ย้อนประวัติ สถานทูตอเมริกา “รังโจร” ในกรุงเตหะราน

972

สุสานเชิงสัญลักษณ์ถูกสร้างขึ้นที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเตหะรานซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการแก้แค้นอย่างหนัก

หลังจากการลอบสังหารชะฮีดนายพลกอเซ็ม สุไลมานี ( Qassim Suleimani ) โดยอเมริกา สุสานเชิงสัญลักษณ์ถูกสร้างขึ้นที่สถานทูตสหรัฐฯในอดีตในกรุงเตหะราน ซึ่งประกอบด้วยโลงศพของทหารสหรัฐฯและอิสราเอล เมื่อเข้าไปในอาคารจะเห็นจิตรกรรมฝาผนังที่ประกอบด้วยภาพโดรน(อากาศยานไร้พลขับ)ของอเมริกันตก การยิงเครื่องบินโดยสารอิหร่าน รูปปั้นเทพีเสรีภาพและอาชญากรรมของอเมริกาต่ออิหร่านและประเทศอื่น ๆ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา   ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างดี  การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เปิดให้สาธารณชนเข้าชมและราคาตั๋วพิพิธภัณฑ์อยู่ที่ 5,000 โตมาน (ประมานยี่สิบกว่าบาท)   สิ่งที่น่าสนใจที่ควรทราบคือสามารถเยี่ยมชมอาคารสถานทูตได้เพียงบางส่วนเท่านั้น  เมื่อเข้าไปในอาคารแล้วให้ขึ้นบันไดไปยังชั้นสองซึ่งประกอบด้วยห้องขนาดใหญ่หลายแห่งและทั่วโถงทางเดินมีการติดภาพถ่ายและข้อความซึ่งแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกและบรรยากาศแห่งช่วงเหตุการณ์ยึดสถานทูตและการจับเป็นตัวประกัน   มีการแสดงส่วนหนึ่งของอุปกรณ์โทรคมนาคมและอุปกรณ์ดาวเทียมในห้องเฉพาะ  กล่าวกันว่าพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวทำการเปิดและดำเนินการภายใต้การอุปถัมภ์ของการชมรมนักศึกษา  ด้วยเหตุนี้ทางสำนักข่าวสปุตนิกจึงได้โอกาสไปเยี่ยมสถานที่ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อจะได้เห็นสุสานเชิงสัญลักษณ์และพิพิธภัณฑ์13 ออบาน ที่รังโจร (สถานทูตอเมริกา) และสัมภาษณ์สั้น ๆกับไกด์และผู้เชี่ยวชาญของพิพิธภัณฑ์

 

แฟ้มภาพ :ยึดสถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเตหะรานในปี 1979


สปุตนิก: อะไรคือวัตถุประสงค์ของการสร้างสุสานที่สถานทูตสหรัฐฯในอดีต?

หลังจากการลอบสังหารชะฮีดนายพลกอเซ็ม สุไลมานี  ด้านนอกของอาคารสถานทูต(รังโจร) ได้สร้างสุสานขึ้นมาเพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์และไม่มีศพในโลงศพดังกล่าว  สถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้ข้ออ้างของการแก้แค้นและล้างแค้นของประชาชนอิหร่านต่อสหรัฐฯและกองทัพสหรัฐอเมริกา บนโลงศพบางชิ้นมีหมวกของทหารอเมริกันและอิสราเอลวางอยู่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการล้างแค้นที่รุนแรง

 

แฟ้มภาพ :โลงศพทหารอเมริกัน ณ พิพิธภัณฑ์รังโจร กรุงเตหะราน

สปุตนิก: รังโจรคืออะไร?

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเตหะรานในอดีตถูกยึดโดยนักศึกษานับร้อยคนเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1979  เหตุโกรธแค้นที่สหรัฐอเมริการับอดีตกษัตริย์ชาห์ ปาห์เลวี (Shah Pahlavi) แห่งอิหร่านให้ลี้ภัยในแผ่นดินสหรัฐอเมริกาได้ จึงได้จับตัวผู้ทำงานสถานทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน (Tehran) ผู้ทำงานด้านการทูตอเมริกัน 52 คน  แผนการของพวกเขาในเบื้องต้นคือจับตัวให้นานสูงสุดหนึ่งสัปดาห์แต่มันไม่ได้เป็นไปตามแผน  อย่างไรก็ตามควรสังเกตว่าบรรดานักศึกษาไม่ได้ติดอาวุธ แต่มีเพียงไม่กี่คนที่มีโคลท์ติดตัวแต่ก็ไม่ได้ใช้เลย  หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ กษัตริย์ชาห์อิหร่านออกจากสหรัฐอเมริกาและจิมมี คาร์เตอร์ (Jimmy Carter)  เริ่มกำหนดมาตรการลงโทษทางการเมืองและเศรษฐกิจต่ออิหร่าน ซึ่งการลงโทษเหล่านี้ยังรวมถึงการห้ามซื้อน้ำมันจากอิหร่าน และขั้นตอนที่สองของทำเนียบขาวในเรื่องนี้ คือ ปฏิบัติการ Tabas (‘ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์’) สหรัฐฯต้องการช่วยเหลือตัวประกันโดยการฝึกอบรมหน่วยคอมมานโดที่มีทักษะและจัดหาเฮลิคอปเตอร์ ในคืนย่างเข้าวันที่ 25 เมษายน 1980 เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ได้ผละจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ‘นิมิตซ์’ มุ่งหน้าไปที่ทะเลทรายของอิหร่าน หมายจะช่วยเหลือตัวประกัน แต่แผนการต้องล้มเลิกไปเนื่องจากถูกพายุทรายพัดถล่มอันทำให้แผนการดังกล่าวล้มเหลว

