สรุปประเด็นที่น่าจับตามองในสัปดาห์ ดังนี้
[I]ยุโรปบนทางสองแพร่ง จะให้ข้อตกลง JCPOA ไปต่อข้างหน้าด้วยการทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับอิหร่าน หรือ จะคว่ำกระดานตามแรงกดดันของทรัมป์
[II]ตุรกีรับช่วงต่อจากสหรัฐในปฏิบัติการซีเรีย แผนถล่มเคิร์ด เป็นกล่องแพนโดร่า หรือ โอกาส สำหรับตุรกี
[III]บทบาทที่มากขึ้นของรัสเซียในภูมิภาคตะวันออกกลาง
1.ยุโรปบนทางสองแพร่ง
ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับประเทศยุโรปทั้ง 3 ประเทศกำลังเข้าสู่สภาวะซ้ำร้อยหรือไม่ ? ฝรั่งเศส บริเตน เยอรมัน จะเลือกให้ความร่วมมือกับทางอิหร่านและละทิ้งสหรัฐอเมริกา หรือจะเลือกทำตามที่ทรัมป์ต้องการเล่นเกมไปตามหมากของสหรัฐฯ สุดท้ายชะตากรรมของการเจรจาจะไปพบกับความสำเร็จที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันได้ หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมาจะจบลงเพียงเท่านี้?
(1)บทบาทของยุโรปดูคลุมเครือ
เริ่มด้วยกันพิจารณาในแผนปฏิบัติการรวมเบ็ดเสร็จ ซึ่งในตอนนี้ได้เปลี่ยนจำนวนสมาชิกจาก 5 + 1 เป็น 4 + 1 เพราะสหรัฐได้ลบตัวเองออก ประเทศทั้ง 3 ของทางฝั่งยุโรปไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของอิหร่านในการทำข้อตกลง แน่นอนว่าทั้งเตหะรานและวอชิงตันต่างรู้บทบาทของตนเองในการทำข้อตกลงดี เรื่องแรกที่ถูกตั้งคำถามคือ ทางฝั่งยุโรป รู้บทบาทของตนเองดีหรือไม่ เพราะจากที่เห็นบทบาทของพวกเขาดูคลุมเครือเหลือเกิน
(2) สมาชิกที่เหลือต้องคิดหนักขึ้น
ประธานาธิบดีสหรัฐโดนัลด์ทรัมป์ได้ถอนตัวออกจากการทำข้อตกลงนิวเคลียร์แบบหลายฝ่ายกับอิหร่านเมื่อปีที่แล้ว แน่นอนว่าสมาชิกที่ยังเหลืออยู่ก็ต้องวางเดิมพันสูงขึ้น เพราะต้องการเจรจากับเตฮรานต่อ (+)อีกทั้งการคว่ำบาตรของสหรัฐยังมีผลต่อชีวิตของข้อตกลงนิวเคลียร์นี้ เพราะมันเป็นการทำข้อตกลงโดยที่อีกฝ่ายยังคงถูกคว่ำบาตรอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังทำให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของอิหร่านที่ขึ้นกับข้อตกลงนี้ลดลงในระดับหนึ่ง
(3)ยุโรปแผ่วปลาย เราทำไม่ได้ถ้าไม่มีอเมริกา
ในช่วงเดือน 9 ของปี 2018 เพียงไม่กี่นาทีหลังจากที่รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของทรัมป์ได้ประกาศว่าเราจะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจะถอนตัวออกจาก JCPOA เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองต่างประเทศของสหภาพยุโรป Federica Mogherini ก็ออกมาแถลงว่าผู้ที่เหลืออยู่จะทำข้อตกลง JCPOA ต่อไป แม้จะไม่มีสหรัฐ ซึ่งในช่วงเวลานั้นประธานาธิบดีอิหร่านนายฮัสซันโรฮานีก็ได้ออกมาตอบโต้การกระทำของสหรัฐว่า สมาชิกตัวหลักที่น่ารำคาญที่คอยสร้างประเด็นและพยายามหาเรื่องเรามาโดยตลอดกลับออกจากการทำข้อตกลงเสียเอง ทั้งที่เราหารือกันมาได้ถึง 17 เดือน (+) หลังจากนั้น Mogherini ก็ออกมาบอกลาสหภาพยุโรปและมอบหมายหน้าที่ของตนเองให้คนอื่นทำในข้อตกลง JCPOA แทน และออกแถลงว่า”สมาชิกที่เหลืออยู่ไม่สามารถที่จะทำข้อตกลงต่อไปได้ถ้าไม่มีสหรัฐฯเข้ามาร่วมด้วย และหลังทรัมป์ออก ทางอิหร่านก็ได้เริ่มต้นการลดพันธะในการทำข้อตกลง JCPOA ซึ่งในตอนนี้ก็ผ่านมา 3 ขั้นตอนแล้ว” ในส่วนนี้เอง ที่อิหร่านยึดตรรกะว่า “เราจะทำข้อตกลงต่อไป ถ้าพวกเขาทำตามสัญญาที่ให้ไว้” เพราะยุโรปเคยสัญญาว่าไม่มีอเมริกา เราก็ไปต่อกันได้ แต่มาตอนนี้กลายเป็นว่าต้องมีสหรัฐไม่งั้นเราจะไปไหน
(4) กลไกชำระหนี้พิเศษ ช่วยอะไรได้บ้าง
ต่อมาสามประเทศที่เหลืออยู่จากทางฝั่งสหภาพยุโรป วางแผนโครงการเฉพาะกิจ เพื่อรักษาผลประโยชน์ในข้อตกลง JCPOA ก่อนการทำข้อตกลงอีกครั้ง ภายใต้ชื่อ “กลไกชำระหนี้พิเศษ INSTEX” เพื่อเลี่ยงการคว่ำบาตรจากสหรัฐและทำให้ข้อตกลงนิวเคลียร์สามารถเดินไปต่อได้ แต่พอผ่านไปได้ 1 ปี 5 เดือน หลังจากไม่มีอเมริกา นโยบายกลับฝืดไม่ได้ไปไหน (+)ในช่วงเวลานี้ยุโรปได้เล่นบทบาทเหยียบเรือสองแคม เริ่มจะมีการพูดว่า ระหว่างการรักษาผลประโยชน์ของตนเองทั้งทางการเมืองและทางความมั่นคงแต่ต้องทิ้งการทำข้อตกลงกับอิหร่าน กับการทำข้อตกลงกับอิหร่านต่อไป แต่อาจจะต้องเสียผลประโยชน์ ตัวเลือกไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน ? ในช่วงแรกยุโรปเลือกที่จะเลิกทำสัญญากับอิหร่าน แต่หลังจากที่ได้เห็นความพยายามของอิหร่านในการพัฒนากระบวนการเศรษฐกิจ เพื่อยกเลิกการคว่ำบาตร ยุโรปก็เริ่มประสานกับอิหร่านภายใต้เงื่อนไขที่มีข้อจำกัดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้คล้ายกันกับกระบวนการที่ฝรั่งเศสพยายามทำไว้ก่อนที่ทรัมป์จะออกจากการทำข้อตกลง
(5)ยุโรป อุปกรณ์คว่ำบาตร
ในช่วง 3 เดือนล่าสุด สหภาพยุโรปได้ตั้งให้ เอ็มมานูเอลมาครอง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นตัวแทนเพื่อหาทางออกระหว่างเตหะรานกับวอชิงตัน ซึ่งในความเป็นจริงนี่เป็นการยอมรับว่า ที่ผ่านมา ยุโรปไม่ประสบความสำเร็จ หากไม่แคร์เสียงสหรัฐฯ เพราะพวกเขาไม่สามารถสร้างความเป็นเอกเทศในทางเศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างแท้จริง กล่าวคือ ยุโรปถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการคว่ำบาตรนับครั้งไม่ถ้วน ส่วนในด้านการเมืองพวกเขาก็ต้องตามสหรัฐ จนกลายเป็นว่านโยบายของสหรัฐถูกเปลี่ยนแปลงกายเป็นนโยบายในระดับสากลประเทศ สหภาพยุโรปจึงต้องเปลี่ยนเป็นไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามอเมริกา ถึงแม้ว่าอิหร่านจะประกาศตั้งแต่ตอนต้นว่า ยุโรปจะมีนโยบายอย่างไรก็ได้ แต่ต้องรักษาสัญญาที่ให้ไว้ใน JCPOA และทางอิหร่านพร้อมเปิดประตูทางการทูตเสมอ(+)อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เตหะรานจะเดินมาครึ่งทาง แต่กลับกลายเป็นว่าเราก็ยังได้เห็นคำพูดที่ดุดันจากผู้นำทางต่างประเทศของยุโรป ทั้งสาม 3 ประเทศของยุโรปใส่อิหร่าน ถึงแม้ว่าใจจริงแล้วพวกเขาไม่ได้ต้องการจำกัดบทบาทของตนเองในภูมิภาคก็ตาม คือ EU อยากขายของกับอิหร่าน แต่เกรงใจมะกัน สุดท้ายยุโรปก็ไขว้เขวเพราะสหรัฐถอนตัว(+)นอกจากนี้คำขอของสหรัฐไม่เกี่ยวข้องกับการทำข้อตกลง JCPOA และมีการเน้นย้ำว่าการทำข้อตกลงกับอิหร่านจะเป็นการตกลงกันในเรื่องของนิวเคลียร์เท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่า