เจาะประเด็น : ทำไมแอร์โดอาน “มุ่งหา” เทลอาวีฟ? เปิดเงื่อนไขใหม่ของอังการาในภูมิภาค

55

เมื่อไม่นานมานี้ประธานาธิบดี เรเจป ทายยิป แอร์โดอา (Recep Tayyip Erdogan )ของตุรกีได้แสดงจุดยืนที่ได้รับความสนใจจากผู้สังเกตการณ์และนักวิเคราะห์จำนวนมาก  โดยเขาพูดถึงความปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์อันดีกับระบอบไซออนิสต์

แม้จะมีท่าทีต่อต้านไซออนิสต์เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวในสุนทรพจน์ว่าอังการาต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเทลอาวีฟ ในขณะเดียวกันตุรกีและระบอบไซออนิสต์มีความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมืองที่ตึงเครียดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  และแม้ว่าจะยังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการค้าไว้อย่างกว้างขวางแต่ในที่สุดก็นำไปสู่การขับไล่ทูตของกันและกันในปี 2018

หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลโจมตีขบวนเรือมาร์มาราที่บรรทุกความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซาที่ถูกปิดล้อมในปี 2010 ซึ่งถือเป็นจุดแตกหักของความตึงเครียดระหว่างอังการาและเทลอาวีฟ นักเคลื่อนไหวชาวตุรกีอย่างน้อยเก้าคนถูกสังหารในการโจมตี จากนั้นความสัมพันธ์ตุรกี – อิสราเอลถูกตัดขาดเป็นเวลาหกปีตั้งแต่ปี 2010 แต่ในช่วงฤดูร้อนปี 2016 มีการประกาศว่าทั้งสองฝ่ายจะกลับมามีความสัมพันธ์ทางการทูตและเศรษฐกิจอีกครั้งแม้ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้จะไม่เป็นมิตรเหมือนเดิม  

เมื่อไม่นานมานี้ประธานาธิบดีแอร์โดอานของตุรกีได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพื่อปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติระหว่างประเทศอาหรับบางประเทศกับระบอบไซออนิสต์   อีกทั้งเขาโจมตีอย่างรุนแรงต่อการเคลื่อนไหวของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อปรับความสัมพันธ์กับเทลอาวีฟให้เป็นปกติและขู่ว่าจะปิดสถานทูตในอาบูดาบี

อังการาซึ่งได้ประณามการกระทำของระบอบไซออนิสต์ต่อชาวปาเลสไตน์หลายครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้วิพากษ์วิจารณ์แนวทางของประเทศอาหรับบางประเทศในการประนีประนอมกับระบอบไซออนิสต์โดยอธิบายว่าเป็นการทรยศ!!!

Al-Monitor รายงานเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน (2020)ว่า ตุรกีได้จัดตั้งช่องทางลับกับเทลอาวีฟเพื่อพยายามปรับปรุงความสัมพันธ์  นาย ฮากาน ฟิดาน( Hakan Fidan )หัวหน้าสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติตุรกีได้จัดการประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านความมั่นคงของอิสราเอลหลายครั้งรวมถึงหัวหน้ามอสสาด  นายโยซี โกเฮน ( Yossi Cohen ) โดยที่ล่าสุดเขาเพิ่งเปลี่ยนจุดยืนและประกาศสร้างความสัมพันธ์อันอบอุ่นกับระบอบไซออนิสต์

เมื่อแอร์โดอาน บอกว่าเขาต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดกับอิสราเอล ในความเป็นจริงแล้วเขาก็จุดชนวนระเบิดทางการเมือง สิ่งที่น่าสนใจคือจุดยืนของแอร์โดอานได้เปลี่ยนท่าทีหลังจากการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของโมร็อกโกกับระบอบไซออนิสต์ จะอย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีและระบอบไซออนิสต์ได้ฝังรากลึกและย้อนหลังไปถึงปี 1949 เมื่อรัฐบาลตุรกียอมรับการดำรงอยู่ของระบอบการปกครองไซออนิสต์และสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลนั้น  

แม้จะมีความตึงเครียดระหว่างอังการาและเทลอาวีฟในปี 2010 จากกรณีที่อิสราเอลโจมตีเรือมาร์มาราที่บรรทุกความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังฉนวนกาซา แต่ทว่าด้านข่าวกรองและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศไม่ได้รับผลกระทบใดๆ โดยการค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2019 อีกทั้งสายการบินตุรกียังให้บริการเที่ยวบินมากกว่า 60 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังสนามบินเทลอาวีฟอิสราเอลเป็นแหล่งอาวุธที่สำคัญของตุรกี และจุดสูงสุดของความร่วมมือครั้งนั้นคือในช่วงที่กองทัพตุรกีบุกไซปรัสทางตอนเหนือในปี 1974 เมื่อสหรัฐอเมริกาและยุโรปประท้วงและปฏิเสธที่จะขายอาวุธให้ตุรกี

4 เหตุผลที่ทำให้แอร์โดอาน เปลี่ยนท่าทีและมุ่งหา เทลอาวีฟ

มีการคาดเดาเกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้แอร์โดอานมีความโน้มเอียงต่อการห้ามในอดีตของเขาและความสัมพันธ์อันอบอุ่นกับฝ่าย(ไซออนิสต์)ที่จนกระทั่งเมื่อวานนี้เรียกเขาว่าอาชญากรและผู้สังหารชาวปาเลสไตน์ ซึ่งสามารถกล่าวได้ดังนี้

