วิเคราะห์: ปาฐกถาพิเศษในวาระลึกเหตุการณ์สงครามป้องกันตนเองอิหร่าน-อิรัก

7
คำบรรยายในการพบปะกับทหารผ่านศึกและนักต่อสู้ในสงครามการป้องกันตนเองและการต่อต้าน เนื่องในโอกาสสัปดาห์แห่งการป้องกันตนเอง ในวันที่ 25 กันยายน 2024 ซึ่งบรรยายโดยท่านผู้นำสูงสุดอิหร่าน อยาตุลลอฮ์ซัยยิดอาลี คาเมเนอีย์ เนื้อหาหลักและประเด็นสำคัญในคำบรรยายมีดังนี้:
ประเด็นเกี่ยวกับ การทำสงครามป้องกันศักดิ์สิทธิ์ (The Iran–Iraq War)
  1. ความสำคัญของการต่อสู้และการเสียสละในสงคราม: อิมามคาเมเนอีย์กล่าวถึงความสำคัญของผู้ที่ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าในการป้องกันตนเอง โดยเน้นว่าการก้าวไปในเส้นทางที่ยากลำบากและการเสียสละเป็นคุณค่าอันสูงส่ง ท่านกล่าวว่า “เหตุที่ทหารผ่านศึกในสงครามการป้องกันตนเองได้รับความสำคัญเป็นพิเศษในสัปดาห์นี้ เนื่องจากความมีคุณค่าในการเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ดังคำกล่าวของเอกองค์อัลลอฮ์(ซบ)ที่ทรงตรัสว่า ‘จงรีบเร่งไปสู่การให้อภัยจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า โดยพวกเขาได้นำพาสู่เหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการเร่งก้าวไปสู่ความกรุณาจากพระผู้เป็นเจ้า”
  2. เหตุผลของสงคราม 8 ปี (สงครามอิรัก-อิหร่าน): สงครามนี้ไม่ได้เกิดจากความต้องการของซัดดัม ฮุสเซนเพียงคนเดียว แต่ยังเกิดจากแรงจูงใจของมหาอำนาจโลก เช่น สหรัฐฯ และโซเวียตในขณะนั้น ที่ไม่สามารถยอมรับแนวคิดใหม่ของการปกครองตามหลักการของอิสลาม ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อระบบการเมืองของโลก ในบริบทหนึ่งท่านกล่าวว่า
  3. ความหมายและผลของสงคราม: สงครามนี้ไม่ได้เป็นเพียงการป้องกันดินแดนแต่เพียงด้านเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องอิสลาม และการทำตามคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า อิมามคาเมเนอีย์เน้นว่าการต่อสู้ครั้งนี้ได้ทำให้ศาสนาอิสลามถูกปกป้องและยังคงมีชีวิตจนถึงบัดนี้ และยังเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาและความยิ่งใหญ่ของประชาชนอิหร่าน ท่านกล่าวว่า “สงครามนี้เป็นการต่อสู้ในเส้นทางที่ทางศาสนาเรียกว่า ‘การต่อสู้เพื่อพระเจ้า’ หรือ ญิฮาด” และในอีกบริบทหนึ่งท่านกล่าวว่า “วันนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติ เรายังคงต่อต้านระบบการครอบงำโลก เราต่อต้านการครอบงำของสหรัฐฯ” ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า การต่อสู้ในอดีตและในปัจจุบัน ไม่ใช่การต่อสู้ด้วยเหตุผลเช่นการป้องกันดินแดน แต่เป็นการต่อสู้กับอำนาจอธรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อโลก
  4. ผลกระทบของสงครามที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน: อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ให้เห็นสงครามในครั้งนั้นกับเหตุการณ์ในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกัน เช่น การต่อสู้ในเลบานอนและปาเลสไตน์ โดยระบุว่าการต่อสู้ในปัจจุบันนี้ยังคงเป็นการต่อสู้เพื่อศาสนาและเพื่อความยุติธรรมเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา

ประเด็นเกี่ยวกับ เลบานอน และ ปาเลสไตน์

  1. สถานการณ์ในเลบานอนและปาเลสไตน์: อิมามคาเมเนอีย์ระบุว่าเหตุการณ์ใน เลบานอน และ ปาเลสไตน์ ในปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายคลึงกับสงครามป้องกันตนเองที่เคยเกิดขึ้นในอิหร่าน โดยกล่าวถึงการต่อสู้ในพื้นที่เหล่านี้ว่าเป็นการต่อสู้เพื่อศาสนาและความยุติธรรม นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงความจำเป็นในการคืนดินแดนปาเลสไตน์และมัสยิดอัลอักซอกลับไปยังเจ้าของเดิม (ชาวมุสลิม) ซึ่งเป็นหน้าที่ทางศาสนา ท่านกล่าวว่า “ในวันนี้ เรากำลังเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในเลบานอนและปาเลสไตน์”
  2. บทบาทของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์และการต่อต้าน: อิมามคาเมเนอีย์ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอนได้สละตัวเองเพื่อช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ โดยกล่าวถึงการสละชีวิตของสมาชิกกลุ่มเพื่อต่อต้านการรุกรานของอิสราเอลและมหาอำนาจที่สนับสนุนการรุกราน ท่านกล่าวว่า “กลุ่มฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอน ได้สละตัวเองเพื่อปกป้องกาซา โดยยืนหยัดเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่โหดร้ายเหล่านี้ พวกเขากำลังทำการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์”
  3. การสนับสนุนจากมหาอำนาจตะวันตก: แม้กลุ่มฮิซบุลลอฮ์และกลุ่มต่อต้านอื่นๆ ในปาเลสไตน์จะมีทรัพยากรและอาวุธที่จำกัด แต่พวกเขายังยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูที่มีอาวุธและทรัพยากรที่มากกว่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง ท่านกล่าวว่า “อิสราเอลได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา แน่นอนว่าอเมริกาอ้างว่าพวกเขาไม่ได้เข้ามาแทรกแซงหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่นั่นเป็นการพูดเท็จ เพราะพวกเขาทั้งรู้เห็นและมีบทบาทอย่างเต็มที่ พวกเขาต้องการชัยชนะของอิสราเอล เนื่องจากรัฐบาลอเมริกันในปัจจุบันต้องการผลักดันให้อิสราเอลชนะเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น”

ทัศนะต่อ ฮิซบุลลอฮ์:

  1. การเสียสละและการต่อสู้เพื่อศาสนา: อิมามคาเมเนอีย์เน้นว่ากลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอนมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ โดยเฉพาะในกาซา โดยระบุว่าฮิซบุลลอฮ์ยอมสละตนเองเพื่อปกป้องปาเลสไตน์และเป็นกลุ่มที่เข้าร่วมใน “การต่อสู้เพื่อพระเจ้า” ฮิซบุลลอฮ์ได้รับการชื่นชมในฐานะกลุ่มที่มีความเข้มแข็งในการต่อสู้กับศัตรูและยังคงยืนหยัดอยู่แม้จะต้องเผชิญกับแรงกดดันและการโจมตีที่รุนแรง
  2. ความเข้มแข็งและการไม่ยอมแพ้: ฮิซบุลลอฮ์ถูกยกย่องว่าเป็นกลุ่มที่มีการจัดองค์กรอย่างแข็งแกร่ง แม้จะสูญเสียบุคคลสำคัญบางคนไปในสงคราม แต่ก็ยังคงรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้ อิมามคาเมเนอีย์เชื่อว่าไม่ว่าจะมีการสูญเสียหรือไม่ ฮิซบุลลอฮ์จะยังคงยืนหยัดและเอาชนะศัตรูได้ในที่สุด
ทัศนะต่อ อิสราเอล:
  1. การใช้อาวุธและการทำลายล้างประชาชน: อิมามคาเมเนอีย์ได้กล่าวถึงอิสราเอลว่าเป็นฝ่ายที่มีอาวุธและทรัพยากรที่เหนือกว่า แต่ยังคงล้มเหลวในการเอาชนะฮิซบุลลอฮ์และกลุ่มต่อต้านอื่นๆ อิสราเอลจึงหันไปโจมตีประชาชนผู้บริสุทธิ์ เช่น เด็ก ผู้หญิง และสถานที่ที่ไม่มีทางสู้ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าประสบความสำเร็จในการต่อสู้ อิมามคาเมเนอีย์มองว่าการโจมตีลักษณะนี้เป็นการแสดงถึงความล้มเหลวของอิสราเอลในการทำลายกองกำลังต่อต้าน
  2. ความขัดแย้งทางการเมืองและการสนับสนุนจากสหรัฐฯ: อิสราเอลถูกกล่าวหาว่าได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการเงินและการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ต้องการใช้ความสำเร็จของอิสราเอลในสงครามเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในประเทศ เช่น การเลือกตั้ง อิมามคาเมเนอีย์วิพากษ์วิจารณ์ว่าสหรัฐฯ ไม่เพียงแต่ให้การสนับสนุน แต่ยังมีบทบาทในเบื้องหลังของสงครามครั้งนี้ด้วย

การทำนายผลลัพธ์:

  1. ฮิซบุลลอฮ์และฝ่ายต่อต้านจะชนะในที่สุด: อิมามคาเมเนอีย์ชี้ว่าในที่สุด ฮิซบุลลอฮ์ และกลุ่มต่อต้านในปาเลสไตน์จะเป็นฝ่ายชนะ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการโจมตีที่รุนแรงและการเสียสละมากมาย ท่านมองว่าฮิซบุลลอฮ์เป็นกลุ่มที่ยืนหยัดด้วยความเชื่อทางศาสนาและมีพลังในศรัทธา ดังนั้นพวกเขาจึงได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าและจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ในท้ายที่สุด
  2. ความล้มเหลวของอิสราเอล: อิมามคาเมเนอีย์เชื่อว่าแม้ว่าอิสราเอลจะมีทรัพยากรมากกว่า แต่พวกเขาไม่สามารถเอาชนะกองกำลังต่อต้านได้ ทำให้อิสราเอลต้องหันไปใช้การโจมตีที่เน้นการทำลายชีวิตประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งแสดงถึงความล้มเหลวทางทหารของพวกเขา การที่อิสราเอลต้องทำเช่นนี้บ่งบอกว่าพวกเขาไม่สามารถจัดการกับกองกำลังต่อต้านที่มีจำนวนและทรัพยากรน้อยกว่าได้

จากทัศนะนี้ อิมามคาเมเนอีย์แสดงให้เห็นว่า ฮิซบุลลอฮ์ และฝ่ายต่อต้านมีพลังจากศรัทธาที่จะนำไปสู่ชัยชนะในท้ายที่สุด ขณะที่ อิสราเอล แม้จะมีพลังทางการทหารมากกว่า แต่จะล้มเหลวในความพยายามที่จะเอาชนะฝ่ายต่อต้าน

การกดขี่และระบบการครอบงำโลก (نظام سلطه):

ในบทบรรยายนั้น อิมามคาเมเนอีย์ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับ การกดขี่ และสภาพของโลกอย่างละเอียด โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์ ระบบการครอบงำโลก” (نظام سلطه) ซึ่งเป็นระบบที่มีการแบ่งแยกและข่มเหงระหว่างมหาอำนาจและประเทศที่ถูกครอบงำ รวมถึงการแสดงทัศนะต่อความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นในระบบโลกปัจจุบัน ดังนี้:

  1. ความไม่ยุติธรรมในระบบของโลกในปัจจุบัน: อิมามคาเมเนอีย์อธิบายว่า โลกในยุคปัจจุบัน ยังคงถูกปกครองด้วย ระบบการครอบงำ” ซึ่งแบ่งประเทศต่าง ๆ ออกเป็นสองกลุ่มหลัก คือ ประเทศที่ครอบงำ (سلطه‌گر) และ ประเทศที่ถูกครอบงำ (سلطه‌پذیر) ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากสองสถานะนี้ ท่านกล่าวว่า “ระบบการครอบงำ คือการที่โลกถูกแบ่งแยกออกเป็นสองกลุ่มหลัก กลุ่มหนึ่งคือประเทศที่มีอำนาจในการควบคุม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือประเทศที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ไม่มีทางเลือกอื่น” ซึ่งท่านถือว่าระบบนี้เป็นระบบที่ไม่ยุติธรรมและขัดต่อคุณธรรม โดยประเทศมหาอำนาจใช้ทรัพยากรและอำนาจทางทหารบังคับให้ประเทศอื่นปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตน
  2. การปฏิเสธระบบครอบงำโลก: อิมามคาเมเนอีย์กล่าวว่า การปฏิวัติอิสลาม ของอิหร่านในปี 1979 เป็นการส่งเสียงคัดค้านอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาต่อระบบการครอบงำโลก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีประเทศหนึ่งลุกขึ้นมาต่อต้านระบบนี้อย่างชัดเจน โดยอิมามคาเมเนอีย์ชี้ให้เห็นว่าการต่อต้านดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นการปฏิเสธการกดขี่และการครอบงำจากมหาอำนาจ แต่ยังเป็นการเสนอแนวคิดใหม่สำหรับการจัดระเบียบโลก ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นความยุติธรรมและปฏิเสธการข่มเหง
  3. มหาอำนาจไม่สามารถยอมรับแนวคิดใหม่: อิมามคาเมเนอีย์กล่าวว่าแนวคิดใหม่ของ รัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ซึ่งขัดกับระบบการครอบงำโลกทำให้มหาอำนาจใหญ่ทั้งในอดีต เช่น สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต ไม่สามารถยอมรับได้ มหาอำนาจเหล่านี้จึงร่วมมือกันพยายามทำลายการปฏิวัติอิสลาม เพราะพวกเขาเชื่อว่าแนวคิดนี้จะขยายอิทธิพลและเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศอื่นๆ ที่ถูกครอบงำทั่วโลก

