“Nakba Day” วันก่อตั้งรัฐเถื่อนยิวไซออนิสต์ แต่คือวันหายนะของชาวปาเลสไตน์ ที่ต้องถูกขับไล่จากแผ่นดินเกิด

3754

เป้าหมายในการำลึกวันครบรอบวันนัคบาห์ (Nakba Day) ของพี่น้องปาเลสไตน์ ก็เพื่อย้ำ ในสิทธิ “ ที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ” และการให้พี่น้องปาเลสไตน์คืนกลับสู่แผ่นดินแม่ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 ชาวปาเลสไตน์ถูกไซออนิสต์ขับไล่ออกจากแผ่นดินตัวเองอย่างเป็นทางการ

ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 เป็นวันที่มีความหมายสำหรับพี่น้องปาเลสไตน์ โดยที่ชาวปาเลสไตน์จะมีการจัดงานรำลึกวันดังกล่าวเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญสำหรับพวกเขาโดยเฉพาะบรรดาพี่น้องปาเลสไตน์ที่ต้องอพยพหนีในวันดังกล่าว ในปี 1948 ตามประวัติศาสตร์ ได้บันทึกว่า ชาวปาเลสไตน์จำนวน 750,000 คน ถูกบีบบังคับให้ออกจากแผ่นดินของตนเอง ซึ่งพี่น้องปาเลสไตน์ได้มีการจัดงานรำลึกครบรอบวัน Nakba Day เป็นประจำทุกปีนั้นเพื่อส่งสาส์นแก่ยิวไซออนิสต์ว่า ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์มีสิทธิ์ที่จะกลับสู่แผ่นดินแม่ของเขาได้เสมอ และไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะกีดกันและสกัดกั้นพวกเขาในการได้มาซึ่งสิทธิอันชอบธรรมเหล่านี้ได้

คำว่า “ นักบาห์” ในศัพท์ของอาหรับให้ความหมายว่า “วันแห่งความพินาศฉิบหาย” โดยนำมาใช้เพื่อเป็นการอธิบายความป่าเถื่อนของยิวไซออนิสต์ที่ก่ออาชญากรรมต่อพี่น้องผู้ถูกกดขี่ในปาเลสไตน์ เป็นวันที่พี่น้องปาเลสไตน์นับพันๆ คนต้องเร่ร่อนลี้ภัยและออกจากแผ่นดินแม่ และเป็นวันที่ยิวไซออนิสต์ประกาศจัดตั้ง “รัฐชาติอิสราเอล” ขึ้นมาขึ้นบนพื้นที่ร้อยละ 80 ของพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของปาเลสไตน์ จากนั้น พี่น้องปาเลสไตน์ต้องลี้ภัยอพยพไปยังกาซ่าและเขตเวสต์แบงก์ และอีกจำนวนหนึ่งเนื่องจากการกดขี่และการก่ออาชญากรรมของยิวไซออนิสต์ จำต้องอพยพลี้ภัยยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จอร์แดน อิรัก ซีเรีย และเลบานอน

แม้ว่า 15 พฤษภาคม 1948 จะเป็นวันแห่งการรำลึก Nakba Day แต่จำต้องกล่าวย้ำว่า วิกฤติด้านมนุษยธรรมในปาเลสไตน์นั้นมีความรุนแรงและเริ่มขึ้นก่อนวันเวลาดังกล่าวนี้มาแล้ว โดยที่ยิวไซออนิสต์ได้บุกโจมตีหมู่บ้าน และเขตพื้นที่อาศัยของพี่น้องปาเลสไตน์อย่างโหดร้ายและไร้ความปรานี ซึ่งการบุกโจมตีพี่น้องปาเลสไตน์ในอย่างโหดร้ายเช่นนี้ มีสองเป้าหมายด้วยกัน ประการแรก เพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พี่น้องปาเลสไตน์ และประการที่สอง สร้างความกลัวและความหวาดผวาให้กับพี่น้องปาเลสไตน์ในเขตพื้นที่อื่นๆ เพื่อสะดวกในการขับไล่พวกเขาให้ออกไปจากแผ่นดินและบ้านเกิดของตนเอง

ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ ยิวไซออนิสต์ได้ก่ออาชญากรรมต่างๆ ที่โหดร้ายผิดมนุษย์ ต่อพี่น้องปาเลสไตน์ เช่น อาชญากรรมที่พวกเขา ได้สังหารหมู่บรรดาเด็กๆ ต่อหน้าครอบครัวของพวกเขา ต่อหน้าบิดามารดาและญาติพี่น้องของพวกเขา

ในเรื่องนี้ มีชายชราท่านหนึ่ง ที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งได้เล่าเหตุการณ์อันโหดร้ายป่าเถื่อนของยิวอิสราเอล ขณะที่เขา มีอายุ ประมาณ 128 ปี โดยเขาเล่าว่า ยิวไซออนิสต์ ได้จับสตรีตั้งครรภ์นางหนึ่ง ได้ก็ได้ตัดศีรษะนางต่อหน้าสามีและลูกๆของนาง และเล่าเสริมว่า ในวันนั้น เขามีอายุ ประมาณ 59 ปี เขาไม่อาจลืมเลือนเหตุการณ์ที่โหดร้ายครั้งนั้นได้ ยิวไซออนิสต์ ได้จับตัวสตรีนางหนึ่งอายุ 30 ปี และเธอกำลังตั้งครรภ์อยู่ จากนั้นได้สังหารนางต่อหน้าสามีและบุตรของเธอ

เขายังเล่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นอีกว่า ชาวปาเลสไตน์ไม่คาดคิดว่าเหตุการณ์มันจะโหดร้ายไปมากกว่านี้ แต่ทันใด เมื่อรถถังและอาวุธหนักของยิวไซออนิสต์ก็คลื่อนมายังหมู่บ้านของตน ชาวบ้านจึงพากันวิ่งหนีแตกกระเจิง จากนั้นพวกไซออนิสต์ก็ได้เข้าไปพังทลายอาคารบ้านเรือนของพี่น้องปาเลสไตน์ ทำให้พี่น้องปาเลสไตน์เสียชีวิตใต้ซากปรักหักพังนับสิบครอบครัว ซึ่งประวัติศาสตร์ไม่ได้มีการบันทึกเหตุการณ์นี้ แต่ สำหรับตัวผมแล้วมันเป็นความทรงจำที่ไม่อาจลืมเลือนได้

เขายังได้ชี้ถึงบทบาทของอังกฤษ ต่อเหตุการณ์ Nakba Day ว่า อังกฤษมีบทบาทที่สำคัญในการติดอาวุธให้กับยิวไซออนิสต์ ยิวอิสราเอลถือว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ เป็นวาระที่สำคัญของพวกเขา สังหารบรรดาเด็กๆ ต่อหน้าบิดามารดาและญาติพี่น้อง

Nakba Day วันที่กองทัพไซออนิสต์ได้รับอนุญาตให้เข้าปาเลสไตน์จากอังกฤษและสหประชาชาติตามมติใน ‘คำประกาศบัลฟอร์’ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 1917 ของ รมต.ต่างประเทศอังกฤษ อาร์เธอร์ บัลฟอร์ ที่เขียนจดหมายถึงลอร์ดรอธไชด์ ยิวผู้มีอิทธิพลในประเทศที่พยายามกดดันให้อังกฤษมอบแผ่นดินปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิวนับล้านๆ ที่เร่ร่อนอยู่ทั่วโลก

กองกำลังติดอาวุธของยิวได้บุกเข้าสังหารหมู่ ปล้นสะดมภ์ชาวอาหรับในเขตของอิสราเอล เช่น การสังหารหมู่ที่ดิรยาซีน ทำให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเกรงกลัวความโหดร้ายของยิว อพยพละทิ้งบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก มีชาวปาเลสไตน์ต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยถึง 500,000- 700,000 คน กระจัดกระจายอยู่ทั่วในเขตยึดครองและประเทศอาหรับอื่นๆ

