“เยเมน” ดุลยภาพของมหาอำนาจโลก

13097

ประเทศ “เยเมน” ในการรับรู้ของประชาคมโลกส่วนใหญ่อาจมีเพียงแค่ว่า เป็นเพียงประเทศที่ยากจนที่สุดของตะวันออกกลางที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและการรบราฆ่าฟัน และมิได้มีความสำคัญอันใดต่อการเมืองระหว่างประเทศ หากแต่ความจริงเยเมนตั้งอยู่บนภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญ เพราะเยเมนเป็นดินแดนที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลแดงกับมหาสมุทรอินเดีย และเชื่อมต่อทะลุไปถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นับตั้งแต่มีการเปิดคลองสุเอซครั้งใหม่ในปี 1975  โดยมีเมืองท่าเอเดนที่แสดงบทบาทสำคัญต่อการขนส่งของโลก นอกจากนั้นแล้วเยเมนยังแวดล้อมไปด้วยกลุ่มประเทศที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของโลก

ดังนั้นแล้ว เยเมนคือจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโลกที่มหาอำนาจจับจ้องตาเป็นมัน และมิอาจยินยอมให้ตกไปอยู่ในการครอบครองของขั้วตรงกันข้าม กระทั่งเมื่อดุลยภาพของเยเมนเริ่มแปรเปลี่ยนเหนือการควบคุม การก่อสงครามโดยผ่านตัวแทนจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้!!

 

ประวัติย่อ

ประเทศเยเมนเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ใน ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเซีย หรือ ทางภาคใต้ของคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ  536,869 ตร.กม. มี 20 จังหวัด โดยมีเมืองหลวงคือ กรุงซานา   นับเป็นประเทศที่มีความเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานอีกประเทศหนึ่ง  มีประชากรประมาณ 24 ล้านคน โดย 99 เปอร์เซ็น เป็นชาวมุสลิม โดยมี 65 เปอร์เซน เป็นชาวอะฮลิซุนนะฮ มัซฮับ ชาฟีอีย์ และ 35-40 เปอร์เซน เป็น ชีอะฮ ซัยดียะฮ และส่วนที่เหลือ คือ อิสมาอีลียะฮ และ อิมามียะฮ  ประชากรส่วนใหญ่เป็น อาหรับ และ อาหรับแอฟริกัน มีเผ่าตามเทือกเขาต่างๆประมาณ 400 เผ่า

 

ภูมิศาสตร์ทางการเมือง และความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของประเทศเยเมน

เยเมนนับเป็น หนึ่งในประเทศที่มีความสำคัญ และนับเป็นจุดยุทธศาสตร์ ประเทศหนึ่งของคาบสมุทรอาหรับ และนับเป็นประเทศเป้าหมายของนักล่าอาณานิคม ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพราะประเทศนี้ ในภาคใต้ของเยเมน คือ ภาคเหนือของตะวันตก และยังครอบคลุมภาคตะวันออก โดยมี ช่องแคบบาบุลมันดิบ (Bab-el-Mandeb) เป็นที่ตั้ง ช่องแคบนี้ ยังอยู่ระหว่างทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย และยังเป็นน่านน้ำที่ใกล้ที่สุดระหว่างตะวันตก และตะวันออก อีกด้วย

จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ประเทศเยเมน เป็นประเทศจุดยุทธศาสตร์ระหว่าง ตะวันตก และตะวันออกเลยทีเดียว และไม่แปลกที่เหล่ามหาอำนาจ ต่างหมายปองที่จะครอบครองแผ่นดินนี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตะวันออกหรือตะวันตกก็ตาม เพราะหากใครสามารถยึด ช่องแคบมันดิบได้ เขาก็จะสามารถยึดทะเลแดงได้ และยังสามารถปิดเกาะสำคัญอย่าง “บัรยัม” อย่างง่ายดาย โดยเกาะนี้ ได้แบ่งทางเดินน้ำของช่องแคบ มันดิบ ออกเป็นสองส่วน คือ ทางเดินน้ำตะวันออก และทางเดินน้ำตะวันตก โดยทางตะวันออกเรียกว่า “บาบุลอิสกันดาร์” และทางเดินน้ำตะวันตกเรียกว่า “มีวัน” อย่างไรก็ตามเราสามารถวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงการเป็นจุดยุทธศาสตร์ของเยเมน ได้ดังนี้

1 เยเมนเป็นประเทศที่ใกล้กับแหลมของแอฟริกามากที่สุด ซึ่งในช่วงกลางของสองศตวรรษล่าสุด เนื่องจากความขัดแย้งของมหาอำนาจ จึงทำให้แผ่นดินนี้ เป็นแผ่นดินที่มีสถานการณ์ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

2 การปิดล้อม ช่องแคบบาบุลมันดิบ ในปี 1946 โดยกองทัพอิยิปต์ ในสงคราม 6 วัน ถือเป็นประบการณ์สำคัญของรัฐเถื่อนไซออนิสต์ ถึงความสำคัญของช่องแคบนี้ ดังนั้น ประเด็นเรื่องความมั่นคงของเยเมน จึงมีผลต่ออิสราเอลเป็นอย่างยิ่ง