ประการแรก:  ความร่วมมืออย่างรวดเร็วและลึกซึ้งระหว่างประธานาธิบดีแอร์โดอาน และ ประธานาธิบดีอาลีโยฟ ของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสงครามนากาเนอร์ คาร์บัค (Nagorno-Karabakh )เมื่อแอร์โดอาน ส่งยุทโธปกรณ์หนักและโดรนของตุรกีไปยังสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานเพื่อสนับสนุนบากูนอกจากนั้นพันธมิตรของเขา(อาเซอร์ไบจาน)ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับอิสราเอลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาลีโยฟ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสื่อกลางระหว่างแอร์โดอาน กับ เนทันยาฮู

ประการที่สอง :  การคว่ำบาตรของสหรัฐฯและยุโรปต่อตุรกี: สหรัฐฯกำลังมีปัญหากับการที่อังการาซื้อระบบ S400 ของรัสเซียและกำลังหามาตรการคว่ำบาตรต่อและสหภาพยุโรปในฐานะผู้สนับสนุนกรีซและไซปรัสก็กำลังหามาตรการคว่ำบาตรเช่นกัน ทำให้ประธานาธิบดีตุรกีเชื่อว่าล็อบบี้ของชาวยิวในสหรัฐอเมริกาและยุโรปสามารถช่วยป้องกันหรือลดมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง

ประการที่สาม : ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งของทรัมป์และชัยชนะของไบเดนที่ให้การสนับสนุนและหนุนหลังชาวเคริด์ และแอร์โดอานต้องการอิสราเอลและอิทธิพลที่จะยืนเคียงข้างเขาในการเผชิญหน้ากับรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯในอนาคตซึ่งคาดว่าจะสนับสนุนศัตรูของเออร์โดกันโดยเฉพาะเฟธูลลากูเลน(Fethullah Gulen )ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าวางแผนรัฐประหารในตุรกีเมื่อไม่นานมานี้  

ประการที่สี่ : ภายใต้กระบวนการสมานฉันท์ระหว่างประเทศอาหรับและระบอบไซออนิสต์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย  ทำให้แอร์โดอานได้ตัดสินใจใช้โอกาสนี้เพื่อเข้าร่วมกระบวนการนี้ ไม่เพียงแต่เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับอิสราเอล แต่ยังรวมถึงการปรับปรุงความสัมพันธ์กับ ประเทศอาหรับเช่น อียิปต์และอ่าวเปอร์เซียเช่นซาอุดีอาระเบีย   เป็นที่น่าสังเกตว่าแอร์โดอาน ไม่ได้พูดอะไรเลยแม้แต่คำเดียวในการวิจารณ์ของเขาเกี่ยวกับการประนีประนอมของโมร็อกโกกับเทลอาวีฟ แม้ว่าเขาจะไม่มีความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกับโมร็อกโกก็ตามคำถามคือนโยบายตุรกีของแอร์โดอานที่มีต่อพันธมิตรของเขาโดยเฉพาะกลุ่มอิควานมุสลิม(ภราดรภาพมุสลิม)จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือไม่? สิ่งนี้จะปูทางไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ของกาตาร์กับอิสราเอลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากโดฮาเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของแอร์โดอานในภูมิภาคนี้หรือไม่? เราไม่รู้และไม่อาจตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ได้ แต่ที่แน่ๆนั้นมันไม่น่าเป็นไปได้ว่าสถานะและตำแหน่งของแอร์โดอานในกลุ่มพันธมิตรอาหรับหรืออย่างน้อยที่สุดจะสะดุดลง หรือสั่นคลอน

ไม่ว่าในกรณีใด  สิ่งที่อาจกล่าวได้ก็คือแอร์โดอานด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นกล่าวคือการก้าวไปสู่เป้าหมายในภูมิภาคและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กำลังเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป  และความสัมพันธ์ระหว่างตุรกี สหรัฐฯคาดว่าจะเข้าสู่ช่วงที่ยากลำบากอย่างน้อยก็ในระยะสั้นภายใต้รัฐบาลของไบเดน ดังนั้นแอร์โดอานจึงพยายามทำลายฝ่ายต่อต้านด้วยความช่วยเหลือของระบอบไซออนิสต์และดึงดูดการสนับสนุนจากวอชิงตัน

ประมานการพัฒนาคือความสัมพันธ์ของแอร์โดอานกับอิควานมุสลิม (ภราดรภาพมุสลิม)จะไปถึงไปจุดไหน  แต่จากคำพูดของแอร์โดอานได้ฉุกคิดว่าอังการาไม่มีปัญหากับอัตลักษณ์ของระบอบไซออนิสต์และมีเพียงความเห็นเดียวคือเทลอาวีฟควรปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์ให้ดีขึ้น  ในขณะที่โลกอิสลาม (ไม่ใช่ผู้ปกครองอาหรับที่ทรยศบางคน) เชื่อว่าการดำรงอยู่ของ ระบอบการปกครองที่ยึดครองในเยรูซาเล็มไม่มีความชอบธรรมและโลกอิสลามไม่ควรยินยอมให้ดินแดนปาเลสไตน์แม้แต่นิ้วเดียวตกอยู่การยึดครองของไซออนิสต์

source: mehrnews