พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม

2675

เขียนโดย : อ.อาลี เสือสมิง ที่มา  http://www.alisuasaming.com/main/index.php/webboard/23/1530–

*** บทความดีๆที่ขอนำเสนอ ว่าด้วย พ่อของแผ่นดินกับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม บทความนี้เขียนโดย อ.อาลี เสือสมิง เผยแพร่ในเว็บไซต์ www.alisuasaming.com กอง บก.เอบีนิวส์ทูเดยนำมาเสนออีกครั้งซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความเป็นมา ของมุสลิมในประเทศไทย รวมทั้งเข้าใจบทบาทความสัมพันธ์ และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ว่าด้วยพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่เกี่ยวกับมุสลิมในแผ่นดินไทย ในฐานะองค์อัครศาสนูปถัมภกและพระราชาผู้ปกครองอาณา ประชาราษฎร์ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และนิกาย

มัสยิดกะมาลุ้ลอิสลาม ทรายกองดิน
มัสยิดกะมาลุ้ลอิสลาม ทรายกองดิน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระเทพศิรินท รา พระบรมราชินี ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าหญิงรำเพย” ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ (พระองค์เจ้าศิริวงศ์) พระราชโอรสลำดับที่ ๖ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์ ซึ่งเป็นธิดาพระอักษรสมบัติ (หม่อมทับ) กับท่านผ่อง ซึ่งเป็นธิดาพระยาพัทลุง (ทองขาว) สกุลแขกสุนนีพัทลุง และมารดาของท่านผ่อง คือ ท่านปล้อง เป็นธิดาของพระยาราชวังสันเสนีย์ (หวัง) บุตรเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ (หมุด) ที่สมุหนายกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

และท่าน ปล้อง ยังเป็นน้องนางพระชนนีเพ็ง ภรรยาของพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) ซึ่งเป็นพระชนกชนนีของสมเด็จกรมพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) พระราชชนนีพระพันปีหลวงของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เหตุนี้พระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฝ่ายพระ บิดา ซึ่งล้นเกล้าล้นกระหม่อม ทรงสถาปนาพระอัฐิขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์จึงมีพระสายโลหิตเกี่ยวเนื่องด้วยราชินีกูล ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ อันเป็นสายสกุลแขกสุนนีซึ่งสืบวงศ์มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จ พระเอกาทศรถ

นอกจากนี้พระพี่เลี้ยง ผู้ช่วยถวายอภิบาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ คือ พระพี่เลี้ยงหยา ภรรยาคุณพระสยามิธิการภักดี แห่งบ้านตลาดขวัญ แขวงเมืองนนทบุรี (เก็บความจาก สายสกุล สุลต่าน สุลัยมาน พ.ศ. ๒๕๓๑ พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด,กรุงเทพฯ)

ความผูกพันระหว่าง พระพี่เลี้ยงหยา ซึ่งชาวบ้านตลาดขวัญเรียกท่านว่า โต๊ะย่าหยา กับสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมีหลักฐานปรากฏชัดเจน คือการสร้างมัสยิด ฮิดายะตุลอุมมะฮฺ ที่บ้านตลาดขวัญ แขวงเมืองนนทบุรี ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ทดแทนมัสยิดหลังเก่าที่ถูกสร้างขึ้นมานับแต่แผ่นดินสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และโปรดเกล้าฯให้พระสยามิธิการภักดี สามีพระพี่เลี้ยงหยาเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๓๓

นอกจากนี้ล้นเกล้าฯยัง ได้ทรงแสดงพระกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อพระพี่เลี้ยงหยาด้ว ยการพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างบ้านเรือนไทยอีก ๑ หลังบริเวณด้านหลังมัสยิดบ้านตลาดขวัญเพื่อให้เป็นนิวาสถานสำหรับพระพี่ เลี้ยงหยาอีกด้วย หลักฐานที่แสดงถึงความผูกพันของล้นเกล้าฯกับพระพี่เลี้ยงหยาสตรีชาวไทย มุสลิมแห่งบ้านตลาดขวัญ อีกประการคืออาคารครอบสุสานศิลปะแบบตะวันตกซึ่งเรียกในภาษาอาหรับว่า “มะกอม” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเหนือสุสานของพระพี่เลี้ยงหยาเพื่อ เป็นอนุสรณ์แห่งสายใยผูกพันระหว่างพระพี่เลี้ยงหยากับพระองค์เมื่อครั้งทรง พระเยาว์

ในการเสด็จประพาสหัว เมืองภายในพระราชอาณาจักรของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โดยเฉพาะการเสด็จประพาสต้น อันหมายถึง การเสด็จส่วนพระองค์ซึ่งไม่มีหมายกำหนดการล่วงหน้า ไม่มีกระบวนเสด็จเป็นทางราชการ และคำว่า “ประพาสต้น” เรียกตามชื่อเรือต้นที่ทรงใช้ในกระบวนการเสด็จประพาส นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ผลจากการเสด็จประพาสต้นหลายครั้งทำให้พระองค์ทรงทราบถึงวิถีชีวิตและความ เป็นอยู่ของเหล่าพสกนิกรได้อย่างแท้จริง

