สงครามโลกครั้งที่ 1 ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประวัติศาสตร์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นหลังสงครามครั้งนี้ คือ การกำหนดสัญญาข้อตกลงลับ ไซส์ ปีโก้ (Sykes Picot Agreement) [1] ค.ศ.1916 ซึ่งข้อตกลงนี้ทำให้จักรวรรดิออตโตมานถูกแบ่งเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยภายใต้การควบคุมโดยฝรั่งเศสและอังกฤษ และในยุคนี้ยังเป็นยุคที่สหรัฐฯ กำลังเข้ามามีบทบาท มีอำนาจ และอิทธิพลในเวทีนานาชาติ โดยการยอมรับแผนดังกล่าวในเวลาต่อมา การเมืองเพื่อรักษาความมั่นคง และภัยจากสหภาพโซเวียต ก็กลายเป็นเหตุที่ทำให้สงครามเย็นอุบัติขึ้น ในห้วงเวลานั้นสหรัฐฯฯ ทุ่มความพยายามของตนเพื่อรักษาเส้นแบ่งเขตชายแดน [2] ในความเป็นจริงแล้วดินแดนเหล่านี้คือ สถานที่ปันผลประโยชน์ให้สหรัฐฯ และเพื่อการนั้น USA จึงดำเนินนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียผลประโยชน์ตามชายแดนเหล่านี้
หลังโซเวียตล่มสลาย เอเชียตะวันตกสูญเสียความมั่นคงของตัวเอง แม้ว่าในตอนนั้นทางสหรัฐฯ และชาติตะวันตกต้องเผชิญกับศัตรูหน้าใหม่นาม ”อิสลามนิยม” แต่ตามความเห็นของนักวิชาการอันเป็นพวกพ้องของตน เมื่อพิจารณาเทียบข้อจำกัดต่างๆ ของศัตรูหน้าใหม่กับสหภาพ และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบที่กำลังมีแนวโน้มขยับไปตาม Step ของโลกตะวันตกเรื่อยๆ ของโลก พวกเขาจึงไม่ต้องกังวลอะไรมากนัก จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ตะวันตกลงมือหมุนหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เป้าหมายได้ตามใจชอบ การโจมตีอิรักโดยสหรัฐฯ และพันธมิตร ก็ถือเป็นการ ”สร้างปรากฏการณ์ใหม่” หรือ ”ทำตามแผนเดิม” เช่นกัน ตามที่เคยตั้งใจไว้ว่าจะควบคุม และครอบครองดินแดนของประเทศเหล่านี้ โดยอาศัยเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตาม Timeline ทั้งการส่งทหารสหรัฐฯให้มาปรากฏกายอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย และหลากหลายสนธิสัญญาทั้งหมดก็เพื่อสร้างอำนาจให้ตนเอง และในช่วงต้นของศตวรรษปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางการเมืองรูปแบบใหม่อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ 11 กันยา สหรัฐฯเมื่อสิบปีที่แล้ว จึงเปลี่ยนวิถีการเมืองของตน โดยใช้การโจมตีทางการทหาร เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พิจารณาจากความสำคัญของสองประเทศคือ อัฟกานิสถาน และ อิรัก
แอคชั่นที่ทางกองทัพ US Army ลงมือปฏิบัติ ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ในปี 2003 สงคราม ดาร์ฟูร์ (Darfur) [3]ในซูดานอุบัติขึ้น ด้วยการจูโจ่มรัฐบาล และเกษตรกรชาวอาหรับของประเทศนี้ สงครามดาร์ฟูร์กลายเป็นหนึ่งในการนองเลือดครั้งใหญ่สุดในศตวรรษ คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 2 แสนคน มันคือสงครามการต่อต้านรัฐบาลที่นับวันยิ่งหยั่งรากลึกและรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการแบ่งประเทศนี้ ในความเป็นจริง วิกฤตซูดานนับเป็นอีกหนึ่งเวทีที่สหรัฐฯ ปรากฏตัวในฐานะผู้แบ่งดินแดน ยังมีเวทีอื่นๆ ที่กำลังมีการเล่นเกมลักษณะนี้อยู่ เช่น อิหร่าน อัฟกานิสถาน อิรัก เลบานอน และ ปาเลสไตน์ ปรากฏมาให้เห็น