การเตรียมการเพื่อก่อสงครามโดยซัดดัม
ซัดดัมต้องการที่จะทำการบุกรุกอิหร่านและทำการยึดครองภายในประเทศให้เร็วที่สุดเพื่อสร้างอำนาจให้กับตัวเองอย่างเร็วไวและต้องการที่จะรีบกำจัดการปฏิวัติอิสลามให้สูญสิ้นไปโดยในช่วงต้นสงครามซัดดัมได้เริ่มขับไล่ชาวอิหร่านเป็นจำนวนมากให้ออกไปจากประเทศอิรักต่อมาได้ขนส่งอาวุธสงครามไปตามแท่นขุดเจาะน้ำมันเพื่อเตรียมการป้องกันสถานที่ต่างๆเหล่านี้จากสงครามและได้ส่งกองกำลังเข้าชายแดนอิหร่านเพื่อทำการติดตั้งระเบิดตามรางรถไฟและแท่นขุดเจาะน้ำมันทางฝั่งอิหร่านซัดดัมได้ส่งสายลับไปตามชายแดนและเมืองต่างๆทางภาคใต้ของอิหร่านโดยบุคคลที่ปลอมตัวเข้าไปในอิหร่านคือบรรดานายทหารเก่าที่อยู่ในยุคสมัยของชาห์และเมื่อการปฏิวัติสำเร็จพวกเขาได้หลบหนีออกจากประเทศดังนั้นซัดดัมจึงได้ใช้พวกเขาในการปลอมตัวเข้าไปตามหัวเมืองต่างๆและปลอมแปลงชื่อพวกเขาเองในหนังสือเรียนของประเทศอิรักส่วนใหญ่ยังได้เปลี่ยนแปลงคำศัพท์บางอย่างโดยเฉพาะชื่อเมืองต่างๆในอิหร่านตามที่ซัดดัมเคยตั้งไว้เขาได้คาดฝันเอาไว้ว่าเมืองต่างๆที่เขาได้เปลี่ยนชื่อไปจะถูกยึดครองในสักวันหนึ่ง
ในวันที่ 31 กันยายนปี 1981 ทหารอิรักได้บุกอิหร่านซัดดัมได้สร้างความประหลาดใจให้กับวงการการเมืองโลกซึ่งส่วนมากไม่มีใครรับได้จากการกระทำของซัดดัมเพราะการกระทำของเขานั้นมีกลิ่นไอของสงครามครุกรุ่นอยู่รัฐบาลอิรักได้จุดชนวนสงครามกับอิหร่านโดยใช้ทั้งกองกำลังทหารในการรุกรานและโฆษณาชวนเชื่อเพื่อหวังที่จะโจมตีอิหร่านโดยใช้ทั้งกำลังและสื่อ
ช่วงครึ่งแรกของทศวรรษแห่งสงครามนี้ในปี 1982 มีผู้ได้รับมอบหมายงานจากรัฐบาลอิรักและถูกส่งไปยังประเทศต่างๆในยุโรปเอเชียและแอฟริกาโดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เพื่อส่งข่าวเกี่ยวกับการกำหนดสงครามที่จะเริ่มขึ้นเป็นการหาแนวร่วมหรือพันธมิตรในสงคราม และอธิบายวัตถุประสงค์ที่จะต้องทำสงครามในครั้งนี้คือเพื่อปราบปรามและหยุดยั้งการคืบคลานการปฏิวัติอิสลามที่ได้เกิดขึ้นในอิหร่านพวกเขาได้อ้างว่าขบวนการปฏิวัติอิสลามนี้จะเป็นอันตรายต่อภูมิภาคตะวันออกกลางซึ่งศัตรูของอิหร่านได้เล็งเห็นถึงความยิ่งใหญ่และอันตรายของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านที่จะส่งผลต่ออำนาจและผลประโยชน์ของพวกเขาโดยเฉพาะกับรัฐเถื่อนไซออนิสต์
ในช่วงสงครามรัฐบาลอิรักภายใต้การนำของซัดดัมฮุสเซนได้ละทิ้งเงื่อนไขกฏเกณฑ์ระหว่างประเทศและสนธิสัญญาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเป็นสนธิสัญญาระหว่างเกาะต่างๆในน่านน้ำอ่าวเปอร์เซีย ,เงื่อนไขข้อจำกัดในการใช้อาวุธเคมีเงื่อนไขในการห้ามละเมิดน่านฟ้าหรือข้อจำกัดของความปลอดภัยตามน่านน้ำและชายแดนและกฏเกณฑ์อื่นๆอีกมากมายที่เป็นสิทธิระหว่างประเทศซึ่งการกระทำดังกล่าวก็เป็นการปูทางสู่สงครามเช่นกัน
ในช่วงแรกของสงครามอิรักได้รับการสนับสนุนอาวุธและระเบิดต่างๆโดยองค์กรมุญาฮิดีนคัลก์ (MKO) เดิมองค์กรนี้เป็นองค์กรที่มีอยู่ในฝรั่งเศสและต่อมาองค์กรดังกล่าวได้ถูกก่อตั้งขึ้นในอิรักกลุ่ม MKO ได้รับการสนับสนุนจากชาติต่างๆที่เป็นมหาอำนาจในยุคนั้นและเป็นหนึ่งในกลุ่มก่อการร้ายในยุคสมัยดังกล่าวในช่วงแรกของสงครามกลุ่มก่อการร้าย MKO ได้แทรกซึมเข้ามาตามตรอกซอยและตลาดตามเมืองต่างๆของอิหร่านและทำการลอบสังหารประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งแผนการณ์นี้ได้ถูกวางแผนไว้แล้วในฝรั่งเศสและแบกแดดและแผนการณ์ดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในเมืองต่างๆของอิหร่านจึงทำให้เกิดการสูญเสียของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะบุคคลสำคัญของอิหร่านเช่นชะฮีดอายะตุลลอฮฺเบเฮชตีประธานาธิบดีอิหร่านในยุคสมัยนั้นชะฮีดเราะญาอีย์นายกรัฐมนตรีของอิหร่านชะฮีดบาโฮนัรฺ ,อิมามญุมอัตของมัสญิดต่างๆรวมทั้งบรรดานักศึกษาและผู้รู้ในเวลาไล่เลี่ยกัน