3 เยเมนเป็นประเทศที่อยู่ทางภาคเหนือของแผ่นดินอาหรับ ซึ่งมีชายแดนร่วมกันระหว่างซาอุดิอาราเบีย และยังมีความสำคัญต่อซาอุดิอาราเบีย ในด้านการผลิตน้ำมัน ซึ่งตั้งแต่ปี 1962-1970 ซาอุได้สนับสนุน ฝ่ายนิยมซาร์เพื่อชนกับ พรรคลิพับลิกัน ซึ่งทางอิยิปต์ได้หนุนหลังอยู่ช่วงเวลานั้น เนื่องด้วยความวิตกว่า ทางอิยิปต์จะขยายอิทธิพล ในทางภาคใต้ และก่อความไม่สงบขึ้น

4เยเมนเป็นประเทศที่มีระยะของชายหาดยาวกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งทะเลแดง ทะเลอาหรับ และเนื่องด้วยการมีอ่าวสำคัญๆอย่าง เอเดน ,ฮะดีด ฟุฮาอฺ จึงทำให้ประเทศนี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

map-yemen

ความสำคัญทางด้านกำลังพลและประชากร

ตามสถิติของปี 1993 เยเมนมีประชากรประมาณ 13 ล้านคน  จึงทำให้เยเมนกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากในคาบสมุทรอาหรับ และเพราะประชากรส่วนใหญ่ล้วนมาจากเผ่าต่างๆที่ติดอาวุธ และเป็นนักรบ มีประสบการณ์เกี่ยวกับสงครามมาแล้ว เรื่องนี้จึงบอกกับเราว่า หากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลเยเมนสามารถจัดทหารอาสามากกว่าล้านคนได้ในทันที  ซึ่งสำหรับซาอุดิอาราเบีย ความพร้อมในด้านนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าวิตก เพราะเมื่อถึงยามคับขัน เยเมนสามารถจัดทับตามเขตชายแดนได้เร็วกว่า ซาอุ ได้ถึงหลายเท่า ในการจัดทัพเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนักสำหรับซาอุดิอาราเบียแต่อย่างใด

 

ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ

เนื่องจากเยเมนเป็นประเทศที่มีระยะชายหาดยาวกว่าประเทศอื่นๆ จึงทำให้สามารถกอบโกยผลประโยชน์จากธุรกิจทางด้านการประมงได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากสงครามยาวนาน ,ความขัดแย้งภายใน และการแย่งชิงอำนาจของเหล่ามหาอำนาจ ทำให้ประเทศนี้ไม่มีโอกาศใช้ประโยชน์จากทรัพยากรล้ำค่าเหล่านี้ ตามข้อมูลจากธนาคารโลกปี 2013 ชาวเยเมนมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ดำรงชีพด้วยเงินน้อยกว่า 2 ดอลล่าร์ต่อวัน เนื่องจากความยากจน การทุจริตที่แพร่หลาย ความไม่มั่นคงและความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ทำให้เยเมนเป็นประเทศที่อยู่ในขอบนรกและความวุ่นวายทางเศรษฐกิจสังคม นอกจากนี้ การขุดเจาะน้ำมันยังทำให้ เยเมน และ ซาอุดิอาราเบีย มีความขัดแย้งกันมาโดยตลอด และทางซาอุพยายามที่จะครอบครองผลประโยชน์จากคลังน้ำมันของเยเมนมาครอบครองเป็นของตัวเอง อีกด้วยเช่นกัน

 

ความสำคัญทางด้านวัฒนธรรม

เยเมนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของศาสนา ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมบางส่วนก็มีกล่าวไว้ในอัลกุรอ่าน เช่นกัน เหล่านักค้นคว้าพยายามค้นหาร่องรอยเหล่านี้ และนอกจากนี้ ยังมีห้องสมุดที่เก็บตำราทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่และทรงคุณค่า ซึ่งช่วยเพิ่มความสำคัญของประเทศนี้ในอีกด้านหนึ่ง

 

ศาสนาและนิกาย

อิสลาม คือ ศาสนาอย่างเป็นทางการของประเทศเยเมน มีศาสนาอื่นปะปนอยู่เช่นกันแต่ถือว่าน้อยมาก ประชากรส่วนใหญ่คือ มุสลิม โดยมีนิกายต่างๆ อย่างเช่น ซัยดียะฮ ชาฟีอีย์

 

การเมืองศาสนา และการปกครอง

ก่อนการรวมกันระหว่าง เยเมนทั้งสองฝ่าย ในปี 1990 ชาวเยเมนทางตอนใต้นิยมในระบบสังคมนิยม แต่ก็มีการเข้าร่วมการประชุมเสวนาอิสลาม และภายหลังจากการรวมเยเมนเป็นหนึ่ง จึงมีการประกาศ ให้อิสลามเป็นศาสนาอย่างเป็นทางการ โดยประชาชนสามารถนับถือศาสนาได้อย่างเสรี

 