ตลอดจนเป็นการ สร้างความใกล้ชิดระหว่างพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์กับเหล่าพสกนิกรทุกหมู่ เหล่าที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารอย่างไม่เคยมีมาก่อน และส่วนหนึ่งจากการเสด็จประพาสของพระองค์เมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) คือการเสด็จประพาสคลองแสนแสบ ซึ่งมีปรากฏชื่อสถานที่ตลอดเส้นทางในพระราชหัตถเลขา หลายแห่งเป็นชุมชนของชาวไทยมุสลิมที่เข้ามาตั้งรกรากตลอดรายทางคลองแสนแสบ นับแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดังความตอนหนึ่งในพระราชหัตถเลขาระบุว่า : พอออกจากวัดปากบึงประเดี๋ยวก็เข้าแดนเมืองมีนคลองตอนนี้หน้าตาเป็นผู้หลักผู้ใหญ่คือรากไม่เกาะยึดและมีต้นไม้ริมคลองมากขึ้นมีบ้านเรือนรายมาจนถึงหนองจอกเป็นหมู่ใหญ่เห็นวัดสักวัดเดียวเท่านั้นเพราะแถบนั้นเป็นบ้านแขกคือแขกพวกหลวงอุดมทีเดียวมิใช่อื่นไกลเลย (ประยุทธ สิทธิพันธ์ : ประวัติศาสตร์ประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวง ; พิมพ์ครั้งที่สอง โดยสร้างสรรค์บุ๊คส์ ; มีนาคม ๒๕๕๒ กรุงเทพฯ เล่มที่ ๒ หน้า ๔๖๓)

แขกที่พระองค์ทรงกล่าว ถึงคือแขกมลายูที่ถูก กวาดต้อนเทครัวมาจากหัวเมืองมลายูนับแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ และถูกนำมาไว้ตลอดรายทางคลองแสนแสบในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งรายละเอียดมีระบุไว้ในจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติที่ถูกออกชื่อไว้ว่าเป็น แขกมลายูเช่นกัน ในพระราชหัตถเลขาเมื่อครั้งเสด็จประพาสคลองแสนแสบยังออกชื่อ บ้านสามแยกท่าไข่ ตำบลคู้ มีสุเหร่าใหญ่ บ้านแขกและสุเหร่าแขกอีก ๒ แห่ง คลองสามวา และ คลองนุ่น อีกด้วย (อ้างแล้ว หน้า ๔๖๔-๔๖๕ เล่มเดียวกัน)

มี เรื่องเล่ามุขปาฐะของบรรพบุรุษมุสลิมในแถบบ้านทรายกองดิน ซึ่งอยู่ริมคลองแสนแสบว่า เมื่อครั้งเสด็จประพาสคลองแสนแสบ ผ่านมาบริเวณหน้าสุเหร่าทรายกองดิน (มัสยิดกะมาลุลอิสลาม ปัจจุบัน) เรือพระที่นั่งได้เกิดเครื่องยนต์ขัดข้องที่บริเวณหน้าสุเหร่า แก้ไขอยู่นานก็ไม่สำเร็จ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงรำพึงขึ้นว่า หากในบริเวณนี้มีผู้มีบุญญาธิการสถิตอยู่ขอได้ช่วยให้เครื่องยนต์เดินได้ เป็นปกติตามเดิมด้วย พระองค์จะทรงสร้างอนุสรณ์สถานเป็นกุศลไว้แก่หมู่บ้านนี้ ทันใดนั้นเครื่องยนต์เรือพระที่นั่งก็เดินได้เป็นปกติ

พระองค์ จึงทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ทหารมหาดเล็กขึ้นไปบนฝั่ง เพื่อสอบถามว่า กองหินกองทรายที่นำมากองไว้ริมคลองนั้นมีโครงการจะสร้างอะไร ก็ได้รับคำตอบจากผู้อาวุโสที่พำนักอยู่บริเวณนั้นว่า จะทำการสร้างอาคารสุเหร่า เมื่อทรงรับทราบแล้วจึงมีพระกระแสรับสั่งให้นำอิฐ หิน และทรายมาสมทบอย่างละ ๗ ลำเรือ เพื่อพระราชทานสมทบในการก่อสร้างอาคารสุเหร่าหลังใหม่ พร้อมทั้งยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานที่ดินจำนวน ๔๐ ไร่ เป็นใบเดินทุ่งให้กับทรัสตีสุเหร่าแห่งนี้ด้วย (อ้างจาก วารสาร มุสลิม กทม. ฉบับที่ ๗ ปีที่ ๒ ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ปกในอธิบายภาพปกมัสยิดกะมาลุลอิสลาม ทรายกองดิน)

ในพระ ราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ ๒ ร.ศ. ๑๒๕ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสทางชลมารคผ่านบริเวณชุมชนมุสลิมแถบคลอง ตะเคียน พระนครศรีอยุธยา ดังปรากฏข้อความในพระราชนิพนธ์ว่า : …กลับมาลงเรือออกจากท้ายเกาะโมงครึ่งมาแวะคลองตะเคียนซื้อผ้าเวลาล่าไปฝนก็ตกลืมดูนาฬิกาจนหิวจึงรู้สึกจึงจอดทำกับข้าวกันที่แพซุงใกล้คลองตะเคียน…” (ประยุทธ สิทธิพันธ์ อ้างแล้ว เล่มที่ ๑ หน้า ๑๔๗)

