การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านและชัยชนะของซัยยิด อิบรอฮีม ระอีซี เกิดคำถามขึ้นว่านโยบายต่างประเทศของอิหร่านที่มีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันตกในรัฐบาลชุดใหม่นี้จะเป็นอย่างไร?
รัฐบาลใหม่ของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ภายใต้การนำโดยซัยยิด อิบรอฮีม ระอีซี จะเข้ารับตำแหน่งในเดือนสิงหาคมนี้
ซัยยิด อิบรอฮีม ระอีซี ในแง่ของความคิดและอุปนิสัยทางการเมืองเป็นกลุ่มพวกอนุรักษ์นิยม ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์นิยมในปัจจุบันในด้านนโยบายต่างประเทศนั้นจะไม่ไว้วางใจตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา จะคัดค้านมาตรการคว่ำบาตร แต่จะขับเคลื่อน “เพื่อทำลาย” การคว่ำบาตรและเชื่อในความเป็นอิสระและศักดิ์ศรีของประเทศอย่างแท้จริง เชื่อในการเจรจา อีกทั้งเชื่อว่าเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ ควรดำเนินการตามสิ่งที่เรียกว่า “ไม่ควรใส่ไข่ทั้งหมดลงในตะกร้าแห่งการเจรจา”
กลุ่มอนุรักษ์นิยม ในประเด็นการเมืองระดับภูมิภาคจะเชื่อมั่นในขบวนการต่อสู้(มุกอวะมะห์) จะจัดลำดับความสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์กับทุกประเทศในภูมิภาค และเชื่อว่าระบอบไซออนิสต์เป็นศัตรูของอิหร่าน แต่มีช่องโหว่มากมายและยังเชื่อว่าการแทรกแซงของสหรัฐฯ ในกิจการระดับภูมิภาคควรได้รับการตอบโต้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่านโยบายของรัฐบาลในอนาคตของอิหร่านเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันตกประกอบด้วยสามแกนหลักดังนี้
1 –เสริมความแข็งแกร่งให้แกนขบวนการต่อสู้ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกต่อต้านระบอบไซออนิสต์
แกนแรกคือการเสริมสร้างแกนของขบวนการต่อสู้ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกต่อระบอบไซออนิสต์ กลุ่มขบวนการต่อสู้ทั้งหมดยินดีกับชัยชนะของซัยยิด อิบรอฮีม ระอีซี ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน ในการตอบสนองต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีในอิหร่าน กระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลได้ใช้วาทกรรมที่เกิดจากความกังวลอย่างมากของรัฐบาลเกี่ยวกับการแต่งตั้งรัฐบาลในอิหร่านที่เชื่อในขบวนการต่อสู้(มุกอวะมะห์)
ซัยยิด อิบรอฮีมระอีซี กล่าวในข้อความหลังจากชัยชนะของกลุ่มขบวนการต่อสู้ปาเลสไตน์ในสงคราม 12 วันที่ผ่านมาว่า : “ขีปนาวุธของขบวนการต่อสู้ ได้แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางแห่งกระจกของความมั่นคงของระบอบไซออนิสต์ที่ชัดขึ้นมากกว่าเดิม และเจตจำนงอันแข็งแกร่งของชาวปาเลสไตน์สามารถเอาชนะระบบหลายชั้นของการป้องกันของระบอบยิวไซออนิสต์”
2- กระชับความสัมพันธ์กับทุกประเทศในภูมิภาค
แกนที่สองในนโยบายระดับภูมิภาคของรัฐบาลในอนาคตของอิหร่าน ที่ นำโดยซัยยิด อิบรอฮีม ระอีซี คือการกระชับความสัมพันธ์กับทุกประเทศในภูมิภาค รวมถึงซาอุดิอาระเบีย
ระอีซี ยังมีมุมมองทางศาสนาเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ แต่มุมมองทางศาสนาของเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนิกายทางศาสนา แต่ถือว่าประเทศอิสลามทั้งหมดเป็นพี่น้องกันโดยไม่คำนึงถึงความเป็นชีอะห์หรือซุนนี มุมมองของประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกและผู้สนับสนุนของเขาคือการกระชับความสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค ที่สามารถก่อผลประโยชน์ต่อประเทศ
ระอีซี กล่าวขณะลงทะเบียนสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 13 ว่า “นโยบายต่างประเทศเป็นระบบปฏิสัมพันธ์กับทุกประเทศ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านของเรา เราจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจจะเป็นศัตรูกับเรา โดยเป็นไปในลักษณะที่เป็นมิตร สง่างาม และมีอำนาจ” ดังนั้นลำดับความสำคัญในรัฐบาลในอนาคตคือการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตก เอเชียกลาง และคอเคซัส
3- ต่อต้านการแทรกแซงของสหรัฐฯ ในภูมิภาค
แกนที่สามของนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลในอนาคตของอิหร่านคือการตอบโต้การแทรกแซงของสหรัฐฯในภูมิภาค
ระอีซี ไม่ได้ต่อต้านการเจรจาและการเจรจากับสหรัฐฯ แต่เขาเชื่อว่าในแง่หนึ่ง เศรษฐกิจของประเทศไม่ควรถูกกำหนดเงื่อนด้วยการได้รับไฟเขียวของอเมริกา ในทางกลับกัน การแทรกแซงของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ไม่เพียงแต่ไม่ให้ความมั่นคงเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความไม่มั่นคงที่แพร่หลายในเอเชียตะวันตกอีกด้วย
ซัยยิด อิบรอฮีม ก็เช่นเดียวกับชาวอิหร่านทั้งหมด ถือว่าการกระทำของรัฐบาลสหรัฐในการลอบสังหารนายพลชะฮีด กอเซ็ม สุไลมานี เป็นการก่ออาชญากรรม และเชื่อว่าการตอบโต้อย่างรุนแรงต่ออาชญากรรมนี้คือการถอนทหารสหรัฐฯ ออกจากภูมิภาคเอเชียตะวันตก
Source:
https://farsi.iranpress.com/middle_east-i199432