อิทธิพลทางศาสนาต่อการเมืองและวัฒนธรรมสังคม

ภายหลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน  ผลคือ ศาสนาได้เข้ามามีอิทธิในเวทีการเมืองและสังคมของเยเมน แน่นอนว่า ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายตั้งแต่ยุคสมัยแรก แต่การหารือให้ใช้ ชะรีอัตอิลาม ในเวทีการเมือง เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง ภายหลังจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ชาวเยเมนนับเป็นกลุ่มแรกที่เดินทางมายังอิหร่าน และเข้าพบกับอิม่ามโคมัยนี ต่อมาการมีอิทธิพลของอิสลาม จึงเป็นหนึ่งในความต้องการของประชาชนที่จะนำชะรีอัตเป็นพื้นฐานในการร่างรัฐธรรมนูญ

 

ข้อกล่าวอ้าง ที่ซาอุดิอาราเบีย ใช้เปิดสงครามถล่มเยเมน

การจะเข้าใจสถานการณ์และบทของแต่ละฝ่าย เบื้องต้น เราต้องเปิดดูที่มาของประเทศเยเมนสักเล็กน้อย ซึ่งผู้เขียนก็ได้นำเสนอในตอนต้นไว้แล้ว หลังจากนั้น เราต้องมาดูเหตุผลของแต่ละฝ่ายกันบ้าง โดยเริ่มจาก ซาอุ ซึ่งเหตุผลหลักที่ ทางการซาอุ ได้ประกาศแก่ชาวโลก ถึงสาเหตุการเปิดสงครามถล่มเยเมน มีสามประการด้วยกันดังนี้

1 เพื่อคืนอำนาจให้กับ มันศูร ฮาดีย์ ในฐานะ ประธานาธิบดี

2 สถานะใหม่ของเยเมน ถือ เป็นภัยคุกคามต่อ ซาอุดิอาราเบีย และประเทศในเขตอ่าวเปอร์เซีย

3 เพื่อทำลายอิทธิพลของอิหร่านที่มีต่อเยเมน

 

วิพากษ์

1 การคืนอำนาจในกับ มันศูร ฮาดีย์

ทางการซาอุเห็นว่า พวกเขาจะต้องแทรกแซง ประเทศอาหรับที่มีความยากจนที่สุดคือ เยเมน เพื่อคืนอำนาจให้กับ อดีต ประธานาธิบดี มันศูร ฮาดีย์  ด้วยการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน บางคนอ้างว่า การโจมตีของซาอุ เป็นการโจมตี ชีอะฮ ไม่ใช่โจมตีซุนนี่ คำกล่าวอ้างเช่นนี้ แน่นอนว่ามันไม่มีน้ำหนัก เพราะหลังจากการรุกรานเยเมน ประชาชน ทั้งซุนนี่ และ ชีอะฮ ต่างก็ออกมารวมตัวกัน ในเมืองซันอา ร่วมกันประนามการกระทำของรัฐบาลซาอุ พร้อมทั้งประกาศสนับสนุนพรรคอันศอรุลลอฮ ที่เพิ่งจะปฏิวัติสำเร็จได้ไปหมาดๆ

ก่อนอื่นเราคงจะสงสัยกันว่า มันศูร ฮาดีย์ คือ ใคร ทำไมถึงถูกถอดออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขาทำอะไรผิด ประชาชนถึงต้องประท้วง และทำไมซาอุ ถึงได้ใช้เหตุผลในการบุกโจมตี โดยการพาดพิงถึงนายคนนี้

มีเรื่องราวของ มันศูร ฮาดีย์ ที่สามารถนำเสนอได้อย่างมากมาย ในที่นี้ เราจะขอนำสนอข้อมูลที่หาไม่ได้จากแหล่งข่าวของตะวันตก และแหล่งข่าวที่เอียงไปทางซาอุดิอาราเบียให้วิเคราะห์กัน

หากกล่าวสรุป แบบสั้นๆ ถึงสาเหตุการทำรัฐประหาร ต่อ ประธานาธิบดีคนนี้ โดยประชาชนชาวเยเมน สาเหตุที่ทำให้ประชาชนชาวเยเมนรู้สึกไม่พอใจ ต่อ ปธน.คนนี้ หลักๆก็คือ นโยบายที่ก่อให้เกิดความแตกแยกภายในทางการเมืองของชายคนนี้ โดยมีซาอุเป็นผู้หนุนหลัง  และการโยกย้ายอำนาจให้ประเทศอื่นมาควบคุมกิจการภายใน

ทางคณะกรรมการสูงสุดของการปฏิวัติในเยเมน ได้รับเรื่องเนื่องด้วยการเรียกร้องจากประชาชนในประเทศ โดยทางประชาชนได้รวมตัวกันในเมืองซันอา (ซานา) เมืองหลวงของเยเมน ด้วยสโลแกน” เพื่อสร้างความมั่นคง” และ เราจะยืนหยัดปฏิวัติต่อไป” ในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2015

ก่อนหน้านี้ ในวัน พฤหัสบดีที่ 5 มีนา มีการจัดตั้งการประชุมขึ้น โดยมีพรรคการเมืองกลุ่มต่างๆ ในเมืองซันอา โดยมี นาย ญะมาล บิน อุมัร เป็นตัวแทนเฉพาะกิจของ สหประชาชาติ ในกิจการเยเมน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือ กันเรื่อง การจัดตั้งประธานสภาภายในประเทศ และรัฐมนตรีในรัฐบาลชั่วคราว

