมตีใดๆจากรัสเซียที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันนั้นไม่สามารถที่จะทำลายสามอาวุธดังกล่าวได้ ดังนั้นอาจไม่มีสิ่งใดที่สามารถขัดขวางอเมริกาได้และระหว่างทั้งสองมีความเลื่อมล้ำกันไม่มากนัก  (บทสรุปที่ว่า ระหว่างรัสเซียและอเมริกา ใครมีอาวุธและอำนาจที่เหนือกว่ากันนั้น แล้วแต่ท่านผู้อ่านจะตัดสินใจเอาเอง…..  (ผู้แปล))