ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ที่ดูเหมือนจะมีเป้าหมายให้เลือกข้างระหว่างรัฐบาลวอชิงตันกับรัฐบาลปักกิ่งนั้น เนื่องจากการขยายอำนาจของจีนที่ทำให้สหรัฐฯ จับมือกับพันธมิตรเพื่อเผชิญความท้าทายจากจีน หวังจำกัดอิทธิพลของจีนต่อโลก และอาจมองข้ามไม่ได้ว่ายุทธศาสตร์นี้คือแผนจัดระเบียบภูมิภาคของสหรัฐฯนั่นเอง
สหรัฐฯ ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ “อินโด-แปซิฟิก” ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ท้าทายอำนาจของจีน วัตถุประสงค์หลักของนโยบายนี้ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียไปจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อกีดกันจีนจากการครอบครองภูมิภาคนี้และเข้าควบคุมแทนที่โดยชาติตะวันตก เนื่องจากตามทฤษฎีที่มีอยู่ในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศและการเมืองนั้น แสดงให้ว่า ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกมีความสำคัญยุทธศาสตร์อย่างมาก
สหรัฐอเมริกาได้ทำอะไรไปบ้างแล้วในเรื่องนี้?
ตามยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก สหรัฐฯ พยายามที่จะลดเศรษฐกิจของจีนและอำนาจทางทหารในระดับหนึ่ง เนื่องจากตระหนักดีว่าปักกิ่งกำลังที่จะแซงวอชิงตันและเข้าไปอยู่ในอันดับแรกของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ การมีแหล่งพลังงานและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมากมายในภูมิภาคนี้ทำให้จีนมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในโลกที่สูงขึ้น
วอชิงตันกำลังหาทางแสดงอำนาจของตนโดยยุยงเขตแบ่งแยกดินแดนและขายอาวุธให้แก่พวกเขา เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง ทิเบต และ… รวมถึงการมีกองกำลังทหารขนาดใหญ่ในทะเลและน่านฟ้าของภูมิภาค และการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯอีกประการหนึ่งในเรื่องนี้คือการจัดตั้งพันธมิตรทางทหารและพันธมิตรในภูมิภาค พันธมิตรทางทหาร ( Quad)ประกอบด้วย ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ตลอดจนข้อตกลงทางทหาร AUKUS ที่เป็นที่ฮือฮาในปีที่แล้ว ซึ่งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรให้คำมั่นที่จะสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์สำหรับออสเตรเลีย ซึ่งตัวอย่างของพันธมิตรทางทหารที่วอชิงตันสร้างขึ้นมานั้นก็เพื่อเผชิญหน้าและท้าทายอำนาจของปักกิ่ง
นอกจากนั้นสหรัฐฯ ยังพยายามดึงประเทศต่างๆ ให้เข้ามาในภูมิภาคนี้มากขึ้น และป้องกันไม่ให้จีนเข้าสู่ตลาดด้วยการบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับพวกเขามากขึ้น และตามนโยบายเศรษฐกิจของวอชิงตันที่มีต่อภูมิภาคอินโดแปซิฟิก คือ ไม่ให้ปักกิ่งมีจุดยืนใดๆในเรื่องนี้ และจะต้องลดบทบาทและอิทธิพลของปักกิ่งให้มากที่สุด
* ใครคือพันธมิตรของอเมริกาในเรื่องนี้?