โดยในการเสวนาในครั้งนี้ แต่ละพรรคการเมืองต่างมีความเห็นตรงกัน  ซึ่งในอนาคตรัฐบาลชั่วคราวจะมี รมต. ถึง 35 คน แต่ในกรณีการบริหารนั้นแต่ละพรรคยังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้ ซึ่งตามกฎหมายที่ร่างขึ้นใหม่ของเยเมน มีการประกาศในวันที่ 6 กุมพาพันธ์ คือให้มี คณะกรรมการ จำนวน 5 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบและตรวจสอบ กิจการต่างๆของประธานาธิบดี โดยให้มีสภาชุดใหม่ แทน สภาเก่าที่ถูกถอดถอน และให้มีการจัดตั้ง ประธานสภาคนใหม่ขึ้น  การทำข้อตกลงของแต่ละพรรคการเมืองกำลังอยู่ในช่วงดำเนินการ ทุกอย่างกำลังไปได้ดี อนาคตประเทศเริ่มสดใสขึ้น แต่ ประธานาธีบดี อับดุลรอบบิฮ มันศูร ฮาดีย์ ก็ยังคงดำเนินนโยบายในการทำลายข้อตกลง  ซึ่งในเยเมนนั้น เป็นที่รู้กันว่า ปธน คนนี้ เป็นคนของซาอุ เขาก็ยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซาอุในการดำเนินนโยบายต่างๆอีกด้วย เป้าหมายของ มันศูร ฮาดีย คือ การตัดงบประมาณของพรรคอันศอรุลลอฮ และการโยกย้าย งบประมาณของรัฐบาลเยเมน โดยการนำเอางบประมาณเหล่านี้ ไปเก็บไว้ในธนาคารกลางของเยเมนในอเดน แทนเมืองหลวงคือ ซันอา ซึ่งนั่นทำให้ การบริหารของเขาเริ่มแสดงออกถึงความไม่โปร่งใส

ต่อมา มันศูร ฮาดีย์ ได้จ่ายเงินให้กับทหาร เขาพยายามซื้อกองทัพ และพยายามควบคุมกองทัพให้อยู่ในกำมือ หลังจากนั้น วันที่ 20 กุมพา เขาได้ทิ้งเมืองหลวงซันอา ไปสู่เมือง เอเดน อย่างลับๆ ในช่วงที่อยู่เอเดน  มันศูร ได้พยายาม จัดตั้งรัฐบาลซ้อนขึ้น ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการประกาศการเป็นประธานาธิบดีของเขาในเมืองนี้อย่างเป็นทางการ

ต่อมา เหตุการณ์เกิดขึ้นใน เมืองเดียวกัน มันศูรได้ออกคำสั่ง แก่ อับดุลฮาฟิศ อัซซักกอฟ ผู้บัญชาการกองทัพสายความมั่นคง แต่ อับดุลฮาฟิศ ได้ปฏิเสธ คำสั่งของ มันศูร คำสั่งดังกล่าว คือ ให้ ผบ อับดุลฮาฟิศ นำกองทัพภายใต้อำนาจของตน วางกำลังไว้รอบค่ายทหารหลักของเยเมน เพื่อเตรียมการโจมตี ทหารของประเทศ เมื่อประชาชนรู้ข่าวจึงเกิดกระแสความไม่พอใจต่อมันศูร

นาซีร มันศูร ฮาดีย น้องชาย ของ มันศูร ฮาดีย์  ซึ่งดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง ตามจังหวัดต่างๆ ทางภาคใต้ เช่น เอเดน เอบิน ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ดำเนินนโยบายสร้างความแตกแยกและความวุ่นวายภายในประเทศ เขาได้ปล่อยตัว สมาชิก อัลกออิดะฮ ที่ถูกขังอยู่ในเมือง เอบีนถึง 40 คน เป็นอิสระ

ฝ่าย มันศูร ฮาดีย์เองก็เช่นกัน เขาได้ปล่อยตัว สมาชิกอัลกออิดะฮ จำนวนมาก เช่น นาย ฏอริค อัลฟุฎลา หนึ่งในผู้นำพรรคเยเมนใต้ และได้นำชายคนนี้ออกนอกนอกประเทศ ในเวลาต่อมา

ชาวเยเมนจึงไม่ต้องการให้ ชายคนนี้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป ในอีกทางหนึ่ง การคืนอำนาจให้กับ มันศูร ฮาดีย์ จะทำให้ อิทธิพลของซาอุเฟื่องฟูในเยเมนอีกครั้ง กล่าวคือ มันศูร ฮาดีย์ จริงๆแล้ว ก็คือ หุ่นเชิดของซาอุ ที่มีไว้เพื่อควบคุมเยเมน

2. สมมติว่า การคืนอำนาจให้ มันศูร ฮาดีย์ ถือเป็นความชอบธรรม นี่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ชอบธรรม และเพียงพอ ที่จะทำให้ ซาอุดิอาราเบีย ถึงกับต้องเปิดสงครามถล่มประเทศที่ยากจนเช่นนี้

