รู้จัก “กองพัน อัล กัซซาม”  จากก้อนหินสู่ขีปนาวุธพิสัยไกลและโดรน

269
เครื่องมือและวิธีการต่อสู้ต่างๆ ของ “กองพันอัล กัซซาม” ปีกทหารของฮามาส นับว่ามีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างมากนับตั้งแต่การก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถสร้างให้ระบอบอิสราเอลต้องตกตะลึงในศักยภาพที่มีอยู่ในขณะนี้

“กองพัน อัล กัซซาม”  ซึ่งเป็นปีกทหารของขบวนการฮามาส ปาเลสไตน์  ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงยุทธวิธีการป้องกันและรูปแบบการต่อสู้ของตนในตลอดช่วงเวลา 29 ปี

สำนักข่าวอนาโตเลีย เผยแพร่อินโฟกราฟิกในหัวข้อนี้ โดยเขียนว่า ในช่วง 29 ปีที่ผ่านมา อัล-กัซซาม ได้เปลี่ยนจากหิน อาวุธเย็นและการลักพาตัวทหารไซออนิสต์ไปเป็นขีปนาวุธพิสัยไกล โดรนลาดตระเวนและโดรนทิ้งระเบิด

การก่อตั้ง
กองพัน อัล กัซซาม ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 โดยคนจำนวนเพียงเล็กน้อย บรรดานักต่อสู้กลุ่มแรกคือ กลุ่มทหารที่ได้จัดตั้งขึ้นในปี 1984 ในนามมูจาฮิดีนชาวปาเลสไตน์ หมายถึงไม่กี่ปีก่อนที่จะมีการประกาศจัดตั้งขบวนการฮามาส หลังจากการก่อตั้งขบวนการฮามาส กลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการฮามาส ซึ่งเป็นสาขาทางการทหารอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “กองพันชะฮีด อิซซุดดีน อัล กัซซาม”

สาขาทางทหารของฮามาสประกาศการดำรงอยู่อย่างเป็นทางการหลังจากการจับกุมทหารไซออนิสต์สองคนในปี 1989 แต่ในปี 1992 กองพันทหารชะฮีดอิซซุดดีน อัล กัซซาม ภายใต้การดูแลของ “ชะฮีด ยะห์ยา อัยยาช” ได้ประกาศการดำรงอยู่อย่างเป็นทางการ กลุ่มฮามาสมองว่า มีแนวทางเดียวคือการต่อต้าน และแนวทางการแก้ปัญหาแบบสองรัฐนั้น เป็นการทรยศต่ออุดมคติของปาเลสไตน์

ชื่อของกองพันนี้ ตั้งตามชื่อของ “ชะฮีด อิซซุดดีน อัล กัซซาม” หนึ่งในผู้นำของกลุ่มนักต่อสู้ชาวปาเลสไตน์ในช่วงทศวรรษที่ 1910 ถึง 1930 ซึ่งต่อสู้กับผู้ยึดครองชาวอังกฤษและผู้อพยพชาวยิว อิซซุดดีน อัล กัซซาม ต่อสู้กับกองกำลังอังกฤษเป็นเวลาหลายปีและเสียชีวิตในไฮฟาในปี 1935 เป้าหมายของเขาคือ การป้องกันไม่ให้เป้าหมายต่าง ๆ ที่ชั่วร้ายของชาวยิวบรรลุความเป็นจริงในการก่อตั้งรัฐยิวในปาเลสไตน์ และเช่นเดียวกันนี้ เขาได้กำหนดเป้าหมายในการก่อตั้งรัฐอาหรับ-อิสลามขึ้นในปาเลสไตน์

ชะฮีด “ซอลาห์ ชะฮีดะฮ์”, ชะฮีด “ยะห์นา อัยยาช”, “ยะห์ยา ซินวาร์”, ชะฮีด “อิมาด อักล์” และ “มะห์มูด มับฮูฮ์” เป็นผู้ที่ถูกกล่าวถึงว่าเป็นผู้ก่อตั้ง “อัล กัซซาม” ผู้บัญชาการคนปัจจุบันของอัล กัซซาม คือ “มุฮัมมัด ฎ็อยฟ์” ผู้ซึ่งได้รับเลือกขึ้นดำรงตำแหน่งนี้หลังจากการลอบสังหารของ “อะห์มัด ซะอีด คอลีล อัลญะอฺบะรี” ในช่วงเริ่มต้นสงคราม 51 วัน ในปี 2012