พันธมิตรของวอชิงตันในนโยบายอินโดแปซิฟิกของทำเนียบขาวคือประเทศที่กล่าวถึงในกลุ่มพันธมิตรทางทหารและบางประเทศในภูมิภาค ในบรรดาชาติพันธมิตรเหล่านี้มีออสเตรเลียที่พยายามและทำงานอย่างหนักให้กับสหรัฐอเมริกา รัฐบาลแคนเบอร์รามีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างตึงเครียดกับปักกิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่มาจากแนวทางของวอชิงตัน และปัญหานี้มีความชัดเจนมากขึ้นในปีที่แล้วด้วยการลงนามในสัญญา AUKUS โดยที่ปักกิ่งคัดค้านอย่างรุนแรงต่อเรื่องนี้และถือว่าขัดต่อความมั่นคงของชาติ
ความสัมพันธ์ทางการค้าของออสเตรเลียกับจีนก็ได้รับความเสียหายจากผลกระทบจากความตึงเครียดในความสัมพันธ์ทางการเมืองของทั้งสองประเทศด้วย แคนเบอร์รามุ่งมั่นอย่างยิ่งในการสร้างความท้าทายทางทหารสำหรับปักกิ่ง ซึ่งตัวอย่างของมาตรการดังกล่าว ได้แก่ การซื้อเรือดำน้ำนิวเคลียร์และอาวุธตะวันตกอื่นๆ การก่อสร้างเรือดำน้ำไร้คนขับ การลาดตระเวน และการควบคุมเป็นระยะๆใกล้น่านน้ำจีน
เมื่อเร็วๆ นี้ ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองฝ่ายได้เกิดขึ้นในรูปแบบใหม่อีกครั้ง เกี่ยวกับกรณีที่ออสเตรเลียอ้างว่าเครื่องบินลาดตระเวนของแคนเบอร์ราได้รับความเสียหายจากเครื่องบินรบจีน
* แคนาดากำลังเข้าสู่พันธมิตร Quad
ความกว้างใหญ่ของภูมิภาคอินโดแปซิฟิกและการท้าทายอำนาจอันน่าทึ่งของปักกิ่ง ทำให้ต้องขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรอื่น ๆ ซึ่งสหรัฐฯเองก็ไม่พอใจและไม่ต้องการที่จะต่อสู้กับประเทศที่มีอยู่ในภูมิภาคนี้เพียงลำพัง ด้วยเหตุนี้วอชิงตันจึงต้องหานักแสดงคนอื่นๆ เข้ามาเสริมในสนามนี้อีกด้วย
ในทุกขั้นตอน นักแสดงต้องเริ่มโชว์กึ๋นและพยายามแสดงจุดยืนของตนเองในการท้าทายปักกิ่ง โดยในขณะนี้มันถึงคิวของแคนาดา ซึ่งแคนาดาก็เหมือนกับอังกฤษและออสเตรเลีย ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการปฏิบัติตามนโยบายของสหรัฐฯ(หุ่นเชิดของอเมริกา)
อะไรคือข้ออ้างที่แคนาดาจะเข้าร่วมในสนามนี้? เกาหลีเหนือ! อะไรจะดีไปกว่าการยิงนัดเดียวได้นกสองตัวอีกหรือ?
ออตตาวาเพิ่งอ้างว่าเครื่องบินทหารของตนซึ่งปฏิบัติการในเอเชีย ถูกโจมตีซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยเครื่องบินขับไล่ของจีนในระยะใกล้ในลักษณะที่เป็นอันตราย เมื่อไม่กี่วันก่อน แคนาดาประกาศว่าเครื่องบินรบของตนถูกบังคับให้เปลี่ยนเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันระหว่างปฏิบัติการในน่านฟ้าสากลใกล้กับเกาหลีเหนือ
ออตตาวาเรียกพฤติกรรมของจีนว่าไม่เป็นมืออาชีพและอาจเป็นอันตรายได้
กระทรวงกลาโหมของจีนยังได้ประกาศด้วยว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้เครื่องบินของกองทัพอากาศแคนาดาได้เพิ่มหน่วยข่าวกรองและกิจกรรมยั่วยุต่อปักกิ่งภายใต้ข้ออ้างของการดำเนินการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต่อเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นการคุกคามความมั่นคงของชาติจีนรวมถึงบุคลากร ที่มันเป็นอันตรายต่อทั้งสองฝ่าย และฝ่ายจีนก็ออกมาคัดค้านเรื่องนี้อย่างรุนแรง
* เรื่องราวจะจบเพียงแค่นี้หรือไม่?
คำตอบสำหรับคำถามนี้คือ “ไม่” …… การปรากฏตัวของพันธมิตรสหรัฐรายอื่นในภูมิภาคนี้ไม่ใช่เรื่องที่ไม่อาจคาดคิดในอนาคตอันใกล้นี้ สาเหตุของเรื่องนี้คือความยิ่งใหญ่ของปัญหา อินโดแปซิฟิกต้องการท้าทายจีนและมหาอำนาจ ดูเหมือนว่าวอชิงตันกำลังสรุปเวอร์ชันสำหรับปักกิ่งที่คล้ายกับที่สรุปเสร็จสิ้นแล้วสำหรับมอสโก การปรากฏตัวของพันธมิตรอื่น ๆ ของสหรัฐฯ และความพยายามที่จะบีบคอปักกิ่ง และโดยส่วนใหญ่การกระทำเช่นนี้มักจะนำไปสู่ปฏิกิริยาแบบเดียวกับที่รัสเซียถูกกดดันในเรื่องยูเครน และแน่นอนว่านั่นคือสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการ…
source: