บทความ – “อัฟกานิสถาน” ไม่ใช่เวียดนามแห่งที่สอง

857

ในปี 2008 รัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งสำนักงานผู้ตรวจการพิเศษขึ้น (SIGAR) เพื่อตรวจสอบปริมาณการยักยอกและการสูญเสียค่าใช้จ่ายในเขตสงคราม หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ตีพิมพ์เอกสารชุดหนึ่งที่เรียกว่า “เอกสารอัฟกานิสถาน: ประวัติลับของสงคราม” ในเอกสารมีบทสัมภาษณ์กว่า 2,000 หน้า ที่สำนักงาน SIGAR ได้รวบรวมไว้ ซึ่งวอชิงตันโพสต์มีสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาของการสัมภาษณ์เหล่านี้ผ่านทางกฎหมาย Freedom of Information  เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้น Ryan Crocker ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำอัฟกานิสถานประจำปี 2554-2555 ก็ได้ตีพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เช่นเดียวกันเพื่อตอบโต้ต่อเรื่องเอกสารลับ เรื่องนี้มองได้ว่าการอ้างสิทธิ์ของ Crocker นั้นเป็นมุมมองของอดีตเจ้าหน้าที่สหรัฐในอัฟกานิสถานที่มองข้ามข้อเท็จจริงบางประการ

ตามที่ได้มีการพาดหัวของการสัมภาษณ์เหล่านี้อาจดูเหมือนว่าอัฟกานิสถานเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่สำหรับสหรัฐอเมริกาและเป็นเหมือนเวียดนามครั้งที่สองที่สหรัฐต้องยอมรับความพ่ายแพ้ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามสถานการณ์ในอัฟกานิสถาน จะพบว่า มีบางจุดที่น่าแปลกใจ ครอกเกอร์ กล่าวว่า”ผมรับใช้ชาติสองครั้งในอัฟกานิสถาน ครั้งหนึ่งในฐานะเจ้าหน้าที่และอีกครั้งในฐานะทูต แน่นอนผมให้ความสนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่หากจะพูดอย่างจริงใจ ก็คงต้องบอกว่าผมยังไม่ได้อ่านบทสัมภาษณ์ทั้งหมดและที่ได้อ่านก็เฉพาะส่วนที่พูดถึงตัวผมเท่านั้น บางส่วนของรายงาน เป็นการสัมภาษณ์แค่สองครั้ง แต่มี 95 หน้า ผมไม่คิดว่าตัวเองจะใช้เวลาพูดเกี่ยวกับอัฟกานิสถานมากขนาดนั้น ทั้งในการบรรยายสาธารณะหรือในการสัมภาษณ์กับผู้ตรวจการพิเศษ แต่ในกรณีของอัฟกานิสถาน ในตอนนี้ผมอยากเห็นน้ำครึ่งแก้วมากกว่าและไม่อยากใส่ใจกับความผิดพลาดและการตัดสินใจที่ผิด ความคิดของผมกลับไปสู่ความพยายามแบบอเมริกันในปี 2002″

คร็อกเกอร์กล่าวต่อว่า สถานการณ์ในอัฟกานิสถานช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ยังไม่ถึงกับหายนะ เมื่อคาร์ไซได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราว เขาเองไม่มีอะไรจะทำด้วยเขาพูด ไม่มีสถาบันกฎหมายที่ยอมรับหรือบังคับใช้กองทัพตำรวจและเศรษฐกิจแต่ประการใด เด็กชาวอัฟกันจำนวน 900,000 คนก็ได้รับการศึกษาในโรงเรียน

ขณะที่นักการทูตสหรัฐอ้างว่าหนึ่งในผลงานของสหรัฐครั้งแรกนับตั้งแต่การล่มสลายของกลุ่มตอลิบานคือการเปิดโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิง: “ในเดือนมกราคมปี 2545 ผมนำวุฒิสมาชิกโจไบเดนมาเป็นประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนประถมหญิง  “ พวกเขามีอายุประมาณ 6-12 ปี เด็กหญิงอายุที่ถึงวัยเรียนก่อนหน้านี้หลังจากกลุ่มตอลิบานเข้ามามีอำนาจเคยถูกปิดกั้นจากการศึกษา”