ยุโรปจะดีกับอิหร่านแค่เรื่องนิวเคลียร์ ส่วนเรื่องอื่นพวกเขาจะกลายเป็นเครื่องมือของสหรัฐ ตัวชี้วัดว่าแนวทางการเมืองของทางฝั่งดังกล่าวเป็นแบบนี้ คือในช่วงที่ประธานาธิบดีอิหร่านได้เดินทางมายังกรุงนิวยอร์กเพื่อหารือ และเสนอความคิดริเริ่มในการสร้างความมั่นคงในภูมิภาคและในเขตอ่าวเปอร์เซีย ในสหประชาชาติ ทั้ง 3 ประเทศกลับกล่าวหาไปตามสหรัฐว่าอิหร่านอยู่เบื้องหลังการโจมตีแหล่งขุดเจาะน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย เรื่องนี้มันน่าสนใจตรงที่พวกเขาออกมากล่าวหาแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนและบอกเขาเองก็ยอมรับและในอีกทางหนึ่งยุโรป ต้องทำสัญญาในข้อตกลงนิวเคลียร์อยู่ เหมือนด่าเขาในทางหนึ่งแต่ก็ขอความร่วมมือจากเขา (+)รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอิหร่านจึงตอบกลับชาวยุโรปในทันทีว่า”พวกท่านควรจะรักษาสัญญาในการทำข้อตกลงแทนที่จะทำตัวเป็นตามใจสหรัฐ (+)หลังจากนั้นประธานาธิบดีฮัสซันรูฮานีก็ออกมากล่าวอีกเช่นกันในช่วงที่กำลังกลับจากนิวยอร์กว่าข้าพเจ้าได้เจอกับบรรดาผู้นำยุโรปและข้าพเจ้าก็ถามเพราะคำว่ามีหลักฐานอะไรที่บอกว่าอิหร่านเกี่ยวข้องกับการโจมตีแหล่งน้ำมันซาอุฯ พวกเขาให้การยอมรับกับข้าพเจ้าว่าไม่มีหลักฐานอะไรอยู่ในมือของพวกเขาเลย (+)นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงที่เอ็มมานูเอล มาครองประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้พบปะกับรูฮานี และก็ได้ออกแถลงและเตรียมแผนการให้ประธานาธิบดีอิหร่านได้พบเจอกับประธานาธิบดีสหรัฐ แต่สุดท้ายทางอิหร่านก็ปฏิเสธที่จะนั่งโต๊ะกับสหรัฐ เรื่องนี้มันเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เราเข้าใจว่า ยุโรปกำลังทำแบบเดิมแต่หวังผลที่แตกต่าง หมายถึงสิ่งที่ยุโรปกำลังทำในวันนี้ก็เหมือนกับที่พวกเขาได้ทำในช่วงปี 2003 ถึง 2005 ซึ่งมันไม่ประสบความสำเร็จเลย แล้วที่ไม่ประสบความสำเร็จก็เพราะพวกเขาเลือกที่จะตามใจสหรัฐฯ (+)ซึ่งเราก็พอเข้าใจว่าทำไม
อันที่จริงมันเป็นเรื่องง่ายมาก เพราะถ้าเมื่อไหร่ยุโรปตัดสินใจด้วยตัวเองโดยไม่แคร์มะกัน พวกเขาก็อาจโดนทรัมป์ลงโทษและคว่ำบาตรเหมือนกับอิหร่าน แต่ถ้าหากตัดสินใจเล่นเกมไปตามกติกาของทรัมป์ ผู้คนก็จะพูดว่าผู้นำของพวกเขาเป็นลูกน้องของสหรัฐฯ มันจึงเป็นเรื่องน่าหนักใจสำหรับทางยุโรปที่ต้องเผชิญกับทางสองแพร่งแบบนี้ (+)อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนอิหร่านจะส่งเสริมให้ยุโรปเป็นตัวของตัวเองมากกว่า เพราะพวกเขาประกาศแค่ว่าไม่ต้องการเจรจากับสหรัฐ แต่ไม่ได้ประกาศว่าประเทศตนจะไม่เจรจากับทางฝั่งยุโรป และมองในเชิงบวกถ้ายุโรปปลดแอกให้เป็นเอกเทศจากสหรัฐ อิทธิพลของสหรัฐก็จะลดลงต่อสหภาพและในทางกลับกันสหภาพยุโรปก็จะมีอำนาจมากขึ้นด้วย ดังนั้น เกมการเมืองระดับโลกในก้าวต่อไป ฝ่ายที่น่าจับตามองอีกฝ่ายนึงก็คือ 3 ประเทศจากยุโรป เพราะไม่ว่าพวกเขาจะเลือกทางใด ทางนั้นย่อมเป็นตัวกำหนดอนาคตของภูมิภาค EU…
2.กล่องแพนโดราของตุรกี หรือ โอกาสครั้งใหม่