แฟ้มภาพ : พิพิธภัณฑ์รังโจร


ดังนั้นรัฐบาลอิหร่านจึงตัดสินใจส่งคนเหล่านี้(ตัวประกัน)ไปยังเมืองต่างๆ เช่นเมืองกุม อาเซอร์ไบจานตะวันตกและตะวันออก ชีราซ  และอิศฟาฮาน  และกษัตริย์ชาห์ที่อาศัยอยู่ในปานามาก็ออกเดินทางไปยังอียิปต์และเสียชีวิตในวันที่ 5 สิงหาคมเนื่องจากล้มป่วย

เพื่อแก้ไขปัญหานี้และปล่อยตัวตัวประกัน  ประเทศอื่น ๆ ได้ยื่นมือเป็นมิตรไปยังอิหร่านเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว   แต่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรียยอมรับและทำหน้าที่เป็นประเทศสื่อกลาง     อิหร่านและสหรัฐอเมริกาได้บรรลุข้อตกลงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย ซึ่งในข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าสหรัฐฯไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของอิหร่าน  ยกเลิกการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน ปฏิเสธการดำเนินคดีทางกฎหมาย และการส่งเงินทองของกษัตริย์ชาห์กลับคืนอิหร่าน ดังนั้นหลังจาก 444 วัน บรรดานักการทูตสหรัฐถูกนำมารวมตัวกันในที่เดียวกันจากเมืองต่างๆและถูกส่งกลับไปยังอเมริกา

ในเดือนมกราคมปี 1981 พวกเขาเดินทางกลับประเทศ  และไม่เคยกลับมาอีกเลย และเปลี่ยนชื่อสถานทูตอเมริกาเป็น “รังโจร” ตามข้อตกลงแอลจีเรีย สหรัฐฯไม่ได้เรียกร้องทางกฎหมายใด ๆ เกี่ยวกับสถานทูตอีกต่อไป  อิหร่านเองก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องทางกฎหมายต่อสถานทูตอิหร่านในสหรัฐฯและใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นพิพิธภัณฑ์ด้วย

สปุตนิก : ภาพยนตร์  Argo  ผลิตที่นี่ด้วยหรือไม่?

ไม่….  ภาพยนตร์ Argo ถ่ายทำที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาในตุรกี ซึ่งมีความคล้ายกันมากกับที่นี่  สิ่งนี้เป็นเพราะผู้ออกแบบเป็นคนๆเดียวกัน ที่มีชื่อว่า ไอดาส วัน

ในภาพยนตร์อาร์โก้ มีเรื่องราวของการพิชิตรังโจร แม้ว่าบางส่วนของภาพยนตร์จะมีการบอกเล่าแบบไม่สมจริง ตัวอย่างเช่น นักการทูตถูกทรมานในอิหร่าน ซึ่งมันผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะพวกเขาดำเนินชีวิตอย่างปกติ ทั้งนี้พวกเขาอยู่ในสถานที่กักขังบริเวณและสถานการณ์นั้นค่อนข้างลำบากสำหรับพวกเขา แต่ไม่มีการทรมานเลย

แฟ้มภาพ  สถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเตหะราน

สปุตนิก: อาคารสถานทูตสหรัฐฯในอดีตมีส่วนใดบ้าง?

ปี 1948 สถานทูตอเมริกาได้รับการออกแบบโดยไอดาส วัน และถือสถานทูตสุดท้ายในอิหร่าน สร้างขึ้นบนที่ดินเนื้อที่ 5.5 เฮกเตอร์   มีบริเวณลาน  ที่พักของเจ้าหน้าที่สถานทูตและสถานกงสุล สระว่ายน้ำ สนามเทนนิสและอาคารกลางซึ่งชั้นใต้ดินเป็นสนามฝึกการยิงปืน  และอีกส่วนหนึ่งเป็นศูนย์การสื่อสารโทรคมนาคม สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญของสถานที่แห่งนี้  นอกจากนั้นมีการใช้กระเบื้องหลายสีในตู้หนังสือปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์

ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์  ชั้นล่างและชั้นใต้ดินที่ถูกนำมาใช้สำหรับบางองค์กร  จนกระทั่ง 10 ปีที่ผ่านมาสถานที่แห่งนี้ถูกใช้เป็นโรงเรียนและห้องเรียนทหาร

หนึ่งในห้องภายในสถานทูตแห่งนี้คือห้องประชุมลับความมั่นคง หรือห้องกระจก เนื่องจากสุญญากาศจึงป้องกันเสียงไม่ให้ออกไปนอกห้อง

