สื่อตุรกี รายงาน  ความสัมพันธ์ “ฮามาส-อิหร่าน” เข้าสู่ขั้นตอนใหม่ครั้งประวัติศาสตร์

313

IRNA – สำนักข่าว “อะนาโดลู” ตุรกี เขียนว่า : ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ระหว่างฮะมาสและอิหร่านจะเข้าสู่ขั้นตอนใหม่ครั้งประวัติศาสตร์หลังจากการมาเยือนของผู้แทนระดับสูงฮามาสในกรุงเตหะรานและการพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิหร่าน 

เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2012 ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและฮามาสได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ของซีเรีย และรู้สึกว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายจะเกิดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต

ช่วงเกิดวิกฤตการณ์ในซีเรียความสัมพันธ์ระหว่างฮามาสและเตหะรานก็เริ่มตึงเครียดขึ้น แต่ในปี 2014 และหลังจากการโจมตีของระบอบยิวไซออนิสต์ในฉนวนกาซาและตามมาด้วยชัยชนะของขบวนการต่อสู้เหนือยิวไซออนิสต์ เจ้าหน้าที่อิหร่านก็ได้มีความสัมพันธ์กับฮามาสในระดับที่ดีขึ้น 

การสร้างสายสัมพันธ์ปัจจุบันระหว่างฮามาสและเตหะรานเกิดขึ้นในช่วงเงื่อนไขเวลาที่ภูมิภาคกำลังเผชิญกับความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกาและระบอบการปกครองยิวไซออนิสมต์กำลังพยายามลบปัญหาปาเลสไตน์ออกจากความทรงจำของประชาชาติอิสลามโดยใช้แผน “ข้อตกลงแห่งศตวรรษ”ในอีกทางหนึ่งเตหะรานได้แสดงถึงการสนับสนุนปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่องเพื่อชี้ให้เห็นว่าเตหะรานมีจุดยืนที่แตกต่างจากรัฐอาหรับในกรณีของปาเลสไตน์  และจุดยืนของเตหะรานต่อปัญหาปาเลสไตน์นั้นเป็นจุดยืนที่มั่นคงต่อเนื่อง

สำนักข่าวอะนาโดลู เขียนเสริมว่า  ถ้าเราจะดูที่ไปที่มาของความใกล้ชิดในปัจจุบันระหว่างเตหะรานและฮามาส เบื้องต้นเราต้องรู้ว่าภูมิภาคนี้แบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม: 

กลุ่มแรก รัฐอ่าวอาหรับ ซึ่งจะมีจุดยืนและท่าทีเชิงลบอย่างสิ้นเชิงต่อปาเลสไตน์ ยกเว้นกาตาร์

กลุ่มที่สอง ประเทศอาหรับในแอฟริกาเหนือ ที่มีท่าทีค่อนข้างดี แต่มีบทบาทและอิทธิพลค่อนข้างน้อยมากในปัญหาปาเลสไตน์

กลุ่มที่สาม ตุรกีที่ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการเพื่อสนับสนุนปาเลสไตน์

และกลุ่มสุดท้าย สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ที่ไม่ยอมสนองนโยบายของมหาอำนาจโลก  ซึ่งมีนโยบายที่เป็นอิสระในการสนับสนุนปาเลสไตน์อย่างเต็มที่โดยไม่เกรงกลัวชาติมหาอำนาจและถือว่าปัญหาปาเลสไตน์เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่ไม่อาจจะแยกออกจากกลยุทธ์ของเขาได้

จากข้อมูลนี้ ภูมิภาคของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อทิศทาง แนวทางและแนวโน้มทางการเมือง   บนพื้นฐานนี้ทำให้ประเทศอิสลามจำนวนมากได้ละทิ้งปัญหาปาเลสไตน์จากลำดับความสำคัญทางการเมืองของพวกเขา

สำนักข่าวอะนาโดลู เขียนเสริมว่า จากข้อมูลเหล่านี้ระบอบการปกครองของยิวไซออนิสต์และสหรัฐอเมริกา ใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่ซับซ้อนของภูมิภาคและพยายามกำหนดสมการใหม่ในรูปแบบและเนื้อหาของตะวันออกกลาง  ทำให้ฮามาสเข้าใจว่ากลุ่มที่สี่ (อิหร่าน) ในภูมิภาคแม้จะมีความแตกต่างทางอุดมการณ์เล็กน้อยกับผู้นำฮามาสแต่ก็มีจุดยืนและท่าที่ที่เป็นมิตรอย่างแท้จริงกับขบวนการต่อสู้ปาเลสไตน์ในการเผชิญหน้ากับอิสราเอล

ดังนั้นฮามาสจึงเข้าสู่แนวรบกับอิหร่าน เพื่อที่จะพยายามสร้างสมการใหม่ในการต่อกรและต่อต้านสหรัฐและอิสราเอลเพื่อปรากฏตัวในลักษณะที่มีอำนาจและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในประเด็นปาเลสไตน์