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 62 รอญับ ตอยยิบ อุรดูฆอน ประกาศโจมตี กลุ่มก่อการร้าย ในซีเรีย ด้วยการทิ้งระเบิดในพื้นที่เป้าหมาย โดยทางรบ.ตุรกี แถลงว่า กลุ่มผู้เป็นเป้าหมายหลักในการโจมตี คือ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเคิร์ด ไอเอส และกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ
มุมมองทางเลือก : การสร้างสันติด้วยสงครามของตุรกี
เรื่องนี้ เริ่มจาก (1)ทรัมป์ประกาศถอนทหารอเมริกัน ออกจากพื้นที่ และมอบหมายให้ตุรกีมารับช่วงต่อ แต่(2)พอตุรกีเริ่มปฏิบัติการณ์ ทรัมป์ก็ส่งสาส์นเตือนตุรกี ไม่ให้ ถล่มชาวเคิร์ด ทรัมป์ให้เหตุผลว่า ถ้าตุรกีโจมตีเคิร์ด มันจะส่งผลเสียทางเศรษฐกิจต่อตุรกีเอง (+)แต่บางแหล่งข่าว วิเคราะห์ว่า ที่ทรัมป์เบรกตุรกี เพราะ กลุ่มเคิร์ด นับเป็นพันธมิตรสำคัญในการปราบ IS (3)ในช่วงสัปดาห์ล่าสุด พรรค CHP ฝ่ายค้านของอุรดูฆอน ก็ได้ออกมากล่าวในงานเสวนาในหัวข้อ”วิกฤตการณ์ซีเรีย”โดยพรรคการเมืองนี้ใดแสดงความเห็นว่า ตุรกีควรจะสนับสนุนและยอมรับรัฐบาลของบะชัร อัลอะซัด แทนที่จะไปต่อต้าน ควรทำงานประสานงานร่วมกัน นี่คือหนทางในการแก้ปัญหา (4)หลังจากมีข่าวถึงการถอนทหารของสหรัฐ โดนัลด์ทรัมป์ได้ประกาศว่าสหรัฐจะถอนทหารออกจากภูมิภาคในซีเรียและจะให้ตุรกีเข้ามารับช่วงต่อ ซึ่งการรับช่วงต่อของประธานาธิบดีตุรกี สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นแพรคมาติสหรือประโยชน์นิยมของอูรดูฆอน (5)ก่อนหน้านี้เราได้เป็นพยานต่อชะตาชีวิตทางการเมืองของเขา กล่าวคือในช่วงหนึ่งสหรัฐฯขู่ปธน.จึงมีผลทำให้ ประธานาธิบดีตุรกีตัดสินใจสั่งซื้อระบบขีปนาวุธ s 400 จากรัสเซีย แม้ว่ากระบวนการในการติดตั้งระบบนี้จะเริ่มต้นในปี 2020 ก็ตาม แต่ในอีกด้านหนึ่งตุรกีก็เล่นบทไปตามที่สหรัฐต้องการด้วย (6)อูรดูฆอน ต้องเผชิญกับปัญหาการเมืองภายในและยังต้องสู้กับคู่แข่งทางการเมืองจากพรรค CHP (7)ดังนั้นการโจมตีแม่น้ำยูเฟรติสทางทิศตะวันออกของประธานาธิบดีตุรกี กลับกลายเป็นการเดิมพันที่จะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมทางการเมืองของอูรดูฆอน (8)ก่อนหน้านี้กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดและกลุ่มนักรบซีเรียตะวันออกคือ 2 กลุ่มที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีสหรัฐเป็นผู้หนุนหลัง ออกคำสั่งโดยประธานาธิบดีบารัคโอบามา แต่ทั้งหมดสิ้นหวังและประสบความล้มเหลวในการต่อสู้กับไอซิส นับเป็นความล้มเหลวที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายมหาศาล ความล้มเหลวนี้นำมาสู่ผลลัพธ์หนึ่ง นั่นคือความล้มเหลวในการโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย (9)หลังจากสิ้นสมัยของประธานาธิบดีบารักโอบาม่าโดนัลด์ ทรัมป์ก็ได้รับเลือกตั้งและเขาก็นำเสนอนโยบายและประกาศว่าตนจะจบสงครามซีเรียและมาวันนี้โดนัลด์ทรัมป์ได้ประกาศออกมาว่า ทหารสหรัฐจะถูกถอนกำลังออกจากพื้นที่ในซีเรียโดยเขามองว่าการอยู่ต่อในภูมิภาคไม่ได้ก่อประโยชน์ใดๆให้กับสหรัฐ เราอยู่ห่างไกลจากซีเรียหลายพันไมล์และยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายมหาศาลที่ต้องหมดไปกับเรื่องนี้ด้วย ทรัมป์ทิ้งท้ายโดยการส่งต่อไม้ทางการทหารให้กับตุรกี แต่จากคำอธิบายทั้งหมดทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าการรับไม้ของตุรกีทำให้พวกเขาจะต้องเดิมพันชะตากรรมทางการเมืองของตนเอง และอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย เพราะ