ห้องประชุมลับประกอบกำแพงที่ทำด้วยช่องพลาสติกสองชั้นล้อมรอบซึ่งกล่าวว่าจะไม่มีการทะลุกระสุนเข้ามาหากมีการยิงกระสุน  อากาศที่อยู่ภายในนั้นถูกระบายออกและกรองฝุ่นและสถานที่ที่ไม่มีอากาศก็ไม่สามารถถ่ายโอนเสียงได้  เหตุผลสำหรับการติดกระจกคือเพื่อให้แน่ใจว่าห้องประชุมดังกล่าวไม่มีใครติดอุปกรณ์ดักฟังนอกกำแพงห้อง  ประตูถูกคลุมด้วยอลูมิเนียมซึ่งเป็นตัวต่อต้านคลื่นวิทยุ มีช่องระบายอากาศที่แข็งแกร่งมากสองตัวทำงานในห้องกระจกซึ่งป้องกันไม่ให้ก๊าซเข้ามาในห้องนอกจากเครื่องปรับอากาศ เมื่อปิดประตูแล้วแทบไม่มีอะไรสามารถมองเห็นหรือได้ยินได้เลย

แฟ้มภาพ :   ห้องกระจกที่สถานทูตสหรัฐฯในกรุงเตหะราน

ชั้นสองและด้านซ้ายของอาคาร เป็นอาคารด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของสถานทูต ซึ่งมีหลายภาคส่วนด้วยกัน เช่น ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เศรษฐกิจและการทหาร ทางเดินไปทางซ้ายและขวาของอาคารซึ่งแยกออกจากกันด้วยประตูตู้เก็บของ และห้องชั้นสองเป็นสถานกงสุลอเมริกัน

แฟ้มภาพ : สถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเตหะราน

เครื่องย่อยกระดาษ(เครื่องทำลายเอกสาร) เป็นอุปกรณ์ที่ดึงดูดความสนใจของทุกคน เครื่องนี้สามารถแปลงกระดาษ  A4  ให้กลายเป็นเส้นลวด 70 หรือ 80 เส้น  บรรดานักศึกษาใช้เวลาเกือบห้าปีจึงสามารถเรียงและรวบรวมเอกสารเหล่านี้  และจากการกู้คืนเอกสารของรังโจรเหล่านี้สามารถตีพิมพ์หนังสือได้ประมาณ 70 เล่ม และแต่ละเล่ม มีความหน้าประมาณ 700-800 หน้า

มีอีกห้องหนึ่งในสถานทูตสหรัฐอเมริกาในอดีต สร้างเฉพาะเพื่อการปลอมแปลงเอกสาร ในห้องนี้มีการปลอมแปลงเอกสารหรือหนังสือเดินทางและใบรับรอง นักเรียนค้นพบหนังสือเดินทางเบลเยี่ยมปลอมจำนวน 40 เล่มในห้องนี้

ในส่วนโทรคมนาคมของสถานทูตสหรัฐ  มีอุปกรณ์ดาวเทียมระยะไกลที่ใช้ในการสื่อสารกับสหรัฐอเมริกา  มีการติดตั้งลูกบอลขนาดใหญ่ลูกหนึ่งที่ลานซึ่งในนั้นมีเสาอากาศรับสัญญาณดาวเทียมที่แข็งแกร่ง มีบอร์ดความถี่ Farabala (UHF) ที่สามารถดักจับไร้สายทหารทั้งหมดในอิหร่าน นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งอุปกรณ์สอดแนมสองเครื่อง ทางชายแดนด้านเหนือของอิหร่านเพื่อเป็นเก็บข้อมูลสหภาพโซเวียต

แฟ้มภาพ : เครื่องดักฟังในแผนกโทรคมนาคมของสถานทูตสหรัฐอเมริกาในอิหร่าน

สหรัฐอเมริกาใช้อุปกรณ์เหล่านี้เพื่อดักจับสัญญาณเสาอากาศและสายเคเบิลโทรคมนาคมทั้งหมดของประเทศอิหร่าน  ในระหว่างการจับเป็นตัวประกันเมื่อนักศึกษาเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าวชาวอเมริกันในอาคารได้ต้านทานเป็นเวลาสามชั่วโมงและปิดประตูอาคารและตัดการจ่ายไฟฟ้าหลักเพื่อทำลายเอกสารทั้งหมด พวกเขาเกือบจะประสบความสำเร็จในการปิดอุปกรณ์

ปัจจุบัน อุปกรณ์บางอย่างในสถานทูตในอดีตได้หมดอายุการใช้งานแล้ว แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้และยังใช้งานได้อยู่

วันนี้มีการสร้างอาคารใหม่ภายในพื้นที่บริเวณสถานทูตและอาคารสถานทูตส่วนใหญ่ได้รับการดัดแปลง  อาคารบางหลังที่อยู่ทางด้านเหนือของสถานทูตได้กลายเป็นโรงยิม อาคารสถานทูตทางตะวันตกส่วนหนึ่งก็กลายเป็นร้านหนังสือ

sputniknews