คลอง ตะเคียนถือเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ชาวมุสลิมตั้งรกรากอยู่นับแต่ครั้งกรุง ศรีอยุธยา มีมัสยิดเก่าแก่หลังหนึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากปากคลองตะเคียนนัก เรียกกันว่า มัสยิดกุฎีช่อฟ้า มีหลักฐานระบุว่า กุฎีช่อฟ้า เป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อคราวเสด็จประพาสทางชลมารค พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นเยี่ยมมัสยิด

และทรงทราบ จากราษฎรที่เข้าเฝ้าในขณะนั้นว่า ชื่อสุเหร่ากุฎีเจ้าเซ็น พระองค์ตรัสถามว่า คนที่นี่เป็นแขกเจ้าเซ็นใช่หรือไม่ ผู้เข้าเฝ้าในขณะนั้นก็ทูลตอบว่า มิใช่แขกเจ้าเซ็นแต่เป็นแขกมาจากเมืองตานี พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อเป็น สุเหร่ากุฎีช่อฟ้า เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้มีหลังคาทรงจั่วมีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ จึงทรงพระราชทานนามตามนั้น (ศิวราช กบิลคาม ; วัฒนธรรมอิสลามกับการดำเนินชีวิตของมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ; ๒๕๔๙ หน้า ๘๐)

ในการเสด็จประพาสแหลม มลายู คราว ร.ศ. ๑๐๘ และ ร.ศ. ๑๐๙ นั้นเหล่าพสกนิกรชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูทุกหมู่เหล่าทั้งฝ่ายปกครองและ สามัญชนได้รอรับเสด็จทุกแห่งหนเพื่อชื่นชมพระบารมีของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ซึ่งนับเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ทรงเสด็จ ประพาสหัวเมืองมลายูซึ่งหมายรวม ถึงกลันตันและตรังกานูที่เคยเป็นของสยามมาก่อนอีกด้วย เหล่าข้าราชการและข้าราชบริพารฝ่ายปกครองที่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูต่าง ก็ได้มีโอกาสถวายการรับเสด็จฯอย่างใกล้ชิด

ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขา คราวเสด็จประพาสหัวเมืองมลายู ร.ศ. ๑๐๘ ความตอนหนึ่งว่า : การคุ้นเคยของพระยาตานีกับฉันดูสนิทสนมมากขึ้นเมื่อมาครั้งก่อนพูดไทยไม่เข้าใจแต่ไม่พูดออกมาเลยเป็นอันขาดคนอื่นยังล่อได้บ้างแต่ครั้งนี้ตกบ่ายลงพูดไทยกับฉันจ้อทีเดียวที่ไม่พูดนั้นจะเป็นด้วยรู้ศัพท์ไม่พออย่างหนึ่งพูดไม่ชัดคือไม่ดังเชื้อช้าวเช่นชาวนอกเสียงกราวๆไปเช่นแขกฤาฝรั่งพูดไทยนั้นอย่างหนึ่งประหม่าสะทกสะท้านนั้นอย่างหนึ่งพอได้พูดไทยเสียก็ดูสบายใจขึ้นมากทำอาการกริยาเกือบจะเป็นข้าราชการไทยๆ(ประยุทธ สิทธิพันธ์ อ้างแล้ว เล่ม ๒ หน้า ๕๓๘)

และความตอนหนึ่งว่า : มารดาและพระยายะหริ่งกับทั้งพี่สาวซึ่งเป็นภรรยารายามุดาเมืองกลันตันคนก่อนภรรยาพระโยธานุประดิษฐ์ภรรยานิโซ๊ะกับญาติพี่น้องผู้หญิงออกมารับจัดกับเข้าของเลี้ยงมาเลี้ยงเป็นสำรับอย่างไทยรองถาดตามธรรมเนียมแต่กับเข้านั้นเป็นกับเข้าแขกเป็นพื้นมีกับเข้าไทยเจือสองสามสิ่งของหวานเป็นอย่างไทยภรรยาพระยายิหริ่งผู้นี้เรียกกันว่าแม่บ๋าเป็นลูกตนกูโนชาวเมืองตานีอยู่ในกรุงเทพฯพูดภาษาไทยได้จัดการรับรองอันใดก็จะอยู่ข้างเป็นไทย(อ้างแล้ว ๒/๕๓๙,๕๔๐)

ใน คราวเสด็จประพาสหัวเมืองมลายูของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น พระองค์ยังทรงได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างข้าราชการฝ่ายมลายู และทรงกำชับให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายไทย เช่น พระยาสุนทรารักษ์ให้พิจารณาคดีความอย่างเป็นธรรม ดังปรากฏความตอนหนึ่งว่า ฉันก็ได้ตักเตือนพระยาสุนทราให้เร่งว่ากล่าวเสียให้เห็นผิดแลชอบถ้ามีความผิดจริงก็ลงโทษได้อย่าให้เป็นที่ติเตียนว่าหนักหน่วงความไว้ด้วยการที่แกล้งให้เป็นที่หวาดของเมืองแขกทั้งปวง…” (อ้างแล้ว ๒/๕๔๓)

ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ในหัวเมืองมลายูที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสถึงเป็นพิเศษ คือ เจ้าพระยาไทรบุรี ดังปรากฏในพระราชดำรัสตอบพระบรมวงษานุวงษ์ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ แลข้าทูลละอองธุลีพระบาทในการเฉลิมพระชนมพรรษา ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อจุลศักราช ๑๒๔๑ (พ.ศ. ๒๔๒๒) ความตอนหนึ่งว่า :

อนึ่งเรามีความเสียใจยิ่งนักที่เจ้าพระยาไทรบุรีถึงอาสัญกรรมเจ้าพระยาไทรบุรีมีความซื่อสัตย์รักใคร่สนิทต่อกรุงเทพมหานครแลเป็นผู้มีสติปัญญาทำนุบำรุงรักษาบ้านเมืองมีความเจริญกว่าเมืองแขกทั้งปวงเป็นที่หวังใจมั่นใจของเราทุกสิ่งทุกอย่างเราไว้ใจว่าบุตรของเจ้าพระยาไทรบุรีซึ่งจะได้รับที่แทนต่อไปแลอาทั้งสองซึ่งเป็นผู้ทำนุบำรุงคงจะประพฤติตามแบบเจ้าพระยาไทรในทางราชการแลการทำนุบำรุงบ้านเมืองทุกประการ…” (ประยุทธ สิทธิพันธ์ อ้างแล้ว ๒/๗๘๔)

ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้ความสนิทสนมชิดเชื้อมากเป็นพิเศษ คือพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) มารดาของท่านคือ “คุณหญิงกลิ่น” เป็นราชินีกุลทางสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๕ และธิดาท่านที่ ๓ ของพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ก็คือ เจ้าจอมละม้ายในรัชกาลที่ ๕ พระยา จุฬาราชมนตรี (สิน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ว่าที่จุฬาราชมนตรี ท่านที่ ๔ แห่งกรุงรัตน เจ้าพระยาไทรบุรี ( อับดุลฮามิด) โกสินทร์ และเป็นเจ้ากรมกองแสตมป์ กระทรวงยุติธรรมได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาประถมาภรณ์ มงกุฎไทย

และ พระราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าวิเศษชั้นสูงสุด และได้รับพระราชทานพานทองเทียบเท่าชั้นเจ้าพระยาพานทอง ในพิธีมะหะหร่ำตามอย่างแขกเจ้าเซ็น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเสด็จทอดพระเนตรพิธีมะหะหร่ำพร้อมกับข้าราชการและข้าราชบริพาร ฉลองพระองค์ด้วยชุดดำ สมเด็จพระราชินี และพระเจ้าลูกเธอที่โดยเสด็จทุกพระองค์ก็ทรงแต่งชุดดำกันทุกพระองค์ จนกระทั่งประชาชนโดยทั่วไปกล่าวขานกันว่า ในหลวงทรงเป็นแขกเจ้าเซ็นไปองค์หนึ่งเสียแล้ว (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ,มุสลิมในประเทศไทย ; พิมพ์ครั้งที่ ๒ (๒๕๓๙) กรุงเทพฯ หน้า ๔๖-๔๗)

เมื่อพระยา จุฬาราชมนตรี (สิน) ล้มป่วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้แพทย์หลวงมาดูแลรักษา และโปรดให้กรมหลวงดำรงราชานุภาพ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทูลกระหม่อมอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เสด็จมาเป็นเจ้าของไข้ และมีมหาดเล็กมาจดรายงานการป่วยของพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ให้ทรงทราบทุกระยะด้วย (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ ; อ้างแล้ว หน้า ๔๗-๔๘)

กุฎีเจริญพาศน์ (กุฎีล่าง)
กุฎีเจริญพาศน์ (กุฎีล่าง)

และ เมื่อพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ได้ถึงแก่อสัญกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีฝังศพพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ด้วยพระองค์เอง ณ มัสยิดต้นสน ปากคลองบางกอกใหญ่ และทรงโปรดให้แกะไม้สลักเป็นลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน ปักไว้ ณ หลุมฝังศพด้วย (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ อ้างแล้ว หน้า ๔๘)

กุฎีบน ของมุสลิมชีอะห์
กุฎีบน ของมุสลิมชีอะห์
พระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ยังแผ่ไพศาลครอบคลุมเหล่าพสกนิกรไทยมุสลิมที่เป็นสามัญชนและมุสลิมในบังคับ ของต่างชาติรุ่นแรกที่เข้ามาประกอบอาชีพและทำธุรกิจในประเทศสยามอีกด้วย ดังเช่นการพระราชทานที่ดินให้อยู่อาศัย รวมถึงการปลูกสร้างมัสยิดในที่ดินพระราชทานเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ (เอกสารกระทรวงนครบาล (ร.๕ น.๑๘ ๑.๒) ระบุว่า กะฎีป่าช้า ตำบลวัวลำพอง เป็นที่หลวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้พวกแขกอาศัย)

การกราบทูลฯขอพึ่งพระ บารมี ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ของตระกูล อับดุล ราฮิม ซึ่งเคยได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์มาแต่เดิม (จดหมายบุตรนาย เอช อับดุลราฮิม กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๔ มีนาคม ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) เอกสารกระทรวงยุติธรรม (ร.๕ ย.๑/๔๑)) และการพระราชทาน “จานทอง” ให้แก่ นายกาเซ็ม บินมูฮำมัดใย มุสลิมเชื้อสายยะวาที่มีความสามารถพิเศษในด้านการผสมพันธุ์กุหลาบสีต่างๆ ถวายพระองค์ (กรรณิการ์ จุฑามาศ สุมาลี ; ยะวา-ชวาในบางกอก,สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ ; กรุงเทพฯ หน้า ๕๖-๕๗) เป็นต้น

พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน)
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน)
ไม้นิฌาน หรือไม้ปักหลุมศพของพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน)
ไม้นิฌาน หรือไม้ปักหลุมศพของพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน)
 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายศาสนาอิสลาม

สืบ เนื่องจากศาสนาอิสลามถือเป็นศาสนาหนึ่งที่มีพสกนิกรชาวไทยนับถือมาตั้งครั้ง อดีต พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์นับแต่ครั้งอดีตต่างก็ทรงเป็นพุทธมามกะ และองค์อัครศาสนูปถัมภก การทำนุบำรุงผู้นับถือศาสนาอื่นๆในประเทศไทยนี้ถือเป็นพระราชกรณียกิจที่พระ มหากษัตริย์ไทยแต่เดิมทรงกระทำมาเป็นราชประเพณี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เช่นกัน เหล่าพสกนิกรชาวไทยมุสลิมได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่านในการ อุปถัมภ์ศาสนาอิสลามอยู่เนืองๆ

ดังปรากฏข้อความในพระราชหัตถเลขาความทรงจำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งว่า : “…ส่วนพวกถือศาสนาอิสลามนั้นพวกถือลัทธิเซียะ: (พวกเจ้าเซ็น) ได้รับพระบรมราชานุเคราะห์เป็นประเพณีมาแต่รัชกาลก่อนแล้วก็โปรดฯพระราชทานตามเคยแก่พวกลัทธิสุหนี่เป็นคนหลายชาติหลายภาษาแยกย้ายกันอยู่ตามตำบลต่างๆมีสุเหร่าและนักบวชชาติของตนเองเข้ากับพลเมืองเป็นปกติอยู่แล้วจึงไม่มีกิจที่จะต้องพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ผิดกันแต่ก่อนแต่ประการใด…” (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ; ความทรงจำ (พระนคร : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ๒๕๐๖) หน้า ๘๙ ) ส่วนหนึ่งจากพระราชกรณียกิจด้านการศาสนูปถัมภ์ ฝ่ายศาสนาอิสลาม ปรากฏดังนี้

  • – ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับ “พิธีมะหะหร่ำ” ของมุสลิมนิกายชีอะฮฺ (แขกเจ้าเซ็น) ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์
  • – ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระสยามิธิการภักดีสามีพระพี่เลี้ยงหยา สร้างอาคารมัสยิด ฮิดายะตุลอุมมะฮฺ หลังใหม่ ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ แขวงเมืองนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓
  • – ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมทบวัสดุก่อสร้างอาคารมัสยิด กะมาลุลอิสลาม บ้านทรายกองดิน ริมคลองแสนแสบ มีนบุรี (ปัจจุบันคือเขตคลองสามวา) และพระราชทานที่ดินให้แก่มัสยิดฯจำนวน ๔๐ ไร่ ภายหลังเสด็จกลับจากการประพาสคลองแสนแสบ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐)
    มะกอม (สุสาน) เจ้าพระคุณตะเกี่ยโยคินราชมิสกิจจินจาสยาม
    มะกอม (สุสาน) เจ้าพระคุณตะเกี่ยโยคินราชมิสกิจจินจาสยาม

– ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามให้แก่มัสยิดกุฎีช่อฟ้า ที่ตำบลคลองตะเคียน พระนครศรีอยุธยา เมื่อคราวเสด็จประพาสกรุงเก่าทางชลมารค ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙)

– ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามให้แก่มัสยิดเจ้าพระคุณตะเกี่ยโยคินราช มิสกิจจินจาสยาม เมื่อคราวเสด็จประพาสกรุงเก่าทางชลมารค ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) ซึ่งมัสยิดเจ้าพระคุณตะเกี่ยฯนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองตะเคียน พระนครศรีอยุธยาใกล้กับปากคลองตะเคียน

– สถานีรถไฟบางกอกน้อย

– พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริจะสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯไปจังหวัดเพชรบุรี ทรงมีพระราชประสงค์ว่าตรงปากคลองบางกอกน้อยเหมาะสมที่จะตั้งเป็นสถานีรถไฟ ปรากฏว่าตำแหน่งที่จะตั้งสถานีรถไฟบางกอกน้อยนั้นเป็นที่ตั้งมัสยิดของพวก ที่ถือศาสนาอิสลามฝ่ายสุหนี่

 สถานีรถไฟบางกอกน้อย
สถานีรถไฟบางกอกน้อย
พระองค์ ทรงรับสั่งให้แลกที่ดินฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นโรงเก็บเรือหลวงที่ชำรุด ให้เป็นที่ตั้งมัสยิดแห่งใหม่ พระราชทานที่ดินให้มากกว่าเดิมและได้พระราชทานทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในการ ก่อสร้างมัสยิดอีกด้วย ตามประกาศพระบรมราชูทิศไว้แต่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๕๑) เป็นวันที่ ๑๒๔๓๓ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่ปรากฏในประกาศพระบรมราชโองการสร้างมัสยิดสำหรับ พวกที่นับถือศาสนาอิสลามฝ่ายสุหนี่ ดังนี้