ครอกเกอร์อ้างว่าเมื่อตอนที่เขาออกจากอัฟกานิสถานในปี 2012 ในฐานะทูตสหรัฐฯ มีเด็กแปดล้านคนในอัฟกานิสถานได้รับการศึกษา และเข้าโรงเรียน หนึ่งในสามเป็นเด็กผู้หญิง เขาถามว่า”นี่หรือหายนะ ? แน่นอนมีภารกิจของสหรัฐในอัฟกานิสถานรวมถึงปัญหาที่ซับซ้อนซึ่งไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ผมเคยย้ำเตือนเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ถึงความต่อเนื่องของโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งในมุมมองของอัฟกานิสถานและอิรักในการสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานผ่านความคิดของชาวอเมริกันดูเหมือนจะชัดเจน แต่ไม่มีการซื้อความคิดนี้ในภูมิภาคดังกล่าว ราวกับพวกเขา(สหรัฐ)ก้าวหน้าเกินไปสำหรับประเทศเจ้าบ้านและไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ”

แต่สถานการณ์มีความซับซ้อน เขากล่าวเสริม จะเห็นได้ว่าในต้นปี 2002 จากการที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น อย่างเช่น การศึกษา จำเป็นต้องมีเป้าหมายที่ไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานมาหนุนเสริม เช่น การดูแลสาธารณสุข การฟื้นฟูเศรษฐกิจเกษตรกร ดังนั้นเราจึงปูทางขึ้นมา แต่น่าเสียดายที่เราไม่ได้วางงบประมาณสำหรับการบำรุงรักษาและบำรุงรักษา ตามรายงานของ ครอกเกอร์ การทุจริตเป็นปัญหาสำคัญในอิรักและอัฟกานิสถาน แน่นอนเรื่องนี้ไม่มีอะไรใหม่ และมติมหาชนตระหนักถึงเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว ซึ่งก็คือการยักยอกเงินประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์เมื่อไม่กี่เดือนก่อนจนทำให้ธนาคารกรุงคาบูลต้องล่ม นี่คือความจริงอันขมขื่น เมื่อทรัพยากรจำนวนมหาศาลไหลไปในประเทศที่ไม่มีสถาบันกฎหมายหรือกลไกความรับผิดชอบ แต่ทางออกคืออะไร? การไหลของทรัพย์สินของชาติควรลดลงจนถึงระดับที่สามารถควบคุมได้ แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่จะทำแบบนั้น ส่วนใหญ่การสนับสนุนของกองทัพสหรัฐฯจะเน้นไปทางพันธมิตรนอกประเทศ เราอาจจะสามารถเข้าสู่สงครามได้โดยไม่มีพันธมิตรเหล่านี้ได้ แต่มันก็ไม่ใช่ในระยะยาว

ครอกเกอร์ อ้างว่าเหตุผลในการวางกองทัพสหรัฐฯในประเทศอื่นคือความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ: “การสัมภาษณ์ผู้ตรวจสอบพิเศษเหล่านี้จริงๆแล้วก็มีจุดประสงค์เพื่อหาคำตอบว่ามีอะไรบ้างที่จะช่วยให้เรื่องทั้งหมดจบลงได้บ้าง และมีอะไรบ้างที่จะทำให้เรื่องราวดำเนินต่อไป ซึ่งมุมมองของผมคือ : การสร้างชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีความสามารถในการบริหารการจัดการต่ำ คือปัจจัยสำคัญของความพยายามนั้น การสัมภาษณ์เหล่านี้ยังเกี่ยวกับคุณค่าของชาวอเมริกัน มีอะไรที่มีผลต่อการสร้างชาติอเมริกัน ที่เราควรหลีกเลี่ยง ? มันจะไปไกลแค่ไหนเมื่อมองเข้าไปในดวงตาที่มีความหวังของเด็กหญิงชาวอัฟกันอายุ 5-6 ขวบแล้วพูดว่า ‘ขอโทษนะที่รัก เธอรู้ตัวไหม ในท้ายที่สุดเขาเรียกเอกสารของวอชิงตันโพสต์ว่าเป็นความพยายามที่คุ้มค่าในการกระตุ้นให้เกิดการติดตามของมวลชนในเชิงสืบสวนและยังเป็นการเรียกร้องให้มีการวิเคราะห์บทเรียนจำนวนมากที่เราจะสามารถเรียนรู้ได้จากการปรากฏตัวของสหรัฐในอัฟกานิสถาน