“ในตอนจบของสงครามปี 1948 หมู่บ้านทั้งหมด 1,000 หมู่บ้าน ไม่เพียงแค่ถูกลดจำนวนประชากรแต่ยังถูกทำลายด้วย บ้านของพวกเขาถูกทำลายหมาดสิ้น ขณะที่ในหลายๆ แห่งยากที่จะเข้าไป ในวันนี้ นักเดินทางที่ช่างสังเกตจะสามารถเห็นร่องรอยของการมีอยู่ของพวกเขา ตามถนนและทางหลวงของอิสราเอล ซึ่งเป็นร่องรอยที่หลบหนีจากคนเดินผ่านไปมาอย่างไม่สนใจ ประกอบไปด้วย พื้นที่ที่เคยมีการต่อสู้, ผ่านเนินเขาเล็กๆบ่อยๆ, ต้นมะกอกและต้นผลไม้อื่นๆ ขาดการดูแลเอาใจใส่, แนวต้นแคคตัสและต้นไม้อื่นๆ ขึ้นรก ตอนนี้และต่อจากนี้บ้านที่พังทลายทิ้งซากไว้ ปล่อยปละละเลยมัสยิด/โบสถ์ กำแพงพังทลายตลอดทางของหมู่บ้าน แต่หลักใหญ่ของเหตุการณ์คือ ซากศพที่กระจัดกระจายปนกับหินและเศษอิฐเศษปูนตลอดภูมิประเทศที่ถูกลืม”

ปีนี้ เป็นปีครบรอบ 67 ปี วัน Nakba Day หน่วยงานให้การช่วยเหลือด้านผู้อพยพลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของฮามาส มีการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ในการจัดงานรำลึกครบรอบปีในปีนี้ และย้ำถึงสิทธิอันชอบธรรมของพวกเขาที่จะกลับคืนสู่แผนดินแม่

แต่ในขณะเดียวกัน เบนยามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรียิวอิสราเอล เชื่อว่า การจัดงานรำลึกครอบรอบวัน นักบะห์ เดย์ ในปาเลสไตน์ จะสร้างประเด็นความไม่ชอบธรรมของการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นมา และสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่ออิสราเอล และยังถือว่า การเดินประท้วงวัน นักบัต เดย์ ในปาเลสไตน์นั้น เป็นการปลุกกระแสให้พี่น้องปาเลสไตน์ลุกขึ้นมาต่อต้านและต่อสู้กับอิสราเอล

ตามสถิติการรายงานที่มีการตีพิมพ์ในการรายงานระหว่างประเทศ เผยว่า วัน นักบาห์ เดย์ ปี 1948 มี 530 หมู่บ้านในปาเลสไตน์ที่ถูกทำลายเสียหายราบเป็นหน้ากลอง ชาวปาเลสไตน์ เป็นชะฮีด (เสียชีวิต) จำนวน 15,000 คน พี่น้องปาเลสไตน์นับสิบๆ คนถูกฆ่าหมู่ และ 18,000 คน ต้องหนีอพยพทันทีในวันนั้น

จะอย่างไรก็ตาม วันนักบะห์ เดย์ คือ วันที่ประชาคมโลกถูกบีบบังคับให้ยอมรับรัฐอิสราเอลและในขณะเดียวกันมาตุภูมิของชาวปาเลสไตน์ก็ถูกพรากไปจากพวกเขา วันที่พวกเขาชาวปาเลสไตน์ (และบรรพบุรุษของพวกเขา) ต้องสูญเสียอิสรภาพ เนื่องจากถูกยึดครองดินแดนและถูกกวาดต้อนให้ไปอยู่ในพื้นที่ที่รัฐอิสราเอลกำหนด

วันที่ชาวปาเลสไตน์ต้องสูญเสียสิทธิในการครอบครองตนเอง (และครอบครองดินแดนของตัวเอง) นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้ ปาเลสไตน์ ยังคง จัดงานรำลึกครอบรอบ ปี วัน นักบาห์ เดย์ เพื่อตอกย้ำในความโหดร้ายและความป่าเถื่อน และการตั้งรัฐเถือนของยิวอิสราเอล ได้ตระหนักและประจักษ์ในความเลวร้ายของอิสราเอล