ประกาศพระบรมราชโองการ สร้างมัสยิดสำหรับพวกที่นับถือศาสนาอิสลามฝ่ายสุหนี่

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ประกาศทราบทั่วกันว่ามีพระราชหฤทัยนิยมต่อพระราชประเพณีซึ่งมีสืบเสมอมาแต่โบราณในการที่ทำนุบำรุงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั่วไปมิได้เลือกว่าจะเป็นผู้นับถือศาสนาลัทธิต่างกันประการใดและเมื่อ.. ๑๑๙จะลงมือสร้างรถไฟหลวงแต่กรุงเทพฯลงไปเมืองเพ็ชรบุรีทางรถไฟถูกที่มัสยิดสำหรับพวกที่นับถือศาสนาอิสลามฝ่ายสุหนี่

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯบริจาคพระราชทรัพย์ให้สร้างมัสยิดนี้ขึ้นให้งดงามดีกว่ามัสยิดเก่าที่ถูกทางรถไฟนั้นเพื่อให้เป็นอารัมณียสถานอันถาวรควรแก่ประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลามจะประชุมกันกระทำพิธีกรรมตามลัทธิศาสนาไว้สำหรับพระนครแห่งมีกำหนดเนื้อที่โดยยาวตามลำคลองบางกอกน้อย๓๓วาโดยกว้าง๑๔วาศอกทรง พระราชอุทิศมัสยิดนี้ให้เป็นสาธารณประโยชน์สำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามอัน เป็นฝ่ายสุหนี่ทั่วไปจะได้กระทำพิธีกรรมและอัญชลีกรรมได้โดยสะดวกดังปรารถนา ด้วยพระราชประสงค์อันทรงพระกรุณาเพื่อจะบำรุงผู้ที่นับถือศาสนาทั้งปวงอัน เป็นข้าขอบขัณฑเสมาอาณาจักรแลซึ่งจะมาแต่จาตุทิศทั้งปวงให้สำเร็จประโยชน์มีความสุขสืบไป


ประกาศพระบรมราชูทิศไว้แต่วันที่
๒๖พฤศจิกายนรัตนโกสินทรศก๑๒๑เป็นวันที่๑๒๔๓๓ในรัชกาลปัตยุบันนี้

 

มัสยิดหลวงอันซอริซซุนนะห์ คลองบางกอกน้อย
มัสยิดหลวงอันซอริซซุนนะห์ คลองบางกอกน้อย

เมื่อ มัสยิดสร้างเสร็จ ได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการและใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาเป็นประจำทุก วัน ต่อมาเมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๙) หะยีอับดุลการีม อิหม่ามมัสยิดหลวงบางกอกน้อย และคณะได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถวายรายงานเพื่อทรงทราบว่า ที่ดินที่พระองค์ทรงพระราชทานให้สร้างมัสยิดนั้น มีพื้นที่จำกัดไม่พอสร้างโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชน และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานที่ดินซึ่งเป็นอู่ซุงของทหารเรือติดกับมัสยิด เพื่อใช้เป็นที่สำหรับสร้างโรงเรียน

วันที่ ๑๓ มกราคม รัตนโกสินทรศก๑๒๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศพระบรมราชูทิศที่ดินเพิ่มเติมจากที่ดิน มัสยิดสำหรับสร้างโรงเรียน ดังปรากฏเนื้อความดังนี้

ประกาศพระบรมราชูทิศ ที่เพิ่มเติมเขตร์มัสยิดสำหรับสร้างโรงเรียน

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ประกาศทราบทั่วกันว่าเมื่อรัตนโกสินทรศก๑๒๑ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดที่ดินตำบลคลองบางกอกน้อยและทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างมัสยิดขึ้นในที่นั้นทรงพระราชอุทิศให้เป็นที่สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามฝ่ายสุหนี่กระทำพิธีกรรมตามลัทธิในศาสนามีความปรากฏอยู่ในประกาศพระบรมราชูทิศซึ่งลงวันที่๒๖พฤศจิกายนรัตนโกสินทรศก๑๒๑นั้นแล้ว

บัดนี้ทรงทราบผ่าละอองธุลีพระบาทว่าที่ซึ่งทรงพระราชอุทิศให้เป็นเขตร์มัสยิดนั้นยังไม่เพียงพอแก่ที่จะบำรุงการเล่าเรียนให้เจริญยิ่งขึ้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานที่ดินซึ่งต่อกับที่มัสยิดโดยกว้างทิศเหนือวาทิศใต้วายาวทิศตะวันออก๑๙วาศอกทิศตะวันตกเส้นหนึ่งกับวาเพิ่มเข้าไปเป็นที่เขตร์มัสยิดเพื่อได้สร้างโรงเรียนขึ้นให้เป็นสาธารณประโยชน์สำหรับบำรุงการเล่าเรียนหนังสือภาษาไทยและภาษาแขกโดยพระมหากรุณาแก่ประชาชนอันเป็นข้าขอบขัณฑสีมาอาณาจักรทั้งปวงให้สำเร็จประโยชน์และความสุขสืบไป

ประกาศพระบรมราชูทิศไว้แต่วันที่๑๓มกราคมรัตนโกสินทรศก๑๒๖เป็นวันที่๑๕๓๐๔ในรัชกาลปัตยุบันนี้

 

โรงเรียนราชการุญในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โรงเรียนราชการุญในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การก่อสร้างอาคารโรงเรียนของมัสยิดในที่ดินพระราชทานเพิ่มเติม สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๑๐๐ ชั่ง (๘๐๐๐ บาท) นับเป็นการกำเนิดโรงเรียนอิสลามหลังแรกขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้พระยากัลยาภักดี ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเป็นองค์ประธานในงานฉลองโรงเรียน แต่พระองค์ทรงมีพระราชภารกิจจำเป็น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าฟ้ากรมพระยานครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาแทน พระองค์ มีกองทหารเกียรติยศเหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ

บรรดาพสกนิกรชาวมุสลิมได้เข้าร่วมรับเสด็จและชุมนุมในงานฉลองโรงเรียนอย่าง ล้นหลาม และโรงเรียนแห่งนี้มีชื่อเป็นภาษาอาหรับว่า มัดเราะสะฮะมีดียะห์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานนามเป็นภาษาไทยว่า “โรงเรียนราชการุญ “ (สายสกุลสัมพันธ์ ๒๕๔๓ หน้า ๖-๘ เรื่อง ความเป็นมาของมัสยิดหลวงบางกอกน้อย)

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎหมายอิสลามในการพิจารณาอรรถคดีความแพ่งซึ่ง เกี่ยวด้วยศาสนาอิสลามเรื่องครอบครัวและมรดกในกรณีที่ทั้งโจทย์และจำเลยเป็น ผู้นับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่การปกครองบริเวณหัวเมืองทั้ง ๗ (มณฑลปัตตานีเดิม) โดยให้ผู้ทรงความรู้ทางศาสนาอิสลามเป็นผู้ตัดสินคดีความเรียกว่า “โต๊ะกาลี” (โต๊ะกอฎียฺ) ซึ่งต่อมาเรียกว่า “ดาโต๊ะยุติธรรม” เพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่ง “เสนายุติธรรม” ในการศาลของมณฑลพายัพ

ดังปรากฏในกฎการปกครองบริเวณหัวเมืองทั้ง ๗ ร.ศ.๑๒๐ ความตอนหนึ่งว่า :

“…ให้มีศาลเป็นศาลคือศาลบริเวณศาลเมืองแลศาลแขวงแลให้มีผู้พิพากษาสำหรับศาลเหล่านั้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชกำหนดกฎหมาย

ให้ใช้พระราชกำหนดกฎหมายทั้งมวลในความอาญาและแพ่งแต่ความแพ่งซึ่งเกี่ยวด้วยศาสนาอิสลามเรื่องผัวเมียก็ดีเรื่องมรดกก็ดีซึ่งคนนับถือศาสนาอิสลามในการพิจารณาพิพากษาการ ใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องที่ว่าด้วยครอบครัวและมรดกในบริเวณหัวเมืองมลายู ทั้ง ๗ ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นนั้นถือเป็นหลักรัฐประศาสน์ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการเมืองการ ปกครองในหัวเมืองมลายูและเป็นแนวทางในการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้ กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.๒๔๘๙ ในรัชกาลต่อมา แม้ภายหลังการยกเลิกรูปแบบการปกครองแบบเก่าในมณฑลปัตตานีเดิมหรือการ เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครอง แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในปีพ.ศ.๒๔๗๕ ก็ตาม การอนุโลมให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกในพื้นที่ ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงได้รับการรับรองด้วยพระราชบัญญัติจวบจนปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ กับการศาสนพิธีฝ่ายอิสลามนิกายชีอะฮฺ(แขกเจ้าเซ็น)

ผู้นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะฮฺ หรือที่เรียกกันว่า “แขกเจ้าเซ็น” นั้นมีปรากฏหลักฐานว่าเข้ามายังสยามประเทศนับแต่ชั้นกรุงศรีอยุธยาปลายแผ่น ดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.๒๑๓๓-๒๑๔๘) กล่าวคือ มีพ่อค้าชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) สองพี่น้องชื่อ “เฉกอะฮฺมัด” และ “เฉกสะอิ๊ด” พร้อมด้วยบริวารเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งนิวาสถานและทำการค้าขายอยู่ที่ตำบลท่ากายี ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑)

“เฉ กอะฮฺมัด” ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น “พระยาเฉกอะฮฺมัดรัตนเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวา ว่าที่จุฬาราชมนตรี” จวบจนถึงปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็น “เจ้าพระยาเฉกอะฮฺมัดรัตนาธิบดี” ที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ลุแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๓-๒๑๙๘) ทรงโปรดเกล้าฯให้เป็น “เจ้าพระยาบวรราชนายก” จางวางกรมมหาดไทย และเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะฮฺมัด) ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ ๘๘ ปี ถือเป็นปฐมจุฬาราชมนตรี และเป็นมุสลิมคนแรกที่นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮฺ อิหม่ามสิบสอง เข้ามายังสยามประเทศอย่างเป็นทางการ ลูกหลานของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะฮฺมัด)  ที่สืบวงศ์วานว่าเครือต่อมาได้ดำรงตำแหน่งขุนนางสำคัญเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุง รัตนโกสินทร์โดยเฉพาะ “ขุนนางกรมท่าขวา” ที่มีพระยาจุฬาราชมนตรีเป็นเจ้ากรม