กิจกรรมทางทหารครั้งแรก

ในขั้นต้นบรรดานักสู้ของ “อัล กัซซาม” ใช้อาวุธเย็นและอาวุธปืนธรรมดาบางส่วน แล้วต่อมาได้หันมาใช้ปืนไรเฟิลและระเบิดมือ

การผลิตขีปนาวุธ

กองพันเหล่านี้ได้สร้างขีปนาวุธชุดแรกของตนที่เรียกว่า “Qassam-1” ด้วยระยะพิสัย 10 กม. แล้วพัฒนาเป็น Qassam 2 และ Qassam 3

ขีปนาวุธของอัล กัซซาม ถูกใช้ครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2002

นับตั้งแต่ปี 2012 อัล กัซซาม อยู่ในการพัฒนาขีปนาวุธในด้านของพิสัยการยิงและอำนาจการทำลาย

ล่าสุดขีปนาวุธที่ถูกพัฒนาภายใต้ชื่อ อัล กัซซาม ซึ่งได้เปิดตัวในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีพิสัยระยะการยิง 250 กิโลเมตร

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัล กัซซาม ได้ผลิตขีปนาวุธนำวิถีและขีปนาวุธต่อต้านรถถัง

หน่วยต่าง ๆ ของกองพัน อัล กัซซาม

กองพันอัล กัซซาม มีหน่วยต่าง ๆ อย่างเช่น หน่วยวิศวกรรม, หน่วยป้องกันภัยทางอากาศ, หน่วยคอมมานโดของกองทัพเรือ ที่รู้จักกันในนาม หน่วยมนุษย์กบ, หน่วยปืนใหญ่, หน่วยพลีชีพ, หน่วยสนับสนุน และ หน่วยเงา ซึ่งมีภารกิจในการรักษาความปลอดภัยบรรดาทหารชาวไซออนิสต์ที่ตกเป็นเชลยของกลุ่มฮามาส ปฏิบัติการ Gilad Shalit มีชื่อเสียงที่สุดในหน่วยนี้

“Gilad Shalit” ทหารไซออนิสต์คนหนึ่งได้ถูกจับเป็นเชลยโดยอัล กัซซาม ในปี 2006 และในปี 2011 ได้รับการปล่อยตัวภายใต้ข้อตกลงแลกเปลี่ยนนักโทษกับเชลยชาวปาเลสไตน์ 1,027 คน

นอกจากนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2014 กองพันอัล กัซซามยังได้ประกาศเกี่ยวกับการจับกุม “Aaron Shaul” ทหารไซออนิสต์ในสงคราม 51 วัน และในเดือนสิงหาคม 2015 รัฐบาลไซออนิสต์ได้ขาดการติดต่อกับ “Hadar Golden” ทหารไซออนนิสต์ในเขตราฟะห์ทางใต้ของฉนวนกาซา

“อับราฮัม เมงเกสโต” นักรบทหารไซออนิสต์อีกคนหนึ่งก็หายตัวไปในเดือนกรกฎาคม 2558 ขณะข้ามรั้วรักษาความปลอดภัยในตอนเหนือของฉนวนกาซา และต้นปี 2016 รัฐบาลไซออนิสต์ได้รายงานการหายตัวของทหารอีกนายหนึ่งของตนที่ชื่อ “ฮิชาม อัล-ซัยยิด” ในชายแดนฉนวนกาซา

จนถึงปัจจุบันนี้ อัล ก็อซซาม ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับเชลยของไซออนิสต์ทั้งสี่คน

ความสำเร็จที่โดดเด่นของ อัล กัซซาม

กองพันอิซซุดดีน อัล กัซซาม ได้ดำเนินการต่าง ๆ ที่สำคัญในตลอดช่วงหลายปีของการต่อสู้ บางส่วนจากการดำเนินการเหล่านั้น ได้แก่ ชัยชนะในปี 2006 ในฉนวนกาซา และการถอนตัวของระบอบไซออนิสต์ออกจากภูมิภาคนี้ ความพ่ายแพ้ของระบอบไซออนิสต์ในสงคราม 22 วัน (2008) สงคราม 8 วัน (2012) สงคราม 51 วัน (2014) และสงคราม 11 วัน (2020) .

กองพัน อัล กัซซาม และกลุ่มต่อต้านอื่น ๆ ของปาเลสไตน์ได้ยิงจรวดและขีปนาวุธมากกว่า 4,000 ลูกเข้าไปในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองในช่วงสงคราม (11 วัน) ครั้งล่าสุดกับระบอบไซออนิสต์ และก่อให้เกิดความเสียหายหลายล้านดอลลาร์แก่ระบอบนี้

Source:

https://www.farsnews.ir

https://www.aa.com.tr