สงครามแย่งชิงอำนาจในราชวงศ์ซาอุฯ

4787
ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ แห่งซาอุดีอาระเบียพร้อมกับสมาชิกสภาและคณะรัฐมนตรีของระบอบการปกครองซาอุดิอาระเบีย (ภาพ เอเอฟพี )

presstv  – รายงานที่ถูกตีพิมพ์ในสื่อของอังกฤษ ชี้ให้เห็นว่าการช่วงชิงและต่อสู้เพื่ออำนาจในราชวงศ์ซูดมีความเข้มข้นมากขึ้น  โดยที่กษัตริย์ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส แห่งซาอุดีอาระเบีย มีแผนที่จะสกัดมกุฎราชกุมารแล้วให้โอรสหรือบุตรชายของตนนั่งบัลลังก์แทน

The Sunday Times  ของอังกฤษ   อ้างจาก Institute for Gulf issues   รายงาน ว่า   มุฮัมมัด บิน นาเยฟ วัย 56 ปี  เป็นมกุฎราชกุมารคนปัจจุบันของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย แต่กษัตริย์ซัลมานพยายามที่จะเปลี่ยนกฎให้ มุฮัมหมัด บินซัลมาน โอรสและบุตรชายของตน วัย30 ปี ขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทน

ตามรายงานดังกล่าว กษัตริย์ซัลมานมีแนวโน้มและมีแผนจะสละอำนาจและก้าวลงจากอำนาจโดยเปิดทางให้แก่มุฮัมมัด บิลซัลมานโอรสของตนในอนาคตอันใกล้นี้

คำแปลข้อความรายงานฉบับเต็มจาก Institute for Gulf issues มีดังนี้

แหล่งข้อมูลหลายสำนักได้ให้ข้อมูลกับ  “Institute for Gulf issues” ว่า ซัลมาน อาลิซะอูด กษัตริย์ของซาอุดีอาระเบียกำลังวางแผนที่จะสละราชบัลลังก์ และแต่งตั้งมุฮัมมัดโอรสของตนขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

ปัจจุบัน มุฮัมมัด บิน ซัลมาน เป็นรองมกุฎราชกุมารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

กษัตริย์ซัลมาน วัย 80 ปี กำลังทำการพบปะกับพี่น้องของตนเพื่อที่จะขอการสนับสนุนจากพวกเขาในการดำเนินการนี้ และการดำเนินการนี้จะเป็นเหตุทำให้มุฮัมมัด บินนายิฟ มกุฎราชกุมารคนปัจจุบันที่เป็นที่ชื่นชอบของสหรัฐฯ ต้องถูกปลดจากตำแหน่ง

แหล่งข่าวระบุว่า กษัตริย์ซัลมาน ชี้ว่า ความมั่นคงของราชวงศ์ซาอุฯ ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในระบบการสืบทอดอำนาจจากโครงสร้างแนวขวางระหว่างพี่น้อง ให้กลายเป็นการสืบทอดอำนาจบนพื้นฐานโครงสร้างแนวดิ่ง (จากพ่อสู่ลูก) โดยมีสิทธิในการแต่งตั้งโอรสที่มีคุณสมบัติขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทน

นับตั้งแต่การก่อตั้งระบอบการปกครองซาอุดีอาระเบียอันเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อปี 1932 (พ.ศ. 2475)  ในรัชสมัยของอับดุลอาซิซ  จากนั้นได้สืบอำนาจโดย อัลซาอุดโอรสของผู้ก่อตั้ง จากนั้นสืบอำนาจโดยไฟศ็อลน้องชายของเขา จากนั้นสืบทอดอำนาจโดย คอลิด  ฟาฮัด อับดุลลอห์และจากนั้น ในวันที่ 23 มกราคม 2015 (พ.ศ. 2558 )   ซัลมานก็ได้สืบทอดอำนาจและขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของซาอุ ฯ   ซึ่งซัลมาน เป็นโอรสองค์คนสุดท้ายของ อับดุลอาซิส อาลิซาอูด

Abdul Aziz ถือเป็นบุคคลคนเดียวในประวัติศาสตร์ซึ่งนอกเหนือจากที่ตัวเองเป็นกษัตริย์แล้วยังได้เป็นบิดาของกษัตริย์อีกหกท่าน

ตามกฎมนเทียรบาลปัจจุบัน  กษัตริย์จะต้องเป็นของมูฮัมหมัดบิน นาเยฟ น้องชายต่างมารดาของกษัตริย์ซัลมาน  แต่ทว่าตำแหน่งกษัตริย์ครั้งนี้กำลังจะหลุดมือไป ด้วยการดำเนินการของซัลมาน ที่จะสละตำแหน่งให้โอรสของตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