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ท่านสิน บุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) กับคุณหญิงกลิ่น ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนตำแหน่งจากพระราชเศรษฐีเป็นพระยา จุฬาราชมนตรีคนที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และธิดาคนที่ ๓ ของพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ที่ชื่อ “ละม้าย” เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ ; มุสลิมในประเทศไทย (๒๕๓๙) หน้า ๑๓๘,๑๔๗) ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างขุนนางมุสลิมนิกายชีอะฮฺกับราชสำนักของสยาม ที่มีมาแต่ครั้งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาจวบจนแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางสายตระกูลร่วมกับกับสกุลบุนนาค

อันมีเจ้าพระยาบวรราช นายก (เฉกอะฮฺมัด) เป็นต้นสกุล ทำให้พระเจ้าแผ่นดินสยามหลายพระองค์ทรงถือเอาเป็นพระราชประเพณีนิยมในการ อุปถัมภ์และทำนุบำรุงการศาสนพิธีของชาวมุสลิมนิกายชีอะฮฺ โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับเอาพิธี “มะหะหร่ำ” ของชาวมุสลิมชีอะฮฺ (แขกเจ้าเซ็น) ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พิธี “มะหะหร่ำ” นี้เกี่ยวเนื่องกับวันที่ ๑๐ เดือนมุหัรร็อม (ตามปฏิทินอิสลาม) ของทุกปี

ซึ่งมุสลิมนิกายชีอะฮฺ จะจัดการพิธีรำลึกถึงท่า นอัล-หุสัยนฺ บุตรท่านอิหม่ามอะลียฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ที่เสียชีวิต ณ ตำบลกัรบะลาอฺ แผ่นดินอิรัก เมื่อปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ ๖๑ ตรงกับปีค.ศ.๖๘๐ ในเหตุการณ์ ณ ตำบลกัรบะลาอฺนั้น ท่านอิมามอัล-หุสัยนฺ (อิมามลำดับที่ ๓ ตามคติความเชื่อของมุสลิมนิกายชีอะฮฺ อิมามสิบสอง) และครอบครัวของท่านได้ถูกสังหารอย่างอยุติธรรม ถือเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในยุคต้นศาสนาอิสลาม ฝ่ายมุสลิมชีอะฮฺจึงถือเอาวันที่ ๑๐ เดือนมุหัรร็อมของทุกปีจัดพิธีมะหะหร่ำ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าเศร้าครั้งนั้น

โดยจัดพิธีนี้ที่เขต กระฎีอันเป็นศาสนสถานของฝ่ายชีอะฮฺ และในการจัดพิธีมะหะหร่ำนี้เป็นที่เอิกเกริกและรับรู้กันของชาวสยามนับแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยา สำหรับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีปรากฏหลักฐานในความทรงจำของท่านพระยา จุฬาราชมนตรี (สัน) บุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ว่า :

ครั้นเมื่อปีจอฉอศกจุลศักราช๑๑๗๖เดือนยี่ขึ้น๑๑ค่ำเปนปีที่ในรัชกาลที่โปรดเกล้าฯให้เอาการโมหะหร่ำอันนี้ไปทอดพระเนตรที่น่าพระที่นั่งสุทัยสวรรย์ทั้ง สองกระฎีครั้นได้ทราบกระแสพระบรมราชโองการแล้วฝ่ายท่านเจ้าของกระฎีทั้งสอง และสับรุษด้วยกันทั้งสองข้างก็มีความวิตกแลเศราโศกถึงการงานที่จะต้องไปแต่ขัดพระบรมราชโองการมิได้ต่างคนก็ต่างปรับทุกข์ด้วยกันทั้งสองพวก

ครั้นถึงกำหนดวันทั้งสองกระฎีก็ต่างจัดแจงคือที่กระฎีบนนั้นคำที่เล่าว่าได้เอาเรือใหญ่มาขนาบเทียบกันสองลำแล้วก็ยกปั้นหย่าและโต้ระบัดลงในเรือข้ามฝากไปขึ้นที่ท่าน่าวัดพระเชตุพลฝ่ายกระฎีล่างนั้นคำที่เล่าว่าก็ได้เอาเรือที่ใหญ่เหมือนกันแล้วก็เอาปั้นหย่าและโต้ระบัดตั้งมาในเรือออกจากคลองบางกอกใหญ่ข้ามฝากไปขึ้นที่ท่าเดียวกันพอพร้อมกันแล้วทั้งสองฝ่ายก็ได้ยกไปตามถนนข้างวัดพระเชตุพลเลี้ยวขึ้นถนนน่าพระที่นั่งสุทัยสวรรย์หยุดพักอยู่ด้านใต้พระที่นั่งทั้งสองกระฎีการที่ยกโต้ระบัดไปนั้นโปรดเกล้าฯให้รื้อกำแพงพระนครด้านริมน้ำตรงวัดพระเชตุพลครั้นได้เวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จออกทั้งสองข้างก็เดินกระบวนแห่เรียงกันไปทั้งสองกระฎีแต่มาระเขี่ย