ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวเคิร์ด จากความต้องการทางการเมืองสู่การต่อสู้ด้วยอาวุธ

1735

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาในอิรักเป็นเหตุรื้อฟฟื้นให้เกิดการเรียกร้องอิสรภาพจากพวกเคิร์ดบางกลุ่มขึ้น จนถึงขั้นที่ว่ามีการออกมาขู่และประกาศให้มีการลงประชามติเรียกร้องอิสรภาพขึ้นและยึดภูมิภาคที่อุดมไปด้วยน้ำมันที่มีพรมแดนติดกับหลายๆ พื้นที่ ช่วงต้นชาวเคิร์ดเป็นขบวนการที่มีอิทธิพลขบวนการหนึ่งในตุรกี พวกเขาเริ่มต้นขบวนการต่อสู้ในหนทางของตนด้วยการเรียกร้องในกรอบของชาติพันธุ์

ขบวนการนี้สามารถไปถึงจุดสูงสุดของตนได้ในปี 1927 ค.ศ โดยสามารถก่อตั้งสาธารณรัฐอารารัตขึ้นในตุรกี ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าตุรกีจะไปสู่การล่มสลายอย่างแน่นอนและจะกลายเป็นตุรกีของตะวันตก ดังนั้นในรายงานชิ้นนี้จะพาท่านผู้อ่านกลับไปทบทวนความเป็นมาของการต่อสู้ของชาวเคิร์ดในอดีตอีกครั้งหนึ่ง

390140_4401.สมัยอัลฮาก

ดินแดนที่ชาวเคิร์ดอาศัยอยู่ในอดีตเคยมีเกี่ยวข้องกับอิหร่าน แต่ทว่าหลังจากที่อิหร่านได้พ่ายแพ้จากสงครามที่ต่อสู้กับจักรวรรดิอุษมานี แผ่นดินส่วนใหญ่ที่เป็นดินแดนที่ชาวเคิร์ดอาศัยก็ถูกจักวรรดิอุษมานีเข้ายึดครอง จนปัจจุบันในอิหร่านเหลือแค่เมืองเคิร์ดิสถานที่เหลืออยู่จนปัจจุบัน ในความเป็นจริงสมัยอัลฮาก ถือได้ว่าเป็นสมัยแรกๆ ที่ทั้งชาวเคิร์ดและชาวเติร์กอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันและมีความสัมพันธ์ในกรอบของผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง

ในสมัยอัลฮากอาจเป็นไปได้ว่าเป็นสมัยเดียวที่ชาวเคิร์ดและเติร์กมีความสัมพันธ์กันโดยไม่มีการหลงไหลเชิดชูในเผ่าพันธุ์หนึ่งเผ่าพันธุ์ใด เพราะในช่วงเวลาสั้นๆ ดังกล่าวนั้น ชาวเคิร์ดที่นับถือนิกายซุนนีถูกถ่ายโอนจากการอยู่ภายใต้การปกครองของซะฟาวีที่เป็นชีอะฮ์สู่การปกครองของซุนนีอุษมานี พวกเขาคิดว่าความสัมพันธ์ในกรอบศาสนาที่มีความใกล้ชิดและการเปลี่ยนผู้ปกครองใหม่อาจนำสู่พัฒนาและความรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

2.เริ่มต้นการปกครองของออตโตมัน, ยุคทองสำหรับการเคลื่อไหวของชาวเคิร์ดในตุรกี

ด้วยการปกครองของออตโตมันอย่างต่อเนื่อง หลังจากผ่านไประยะหนึ่งชาวเคิร์ดได้ตระหนักเห็นว่าสุลต่านออตโตมันกำลังพยายามเปลี่ยนชุมชนชาวเคิร์ดให้เป็นตุรกี และต้องการจะเปลี่ยนนิกายที่ชาวเคิร์ดนับถือ คือ ชาฟีอี เป็น นิกายฮานาฟี แต่เหตุผลต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นเป็นเหตุที่นำให้เกิดขบวนการลุกขึ้นต่อสู้กับการปกครองของออตโตมัน เนื่องจากสมัยนั้นชาวเคิร์ดมีโครงสร้างและอาศัยอยู่กระจัดกระจายในหลายๆ พื้นที่