ประเทศเหล่านี้ถูกกำหนดเป็นเวทีถัดไป สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างการเล่นบทนี้ของสหรัฐฯ ในซูดาน กับการแทรกแซงในพื้นที่อื่นๆ คือ การได้มาซึ่งอำนาจในการควบคุมประเทศ เป็นเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยแผนดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนล่าอาณานิคมในสมัยปัจจุบัน การดำเนินการและการเคลื่อนไหวของพวกเขาประสบความสำเร็จในขั้นตอนแรกไปแล้ว นั่นคือ การแบ่งแยก และการตัดสินว่าใครถูกใครผิด หลังจากนั้นก็ปล่อยให้คนในประเทศตีกันเอง โดยสหรัฐฯ เกือบจะไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆเลย หรือไม่ต้องเข้าแทรกแซงในพื้นที่ เพราะผู้คนในพื้นที่ถูกปลุกระดมให้มีความต้องการขับรัฐบาลอิสลามนิยมจากเมืองหลวงคาร์ทูมไปแล้ว
แผนแบ่งประเทศข้อเสนอของวุฒิสภาสหรัฐฯ
อีกด้านหนึ่ง วุฒิสภาของสหรัฐฯ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้แบ่งอิรักออกเป็น 3 โซน ในปี 2007 โดยโซนแรกให้เป็นของชีอะฮ์ โซนที่สองให้เป็นของซุนนี่ และโซนสุดท้ายเป็นของชาวเคิร์ด แต่ละพื้นที่ให้แต่ละกลุ่มปกครองตนเอง แผนดังกล่าวถูกเสนอโดย นาย โจว์ ไบเดน (Joe Biden) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯอเมริกา สมัย บารัก โอบามา ข้อเสนอขจัดวิกฤติอันมีมูลเหตุมาจากการยึดครองประเทศในปี 2003 สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการ ”แบ่งแยกดินแดน” ของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งแม้แต่องค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับหน่วยความมั่นคงของสหรัฐฯ ก็ยังเห็นดีเห็นงามยอมรับข้อเสนอนี้ด้วย
มติของวุฒิสภา ชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการแบ่งประเทศเป้าหมายเป็นส่วนๆ ตามมุมมอง และความคิดของคนมีตำแหน่งและอำนาจในสหรัฐฯ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของต้นทศวรรษปัจจุบัน และก่อนหน้านี้ บอร์นาร์ด ลูอิส ( Bernard Lewis) กุนซือผู้เชี่ยวชาญด้านงานข่าวกรอง และนักประวัติศาสตร์ผู้ช่ำชองยุทธศาสตร์บริเวณตะวันออกกลาง และเอเซียกลาง ก็ได้เสนอแผนในการแบ่งเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ตั้งแต่ยุค 70 เช่นเดียวกัน จึงมีเค้าให้เห็นถึงความต้องการ ”แบ่งซอยแยกประเทศ” ตั้งแต่เมื่อสี่สิบปีที่แล้ว
มีการเสนอให้นำ ข้อตกลง ไซส์-ปีโก้ มาสังคายนาและนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในช่วงเดือนแรกๆ ของสงคราม อิรัก-อิหร่าน คนเสนอแผนนี้คือ นาย ซบิกนิว เบรซซินสกี (Zbigniew Brzezinsk) [4] ขาใหญ่และกุนซือคนสำคัญที่สหรัฐฯ ไว้วางใจให้มาทำหน้าที่รับมือกับสหภาพโซเวียด (อดีตที่ปรึกษาทางความมั่นคงคนเอกของประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ซบิกนิวมีบทเด่นในการรับมือกับ รัสเซีย ) เขาได้เสนอแผนให้ใช้ข้อตกลงไซส์ปีโก้กับอิรัก-อิหร่าน อีกทางหนึ่งเบอร์นาร์ด ลูอิส ก็ได้รับมอบหมายจาก รมต.ต่างประเทศสหรัฐฯให้ ทำตามแผนของตน โดยให้ยกเลิกการใช้กฎหมายร่วมกันของประเทศอิสลาม และอาหรับ
ในระหว่างนี้ เบอร์นาร์ดยังได้รับอีกภารกิจหนึ่ง คือ การเอาแต่ละประเทศอิสลามมาจัดระบบใหม่ ว่าจะแบ่งและกำหนดกันอย่างไร โดยแผนดังกล่าวมีประเทศเป้าหมาย ได้แก่ อิรัก ซีเรีย เลบานอน อิยิปต์ อิหร่าน ตุรกี อัฟกานิสถาน ปากีสาน ซาอุดิอาระเบีย และประเทศอื่นๆ ในแถบอ่าวเปอร์เซีย และภาคเหนือของแอฟริกา