ปัญหาจากสงครามที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงแค่ความขัดแย้งระหว่างชายแดนอิรักอิหร่านหรือการก่อการร้ายในตัวเมืองต่างๆของอิหร่านเท่านั้นทว่าบ้านต่างๆและที่พักอาศัยของประชาชนรวมทั้งสถานศึกษาหรือโรงเรียนต่างๆในอิหร่านก็ได้ถูกโจมตีด้วยเช่นกันทำให้เกิดปัญหาตามมาโดยเฉพาะต่อประชาชน ชาวบ้านไม่มีที่พักอาศัยเกิดการสูญเสียอย่างมากมายจากสงครามนี้แม้กระทั่งเรือบรรทุกสินค้าและน้ำมันของอิหร่านที่มุ่งหน้าไปยังท่าเรือต่างๆก็ยังถูกโจมตีโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของบรรดาศัตรูในอ่าวเปอร์เซียด้วยเช่นกันโดยเครื่องบินรบของฝ่ายตรงข้ามนั้นถูกส่งตรงมาจากประทศแถบอาหรับที่เป็นพันธมิตรของอิรักนั่นเอง
การสนับสนุนจากตะวันตก
ในสงครามอิรัก-อิหร่าน ฝ่ายอิรักได้รับการสนับสนุนอย่างมากมายจากชาติต่างๆในสงครามนี้ ไม่ว่าจะเป็น ฝรั่งเศส อังกฤษ หรือสหภาพโซเวียตในยุคสมัยนั้น โดยบรรดาชาติต่างๆเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนอาวุธสงคราม ซึ่งชาติตะวันตกมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับอิรัก และให้ความช่วยเหลือรัฐบาลแบกแดดตลอดช่วงสงคราม โดยเฉพาะในด้านการทหาร ในปี 1982 สหรัฐฯ ได้ถอดชื่ออิรักออกจากรายชื่อชาติที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย สหรัฐฯได้ยกเลิกการคว่ำบาตรอิรัก และอีกสองปีต่อมาทั้งสองประเทศก็สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันอีกครั้ง หลังจากมีท่าทีบึ้งตึงมาตั้งแต่สงครามอาหรับ-อิสราเอล เมื่อปี 1967 สหรัฐฯได้ช่วยเหลืออิรักโดยการประสานงานกับประเทศต่างๆเพื่อสนับสนุนอิรักในสงคราม การโจมตีบ่อน้ำมันและเครื่องบินโดยสารของอิหร่านที่มีผู้โดยสารประมาณ 300 คน
แหล่งอาวุธหลักของอิรักคือสหภาพโซเวียตขณะเดียวกันชาติตะวันตกหลายชาติได้แก่อังกฤษฝรั่งเศสและสหรัฐฯก็ได้ให้การช่วยเหลือด้านยุทโธปกรณ์แก่อิรักเช่นกันยิ่งไปกว่านั้นสหรัฐฯยังแบ่งข้อมูลบางส่วนให้รัฐบาลแบกแดดด้วยรัฐบาลอิรักได้ใช้จ่ายในสงครามเป็นจำนวนเงินกว่า12,000ล้านดอลลาร์เพื่อใช้ในการซื้ออาวุธสงครามจากสหภาพยุโรปซึ่งประเทศต่างๆให้การสนับสนุนการซื้อขายอาวุธสงครามเช่นฝรั่งเศสที่เปิดโอกาสให้อิรักได้ซื้ออาวุธสงครามจากประเทศตนและแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถห้ามปรามอิรักในการที่จะใช้อาวุธสงครามที่ร้ายแรงได้แม้แต่ยูเอ็นเองก็ตามสถิติอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่ารัสเซียฝรั่งเศสและจีนเป็นสามประเทศสำคัญที่คอยส่งออกอาวุธให้กับอิรักในปี 1980 รัสเซียได้ให้การสนับสนุนทางอาวุธให้กับอิรักเป็นจำนวนเงิน 400ล้านดอลลาร์และฝรั่งเศสมีรายได้จากการขายอาวุธสงครามให้กับอิรักเป็นจำนวนเงินถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งคิดเป็นยี่สิบเปอร์เซ็นของการนำเข้าอาวุธสงครามที่ใช้ในสงครามนี้ทั้งหมดและอีกเจ็ดเปอร์เซ็นนั้นนำเข้าอาวุธสงครามจากจีนเป็นจำนวนเงิน 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออกอาวุธสงครามของประเทศต่างๆไปยังอิรักนั้นไม่ว่าจะส่งออกไปสักแค่ไหนมันคือการฝ่าฝืนข้อบัญญัติของยูเอ็นที่ไม่ให้ส่งออกอาวุธสงครามอย่างโจ่งแจ้งทว่ายูเอ็นกลับไม่สนใจต่อความจริงประการนี้เลย