unnamedชาวเคิร์ดในสมัยการปกครองออตโตมานจะอาศัยอยู่ในแถบพื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขามากมาย เช่น อิรบีล กันดีล ดิยารบักร์ ด้วยเหตุนี้เป็นเหตุทำให้อาศัยอยู่กระจัดกระจายออกจากกันและเป็นอุปสรรคในการก่อตั้งขบวนการชนชาติชาวเคิร์ดขึ้นมา แม้ว่าในสมัยการปกครองของออตโตมาน จะไม่เห็นการลุกขึ้นมาต่อสู้ของชนชาวเคิร์ด แต่ไม่ใช่ว่าการเคลื่อนไหวของพวกเขาในยุคออตโตมานจะไม่เกิดขึ้น เพราะในยุคนั้นเป็นครั้งแรกที่กลุ่มหัวกระทิของชาวเคิร์ดออกมาแสดงบทบาท โดยการออกมาทำผลงานด้วยการตีพิมพ์นิตยสารของชาวเคิร์ด โดยใช้ชื่อว่า “เคิร์ดิสถาน” ในปี ค.ศ. 1898

พรรคชาวเคิร์ดได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาในยุคสมัยการปกครองของออตโตมาน ในปี 1908 ชาวเคิร์ดได้จัดตั้ง “การเติบโตของประชากรและความรุ่งเรืองของชุมชนชาวเคิร์ด” ขึ้น และตามมาด้วยการเคลื่อนสู่สังคมอื่นๆ ด้วยการเปิดการศึกษาให้แก่ประชากรชาวเคิร์ด ซึ่งในระหว่างปี 1889-1908 นั้นเรียกได้ว่าเป็นยุคทองสำหรับชาวเคิร์ดในตุรกีเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเหล่าหัวกระทิของชาวเคิร์ดในตุรกีได้ใช้โอกาศในขณะที่การปกครองของออตโตมานกำลังหมกมุ่นอยู่กับสงครามกับยุโรปและบวกกับปัญหาภายในที่รุมเร้า

3.สมัยการลุกขึ้นต่อสู้ ก่อจลาจล

การสลายตัวของจักรวรรดิออตโตมาน ได้จุดประกายไฟแห่งการเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ดให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับตุรกีในรูปแบบขององค์กรหนึ่ง ซึ่งมีมีเป้าหมายสำคัญคือ การลุกขึ้นมาประท้วงก่อจลาจลต่อเหล่าผู้ปกครองที่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากจักรวรรดิออตโตมาน หลังจากนั้นจึงเกิดทำการลงนามสนธิสัญญากัน และทำให้เป็นที่ยอมรับกันในการสร้างรัฐเคิร์ดในดินแดนของจักรวรรดิออตโตมาน แม้นว่าสนธิสัญญาดังกล่าวอาจเป็นแค่เพียงรยะเวลาสั้นๆ แต่หลังจากสิ้นสุดสนธิสัญญานั้น สนธิสัญญาโลซานก็ถูกนำมาแทนที่

ในสมัยนั้นเช่นกันได้มีกลุ่มเยาวชนตุรกีได้ยึดประเทศตุรกีโดยการนำโดย มุสตาฟา กามาลพอชอ (Ataturk) ผู้นำขบวนการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และได้เปลี่ยนทิศทางในอนาคตของชาวตุรกีและชาวเคิร์ด อตาเติร์กรู้ถึงความกังวลต่างๆของชุมชนชาวเคิร์ด และด้วยกับการให้สัญญากับเหล่าบรรดาผู้นำชุมชนเหล่านั้น จึงทำให้กองกำลังชาวเคิร์ดกลายเป็นเครื่องมือในการต่อกรและปราบปรามในสงครามกับอังกฤษ อาหรับและกรีซ

แต่ทว่าหลังจากอตาเติร์กได้เข้ามายึดอำนาจ ชาวเติร์กอาศัยสนธิสัญญาใหม่โลซานทำให้พวกเขากลายเป็นที่ยอมรับในสังคมทั้งที่พวกเขาเป็นนิกายชนกลุ่มน้อย และได้อ้างว่าชาวเคิร์ดผู้เป็นพี่น้องของพวกเขาถูกรู้จักในนามชนกลุ่มน้อย และได้ออกกฎหมายในการห้ามวัฒนธรรมของชาวเคิร์ดในสังคมไม่ว่าจะเป็น ภาษา การแต่งกายและอื่นๆ

