The Intercept สื่ออเมริกาแฉ : CIA วางแผนการสังหารหมู่อินโดนีเซีย ปี 1965

103

ข้อมูลที่ไม่เป็นความลับอีกต่อไป(Declassified) เปิดเผยว่า CIA มีบทบาทสำคัญในการสังหารหมู่ในอินโดนีเซีย เมื่อปี 1965 ขณะที่อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา เองก็ได้รับอิทธิพล และได้เรียนรู้ประสบการณ์มากมาย จากเหตุการณ์ดังกล่าว

การรัฐประหารอินโดนีเซีย ปี 1965 คือ “หนึ่งในการปราบปรามที่โหดร้าย และฉับพลันที่สุดในยุคปัจจุบัน” — คำกล่าวนี้ของโอบามา ถูกจดจำไว้ด้วยการนองเลือด เมื่ออเมริกายังคงใช้ “แบบแผนแห่งจาการ์ตา” (The Jakarta Method) เพื่อรักษา และขยายอิทธิพลของตนไปทั่วโลก
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด (Joko Widodo) ของอินโดนีเซีย แสดงความเสียใจต่อกรณี “การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง” หลายสิบกรณี ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของอินโดนีเซีย
วิโดโด อธิบายว่า หนึ่งในตัวอย่างเหล่านี้ คือการสังหารหมู่ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ซึ่งดำเนินการโดยกองทัพอินโดนีเซีย ระหว่างการรัฐประหารในปี 1965 และในยุคที่ตามมาหลังจากนั้น
การนองเลือดในปี 1965 มีเป้าหมายเพื่อต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย เป็นที่น่าสังเกตว่า ตามรายงานของ The Intercept — อินโดนีเซีย ในขณะนั้น มีประชากรมากเป็นอันดับ 6 ของโลก และ PKI พรรคคอมมิวนิสต์ของอินโดนีเซีย ถือเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและสหภาพโซเวียตเพียงเท่านั้น
ประธานาธิบดีซูการ์โน (Sukarno) — ซึ่งปกครองอินโดนีเซียตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งการรัฐประหารที่ CIA หนุนหลังประสบความสำเร็จ — ตัวเขาเองไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม เขายึดมั่น ใน ”อินโดนีเซียที่ได้รับการปลดปล่อย” อย่างแข็งขัน นั่นทำให้เขาเป็นผู้นำการต่อสู้ของชาวอินโดนีเซีย ในการเผชิญหน้ากับการล่าอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ (Dutch) และต่อมา เขาได้ช่วยสร้างขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของประเทศต่างๆ ที่ต้องการแยกตัวออกจากทั้งสองกลุ่ม คือ โซเวียตและสหรัฐฯ
จากข้อมูลดังกล่าวนี้ ตามการรายงานของ The Intercept ชี้ว่า ซูการ์โน “ไม่ได้ก้าวกระโดด เพื่อให้เศรษฐกิจของชาวอินโดนีเซีย คอยให้การบริการแก่บริษัทข้ามชาติของสหรัฐฯ”
รายงานระบุว่า สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น สมเหตุผลเพียงพอ ที่จะทำให้สหรัฐฯ พยายามล้มล้างการปกครองของซูการ์โน — แม้ว่า ซูการ์โนเองจะไม่ใช่คอมมิวนิสต์ และพรรค PKI ก็ไม่ได้มีเจตนายุยงให้เกิดความรุนแรง ทว่าเป้าหมายหลัก คือการได้มาซึ่งประเทศเอกราชที่เข้มแข็ง ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ
การแทรกแซงของ CIA

รายงานของ Intercept ระบุว่า ชาวอินโดนีเซียอย่างน้อย 500,000 คน ถูกสังหารระหว่างการรัฐประหาร โดยหลายคนถูกสังหารด้วยมีดพร้า หรือมีด ไม่นานหลังจากการรัฐประหารสำเร็จ สำนักข่าวกรองกลาง (CIA) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการสังหารหมู่ดังกล่าว อ้างถึงเหตุการณ์นี้ว่า เป็น “หนึ่งในการสังหารหมู่ที่เลวร้ายที่สุดของศตวรรษที่ 20″

อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ บรรยายถึงการรัฐประหารในจาการ์ตาในหนังสืออัตชีวประวัติของเขาเรื่อง “Dreams From My Father” ในปี 1995 โดยใช้คำที่คล้ายคลึงกัน โอบามากล่าวว่า การรัฐประหารในอินโดนีเซีย ปี 1995 เป็น “หนึ่งในการปราบปรามที่โหดร้าย และฉับพลันที่สุดในยุคปัจจุบัน” ประเด็นหนึ่ง ที่จะพิสูจน์ในภายหลังว่า สหรัฐฯ ยังคงใช้ “แบบแผนแห่งจาการ์ตา” (The Jakarta Method) เพื่อรักษาและขยายอิทธิพลของตน
แบบแผนแห่งจาการ์ตา (The Jakarta Method) เป็นหนังสือที่เขียนโดยนักข่าว Vincent Bevins ซึ่งเขาได้แสดงให้เห็นถึง วิธีที่การรัฐประหารในอินโดนีเซียในปี 1965 “เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดจุดหนึ่งของศตวรรษที่ 20 อันเป็นการกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์ที่ใหญ่ที่สุด ที่อยู่นอกประเทศจีน และสหภาพโซเวียต และเป็นต้นแบบที่จุดประกายแผนการปลุกปั่นการเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดความรุนแรง เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง ในประเทศอันห่างไกล เช่น บราซิล และชิลี ได้อย่างไร” อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า “แต่เหตุการณ์เหล่านี้ ก็ยังคงถูกมองข้ามอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการแทรกแซงอย่างลับๆ ของ CIA นั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก”
ในบันทึกนี้ รายงานของ The Intercept ระบุว่า “เป้าหมายของสหรัฐฯ ในขณะนั้น คือการสกัดซูการ์โนออกจากอำนาจ โดยการสนับสนุนบุคคลที่ ‘น่าเชื่อถือ’ (ในทัศนะของอเมริกา) ในขณะเดียวกัน ก็สร้างข้ออ้างให้แก่กองทัพอินโดนีเซียดำเนินการทำลายล้างพรรค PKI
จากรายงานดังกล่าว ฮาวเวิร์ดกล่าวต่อที่ประชุมของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศในปี 1965 ว่า “จากมุมมองของเรา แน่นอนว่าความพยายามก่อรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จโดยพรรค PKI อาจเป็นการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเริ่มต้นการพลิกกลับของกระแสการเมืองในอินโดนีเซีย”
“จากมุมมองของเรา แน่นอน ความพยายามก่อรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จโดย PKI [พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย] อาจเป็นพัฒนาการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเริ่มต้นการพลิกกลับ (reversal) ของกระแสการเมืองในอินโดนีเซีย” ฮาวเวิร์ด พี. โจนส์ (Howard P. Jones) เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำอินโดนีเซีย จนถึงเดือนเมษายน ปี 1965 กล่าวในที่ประชุม ครั้งเมื่อหารือกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ถึงวิธีสกัดอำนาจออกจากผู้ที่ปฏิเสธจะให้เศรษฐกิจของจาการ์ตารองรับความต้องการ และคอยให้บริการบริษัทข้ามชาติของสหรัฐฯ ฮาวเวิร์ดเชื่อในเวลานั้นว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้กองทัพอินโดนีเซีย มี “ความท้าทายที่ชัดเจน ซึ่งจะกระตุ้นปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพ”
มีนัยสำคัญ ดังที่ปรากฏในรายงาน มีเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสนับสนุนแง่คิดของฮาวเวิร์ด และอธิบายว่า “ดังนั้น อาจมีหลายสิ่งที่ต้องพูด เพื่อกระตุ้นให้เกิดรัฐประหารก่อนเวลาอันควรของพรรค PKI ในช่วงชีวิตของซูการ์โน”
แผน : สร้างสถานการณ์ต่างๆ