เบอร์นาร์ด ลูอิส ได้กล่าวในงานสัมมนาของกลุ่ม บิลเดอร์เบิร์ก (the Bilderberg Group)[5] (กลุ่มที่มีอำนาจอันดับต้นๆ ของโลก บางคนกล่าวว่า นี่คือกลุ่มหนึ่งของฟรีเมสัน ซึ่งอยู่เบื้องหลังการควบคุมการเงินโลก) ที่จัดขึ้นในออสเตรีย ในปี 1979 ในงานนี้ ลูอิส เสนอแผนของตนให้เหล่าผู้นำการเมือง และผู้นำทางเศรษฐกิจ ในบิลเดอร์เบริก ให้แบ่ง ประเทศในเอเชียตะวันตก คือ อิหร่าน ให้กลายเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยที่สามารถบริหารง่ายขึ้น โดยยึดการแบ่งจากความแตกต่างทางด้านภาษา เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ และภูมิศาสตร์ ซึ่งตามหลักของแผนการนี้ อังกฤษจะต้องสนับสนุนให้ก่อรัฐประหาร และการจลาจล ของกลุ่มต่างๆ อาทิ ดารูซี ในเลบานอน, กลุ่มบาลูจี, กลุ่มเติร์ก, กลุ่มชาวเคิร์ด, กลุ่มอาลาวีย์ในซีเรีย, อีซูยานในเอธิโอเปีย, กลุ่มนิกายต่างๆ ในซูดาน, และชนเผ่าต่างๆ ในประเทศอาหรับ และตุรกี โดยเป้าหมาย คือ ย่อยประเทศในเอเซียตะวันตกให้เล็กลง และลดอำนาจของแต่ละประเทศ ด้วยการทำให้แต่ละฝ่ายหันมามุ่งแข็งขัน และฟาดฟันใส่กัน จนอำนาจของแต่ละสาธารณรัฐและกษัตริย์ลดทอนและอ่อนแอลง
เบอร์นาร์ด ได้เขียนบทความฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับ แนวคิดในเรื่องตะวันออกกลาง ซึ่งในบทความนี้ เขาได้พยากรณ์ถึงเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลง หรือสิ่งที่จะรองรับการแบ่งแยกดินแดน เงื่อนไขดังกล่าว คือ ความไม่สงบ และความขัดแย้ง ความเป็นศัตรูกัน การแบ่งนิกาย และสงครามชนเผ่า ในปี 1983 สภาคองเกรสได้จัดสัมมนาขึ้นโดยในครั้งนี้ ข้อเสนอของเบอร์นาร์ด ถูกตัดสินเป็นเอกฉันท์ ได้มีการออกคำสั่งให้ดำเนินการแผนดังกล่าว และจัดไว้เป็นหนึ่งทิศทางการขับเคลื่อนทางยุทธศาสตร์การเมืองของสหรัฐฯ ที่จะขับเคลื่อนกันในอนาคต ในหลายๆ ปีข้างหน้า
หลังจากมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปฏิบัติตามแผนของเบอร์นาร์ด นาย ราล์ฟ ปีเตอร์ส (Ralph Peters) อดีตพันโทกองทัพสหรัฐฯ ก็ได้รับมอบหมาย ให้ทำปฏิบัติการตามแผนนี้ เขาได้ร่างแผนที่ทางภูมิศาสตร์ที่ถูกแบ่งแล้วของเอเชียตะวันตก ซึ่งตามแผนที่ที่ร่างมา ปีเตอร์ส ได้แบ่งซีเรีย และอิรัก ย่อยเป็นสามประเทศ และแบ่งเลบานอนให้กลายเป็น 7 ประเทศ แบ่งแอฟริกาเหนือ เป็น 6 ประเทศ และแบ่งอิยิปต์ กับ ซูดาน เป็น 9 ประเทศ ส่วนปากีสถาน และอิหร่าน แบ่งให้กลายเป็น 10 ประเทศ ส่วนประเทศที่เหลือในแถบอ่าวเปอร์เซีย ให้แบ่งเป็น 3 ประเทศ และให้ลบปาเลสไตน์ออก แทนที่ด้วยอิสราเอล ส่วน จอร์แดน และเยเมน ให้มีชะตากรรมแบบเดียวกับปาเลสไตน์ คือ ไม่มีประเทศอีกต่อไป ซึ่งแผนที่ข้างบนที่ท่านผู้อ่านเห็น คือ สิ่งที่ปีเตอร์สได้แบ่งไว้ มันถูกตีพิมพ์ ในนิตยสารทหาร ในเดือนมิถุนายน ปี 2006 ปีเตอร์ส อ้างว่า หากแบ่งประเทศให้เป็นไปตามนี้ ความรุนแรง และความขัดแย้ง บนพื้นฐานของ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และ นิกาย ก็จะลดลง [6]
แผนตะวันออกกลางใหญ่ในสมัยรัฐบาล จอร์ช บูช
เวลาผ่านไป แผนแบ่งแยกดินแดน ก็ถูกนำเสนอในสมัยรัฐบาลของบุช ตามแผนที่วางไว้ ประเทศที่ถูกเน้นให้แบ่งมากกว่าประเทศอื่น คือ อิรัก โดยแผนนี้มีชื่อว่า “ยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อการปกป้องเขตแดน” (คือ แผนการร่างตะวันออกกลางใหญ่ในรูปแบบใหม่)