ประการแรกการที่ตุรกีรับไม้ต่อจากสหรัฐไม่ได้หมายความว่า ตุรกีจะมีอำนาจมากขึ้นในภูมิภาค เพราะมีขั้วอำนาจมากเกินไป และยังมีนัยว่ารัสเซียเริ่มแผ่อิทธิพลของตนในภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย และประการต่อมาการทำสงครามหรือการรับช่วงต่อของตุรกีเป็นกระบวนการที่ตามมาด้วยงบประมาณมหาศาล ถ้าหากสหรัฐถอนตัวจากซีเรีย และประการที่สาม อุรดูฆอน ยังต้องต่อสู้กับพรรคการเมืองภายในประเทศของตนเอง เราก็ได้เห็นแล้วว่าแม้แต่ในตุรกี ในระดับพรรคการเมืองก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับอุรดูฆอน เพราะสงครามซีเรียมันเป็นสงครามยืดเยื้อที่แทบจะไม่มีวันสิ้นสุดแบบเดียวกับที่สหรัฐอธิบายไว้ จึงทำให้หลายฝ่ายมองว่าแทนที่จะไปรบหรือวางแผนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย ทำไมเราไม่ร่วมงานกับพวกเขา ?
ความขัดแย้งและทัศนะที่แตกต่างภายในบรรยากาศการเมืองในประเทศของตุรกีก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะชี้ให้เห็นว่าในขณะนี้ประธานาธิบดีคนล่าสุดของตุรกีกำลังเดิมพันกับไม้ต่อที่รับมา จากสหรัฐฯ ของที่สืบทอดมาครั้งนี้ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นกล่องแพนโดร่าสำหรับตุรกีก็เป็นได้
3.รัสเซียแผ่อิทธิพล
บทบาทใหม่ของรัสเซียในตะวันออกกลาง เป็นบทบาท ที่จะเห็นว่าพวกเขาไม่ได้กำลังตกหลุมทรายดูด แต่เป็นการขยายอำนาจและอิทธิพลในตะวันออกกลาง เพราะเราเริ่มจะเห็นว่าผู้นำรัสเซียหรือรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศรัสเซียมักปรากฏตัวในแต่ละประเทศของภูมิภาคตะวันออกกลาง
ทั้งการปรากฏตัวของนายวลาดีเมียปูติน ในอิสราเอล เมื่อสัปดาห์ก่อน (1)โดยทางปูตินได้ยื่นข้อเสนอและพูดคุยถึงประเด็นเรื่องความมั่นคง (2)การแสดงมุมมองว่ารัสเซียอยากจะแก้ปัญหาด้วยการเจรจามากกว่าการทำลายล้าง (3)ในเรื่องของอิหร่าน รัสเซีย ก็ออกมาปฏิเสธไม่ยอมรับการกล่าวหาว่าอิหร่านอยู่เบื้องหลังการโจมตีแหล่งขุดเจาะน้ำมัน (4)การสนับสนุนโครงการสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่อ่าวเปอร์เซียที่ทางอิหร่านได้ดำเนินการโดยมีกาตาร์สนับสนุนแนวคิดนี้ เป็นอีกด้านนึงที่รัสเซียออกมาแสดงบทบาทในฐานะผู้สนับสนุน (5)การสนับสนุนประธานาธิบดีบะชัร อัลอะซัด ให้รับมือกับกลุ่มก่อการร้ายอย่าง IS และ(6)ยังมีบทบาทที่รัสเซียมีต่อตุรกี นั่นคือการขายระบบขีปนาวุธS400 จากรัสเซีย ซึ่งจะมีการติดตั้งในปี 2020 และการเดินทางมาเยือนแบกแดดของนายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ และ(7)ยังมีรายานอีกว่ารัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียมีแผนเตรียมการที่จะเดินทางไปซาอุดิอาระเบียเพื่อเจรจาและหารือร่วมกัน เรียกได้ว่าทุกการขยับของรัสเซียในช่วงเวลานี้ ล้วนมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งแสดงถึงการแผ่อำนาจและอิทธิพลของรัสเซีย และล่าสุด(8)การมาเยือนอิรักของ รมต.