390143_476

4.ยุคความสงบสุขและจุดเริ่มต้นอิทธิพลชาวเคิร์ดในสังคมตุรกี

ระบบพรรคการเมืองตุรกีได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างซับซ้อน จากการปกครองด้วยพรรคเดียวกลายเป็นระบบการเลือกหลายพรรคขึ้นมาตามความเหมาะสม เนื่องจากประเด็นดังกล่าวจึงทำให้เป็นการง่ายที่กลุ่มต่อต้านจะแทรกแซงเข้ามามีอำนาจในระบบการเมือง

และชาวเคิร์ดสามารถดึงดูดคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่พรรคการเมืองของตนและด้วยวิธีนี้ทำให้พวกเขามีอิทธิพลในตุรกี และจะเห็นได้ว่าอิทธิพลดังกล่าวไปถึงจุดสูงสุดในปี 1950 และการชนะของ “พรรคประชาธิปไตย” โดยการนำของ “Adnan Menderes” และในความเป็นจริงแล้วหนึ่งในผลกระทบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาวเคิร์ดต่อโครงสร้างทางการเมืองของตุรกี คือ ชัยชนะของพรรคประชาธิปไตย ชาวเคิร์ดเนื่องจากได้รับการช่วยเหลือจากพรรคประชาธิปไตยทำให้ระบบเศรษฐกิจได้ขับเคลื่อนไปจากระบบเศรษฐกิจรัฐบาลตุรกีโดยการนำของพรรคประชาธิปไตยไปสู่ระบบเศรษฐกิจเสรี การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นเหตุทำให้ชาวเคิร์ดเข้ามามีบทบาททางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น

ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่า อิทธิพลของชาวเคิร์ดมีมากถึงขั้นที่ 90 เปอร์เซ็นของคะแนนเสียงจากชุมชนที่ชาวเคิร์ดอาศัยถูกเถให้แก่พรรคประชาธิปไตย

ชัยชนะของพรรคประชาธิปไตยเป็นเหตุทำให้ชาวเคิร์ดจำนวนหนึ่งสามารถหาหนทางในการเข้าสู่อำนาจในสภาและเข้าไปนั่งในตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรี

5. สมัยการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และกลุ่มฝักใฝ่ปีกซ้ายโดยชาวเคิร์ดในตุรกี

ในช่วงทศวรรษที่ 60 สงครามเย็นระหว่างตะวันออกและตะวันตกได้ไปสู่จุดสูงสุด สงครามหนึ่งที่มีความสำคัญจากสนามรบในประเทศต่างๆของกัลลิเวอร์คือ ระหว่างอิหร่านกับตุรกี จากช่วงต้นยุค 1960 กลุ่มคอมมิวนิสต์ได้ใช้โฆษณาชวนเชื่อในการเผยแพร่ลัทธิของตนในตุรกี เป็นเหตุทำให้เกิดการก่อตั้งกลุ่มฝักใฝ่ซ้ายขึ้นมาในตุรกี

คอมมิวนิสต์ลัทธิที่เรียกร้องไปสู่ความคิดในเรื่องของความเสมอภาพและภราดรภาพและขจัดปัญหาในเรื่องของการเลือกปฏิบัติ ระบบโฆษณาชวนเชื่อของคอมมิวนิสต์ถือว่าประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับความสนใจและดึงดูดคนกลุ่มหนึ่งจากชาวเคิร์ดในตุรกี โดยเฉพาะในหมู่ชาวเคิร์ดที่ทำอาชีพแรงงาน ด้วยเหตุนี้กลุ่มคอมมิวนิสต์ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในสังคม

390145_473เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของลัทธิคอมมิวนิสต์จึงทำให้เกิดการปฏิวัติความคิดและเผยแพร่ของกลุ่มฝ่ายซ้ายขึ้น จนถึงขั้นกองกำลังชาวเคิร์ดได้รวมตัวก่อตั้ง พรรคแรงงานตุรกี ขึ้นมา และพรรคดังกล่าวสามารถเข้ายึดพื้นเก้าอี้ในสภาได้จำนวนมาก ชาวเคิร์ดด้วยกับความเข้มแข็งของพรรคแรงงานตุรกีหลังจากผ่านไปไม่กี่ทศวรรษทำให้ตัวตนของพวกเขาถูกรู้จักในนาม พรรคการเมืองหนึ่งในตุรกี ในความเป็นจริงชาวเคิร์ดเองก็เชื่อว่า พรรคแรงงานตุรกี เป็นหนี้บุญคุณสำหรับพวกเขา ครั้งหนึ่ง มูฮัมมัด อาลี อัสลาน เป็นหัวหน้าพรรคดังกล่าวได้กล่าวถึงชาวเคิร์ดในสภาคองเกรสที่สี่ในปี 1969 ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ในสังคม ผลกระทบหนึ่งที่สำคัญจากการเคลื่อนไหวของชาวเคิร์ดในตุรกี คือ พวกเขาทำให้สังคมยอมรับในชาติพันธ์และอัตลักษณ์ของพวกเขาและยังเป็นเหตุให้ชักจูงคนกลุ่มน้อยในประเทศให้การสนับสนุนกลุ่มฝั่งซ้าย องค์กรหลักของกลุ่มฝักใฝ่ฝ่ายซ้ายของชาวเคิร์ดในตุรกี ถูกก่อตั้งขึ้นมาในปี 1978 (Kurdish Workers Party – Partiya Karkerên Kurdistan) หรือเรียกว่า PKK

390146_874

6.รัฐประหาร 1980 ยุคสิ้นสุดความหวังฉันทามมติระหว่างเคิร์ดและเติร์ก

ในปี 1980 กองทัพตุรกีนำโดย กันอาน อิวเรน ได้ออกมาก่อรัฐประหารที่มีการนองเลือดที่สุดในตุรกี และเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 1982-1987

การก่อรัฐประหารในปี 1980 และการปกครองในระบบทหารเป็นตัวสร้างแนวโน้มไปสู่การสนับสนุนองค์การ PKK ของชาวเคิร์ดมากขึ้น จนกลายเป็นปฐมบทแห่งการนองเลือดระหว่างชาวเติร์กและเคิร์ด กลุ่มต่างๆของชาวเคิร์ดได้เริ่มต้นด้วยการออกมาชี้แจงถึงสาเหตุที่ต้องการจะก่อตั้งประเทศของตนโดยแยกออกจากตุรกี จึงทำให้กลุ่มชาตินิยมออกมาแสดงความไม่พอใจ ซึ่งคำขวัญในการแบ่งแยกดินแดนของชาวเคิร์ดถูกโจมตีอย่างหนักทำให้เกิดความอคติทางชาติพันธ์อย่างรุนแรงในสังคมตุรกี

390147_465ชาวเคิร์ดได้ยืนยันมั่นในความต้องการแบ่งแยกดินแดนออกจากตุรกีและหลังจากนั้นจึงเกิดการต่อสู้เพื่อเป็นเอกราชด้วยการโจมตีรอบฆ่าและการรบแบบกองโจร คือ การซุ่มโจมตี รัฐบาลตุรกีก็ไม่ได้นิ่งเฉย รัฐบาลได้ส่งหน่วยติดอาวุธหนักพิเศษไปยังหมู่บ้านต่างๆของชาวเคิร์ดเพื่อปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนขั้นรุนแรง ชาวเคิร์ดยังต่อกรและตอบโต้ด้วยการเพิ่มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนกระทั้งในปี 1988 พวกเขาได้มีแนวร่วมและพันธมิตรในวงกว้างมากขึ้นจนสามารถตั้งกองกำลัง “แนวร่วมในการปลดปล่อยชาติเคิร์ดิสถาน” (ERNK) ขึ้นมา

ในปี 1995 กองทัพตุรกีได้เปิดศึกโจมตีอย่างกว้างขวางโดยการส่งทหารภาคพื้นดินไป 3,500 นายไปยังภาคเหนือของอิรักเพื่อทำการปราบปรามกลุ่ม PKK ได้เริ่มต้นออกไล่ล่าซึ่งข้ามเข้าไปในดินแดนของประเทศอิรักลึกถึง 40 กิโลเมตร