The Intercept รายงานว่า ในระหว่างนั้น การรัฐประหารก่อนเวลาอันควรของพรรค PKI ตามที่ได้อภิปรายข้างต้น ถูกกระตุ้นผ่านเรื่องเล่าที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า นั่นคือ เรื่องที่ “นายทหารหนุ่มกลุ่มหนึ่งได้ลักพาตัวนายพลอินโดนีเซีย 6 คน โดยอ้างว่า พวกเขาวางแผนที่จะโค่นล้มซูการ์โน” เห็นได้ชัดว่า นายพลที่ถูกลักพาตัวนั้นถูกสังหารในเวลาต่อมา
แผนนี้ไม่ใช่แค่สังหารนายพลเท่านั้น แต่ยังจุดชนวนความขัดแย้งภายใน ดังที่ซูฮาร์โต (Suharto) นายพลแห่งกองทัพบกกล่าวร่วมกับพันธมิตรของเขา ตามที่ระบุในหนังสือของเบวินส์ (Bevins) จากการอ้างอิงของ The Intercept ว่า “นายพลที่ตายแล้วถูกตอน และถูกทรมาน โดยสมาชิกพรคค PKI หญิง ใน ‘พิธีกรรมที่ต่ำช้าและผิดมนุษย์‘”
แผนนี้ ประสบผลสำเร็จ เมื่อซูการ์โนถูกขับออกจากตำแหน่งผู้นำ และซูฮาร์โตเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม ภายหลัง มีการเปิดเผยว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด นักข่าวเบวินส์ ตั้งข้อสังเกตว่า นายพลทั้งหกคนถูกยิง ยกเว้นเพียงคนเดียว
ภายใต้การปกครองของซูฮาร์โต การสังหารเริ่มขึ้นในปฏิบัติการที่เป็นที่รู้จักกันโดยชาวอินโดนีเซียว่า “Operasi Penumpasan” หรือ “ปฎิบัติการทำลายล้าง [Operation Annihilation]
ไม่เป็นความลับอีกต่อไป
สหรัฐฯ ไม่เพียงรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดโดยเจตนา ทั้งยังเป็นผู้ส่งรายชื่อสมาชิกพรรค PKI ให้แก่กองทัพอินโดนีเซีย
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ คนหนึ่ง ซึ่งถูกอ้างถึงในรายงาน เปิดเผยว่า “พวกเขาอาจฆ่าคนไปมากมาย และมือของฉันก็อาจมีเลือดติดอยู่มาก แต่นั่นก็ไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด” และเสริมว่า “มีบางครั้งที่คุณต้องจู่โจมอย่างหนักหน่วง ในช่วงเวลาชี้ขาด”
เจมส์ เรสตัน (James Reston) นักเขียนคอลัมนิสต์ของ New York Times ได้เขียนในหัวข้อนี้เช่นกัน เขาตั้งข้อสังเกตว่า พลเมืองสหรัฐฯ ต้องเข้าใจว่า “หากไม่มีความช่วยเหลือลับ ที่ [อินโดนีเซีย] ได้รับทางอ้อมจากที่นี่ [สหรัฐฯ]” การสังหารหมู่ชาวอินโดนีเซียจะไม่มีวันเกิดขึ้น
เอกสารที่ไม่เป็นความลับอีกต่อไป เมื่อไม่นานมานี้หลายฉบับพิสูจน์ว่า สหรัฐฯ ไม่เพียงแต่เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ริเริ่ม “แบบแผนแห่งจาการ์ตา” (The Jakarta Method) อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น บันทึกที่ได้รับการเปิดเผย (ไม่เป็นความลับอีกต่อไป) เมื่อไม่นานมานี้ เล่าถึงการสนทนาระหว่าง โรเบิร์ต ริช (Robert Rich) รองเลขานุการของสถานทูต และอัดนัน บูยง นาซูเชิ่น (Adnan Buyung Nasution) ผู้ช่วยอัยการสูงสุด โดยที่อัดนัน บอกกับริชว่า พวกเขาต้อง “ปราบปรามคอมมิวนิสต์ต่อไป เพื่อทำลายเบื้องหลังอำนาจของพรรค PKI” และที่ซึ่ง “กองทัพได้ประหารชีวิตคอมมิวนิสต์ไปหลายคนแล้ว แต่ข้อเท็จจริงนี้จะต้องถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด”
ในบันทึกอีกฉบับหนึ่ง กรีน (Green) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ อธิบายว่า เขาจะร้องขอให้คณะบริหารของ ปธน. จอห์นสัน (Johnson) “ เสาะหา ความเป็นไปได้ สำหรับการให้ความช่วยเหลือแบบนัดเดียวในระยะสั้น โดยลับ และไม่ระบุแหล่งที่มา” ในฐานะสัญญาณของ “การสนับสนุนจากสหรัฐฯ และเป็นการผลักดันการขยายตัวการสนับสนุนอย่างลับๆ ของสหรัฐ แก่กองทัพ ซึ่งจะรวมถึง เงิน อุปกรณ์สื่อสาร และอาวุธ”
‘อำนาจ’ ตามการรับรู้ของสหรัฐฯ