บทวิพากษ์

[1] ครอกเกอร์ นำเสนอเนื้อหาในทำนองที่ส่วนทางกับเอกสาร ราวกับ สหรัฐไปปลูกดอกไม้ในอัฟกานิสถาน ทั้งๆที่หากขุดรากประวัติศาสตร์ความโกลาหล สงครามและการนองเลือดในอัฟกานิสถาน ก็เกิดมาจากการที่สหรัฐฯดันสร้างฏอลีบันขึ้นมา และผู้ที่ยืนยันข้อเท็จจริงนี้ คือ ฮิลารี่ คลินตัน ซึ่งก็คือ ฏอลีบันเดียวกับที่สั่งห้ามผู้หญิงไปเรียนหนังสือ

[2] จากข้อแรกเจตนาแรกของสหรัฐในการเข้าแทรกแซงอัฟกานิสถาน คือ การโค่นโซเวียต เจตนานี้ถูกผลักดันเป็นนโยบาย และนโยบายถูกนำมาใช้ โดยใช้คนในประเทศอัฟกานิสถานเป็นเครื่องมือ ในการทำสงครามเย็น ดังนั้น แทนที่จะมองว่า เป็นคุณที่สหรัฐย่างก้าวเข้ามาในประเทศ สหรัฐฯควรมองในฐานะผู้รับผิดชอบ ที่ต้องมาไถ่บาปเพราะผลจากสงครามเย็นที่ได้ก่อไว้มากกว่าผู้สร้างบุญคุณ

[3] เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า การติดตั้งกองทัพด้วยเหตุผลความมั่นคงของชาติ ห่างจากแผ่นดินแม่นับพันไมล์  พร้อมทั้งสูญเสียค่าใช้จ่ายนับล้านดอลลาร์ ถือเป็นความมั่นคงของชาติได้อย่างไร

[4] ตามข้อเท็จจริงแล้ว เมื่อเกิดข้อพิพาท ฝ่ายที่สมควรเข้าไปขจัดความขัดแย้งมากที่สุด คือ UN ในฐานะหนึ่งคือ ผู้ดูแลความสงบของประเทศต่างๆในโลก การที่ประเทศหนึ่งนำกำลังทหารเข้าไปอยู่ในประเทศหนึ่งได้อย่างง่ายดาย ย่อมเป็นการแสดงถึงข้อกำจัดของอำนาจที่ UN มีต่อสหประเทศ หากสั่งได้บางประเทศ แต่บางประเทศสั่งไม่ได้ หรือ หากตรวจสอบบางประเทศแต่ละเว้นบางประเทศ ย่อมเกิดคำถามถึงความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นกลาง

[5] จริงอยู่ที่ในสมัยครอกเกอร์มีเด็กผู้หญิงรับการศึกษามากขึ้น แต่การจะมอบเครดิตให้สหรัฐ โดยไม่ระบุถึงเจตจำนงของมวลชนเลยนั้น ดูเหมือนจะเลือกพูดบางปัจจัย มากกว่านำเสนอข้อเท็จจริง