เพราะก่อนหน้านี้มีการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจเก่าในตูนีเซีย ซาอุก็ไม่ได้ทำอะไร หรือใน อิยิปต์ ก็มีการโค้นล่มประธานาธิบดี ฮอสนีย์ มุบารอกซึ่งทุกคนต่างก็รู้กันดีว่า การล้มฮอสนีย์ ทำให้รัฐบาลซาอุดี้ แสดงโทสะเป็นอย่างยิ่ง แต่พวกเขาก็ไม่ได้ ปฏิบัติการทางทหารเหมือนที่เกิดขึ้นในเยเมน

น่าแปลกว่า พอถึงคราวเยเมน ซาอุถึงกับต้องดิ้นรนจนกลายเป็นผู้จุดชนวนสงครามขึ้นมา เข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเมื่อมองจากวิธีการนี้ไม่ใช่การคืนอำนาจให้กับ ประธานาธิบดี อย่างถูกต้องเลย กล่าวคือ การโจมตีในครั้งนี้ ในอีกมุมหนึ่ง ซาอุ ใช้วิธีไปถล่มเยเมน เพื่อให้ คนของตนกลับสู่อำนาจอีกครั้ง วิธีการแบบนี้ดูคล้ายสมัยที่ซัดดัม เปิดสงครามบุกอิหร่าน แต่ต่างกันตรงที่ อดีต ซาอุสนับสนุนซัดดัมล้มอิหร่าน ปัจจุบัน ซาอุลงสนามเอง เพื่อล้มเยเมน

อีกอย่างที่ไม่ควรมองข้าม คือ อย่าคิดว่า ใครก็ตามที่ได้เป็นผู้ครอบครองแผ่นดินที่มีสถานที่ศักดิ์สิทธิของศาสนา แสดงว่าการตัดสินใจของเขาคนนั้น ถูกต้อง กษัตริย์ซาอุไม่ได้เป็นเจ้าของประเทศอย่างชอบธรรมมาตั้งแต่แรกแล้ว การที่หลายๆ คนชอบที่จะอ้างว่า กษัตริย์ซาอุ เป็นผู้พิทักษ์แผ่นดินฮารอมัยน ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ถูกต้องทั้งนั้น คิดแบบนี้ มันไม่ต่างอะไรเลย กับการยอมรับ ยะซีด หรือ ผู้ปกครองที่ฉ้อฉล ว่าเป็นผู้นำประชาชาติอิสลาม

3.บางฝ่ายอ้างว่า การบุกโจมตีเยเมนโดย ซาอุดิอาราเบีย เป็นการทำสงครามนิกาย กล่าวคือ การบุกโจมตีของซุนนี่ ต่อชีอะฮ

แน่นอนว่าในตอนนี้ หลายๆคนเริ่มจะสร้างความชอบธรรม โดยการใช้ศาสนามาบังหน้าเสียแล้ว  ดังที่มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา เพื่อตอบคำถามถึงความชอบธรรมในการจู่โจมของซาอุ ซึ่งเมื่อมองจากความเป็นจริง ในหลายๆเหตุผล เราพบว่า ข้ออ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงเลย เพราะ

3.1 กลุ่มที่ออกมาประนามการกระทำของซาอุในครั้งนี้ ไม่ได้มีแต่ชีอะฮ แต่เพียงกลุ่มเดียว มุสลิมกลุ่มอื่นๆ ก็ได้ร่วมออกมาประนามการกระทำของซาอุด้วยเช่นเดียวกัน ดังที่เราได้ติดตามจากข่าวแล้ว มีการรวมตัวประท้วงเพื่อต่อต้าน การรุกรานของซาอุ ไม่ว่าจะใน ซันอา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยเมน หรือ ปาเลสไตน์ หรือ ในปากีสถาน แต่ละกลุ่มต่างรวมตัวกัน ซึ่งรวมทั้งซุนนี่ และชีอะฮ ต่างก็ออกมาประนามการกระทำของซาอุดิอาราเบีย ที่พยายามเข้ายึดอำนาจจากประชาชนชาวเยเมน อย่าให้คนที่คลั่งหรือศรัทธาต่อซาอุ มายัดเยียดความคิดนี้ใส่  เรามีความคิด มีความสามารถที่จะตรวจสอบความจริง และฟังเรื่องราวจากหลายๆด้าน ดังนั้น คำพูดทีว่าการโจมตีซาอุเป็นสงคราม ระหว่าง ซุนนี่-ชีอะฮ จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริง เมื่อพิจารณาจากมุมมองของมุสลิมทั่วโลก