ในอัตชีวประวัติที่ตีพิมพ์ในปี 1995 ของโอบามา เขาพูดถึงช่วงเวลาของเขาในอินโดนีเซีย เนื่องจากเขาและแม่เคยอาศัยอยู่ที่นั่นมาระยะหนึ่งกับพ่อเลี้ยงชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นวิศวกร ชื่อโลโล
โอบาม่า เขียนว่า แม่ของเขาบอกเขา ขณะที่เธอทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้กับชาวอินโดนีเซียที่สังกัดสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงจาการ์ตา ลูกศิษย์ของเธอหลายคน ซึ่งจำนวนมาก เป็นนักข่าวและเจ้าหน้าที่ของรัฐ “อธิบายว่า ซูการ์โน สร้างความตึงเครียดให้กับรัฐบาลสหรัฐ ที่เดิมที ก็หมกมุ่นอยู่กับการเดินขบวนของลัทธิคอมมิวนิสต์ ผ่านเส้นอินโดจีนอยู่แล้วไหนจะ [ต้องเผชิญกับ] วาทศิลป์ชาตินิยม และการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของเขาอีก — เขาเลวร้ายพอๆ กับ ลูมุมบา [Lumumbar ผู้นำขบวนการเอกราชคองโก] หรือ นัสเซอร์ [Nasser ผู้นำอียิปตย] เลย แต่แย่ยิ่งไปกว่านั้น [สำหรับอเมริกา] เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของอินโดนีเซีย
อัตชีวประวัติยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในสมัยนั้น มีคำกล่าวว่า “CIA มีส่วนในการก่อรัฐประหาร” เขาอธิบายว่า แม่ของเขาตกใจกับความคิดนี้ เขาอธิบายไว้ในหนังสือว่าหมายถึง “ความคิดที่ประวัติศาสตร์สามารถถูกกลืนหายไปได้อย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับการที่ ดิน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และร่วนซุย สามารถดูดซับแม่น้ำเลือด ที่ครั้งหนึ่งเคยไหลผ่านถนนได้; ดั่งวิธีที่ผู้คนสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ภายใต้โปสเตอร์ขนาดใหญ่ของประธานาธิบดีคนใหม่ ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น”
ต่อมา โอบามา — เด็กชาย ผู้ซึ่งแม่ของเขาถูกทำให้หวาดกลัว ด้วยความคิดที่บอกว่า จะมีการปกปิดการสังหารหมู่ ขณะที่การใช้ชีวิตจะกลับมาเป็นปกติ แม้หลังจากการเสียชีวิตของผู้คนหลายพันคน — ก็ได้กลายมาเป็นประธานาธิบดีของประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการสังหารหมู่ครั้งนี้
ในย่อหน้าที่เปิดเผย โดยไม่ตั้งใจ โอบามาเขียนว่า
“อำนาจ…ในอเมริกา โดยทั่วไปแล้ว อำนาจมักจะถูกซ่อนไว้ไม่ให้ใครเห็น จนกว่าคุณจะขุดลึกลงไปในพื้นผิวของสิ่งต่างๆ จนกว่าคุณจะได้ไปเยี่ยมเขตสงวนของชาวอินเดียแดง หรือพูดคุยกับคนผิวสี ซึ่งคุณได้รับความไว้วางใจจากเขา แต่ที่นี่ อำนาจไม่เปิดเผย ไม่เลือกปฏิบัติ เปลือยเปล่า สดใหม่อยู่เสมอในความทรงจำ”
โอบามาเชื่อว่า การรุกรานที่สวมหน้ากาก เป็นที่ถูกยอมรับมากกว่าการรุกรานอย่างเปิดเผย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นระบบ เป็นปัญหาที่ถูกเพิกเฉยได้ง่ายกว่า การมองเห็นเหตุการณ์นองเลือดที่ทำให้สะดุ้งตกใจ แม้ว่าอาชญากรรมจะกระทำโดยคนกลุ่มเดียวกันก็ตาม
สิ่งหนึ่งที่ยังคงชัดเจน พ่อเลี้ยงของโอบามาสอนบทเรียนที่เขาไม่เคยลืม และไม่ใช่เรื่องจริยธรรมและศีลธรรม แต่เป็นบทเรียนเรื่องอำนาจ ความเหนือกว่า และกฎแห่งการเอาตัวรอดในป่าใหญ่
โลโลสอนโอบามาในวัยหนุ่มว่า “ผู้คนใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของผู้คนอื่น พวกเขาเป็นเหมือนประเทศต่างๆ ในลักษณะนั้น … มันดีกว่าเสมอ ที่จะเป็นคนแข็งแกร่ง ถ้าคุณไม่สามารถแข็งแกร่งได้ ก็จงฉลาด และสร้างสันติภาพกับคนที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม มันจะดีกว่า หากจะแข็งแกร่งด้วยตัวเองอยู่เสมอ”
__________
By Al Mayadeen English