“เฆาะดีรคุม” วันประกาศสาส์นสำคัญสุดท้ายแห่งอิสลาม

1267
 
โดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ

อบูตูเฟล รายจากเซด บิน อัรก็อม (ทั้งสองคือสาวกท่านศาสดา) เล่าว่า  :   เมื่อท่านศาสนฑูตแห่งอัลเลาะฮ์ (ศ) ได้กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่ เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้ (พักตรง) ต้นไม้ใหญ่แล้วสั่งให้กวาด (ลานให้สะอาด) แล้วท่านได้ปราศัยว่า ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียกกลับแล้วและฉันได้ตอบรับแล้ว

وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ  كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ

“แท้จริงฉันได้ทิ้ง สิ่งหนักสองสิ่ง ไว้ในหมู่พวกท่าน สิ่งแรกใหญ่กว่าสิ่งที่สองนั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และวงศ์วานของฉันคืออะฮ์ ลุลบัยต์(ครอบครัว)ของฉัน จงพิจารณาเถิดว่า พวกท่านจะรับเอาสองสิ่งนี้จากฉันไปรักษาอย่างไร เพราะสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่สระน้ำเกาษัร(หมายถึงจะกลับมาพบกับท่านในวัน สิ้นโลก)”

จากนั้นท่านได้กล่าวว่า

إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรง เป็นเมาลา (ผู้คุ้มครอง) ของฉัน และฉันเป็นวะลี (ผู้ปกครอง) ของผู้ศรัทธาทุกคน  จากนั้นท่านศาสดาได้จับมือท่านอาลี (ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นวะลีของเขา  ดังนั้นอาลีก็เป็นวะลีของเขา   โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา”

อ้างอิงจากหนังสือ อัลมุสตัดร็อก อัลฮากิม  หะดีษที่ 4553,4554  อัลฮากิมวิจารณ์ว่า วจนะนี้ถูกต้องตามเงื่อนไขของอัลบุคอรีและมุสลิม และเชคอัลบานีย์ได้วิจารณ์ว่า วจนะนี้มีสถานะถูกต้อง ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัซ-ซิลซิละฮ์ อัลอะฮาดีษ อัซ-ซอฮีฮะฮ์   เล่ม 4 : 330  หะดีษที่ 1750

อิหม่ามอะหมัดได้ รายงานว่า หลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้แต่งตั้งอาลีเป็นผู้ปกครองสืบต่อจากท่านเสร็จสิ้นแล้ว บุคคลแรกที่เดินเข้ามาแสดงความยินดีต่อท่านอาลีคือท่านอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ ดังที่มีบันทึกไว้ดังนี้  อัลบัรรออ์ บิน อาซิบ (สาวกคนหนึ่งของท่านศาสดา) เล่าว่า พวกเราอยู่กับท่านศาสนฑูตแห่งอัลเลาะฮ์ (ศ)ในการเดินทางครั้งหนึ่ง แล้วเราได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม จากนั้นได้มีเสียงประกาศการนมาซรวมกันในหมู่พวกเรา มีการเก็บกวาดพื้นที่ให้ท่านศาสนฑูตแห่งอัลเลาะฮ์ (ศ) ใต้ต้นไม้สองต้น ท่านได้นำนมาซซุฮ์ริเสร็จแล้ว ท่านได้จับมือท่านอาลีชูขึ้น พลางกล่าวว่า พวกท่านรู้ใช่ไหมว่า ตัวฉันนั้นมีอำนาจต่อบรรดาผู้ศรัทธามากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง พวกเขา(บรรดาสาวก)กล่าวว่า ใช่แล้วครับ แล้วท่านได้จับมือท่านอาลีชูขึ้นพลางกล่าวว่า

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

“บุคคลใดก็ตามที่ฉัน เป็นเมาลาของเขา  ดังนั้นอาลีก็เป็นเมาลาของเขา   โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา”

หลังจากนั้นท่านอุมัรได้เข้ามาพบท่านอาลีแล้วกล่าวว่า

هَنِيئًا يَا ابْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ وَأَمْسَيْتَ مَوْلَى كُلِّ مُؤْمِنٍ وَمُؤْمِنَةٍ

“ขอแสดงว่ายินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ บัดนี้ท่านได้เป็นนายของผู้ศรัทธาทั้งชายหญิงทุกคนทั้งยามเช้าและยามเย็น”  มุสนัดอะหมัด ฮะดีษที่ 18502 เชคชุเอบ อัรนาอูฏีย์วิจารณ์ว่าวจนะนี้ถูกต้อง

อิหม่ามฆอซาลี มรณะ ฮ.ศ. 505 นักปราชญ์ซุนนีย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังคนหนึ่ง ได้กล่าวถึงเหตุการณ์การให้สัตยาบันของท่าน อุมัร บิน คอฏฏอบ ต่อท่านอาลีในวันแห่ง “เฆาะดีรคุม” ว่า

وَاَجْمَعَ الْجَماَهِيْرُ عَلَى مَتْنِ الْحَدِيْث مِنْ خُطْبَتِهِ فِي يَومِ عِيْدِ غَدِيْرِ خُمٍ بِاِتِّفاَقِ الْجَمِيْعِ وَهُوَ يَقُولَ : مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