หลังจากการโจมตีในปี 1995 กองกำลังตุรกีได้รับชัยชนะโดยที่พวกเขาได้ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดบุกโจมตีแหล่งซ่องสุมของกลุ่ม PKK ทำให้ชายแดนตุรกีกลับสู่สภาวะสงบสุขอีกครั้ง และในปี 1999 อับดุลลอฮ์ อุคาลาน ผู้นำขบวนการ PKK ถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีตัดสินประหารชีวิต และการจับกุมอุคาลานและเป็นพลเมืองตุรกีสหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้ยกเลิกการประหารชีวิตเขา ความกดดันต่างๆทั่วโลกถูกโหมกระหน่ำใส่กลุ่ม PKK ในที่สุด และเป็นเหตุให้พรรคดังกล่าวสิ้นสุดการต่อสู้กับรัฐบาลกลางในปี 2003

7.สมัยเจรจาต่อรองและผลกระทบของชาวเคิร์ดชาตินิยมและพรรคฝ่ายค้าน

การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่ม PKK ได้เริ่มขึ้นมีทั้งการเจรจาแบบลับๆและเปิดเผย สุดท้ายในช่วงปลายปี 2012 หลังจากการเจรจากับอับดุลลอฮ์ ได้จบลงไปไม่กี่วัน เขาได้ส่งจดหมายปีใหม่ให้แก่ชาวเคิร์ดในตุรกี ซึ่งในจดหมายเป็นการประกาศการหยุดยิงและยุติสงครามระหว่างรัฐบาลกับกลุ่ม PKK

390149_168ข้อความของอับดุลลอฮ์ที่ส่งให้แก่ชาวเคิร์ดในตุรกีนั้นไม่ได้ถูกประกาศจากสถานีโทรทัศน์ต่างประเทศที่เป็นภาษาเคิร์ดแต่ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในช่วงเวลาขึ้นปีใหม่ พร้อมกับประชาชนที่ออกมาชูธง PKK ในวันปีใหม่ในเมืองต่างๆที่ชาวเคิร์ดอาศัย โดยที่ไม่มีการชูธงตุรกีให้เห็นในวันนั้น ทำให้เกิดข้อพิพาทอย่างรุนแรงขึ้นกับกลุ่มชนที่นิยมชาติพันธ์ตุรกี

390150_773และปัญหาดังกล่าวอาจเป็นเหตุทำให้บางพื้นที่ในตุรกีเกิดความรุนแรงขึ้นและเกิดความคลั่งไคล้รักชาติในสังคมตุรกี ซึ่งจริงๆแล้วการเจรจากับชาวเคิร์ดในตุรกีถูกห้ามปรามมาหลายทศวรรษ ซึ่งปัจจุบันการเจรจากับพวกเขาอยู่ในระดับของเจ้าหน้าที่อาวุโสถึงขั้นที่รัฐบาลกลางได้มอบสัมปทานให้อาจเป็นเหตุทำให้บางส่วนของประชากรตุรกีมีความรู้สึกกลัวว่า รัฐบาลของตนกำลังตกหลุมพรางซีเรียเป็นเหตุนำความเสื่อมเสียแก่ชาติที่ยิ่งใหญ่อย่างตุรกี

จะอย่างไรก็ตามผลกระทบที่ตามจากการสงบศึกและการเจรจากับชาวเคิร์ด คือ ทำให้เกิดความรุนแรงในบางพื้นที่ในตุรกีและเกิดความสงสัยเกี่ยวกับรัฐบาลกลางในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

390151_645เป็นไปได้ว่านี้อาจเป็นสัญญาณที่ชัดเจนอย่างหนึ่งเมื่อคำขวัญของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลได้นำเหตุผลดังกล่าวออกมาใช้ต่อต้านอัรดุฆอน และกลุ่ม PKK ในช่วงหลัง และอีกปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่กองกำลังชาวเคิร์ดคือ บางกลุ่มเชื่อว่าการเจรจาต่อรองกับัฐบาลนั้นไม่ใช่ทางออกสำหรับแก้ปัญหา แต่จะต้องเคลื่อนไหวด้วยอาวุธและการเรียกร้องอิสรภาพด้วยการยืนหยัดอยู่บนลัทธิชาตินิยม