แหล่งข้อมูลต่างๆ กล่าวว่า กษัตริย์ (ซาอุฯ) ได้ชี้ถึงระบอบกษัตริย์ของประเทศจอร์แดนที่สืบทอดอำนาจบนพื้นฐานโครงสร้างแนวตั้ง (จากพ่อสู่ลูก) โดยตัดการถ่ายโอนอำนาจในระหว่างพี่น้อง

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2015 กษัตริย์ซัลมาน แห่งราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย ทรงปลดมกุฎราชกุมาร มูกริน บิน อับดุล อาซิซ บิน ซาอุด พระอนุชาต่างมารดาของพระองค์ ออกจากตำแหน่งมกุฎราชกุมาร และรองนายกรัฐมนตรี และทรงแต่งตั้งเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน นาเยฟ พระชนมายุ 56 พรรษา หลานของพระองค์ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร และรองนายกรัฐมนตรีแทน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้เจ้าชายบิน นาเยฟ กลายเป็นรัชทายาทอันดับ 1 ของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียโดยทันที  (ทั้งนี้ มกุฎราชกุมารมูกริน มีพระชนมายุ 69 พรรษา เป็นพระโอรสองค์สุดท้ายของกษัตริย์อับดุล อาซิซ บิน ซาอุด ผู้ก่อตั้งซาอุดีอาระเบีย ขณะที่ เจ้าชายบิน นาเยฟ ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์รุ่นที่ 2 ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่จะได้ก้าวขึ้นไปเป็นกษัตริย์ของซาอุดีอาระเบียต่อไป ) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ดูเหมือนว่าเป็นการตัดสินใจเร่งด่วนในช่วงปีแรกของการขึ้นมาเป็นกษัตริย์ของซัลมาน  รวมทั้งการโจมตีเยเมน  การตัดงบประมาณของรัฐบาล การประหารชีวิตหมู่หลายสิบคนรวมทั้งผู้นำชีอะฮ์ในซาอุฯ ในข้อหาเคลื่อนไหวทางการเมืองและการตัดความสัมพันธ์กับอิหร่าน

กษัตริย์ซัลมานจะเป็นกษัตริย์องค์แรกของซาอุฯ ที่จะสละบัลลังก์ของตนและแต่งตั้งโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์ และอาจจะเป็นบิดาของกษัตริย์องค์แรกแห่งราชวงศ์ซาอุฯ    และการดำเนินการที่คล้ายกันนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว โดย “ฮัมด์ บินคอลีฟะฮ์ อาลิ ษานีย์” (Hamad bin Khalifa Al Thani) อดีตประมุขแห่งกาตาร์  ที่ได้ทำไว้เมื่อ ปี ค.ศ  2013 ( พ.ศ. 2556)  และได้แต่งตั้ง “ตะมีม” โอรสของตนขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

ซัลมานมีความตั้งใจว่าตราบที่ตนยังมีชีวิตอยู่นั้นจะต้องแน่ใจว่าโอรสของเขาจะต้องไม่ถูกปลดออกจากอำนาจหลังจากการสวรรคตของเขา  เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือนในอดีตในการสูญเสียโอกาสของบรรดาโอรสของบรรดากษัตริย์ก่อนหน้านี้ เช่น โอรสของอับดุลลอฮ์  ฟาฮัด คอลิดและ ซะอูด ซึ่งหลังจากการสวรรคตของพระบิดาของตนทำให้โอรสเหล่านี้ต้องหลุดพ้นจากตำแหน่ง และอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำลงมา เช่น ผู้ว่าการรัฐ  ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้กษัตริย์ซัลมานมีความพยายามที่จะสร้างความมั่นใจว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นกับมุฮัมมัด บินซัลมาน บุตรชายของตนเอง
แหล่งที่มาทั้งหลายไม่ได้บอกอย่างชัดเจนถึงช่วงเวลาของการสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์ซัลมาน แต่พวกเขาเชื่อว่าประเด็นนี้จะได้รับการปฏิบัติภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แหล่งที่มาเหล่านี้ยังได้บอกอีกว่า กษัตริย์กำลังอยู่ในระหว่างการจัดเตรียมค่าใช้จ่ายหลายร้อยล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่สมาชิกในราชวงศ์ในการสนับสนุนต่อการตัดสินใจนี้