ปวงปราชญ์อิสลาม ทั้งหมดมีมติตรงกันต่อวจนะของท่านศาสดา(ศ)ที่กล่าวปราศัยในวันแห่ง เฆาะดีรคุมว่า  ผู้ใดก็ตามที่ฉันคือนายของเขา อะลีก็คือนายของเขา

فَقاَلَ عُمَرُ بَخٍ بَخٍ ياَ أباَ الْحَسَنِ لَقَدْ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مسلم

หลังจากนั้นอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ ได้แสดงความยินดีโดยกล่าวว่า ยินดีด้วย ยินดีด้วย โอ้อบุลฮาซัน(คืออาลี) วันนี้ท่านได้เป็นเจ้านายของฉันและเป็นเจ้านายของมุสลิมทั้งมวลแล้ว

อิหม่ามฆอซาลี กล่าวว่า

فَهَذاَ تَسْلِيْمٌ وَرِضَى وَتَحْكِيْمٌ ثُمَّ بَعْدَ هَذاَ غَلَبَ الْهَوَى تُحِبُّ الرِّياَسَة وَحَمَلَ عُمُوْدَ الْخِلاَفَة وَعُقُوْدَ النُّبُوَّةِ وَخَفَقاَنِ الْهَوَى فِي قَعْقَعةِ الرَّاياَتِ وَاِشْتِباَكُ اِزْدِحاَمِ الْخُيُوْلِ وَفَتْحُ الْأَمْصاَرِ وَسَقاَهُمْ كَأْسُ الْهَوَى فَعاَدُوْا إِلَى الْخِلاَفِ الْأَوَّلِ : فَنَبَذُوهُ وَرَاءَ ظُهُورِهِمْ وَاشْتَرَوْا بِهِ ثَمَنًا قَلِيلًا

คำพูดของท่านอุมัรนี้ ได้แสดงถึงการมอบสัตยาบัน มีความพอใจและยอมรับการแต่งตั้ง(ของท่านศาสดา)ในการเป็นผู้นำของท่านอาลี แต่ในเวลาต่อมาหลังจากนั้น เขาได้ผิดสัญญากับท่านศาสดา(ศ)อารมณ์ใฝ่ต่ำได้ครอบงำเขา ทำให้เขาลุ่มหลงในตำแหน่งผู้นำ และเขาได้หันเหเสาหลักแห่งการเป็นผู้ชี้นำไปจากที่เดิมของมัน และด้วยการบุกยึดครองดินแดนต่างๆได้ทำให้ความขัดแย้งของประชาชาติเพิ่มมาก ขึ้น จนหวลกลับสู่ความเป็นญาฮิลียะฮ์ดังที่อัลกุรอ่านได้กล่าวว่า “หลังจากนั้นเขาก็ได้ละทิ้งสัญญาเพื่อแลกกับสิ่งที่น้อยค่า มันช่างเป็นการค้าที่เลวร้ายและขาดทุนเสียนี่กะไร ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน : 187

อ้างอิงจากหนังสือ มัจญ์มูอะฮ์ เราะซาเอ็ล ของอิหม่ามฆอซาลี หน้า 483 สำนักพิมพ์ อัลมักตะบะฮ์ อัตเตาฟีกียะฮ์ ไคโร อียิปต์

นี่คือคำบอกเล่าเรื่อง ราวแห่ง เฆาะดีรคุม พร้อมกับทัศนะที่มาจากปากนักปราชญ์อิสลามนามว่า อิหม่ามเฆาะซาลี ซึ่งเขาได้ยืนยันถึงความจริงในเรื่องท่านศาสดาได้แต่งตั้งท่านอาลีเป็นผู้ ปกครองสืบต่อจากท่านไว้ ณ.สถานที่ๆชื่อว่า เฆาะดีรคุม ประเทศซาอุดิอารเบีย

อัซซะฮะบีย์อุลามาริญาลผู้เชี่ยวชาญประวัตินักรายงานและอุลามาได้กล่าวถึงท่านอิมาม ฆอซาลีย์ดังนี้

ฆอซาลีย์ เขาคือผู้รู้ คือผู้นำ คือทะเลแห่งความรู้ คือหลักฐานแห่งอิสลาม และคือคนมหัศจรรย์แห่งยุค เจ้าของตำรามากมาย มีความเฉลียวฉลาด…….หลังจากเป็นเวลาหลายปี(ออกไปแสวงหาความรู้)เขาได้ กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอนของเขา และใช้เวลาที่เหลือของชีวิตไปในหนทางของความรู้(จนวินาทีสุดท้าย)

อ้างอิงจาก หนังสือ ซิยัร อะลามุน-นุบะลาอ์  โดยอัซซะฮะบีย์  เล่ม 19 หน้า 322

เพราะฉะนั้น ก่อนท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)จะอำลาจากโลกนี้ไป ท่านได้แต่งตั้งอาลี บุตรของอบูตอลิบเป็นผู้นำสืบต่อจากท่านไว้แล้ว ณ. เฆาะดีรคุม วันที่  18 เดือน ซุลฮิจญะฮ์  ฮ.ศ. 10