โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุดิอาระเบีย ได้เดินทางไปยังหลายประเทศอาหรับเพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีหลังจากเหตุการณ์ฆาตกรรม “จามาล คาช็อกกี” นักวิจารณ์นโยบายของบินซัลมาน อีกทั้งยังเดินทางเข้าร่วมการประชุม G20 ในอาร์เจนตินาอีกด้วย
การมาเยือนประเทศอาหรับของโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แม้ว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากบรรดาผู้นำของบางระบอบอาหรับในภูมิภาคนี้ก็ตาม แต่ก็เกิดคลื่นกระแสแห่งการต่อต้านของประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายทางสังคม จุดเด่นของการประท้วงเหล่านี้อยู่ที่ประเทศตูนิเซียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดการปฏิวัติโลกอาหรับที่รู้จักในนาม “อาหรับสปริง” ซึ่งผู้คนได้ออกมาเดินประท้วงต่อต้านและแสดงความโกรธเคืองตามท้องถนนในเขตชานเมืองฮาบีบ เบอร์กัยบะห์ (Habib Bourguiba) ในเมืองหลวง โดยเรียกร้องให้ขับไล่บินซัลมานออกจากประเทศ
การประท้วงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายจนเจ้าหน้าที่ของประเทศยกเลิกการแถลงข่าวร่วมกับบินซัลมาน
การวิพากษ์วิจารณ์ต่อบินซัลมาน ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระดับประชาคมโลก แม้แต่ทำเนียบขาวเอง ประกาศอย่างเป็นทางการว่า “โดนัลด์ ทรัมป์” ซึ่งเคยสนับสนุนนโยบายของบินซัลมาน มาโดยตลอด ก็ออกมากล่าวว่า ทรัมป์จะไม่ขอพบปะกับบินซัลมาน โดยอ้างว่าไม่มีเวลา
บางทีความรู้สึกแรกๆ ก็คือ ความโกรธและความเกลียดชังของโลกอาหรับต่อซาอุดีอาระเบียเป็นเพราะการลอบสังหาร คาช็อกกีอย่างโหดร้าย แต่เมื่อเจาะลึกในเรื่องนี้มันยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีกมาก
ฐานะภาพของซาอุดิอาระเบียโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการตายของคาช็อกกี ได้ลดลงเป็นอย่างมากจากในสายตาของสาธารณชนในโลกอาหรับ และมันตรงกันข้ามกับในอดีตที่ผ่านมาที่ไม่มีช่องทางสำหรับการวิจารณ์ในระดับประเทศและคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้แม้มีอยู่ในระดับต่างประเทศ มันก็จัดอยู่ในวงแคบๆ เท่านั้น แต่ตอนนี้เราเห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ถูกดึงออกมาให้เห็นด้วยการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนอย่างกว้างขวาง
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงของสิ่งนี้ และบ่งชี้ว่าในความคิดเห็นของประชาชนในภูมิภาคนี้ว่าฐานภาพของซาอุดีอาระเบียกำลังตกต่ำลงอย่างมาก
ในความเป็นจริงแล้วความโกรธและความไม่พอใจของประชาชนทั่วโลกอาหรับอันเป็นผลมาจากนโยบายการเมืองซาอุดิอาระเบีย แต่การตายของคาช็อกกีเป็นผลพวงหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรุนแรงของความไม่พอใจเหล่านี้รุนแรงขึ้นเท่านั้น
การแทรกแซงของซาอุดีอาระเบียในกิจการภายในประเทศอาหรับ จากเลบานอน ซีเรีย และอิรัก สู่สงครามเยเมนปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้โลกอาหรับไม่ชอบราชวงศ์อาลิซาอูด และถือว่าระบอบการปกครองนี้ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงและสงครามในภูมิภาคนี้ วิธีการปฏิสัมพันธ์กับกาตาร์จากประเทศอ่าวเปอร์เซียรวมทั้งการตัดความสัมพันธ์และการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการแทรกแซงของริยาดในกิจการของเหล่าประเทศอาหรับ เพื่อบีบบังคับให้โดฮาต้องประนีประนอมและปฏิบัติตามนโยบาย “ตามใจฉัน” ของซาอุฯ เกี่ยวกับภูมิภาคนี้
ซาอุดิอาระเบียเนื่องจากเกิดความหวาดกลัวต่อการแพร่ขยายของการปฏิวัติอาหรับ ซึ่งจะทำให้บัลลังก์กษัตริย์ของตนสั่นคลอน จึงให้การสนับสนุนการรัฐประหารในอียิปต์ด้วยการปราบปรามบรรดานักอิสลามอนุรักษ์นิยมเพื่อป้องกันไม่ให้การปฏิวัติในอียิปต์ประสบความสำเร็จ และสกัดกั้นไม่ให้การปฏิวัติเหล่านี้สามารถเข้าถึงประตูเมืองของซาอุฯ ได้
นอกจากนั้นริยาดยังให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายติดอาวุธในระหว่างการประท้วงซีเรียเพื่อทำลายและโค่นล้มระบบการปกครองของซีเรียเพื่อกดดันขบวนการต่อสู้ (มุกอวิมัต) รวมถึงฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอน การแทรกแซงกิจการภายในของอิรักและทำให้เกิดสงครามระหว่างชนเผ่าในประเทศนั้น (ซาเมียร์ อัลซาบาฮัน ทูตซาอุฯ ถูกไล่ออกจากกรุงแบกแดดเนื่องจากการแทรกแซงกิจการภายในของอิรัก) การส่งกองกำลังทางทหารไปยังประเทศบาห์เรนเพื่อปราบปรามเดินประท้วงและผู้ต่อต้านรัฐบาล การแทรกแซงในประเทศในแอฟริกาก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของนโยบายเชิงลบของซาอุดิอาระเบียซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วยการรับตำแหน่งของบินซัลมานแห่งซาอุดิอาระเบีย
ประเทศที่อ้างว่าเป็นผู้นำของโลกอาหรับและอิสลาม เป็นเวลานานมาแล้วที่ได้นำประเด็นปาเลสไตน์ที่เป็นปัญหาอันดับแรกของโลกอิสลามออกไปจากวาระการประชุมของตน และได้พยายามสร้างความสัมพันธ์กับระบอบการปกครองยิวไซออนิสต์อย่างปกติเพื่อให้แผนการของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เรียกว่า “ข้อตกลงแห่งศตวรรษ” ดำเนินการต่อไป
อย่างไรก็ตาม ความเกลียดชังของโลกอาหรับต่อซาอุดีอาระเบียไม่ควรเชื่อมโยงกับปัญหาและการตายของคาช็อกกี่เพียงอย่างเดียว เพราะคลื่นแห่งความเกลียดชังต่ออาลีซาอูดนั้นมีรากฐานมาจากพัฒนาการในอดีตและปัจจุบัน……
อ้างอิง https://www.tasnimnews.com