อิมามโคมัยนี (รฎ) กล่าวว่า “ทุกวันนี้โลกเปรียบเสมือนครอบครัวและเมืองๆ หนึ่ง โดยที่ในเมืองนั้นจะมีถนน ตรอกซอย ย่านต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกัน” ฉะนั้น “เราต้องมีความสัมพันธ์กับประเทศที่อยู่ข้างเราและไม่รบกวนเรา… อิสลามเป็นระบบสังคมและการปกครองทั้งยังต้องการมีความสัมพันธ์กับทั่วโลก”
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชะตากรรมของสังคมมนุษย์นั้นมีความเกี่ยวพันกันเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่เป็นไปไม่ได้เลยที่ชาติหนึ่งชาติใดจะประสบความสำเร็จโดยการแยกตัวออกจากชาติอื่น ๆ มิหนำซ้ำยังมีปัจจัยสำคัญหลายประการที่เรียกร้องให้ทุกสังคมร่วมมือกัน แม้กระทั้งทุกวันนี้ความสัมพันธ์ของรัฐบาลที่มีต่อกันก็เปรียบเหมือนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในประเทศ ระหว่างเมืองต่างๆ และเพื่อนบ้าน และยิ่งเมื่อก้าวไปข้างหน้าความสัมพันธ์และการพึ่งพาอาศัยกันนี้ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
-
มุมมองของอิมามโคมัยนี
ตามคำพูดของอิมามโคมัยนี (รฎ) “ทุกวันนี้ โลกเป็นเหมือนครอบครัวและเมืองหนึ่ง และในหนึ่งเมืองนั้นจะมีย่านต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกัน” ดังนั้นด้วยมุมมองนี้และความรู้สึกที่ต้องมีสัมพันธ์ ท่านอิมามจึงประกาศอย่างชัดเจนว่า “เมื่อโลกเป็นเช่นนี้ เราไม่ควรโดดเดี่ยว เราควรมีความสัมพันธ์กับประเทศที่อยู่กับเราและไม่รบกวนเรา… อิสลามเป็นระบบสังคมและการปกครองและต้องการมีความสัมพันธ์กับทั่วโลก”
2. การตีความความหมายของความเป็นเอกราช
ทุกวันนี้แม้แต่คำว่าเอกราชซึ่งดูผิวเผินแล้ว ไม่มีความสอดคล้องกับความสัมพันธ์ ก็จะถูกตีความในความหมายเชิงความสัมพันธิ์ เพราะเอกราชถึงจะมีค่าและมีความสำคัญ แต่ก็ไม่มีประเทศใดมีความเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ได้ หากประเทศนั้นไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ถูกต้องและชาญฉลาดระหว่างความจำเป็นของการเชื่อมสัมพันธ์และความเป็นเอกราช ตลอดจนให้การตีความและการวิเคราะห์ที่เป็นจริงได้ ประเทศนั้นตกเป็นเหยื่อสังหารจากการพึ่งพา หรือไม่ก็จมดิ่งไปในความโดดเดี่ยว ดังนั้นหนทางสู่เอกราชจึงต้องผ่านถนนแห่งความสัมพันธ์ที่ดี
จากมุมมองนี้ อิมามโคมัยนีถือว่าสิ่งนี้เป็นหนึ่งในความสำเร็จของการปฏิวัติอิสลาม ที่สามารถทำให้ตรงข้ามกับความต้องการของศัตรู โดยการผูกสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างการรักษาเอกราช อิสรภาพ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเมื่อเทียบกับแผนการร้ายอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่การกำจัดความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชาติต่างๆ
อิมามโคมัยนี(รฎ) ได้เตือนบรรดาเจ้าหน้ารัฐที่ว่า:
“ชาติมหาอำนาจและอเมริกาคิดว่าเนื่องจากการปฏิวัติที่อิหร่านก่อขึ้นและต้องการให้มีทั้งเอกราชและเสรีภาพซึ่งเป็นเรื่องใหม่และขัดต่อแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลทุกประเทศ อิหร่านจะต้องถูกโดดเดี่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อถูกโดดเดี่ยว ก็ไม่สามารถอยู่ได้ แต่ที่พวกเขาเห็นไม่ได้เป็นเช่นนั้น และความสัมพันธ์ของอิหร่านกับชาวต่างชาติก็จะเพิ่มมากขึ้น ตอนนี้พวกเขาเริ่มคิดได้ว่าเราจะไปเกี่ยวอะไรกับรัฐบาล คนพวกนี้ทั้งกดขี่ข่มเหงและอื่นๆ และเราต้องมีสัมพันธ์กับประชนของแต่ละประเทศซึ่งเป็นแผนการใหม่และเรื่องที่อันตรายมากและเป็นแผนชั่วที่มีความละเอียดมาก…เราไม่สามารถนั่งเฉยๆ และพูดว่าเราเกี่ยวอะไรกับรัฐบาลต่างๆ สิ่งนี้ขัดกับหลักสติปัญญาและขัดต่อหลักศาสนา และเราต้องมีความสัมพันธ์กับทุกคน แต่มีข้อยกเว้นบางประการที่เราไม่ได้มีความสัมพันธ์ด้วยแม้แต่ปัจจุบันนี้”
3. ข้อจำกัดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสาธารณรัฐอิสลามในฐานะเป็นระบบแห่งสำนักคิด มีข้อจำกัด เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น และข้อจำกัดเหล่านี้เกิดจากยึดมั่นต่อพื้นฐานแห่งคุณค่า ในระบบอิสลาม การยึดมั่นในคำมั่นสัญญา การสนับสนุนผู้ถูกกดขี่ ฯลฯ เป็นหนึ่งในพื้นฐานแห่งคุณค่าที่ถูกพิจารณาในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น แน่นอนว่าในระบบนี้ไม่ใช่แค่การรักษาผลประโยชน์ของชาติและเกณฑ์ความสัมพันธ์เท่านั้น แต่ค่านิยมของสำนักคิดและกฏเกณท์ทางศาสนาก็มีบทบาทชี้ขาดในการสร้างความสัมพันธ์เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การไม่ยอมรับการบังคับ ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎเกณท์ที่ยอมรับของหลักนิติศาสตร์ ในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปฏิเสธ(คนต่างศาสนิก) ทั้งความสัมพันธ์ส่วนตัวและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่มีบทบาทหลักและไม่สามารถเพิกเฉยได้
โปรดติดตามตอนที่ 2