อเมริกาและตะวันตกใช้สงครามไซเบอร์โจมตีอิหร่าน

36

ชาติตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาคให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แก่ผู้ก่อการจลาจล ตลอดจนกลุ่มผู้ก่อการร้ายและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจลาจลและความไม่สงบในอิหร่านเมื่อเร็วๆ นี้  ซึ่งการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นในกรอบของสงครามลูกผสมของตะวันตกและพันธมิตรตะวันตกที่มีต่ออิหร่าน

ในสงครามลูกผสมนี้ ชาวตะวันตกได้ใช้ปัจจัยและส่วนประกอบของกำลังทั้งหมด รวมทั้งความสามารถทางไซเบอร์ และได้เปิดฉากสงครามทางไซเบอร์ครั้งใหญ่กับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

นายพล โกลัมเรซา จาลาลี หัวหน้าองค์กรป้องกันของอิหร่านกล่าวว่า:ในสถานการณ์ปัจจุบัน อิหร่านกำลังเผชิญกับภัยคุกคามสองประเภทด้วยกัน   ประเภทที่หนึ่งคือภัยคุกคามทางไซเบอร์แบบลูกผสมของศัตรู และอีกประเภทหนึ่งคือภัยคุกคามของสงครามการตระหนักรู้ในเหตุการณ์จลาจลที่เรากำลังเผชิญอยู่

อเมริกาและพันธมิตรเช่นระบอบไซออนิสต์มีส่วนรับผิดชอบต่อการโจมตีทางไซเบอร์มากมายในโลก เมื่อใดก็ตามที่ชาวอเมริกันทำการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศอื่น ๆ พวกเขาคิดว่ามันสมเหตุสมผลและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่พวกเขาไม่ยอมรับการกระทำที่คล้ายคลึงกันโดยคู่แข่งหรือประเทศศัตรูอื่น ๆ

อันที่จริง ภัยคุกคามและสงครามไซเบอร์ของตะวันตกต่ออิหร่านมีกรณีตัวอย่างมาก่อน ตัวอย่างที่โด่งดังคือการโจมตีด้วยมัลแวร์ “Stuxnet” ต่อโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านโดยสหรัฐอเมริกาและระบอบไซออนิสต์ในปี ค.ศ. 2010   อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ผู้ดำเนินการโจมตีทางไซเบอร์นี้คือกลุ่มแฮ็กเกอร์หลายกลุ่มที่อ้างว่าสนับสนุนการจลาจลในอิหร่านและก่อวินาศกรรมในที่สาธารณะและสถาบันของรัฐ ตลอดจนสื่อและสำนักข่าว  อีกทั้งขโมยข้อมูลและทำลายศูนย์ข้อมูล โดยที่พวกเขาได้ทำการโจมตีทางไซเบอร์หลายครั้งจนถึงตอนนี้  โดยพื้นฐานแล้ว การโจมตีทางไซเบอร์ รวมถึงการโจมตีของแฮ็กเกอร์ ส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่การเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน การทำลายสิ่งอำนวยความสะดวก เข้าถึงเอกสารสำคัญ และการทำให้งานสถาบันและองค์กรต่างๆต้องหยุดชะงัก

ตัวอย่างล่าสุดของสงครามไซเบอร์ต่ออิหร่านคือ การโจมตีโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่รู้จักกันในชื่อ “Black Reward” ต่อสำนักข่าวฟาร์ส ( Fars )ซึ่งดำเนินการโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลายฐานข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ  แม้ว่าแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้จะอ้างว่าทำเพื่อสนับสนุนผู้ก่อการจลาจล แต่เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตและฝ่ายต่างประเทศที่หนุนหลังเช่นวอชิงตันและเทลอาวีฟที่ได้ประโยชน์จากการกระทำนี้แล้ว  ดูเหมือนว่าเป็นการกระทำของกลุ่มที่ขึ้นอยู่กับหน่วยข่าวกรองและหน่วยงานจารกรรมของตะวันตก

นอกจากนี้ กลุ่มแฮ็กเกอร์อีกกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ “นิรนาม” ได้ทำการโจมตีทางไซเบอร์หลายครั้งต่ออิหร่านหลังจากการจลาจลครั้งล่าสุด และการกระทำที่ทำลายล้างเหล่านี้สอดคล้องกับเป้าหมายทั่วไปของสหรัฐอเมริกาและระบอบไซออนิสต์ที่ต้องการทำให้สาธารณรัฐอิสลามอ่อนแอลง และเพื่อก่อความวุ่นวายต่อกิจการต่างๆ ของอิหร่าน ชีวิตประจำวันและความไม่พอใจของประชาชน

กรณีตัวอย่างของการกระทำของกลุ่มแฮ็กเกอร์นี้ ได้แก่ การอ้างว่าปิดใช้งานกล้องวงจรปิด 407 ตัวในกรุงเตหะรานในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2022 โดยอ้างว่าสนับสนุนความไม่สงบในอิหร่าน ตั้งแต่เริ่มการประท้วงในอิหร่าน กลุ่มแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ได้จัดการโจมตีทางไซเบอร์อย่างกว้างขวางกับเว็บไซต์ของรัฐบาล และแฮ็กเว็บไซต์ของกระทรวงน้ำมัน เศรษฐกิจและการเงิน และวัฒนธรรม และการชี้นำอิสลาม  ด้วยวิธีนี้ ดูเหมือนว่าตะวันตกได้เปิดเกมใหม่สำหรับสงครามไซเบอร์กับอิหร่านภายใต้กรอบของสงครามลูกผสม

อย่างไรก็ตาม ในหลายๆกรณี อิหร่านสามารถรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ของศัตรูที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆได้เป็นอย่างดี    เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม    นายพล โกลัมเรซา จาลาลี  หัวหน้าฝ่ายป้องกันของอิหร่านกล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ เราได้ทำลายและตอบโต้การโจมตีทางไซเบอร์ในด้านต่างๆ  และกล่าวเสริมว่า :ในช่วง 40 วันที่ผ่านมา เราได้เห็นการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และศัตรูก็ใช้ความสามารถทั้งหมดที่มีและทำทุกอย่างเพื่อสร้างปัญหาร้ายแรงให้กับประเทศ แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมาย…

source:

https://farsi.iranpress.com