รัสเซียก็เริ่มเปิดเผยเป้าหมายระยะยาวของประเทศนี้ให้เราได้เห็น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เซอรเกย์ ลาฟรอฟ ได้เข้าพบ นาย อาเดล อับดุลมะฮดี นายกรัฐมนตรีอิรัก เรื่องหลักที่เขากล่าวคือ ความจำเป็นที่จะต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 รัฐบาล เพื่อให้มีการค้าเกิดขึ้น ข้อตกลงทางการค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ทางรัสเซียจะขายให้กับรัฐบาลอิรัก การให้ความร่วมมือกับรัสเซียในเรื่องพลังงาน ความมั่นคง น้ำมัน และแก๊ส
Geopolitical Futures ได้วิเคราะห์ว่าการเดินทางของรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศรัสเซีย สู่อิรักและดินแดนเคิร์ดิสถาน ไม่ใช่การกระทำที่ไม่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน แต่มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงบทบาทระยะยาวในตะวันออกกลางที่รัสเซียกำลังทำให้มันสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เหตุผลแรกนั้นก็เพราะว่าอิรักถือเป็นโอกาสสำหรับรัสเซียในการแผ่อิทธิพลของตนในภูมิภาค และพวกเขาสามารถวางสถานะคนกลางเชื่อมความสัมพันธ์ของตนกับประเทศอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เช่นเตหะราน หรือ เทลอาวีฟ ทั้งๆที่อิหร่านกับอิสราเอลนั้นเป็นศัตรูกัน แต่ 2 ประเทศก็ให้เกียรติรัสเซีย เหตุผลที่ 2 คือ การที่รัสเซียพยายามสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่ออิรัก ได้ทำให้มอสโกสามารถขยายอิทธิพลเหนือคู่แข่งในภูมิภาคนี้ อย่างสหรัฐซึ่งในตอนนี้ก็ได้เก็บของออกไปแล้ว และตุรกีเองก็ซื้ออาวุธจากรัสเซีย นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงการขยายอำนาจของรัสเซียที่มากขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ในตอนนี้หากจะอธิบายว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไรเราก็สามารถสรุปได้ว่า อเมริกาต้องการถอนตัวจากตะวันออกกลางและให้ตุรกีมารับช่วงต่อ รัสเซียอยากให้รบ.ซีเรียอยู่ต่อไป และทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย ตุรกีอยากกำจัดเคิร์ทแต่เคิร์ดที่ว่าไม่ใช่เคิร์ดที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนในแผ่นดินตุรกี อิหร่านอยากให้อิทธิพลของอเมริกาลดลงและให้รัฐบาลซีเรียอยู่ต่อไป พรรคฝ่ายค้านของตุรกี อยากให้อูรดุฆอนเปลี่ยนบทบาทจากต่อต้านและพยายามโค่นล้มรัฐบาลซีเรียมาสนับสนุนและหาทางร่วมมือกัน ซาอุดิอาระเบียอยากลดอิทธิพลของอิหร่าน กลุ่มกบฏเคิร์ทอยากให้อเมริกาอยู่ต่อ และกลุ่มก่อการร้ายไอเอสหวังจะเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง นี่คือเป้าหมายของแต่ละฝ่ายในภาพรวม และเราจะติดตามกันต่อไปว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป
source:
https://geopoliticalfutures.com