การครอบงำโลกและข้ออ้างที่ถูกใช้เพื่อข่มเหงผู้อื่น:

  1. การต่อสู้กับอำนาจที่กดขี่: อิมามคาเมเนอีย์แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของอิหร่านในการต่อสู้กับระบบการครอบงำโลกและการปกครองที่ไม่เป็นธรรม โดยอิหร่านต่อต้านการครอบงำของสหรัฐฯ และไม่ยอมรับอำนาจที่บังคับให้ประเทศอื่นต้องเดินตามนโยบายของตะวันตก แม้ว่าจะถูกกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างหนักก็ตาม นอกจากนี้ท่านยังชี้ให้เห็นว่าอิหร่านมีการปฏิสัมพันธ์และการค้าขายกับหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ว่าอิหร่านเป็นศัตรูกับ “ทุกประเทศ” นั้นไม่เป็นความจริง แต่อิหร่านเป็นศัตรูกับ ระบบการกดขี่ข่มเห่งและการครอบงำ เท่านั้น
  2. การกดขี่ในนามของข้ออ้างทางการเมือง: อิมามคาเมเนอีย์ได้กล่าวถึงข้ออ้างต่าง ๆ ที่มหาอำนาจใช้ในการกดขี่ เช่น การกล่าวหาว่าประเทศอื่นละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือ พัฒนานิวเคลียร์เพื่อนำไปสู่สงคราม อิมามคาเมเนอีย์ระบุว่าเหล่านี้เป็นเพียงข้ออ้างที่มหาอำนาจใช้ในการครอบงำและข่มเหงประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของพวกเขา และแท้จริงแล้วปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่การปฏิเสธการกดขี่ในระบบโลกนี้ ในบริบทหนึ่งท่านกล่าวว่า “สิ่งที่พวกเขาพูดถึงเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น ประเด็นที่แท้จริงอยู่ที่การเสนอแนวคิดใหม่เพื่อต่อต้านระเบียบโลกที่เต็มไปด้วยความเสียหายและการเลือกปฏิบัติซึ่งครองความเป็นใหญ่ในปัจจุบัน”

การทำนายและบทสรุป:

  1. ระบบการกดขี่จะยังคงมีอยู่ตราบที่มีการปฏิเสธศรัทธาในระบบการครอบงำ: อิมามคาเมเนอีย์เชื่อว่าการปฏิเสธ ระบบการครอบงำโลก” โดยอิหร่านจะทำให้มหาอำนาจไม่สามารถยอมรับได้ และความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายจะยังคงอยู่ตราบที่อิหร่านไม่ยอมจำนนต่อการกดขี่นี้
  2. การสนับสนุนจากประชาชนและความศรัทธา: อย่างไรก็ตาม อิมามคาเมเนอีย์ได้เน้นว่า ความศรัทธาและการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เป็นสิ่งที่จะนำพาให้ประเทศและกลุ่มต่อต้านการกดขี่ประสบความสำเร็จในที่สุด เพราะศรัทธานี้มีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้คนทั่วโลก ซึ่งมหาอำนาจไม่สามารถควบคุมได้

จากทั้งหมดนี้ อิมามคาเมเนอีย์แสดงให้เห็นว่า การกดขี่ ในโลกปัจจุบันเป็นผลมาจากระบบการครอบงำที่ไม่ยุติธรรม และการต่อสู้กับระบบนี้เป็นภารกิจทางศีลธรรมและศาสนาที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

source: : https://khl.ink/f/57665