[6] มุมของครอกเกอร์ คือ”ในมุมมองของอัฟกานิสถานและอิรักในการสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานผ่านความคิดของชาวอเมริกันดูเหมือนจะชัดเจน แต่ไม่มีการซื้อความคิดนี้ในภูมิภาคดังกล่าว ราวกับพวกเขา(สหรัฐ)ก้าวหน้าเกินไปสำหรับประเทศเจ้าบ้านและไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ” เป็นมุมมองที่เอาตัวเองเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง สิ่งที่เราควรตั้งคำถามคือ แล้วฝั่งประเทศเจ้าบ้านเขามีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง แน่นอนว่า ทุกประเทศยอมปรารถนาเป็นเอกราชทั้งทางการ และวาระซ่อนเร้น มีแรงจูงใจมากมายที่สามารถอธิบายได้ว่า เพราะเหตุใดเจ้าของประเทศ จึงไม่ต้องการแขกที่เข้ามาอยู่ประเทศในระยะยาวที่พยายามนำเสนอกลไกจนถึงระดับที่แขกสามารถควบคุมรัฐบาลได้ในบ้านของเจ้าบ้าน แน่นอนว่ามันเป็นความท้าทายของชาวอัฟกานิสถาน เพราะพวกเขาต้องเลือกว่า จะยอมให้สหรัฐมาสั่งประธานาธิบดีของพวกเขาเอง แล้วทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดี แต่ไม่มีอิสระในการบริหารด้วยคนของชาติตนเอง หรือ จะยอมถูกหาว่าล้าหลังเกินไป แต่มีอิสระในการคิดและทำด้วยตนเอง

[7] ชาวเวียดนามไม่เคยเป็นศัตรูกับสหรัฐฯเลย จนกระทั่งทหารอเมริกันไปเยือนประเทศพวกเขา ส่วนบินลาเดน และอัยมัน ซะวาฮีรีย์ ตัวหลักของกลุ่ม กกร. ก็ไม่ใช่คนอัฟกานิสถานด้วยซ้ำ แม้แต่ไอซิซเองก็เป็นการผสมปนกันของหลายชาติ จะเห็นว่า ประเทศที่สหรัฐเข้าไปแทรกแซง นี่คือความหมายหนึ่งของการแก้ปัญหาไม่ถูกวิธี ปัญหาจริงๆมันไม่ได้อยู่ที่พื้นที่ แต่อยู่ที่ตัวบุคคลและอุดมการณ์ของตัวเองบุคคล

[8] จากข้อ ๗ หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ทุกต้องมาโดยตลอด คือ การจ้างทหารรับจ้าง และพันธมิตรคนนอก เข้ามาในพื้นที่ สู่สายตาของของเจ้าบ้าน แม้แต่สหรัฐเอง ก็แสดงออกอยู่เสมอว่า การเอาทหารมาแอบไว้หลังบ้าน เป็นเจตนาที่คุกคาม แต่เหตุใดกับประเทศอื่น ถึงมองว่าเป็นสิ่งที่ทำได้

อย่างไรก็ตาม โมเดลของกลุ่มก่อการร้าย กับ ความล้าหลังของประเทศ ในด้านหนึ่งเกี่ยวข้องกัน และในด้านหนึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ หากจะเกี่ยวข้องกัน ก็มาจากผลกระทบของความล้าหลังในทางความคิด อันนำไปสู่การไม่ใช้เหตุผล ซึ่งขัดกับแนวทางของศาสนา หากปรากฏขึ้น ต่อให้ อุดมการณ์ของศาสนาอิสลาม จะมีระบบปรัชญาเฉพาะที่สามารถนำไปสู่การสร้างอารยะสังคม และสิทธิมนุษยชน ที่ดีแค่ไหนก็ตาม ความล้าหลังนี้ก็จะกลายเป็นวาทกรรมที่เหนี่ยวนำให้ผู้คนเข้าใจว่า อิสลาม คือ ฏอลีบัน ไม่ใช่อิสลามแบบมูฮัมมาดีย์ และในด้านที่ไม่เกี่ยวข้องกัน คือความล้าหลัง ไม่ใช่วัฒนธรรมที่ให้กำเนิดกลุ่มก่อกการร้ายเสมอไป เพราะกลุ่มก่อการร้าย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ไม่ว่าจะล้าหลัง หรือ พัฒนา ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ การวางกลไก และการสนับสนุนทางการเงิน ซึ่งบางครั้งก็มาจากประเทศที่พัฒนา

source:

washingtonpost