ในปี 1981 สภาความร่วมมืออาหรับที่ประกอบไปด้วยสมาชิก 6 ประเทศคือซาอุดิอะระเบียสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บะห์เรนกาตาร์คูเวตและโอมานได้สนับสนุนอิรักทางการเงินโดยอนุมัติเงินกู้ยืมให้กับอิรักเป็นจำนวน 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯโดยผู้สนับสนุนหลักของประเทศเหล่านี้คือบริษัทน้ำมันใหญ่ที่อยู่ใน 6 ประเทศดังกล่าว
เนื่องจากซัดดัมได้กู้ยืมเงินครั้งใหญ่ในระหว่างการทำสงครามครั้งนี้อิรักจึงมีหนี้สินเป็นจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุดลงซัดดัมจึงวางแผนจะโจมตีคูเวตและซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของเขาการวางแผนเพื่อโจมตีประเทศอาหรับในครั้งนี้เป้าหมายก็เพื่อล้างหนี้ที่ตนไม่สามารถจ่ายได้จึงใช้วิธีดังกล่าวในการล้างหนี้แทน
ปี 1983 อิรักเริ่มใช้อาวุธเคมี
ในปี 1983 อิรักเริ่มใช้แก๊สมัสตาร์ดในการทำสงครามกับอิหร่าน และทดลองใช้แก๊สทาบุน ที่มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ต่อมาในปี 1985 การใช้อาวุธเคมีของอิรักทำให้ชาวอิหร่านราว 3,200 – 5,000 คนต้องจบชีวิตอย่างน่าอนาถ ส่วนผู้ที่รอดชีวิตนั้น ต้องประสบกับปัญหาสุขภาพไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ ในวันที่16 มีนาคม 1988 อิรักได้ทิ้งระเบิดซึ่งบรรจุแก๊สมัสตาร์ด ซาริน และทาบุนใส่กองกำลังชาวเคิร์ต ที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้สนับสนุนอิหร่าน การใช้อาวุธเคมีของอิรัก ทำให้ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติประกาศในปี 1986 ว่า อิรักละเมิดสัญญาเจนีวา ขณะที่ชาติตะวันตกอื่นๆ เลิกให้การสนับสนุนด้านการทหารกับรัฐบาลแบกแดด และเร่งดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้สงครามนี้ยุติโดยเร็วที่สุด
ความล้มเหลวของซัดดัมในช่วงปลายสงคราม
ถ้าหากเรามองรูปสงครามทางยุทธศาสตร์นี้ฝ่ายอิรักจะได้เปรียบแต่หากมองทางด้านจิตวิทยาแล้วฝ่ายอิหร่านจะมีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจและอุดมการณ์ของพวกเขามีมากกว่าจึงทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางยุทธศาสตร์เพราะฝ่ายอิหร่านนอกจากทหารที่ได้เข้าร่วมรบแล้วยังมีประชาชนทั่วไปรวมทั้งเด็กวัยรุ่นที่เต็มใจและพร้อมจะเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมสงครามเพื่อปกป้องอุดมการณ์และชาติของตนเมื่อเรามองถึงจุดนี้จึงชี้ให้เห็นว่าฝ่ายอิหร่านมีความพร้อมทางด้านอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อที่จะปกป้องประเทศมากกว่าซึ่งแตกต่างจากฝ่ายกองกำลังอิรักที่การรุกรานของพวกเขามีไว้เพื่อสนองความต้องการทางอำนาจของซัดดัมเท่านั้น และอีกกลยุทธหนึ่งของอิหร่านที่ทำให้ฝ่ายอิรักเกิดการเสียเปรียบคือการทำลายรถถังและอาวุธสงครามของฝ่ายอิรักส่งผลให้ในเวลาต่อมาฝ่ายอิรักโดยการนำของซัดดัมจึงไม่อาจบรรลุเป้าหมายซัดดัมและกองทัพของเขาจำต้องถอยทัพกลับไปและท้ายที่สุดในปี 1989 สงครามจึงได้มาถึงจุดสิ้นสุด