ในปี 2005 บุช [7] และ รมต.กระทรวงต่างประเทศของเขา นาง คอนโดลีซา ไรส์ (Condoleezza Rice) ทำให้แผนดังกล่าวกลายเป็นนโยบายหลักในการเปลี่ยนแปลงตะวันออกกลาง และนำข้อเสนอนี้เข้าสู่ประเด็นทางวัฒนธรรมการเมืองโลกในเวลาต่อมา อาจจะถือได้ว่ามันกลายเป็นการล่าอาณานิคมรูปแบบใหม่ โดยการสร้างสงครามในตะวันออก และการส่งทหารตะวันตกเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ซึ่งการแยกส่วนอื่นๆ ออกจากอิหร่าน ตุรกี อิรัก และซีเรีย ในการตั้งประเทศใหม่ให้เผ่าเคิร์ด คือ ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนที่สุดของแผนนี้ และการแบ่งอิรักให้เป็นสามกลุ่ม การแบ่งซาอุฯให้เป็นสามเผ่า การแบ่งอิหร่านให้เป็นสามประเทศ และอื่นๆ ทั้งหมดนี้ คือ เป้าหมายของการสร้างตะวันออกกลางใหม่ขึ้นมา
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2015 จอห์น โบลตั้น (John R. Bolton) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำ UN หนึ่งในตัวหลักในสงครามอิรัก ได้แถลงว่า “ประเทศอาหรับถูกแบ่งระหว่างซุนนี่-ชีอะฮ์ ผมคิดว่า อาหรับซุนนี่ไม่มีวันพอใจให้ประเทศมีประชากรชีอะฮ์มากกว่าพวกเขา 3 ต่อ 1 ส่วน และด้วยเหตุนี้แหละ ISIS จึงสามารถใช้ประโยชน์จากประเด็นนี้ได้ ผมคิดว่า เป้าหมายของเรา คือ การสร้างรัฐบาลซุนนี่ใหม่ขึ้นมา โดยให้ซุนนี่แยกตัวเป็นเอกราช ออกจากไปตั้งประเทศใหม่ทางภาคตะวันตกของอิรักกับภาคตะวันออกของซีเรีย” [8]
แน่นอนสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงมุมหนึ่งซึ่งปรากฏในบันทึก หลักฐาน ที่ยืนยันถึงแผนการ ”แบ่งซอยย่อยประเทศในเอเชียตะวันตกของสหรัฐฯ” ยังมีหลักฐานอื่นๆ มากมายที่ยืนยันถึงเรื่องนี้ อาจกล่าวได้ว่าการแบ่งประเทศโดยใช้ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ และการสร้างสงครามภายในตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และกำลังเกิดขึ้นซ้ำๆ แม้ว่าจะมีผู้สรรหาคำอธิบายไปในทิศทางบวกเพียงใดก็ตาม ตูนีเซีย จนถึง อิยิปต์ และลิเบีย, ซีเรีย ก็เป็นประเทศเป้าหมายที่ค่อนข้างเห็นได้อย่างเด่นชัด แม้ว่าวันนี้ การแบ่งประเทศเล็กประเทศน้อย จะถูกตกแต่งด้วยถ้อยคำที่สวยหรูว่า “เพื่อเอกราช” และ”เพื่อโอกาสในการปกครองตนเองก็ตาม” แต่สุดท้ายผู้เล่นที่ได้อำนาจ และผลประโยชน์มากที่สุด ก็ไม่ใช่ใครอื่น นอกจาก พวกเขานั่นเอง
อ้างอิง
[1] http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1445
http://www.isriya.com/node/4119/history-of-middle-east
[2] http://www.borhan.ir/NSite/FullStory/News/?Id=۳۹۱۴
[3] http://www.thaiworld.org/th/thailand_monitor/answer.php?question_id=707
[4] https://en.wikipedia.org/wiki/Zbigniew_Brzezinski
[5] https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Bilderberg_Group&oldid=183392752
[6] https://www.infowars.com/isis-and-the-plan-to-balkanize-the-middle-east/
[7] https://www.infowars.com/isis-and-the-plan-to-balkanize-the-middle-east/
[8] https://www.nytimes.com/2015/11/25/opinion/john-bolton-to-defeat-isis-create-a-sunni-state.html?_r=0