3.2 หากสาเหตุที่ ซาอุ บุกโจมตี ชีอะฮ เพราะ ชาวเยเมนเป็นชีอะฮ คำถามแรกก็คือ ในยุคนี้ หากใครที่ไม่ได้ตามแนวทางวะฮาบี หรือมีความเชื่อเหมือนกับพวกเขา โทษของพวกเขาคือ ความตายกระนั้นหรือ ? เพียงเพราะความเชื่อที่แตกต่าง ถึงขั้นต้อง สำเร็จโทษด้วยการประหารชีวิตคนๆนั้นหรือ ? ตรรกะวิบัติที่มุสลิม มักถูกหลอกให้ฆ่ากันเอง ในยุคสมัยนี้ มากที่สุด คือ ใครก็ตามที่ไม่ใช่มีความเชื่อเหมือนกับพวกเขา เขาคนนั้น จะตกอยู่ในสถานะของ กาเฟร หรือ ผู้ปฏิเสธศรัทธา หรือ มุรตัด คือ ผู้ตกศาสนา ซึ่งเรียกว่า การตักฟีร เหตุผลที่ต้องมีการตักฟีร ก็เพื่อปิดปากของผู้คน เมื่อถามหาความชอบธรรมในการฆ่าสังหารมุสลิมคนหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อมุสลิม คนหนึ่ง ถูกถือว่า ตกศรัทธา การฆ่าเขาจึงไม่ใช่สิ่งที่ผิด (ในขณะที่ศาสนาไม่ได้สอนเช่นนั้นเลย) การตักฟีร เป็น ข้ออ้างที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในสถานการณ์ยุคปัจจุบัน ซึ่งวิธีการเช่นนี้ นับเป็นวิธีการที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง (ศาสนาสอนเช่นนี้หรือไม่ มีคำสอนในลักษณะนี้หรือ จำเป็นต้องศึกษาในวาระอื่นๆ ซึ่งหากนำเสนอ ก็จะอยู่นอกประเด็นนี้)

ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อพูดถึงซัยดียะฮ คนที่เรียน และศึกษา ศาสนวิทยา ต่างก็รู้ดีว่า กลุ่มซัยดียะฮ มีความเชื่อที่ใกล้เคียง กับ อะฮลิซุนนะฮ กล่าวคือ ซัยดียะฮ ยอมรับในการเป็นคอลีฟะฮ ของท่าน อบูบักร์ และท่านอุมัร ดังที่ชะฮเรสฏานี ได้กล่าวอธิบายถึงนิกายนี้ไว้ใน หนังสือ มิลัล วะ นิฮัล ของเขา (เล่มหนึ่ง หน้า 155 )นอกจากนี้ หลักการทางศาสนบัญญัติ กลุ่ม ซัยดียะฮ ยังยึดตาม อบูฮานีฟะฮ , ชาฟีอีย์,ฟิกฮของชีอะฮ อีกด้วย  นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า ซัยดียะฮ มีความใกล้ชิดกับซุนนี่

4.ข้อกล่าวอ้างเรื่องการขยายอำนาจของอิหร่าน คือ อีกสาเหตุหนึ่งที่ซาอุใช้อธิบายถึงการทำสงคราม

ในประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่พูดถึงเรื่อง “สงครามตัวแทน” คือ ระหว่าง ซาอุดิอาราเบีย กับ อิหร่านในภูมิภาค มันคือ เหตุผลทางการเมืองที่ซาอุ ใช้ เพื่อ ยิงระเบิดใส่เยเมน หลายๆคนอ้างว่า กลุ่มอันศอรุลลอฮ คือ หุ่นเชิด ที่อิหร่าน ใช้คุมเยเมน เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากหลายมุมมอง จะเห็นว่า จริงๆแล้ว ซาอุดิอาราเบียเองต่างหากที่ได้แทรกแซงเยเมน และแสดงเจตจำนงค์ในการเข้าควบคุมเยเมนอย่างเปิดเผย เพราะถ้าข้อหานี้เป็นความจริง จะต้องมีหลักฐานที่ปรากฎว่า อิหร่านคือผู้สร้างสถานการณ์ในเยเมน  แต่ความเป็นจริงอิหร่าน ไม่ได้สร้างสถานการณ์การปฏิวัติขึ้นมา แต่เป็นคนเยเมนเองที่ได้เรียกร้องให้ประเทศเกิดการปฏิวัติ ใครบอกว่าไม่ใช่ แสดงว่าโกหกแล้วละครับ ตรงข้ามในขณะที่ เมื่อเรา ดูการเมืองต่างประเทศของซาอุดิอาราเบีย กลับกลายเป็น กระแสการยุยงให้เกิดความแตกแยก เช่น การทำสงครามระหว่างซุนนี่-ชีอะฮ การตักฟีร ล้วนถูกปล่อยออกมาจากซาอุดิอาราเบีย และในบางครั้ง พวกเขาก็สร้าง ,สนับสนุน ISIS ให้ไปก่อกวนในประเทศที่เป็นเป้าหมายเหล่านี้ และยังได้ยุให้เกิดการโค่นล้มอำนาจของบะชัร อัลอะซัด ในซีเรีย อย่างเปิดเผย

หากจะถามว่า หลักฐานที่ยืนยันถึงคำกล่าวเหล่านี้อยู่ที่ไหน การหาคำตอบเป็นเรื่องง่าย ลองสังเกตดูว่า ผู้รู้หรือกลุ่มองค์กรที่ปฏิบัติตามนโนบายของซาอุดิอาราเบีย เขามีความเห็นอย่างไรต่อมุสลิมด้วยกัน ที่ไม่ใช่นิกายเดียวกัน ในประเทศไทยเอง ก็มีการตักฟีร กล่าวหาว่า มุสลิมกลุ่มอื่นตกจากศาสนา นอกจากนี้บางแหล่งข่าวรายงานว่า อิหร่านส่งอาวุธให้เฮาซี แต่จากหลักฐานยังไม่มีการพบว่า เฮาซีใช้อาวุธที่ทันสมัยในการต่อสู้เลย

5. ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกอาหรับ กลายเป็นภัยคุกคามประเทศที่ร่ำรวยที่สุด

เมื่อพูดถึงภัยคุกคาม คำถามหลักที่ต้องคำนึงคือ คุกคามใคร คุกคามอะไร และการคุกคามดังกล่าวมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

ในมุมหนึ่ง การเปิดสงครามของซาอุ ในครั้งนี้ มีความคล้ายคลึงกับ การเปิดสงครามของซัดดัม ที่ได้เคยถล่มอิหร่าน เมื่อสมัยสงคราม 8 ปี ต่างกันตรงที่ สมัยนั้น ซาอุดิอาราเบีย ไม่ได้ลงสนามเอง และเหมือนกันตรงที่ ซาอุดิอาราเบีย มองว่า การปฏิวัติของอิหร่านในวันนั้น และการปฏิวัติของเยเมนในวันนี้ เป็นภัยคุกคามต่อพวกเขา มันเป็นข้อกล่าวหาที่โมฆะ เพราะ ข้ออ้างที่ซาอุใช้อธิบายถึงคำถามว่าทำไมต้องบุกเยเมน คือ เยเมน กลายเป็นประเทศที่เป็นอันตรายต่อประเทศในอ่าวเปอร์เซีย

ข้อแรก คือ เยเมน เป็นประเทศอาหรับที่ยากจนที่สุด และยังเป็นประเทศที่ล้าหลังที่สุด ในบรรดาประเทศอาหรับทั้งหมด
ข้อที่สอง คือ ภายในประเทศเองก็ยังมีปัญหา เศรษฐกิจ ปัญหากลุ่มก่อการร้าย และการพัฒนาชาติ ประเทศที่มีปัญหาภายใน และฐานะความมั่นคงในระดับนี้ ไปคุกคามประเทศที่ร่ำรวยที่สุดอย่างซาอุยังไง?  แล้วคำว่า คุกคาม ที่ทางการซาอุเลือกใช้ มันหมายถึงอะไร หมายถึง คุกคามทางการทหาร หรือ หมายถึง คุกคามทางเศรษฐกิจ ?

แต่ถ้าการคุกคามที่ซาอุดิอาราเบีย ความหมายหนึ่ง คือ การถอนรากอิทธิพลของซาอุดิอาราเบีย ให้หมดสิ้นไปจากเยเมน, การปลดแอกเยเมนจากความเป็นทาศ และการขึ้นตรงกับซาอุดิอาราเบีย , การปลดอิทธิพลทางเศรษฐกิจออกจากคำสั่งของซาอุ และแน่นอน ที่คุกคามซาอุดิอาราเบียมากที่สุด คือ การขยายวงกว้างของแนวคิดในการล้มล้างระบอบเผด็จการที่สวมหน้ากากอิสลาม นั่นพวกเขามีสิทธิที่จะสร้างชาติ และประเทศของตนเอง มีด้วยหรือ ดังนั้น คำว่าคุกคามจริงๆที่ซาอุดิอาราเบียไม่ได้พูดถึง คือ ต่อไปในอนาคตซาอุไม่สามารถควบคุม และกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศนี้ได้อีก เพราะเยเมนจะปลดแอก และหลุดพ้นจากโซ่แห่งอิทธิพลของซาอุดิอาราเบียแล้ว นี่คือการคุกคามที่ซาอุดิอาราเบีย ไม่ได้พูดถึง

ถ้าหากจะอ้างว่า ต้องบุก เพราะถ้าไม่บุก อันศอรุลลอฮ จะถล่มประเทศในอ่าวเปอร์เซีย นั่นโกหกคำโตแล้ว อย่างที่เราอธิบายไปแล้วว่า ประเทศนี้มีสถานะการเงิน และปัญหาภายในอย่างไรบ้าง

6.ถ้าจะให้ซาอุดิอาราเบีย บุก อิสราเอล  อิสราเอล จะต้องเป็นชีอะฮเสียก่อน

นี่ก็เป็นอีกข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่ชี้ว่า จริงๆแล้ว ซาอุไม่ได้สนใจพี่น้องมุสิม อย่างที่สมควรจะเป็น เพราะถ้าซาอุสนใจจริงๆ  ป่านนี้เราคงได้เห็นจรวดหรือขีปนาวุธยี่ห้อซาอุดิอาราเบีย หล่นในอิสราเอลบ้างแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น รอมานานแล้วก็ยังไม่เคยเห็นสักที

อีกประเด็นหนึ่งที่หลายๆ คนตั้งคำถามว่า ทำไมนโยบายของซาอุดิอาราเบีย ถึงไม่เคยปรากฎให้เห็นเลยว่า พวกเขาคิดจะต่อต้าน หรือ ช่วยเหลือ ชาวปาเลสไตน์ ในการปลดปล่อยประเทศให้เป็นอิสระบ้างไหม น่าเศร้าที่ศัตรูกลุ่มเดียวที่ ซาอุ มองว่าเป็นภัยมาโดยตลอดคือ ชีอะฮ ถามว่าทำไม อิสราเอล ไม่เคยเป็นเป้าหมายของกลุ่มเหล่านี้เลย คำถามนี้ เป็นปริศนาที่ผู้อ่านจะต้องไขด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตาม บางกลุ่มได้ให้คำตอบว่า สาเหตุที่ซาอุดิอาราเบีย ไม่มีนโยบาย หรือ สนับสนุนให้การจัดการประท้วง หรือ กล่าวประนามอิสราเอล เพราะ พวกเขาถือว่า กลุ่มแรกที่ต้องจัดการคือ อิสลามของปลอม ดังนั้น คำถามจึงอยู่ที่ ใครอยู่ในสังกัดของอิสลามแบบปลอมๆ นี้ ?

ถ้าย้อนกลับไปที่หัวใจ หรือ จิตวิญญาณของ สำนักคิดวะฮาบี โดยมีผู้ก่อตั้งคือ อิบนุตัยมียะฮ ทุกกลุ่มที่ไม่ได้เดินตามแนวทางของเขา ในมุมมองของเขาถือเป็นอิสลามจอมปลอม  ไม่ว่าจะเป็นซุนนี่ หรือ ชีอะฮ ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไม นโยบายหลักของสำนักคิดนี้ จึงเป็นการกล่าว ตักฟีร หรือ การกล่าวหามุสลิม กลุ่มอื่น ว่า หลงผิด หรือ บิดเบือน จึงกลายเป็นนโยบายหลัก ตั้งแต่มีการเผยแพร่แนวคิดสุของอิบนุตัยมียะฮ แนวคิดนี้ก็ได้สร้างปัญหาให้กับสังคมจะขอยกตัวอย่างสักเล็กน้อย  อิบนุกะซีร  หนึ่งในลูกศิษย์ของอิบนุตัยมียะฮ ได้กล่าวว่า “ในวันที่ 8 ของเดือนชะอฺบาน ได้มีการจัดตั้งประชุม ต่อหน้าผู้ปกครองเมืองดามัสกัส ซึ่ง ณ สถานที่แห่งนั้น ถูกคนลงความเห็นเป็นมติเดียวกันว่า ถ้าหากอิบนุตัยมียะฮ ยังไม่หยุด เผยแพร่เเนวคิดอันบาฏิลของเขา จะต้องถูกจำคุก ดังนั้น บรรดากอฎีย์ หรือ ผู้พิพากพา จึงส่งอิบนุตัยมียะฮ ให้ไปอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่งในอิยิปต์. ในเวลานั้น ชัมซุดดีนอัดนาน ได้มีโอกาศสนทนากับเขา  แต่อิบนุตัยมียะฮ ก็ยังคงพูดเรื่องอะกีดะฮความเชื่อของตนเองอย่างเปิดเผย เมื่อการเป็นเช่นนี้ กอฎีจึงได้สั่งจำคุก และหลังจากนั้น อิบนุตัยมียะฮ จึงถูกย้ายไปอยู่ในคุกที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง นามว่า ((ญับ)) ในเวลาต่อมา” ((อัลบิดายะฮ วันนิฮายะฮ เล่มที่ 14 หน้า 4))

มองสงครามนี้จากพันธมิตรของแต่ละฝ่าย จะทำให้เราเข้าใจจุดยืน และแนวคิดของซาอุดิอาราเบีย ได้ดียิ่งขึ้น

เช่นเดียวกัน เขายังได้กล่าวต่ออีกว่า “ในคืนอีดุลฟิตร ปีเดียวกัน อมีรซัยฟุดดีน ตัวแทนผู้นำอิยิปต์ ได้ออกหมายเชิญ ผู้พิพากษาจากสามมัซฮับ โดยในสาส์นเทียบเชิญได้กำหนดข้อเสนอว่า ให้ปล่อยตัวอิบนุตัยมียะฮ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องละทิ้งความเชื่อเช่นนี้ของเขาเสียก่อน. เมื่อได้ข้อสรุปพวกเขาจึงส่งคนไปเจรจากับอิบนุตัยมียะฮ แต่เขาก็ไม่พร้อมที่จะยอมรับในเงื่อนไขอันนี้.

ในปีต่อมา อิบนุตัยมียะฮ ถูกส่งไปขังจำคุกที่ ยอดเขาญะบัล ประเทศอิยิปต์ จนกระทั้งเขาได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระในวันที่ 23 เดือนรอบีอุลเอาวัล และมีได้รับสิทธิโดยให้เลือกระหว่างอยู่ต่อที่อิยิปต์ หรือ กลับถิ่นฐานเดิมของเมืองชาม อิบนุตัยมียะฮ เลือกจะอยู่ในอิยิปต์ และไม่หยุุดการเผยแพร่แนวคิดของเขาต่อไป

และในยุคสมัยของอิบนุอับดุลวะฮาบเอง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อธิบายถึงการ กล่าว ตักฟีร มุสลิมกลุ่มอื่นๆไปจนถึงขั้นนองเลือด  ซึ่งหลายๆคนก็คงพอทราบถึงประวัติในเรื่องนี้กันแล้ว และที่ยกเรื่องอดีตมา ผู้เขียนต้องการชี้ว่า ทำไม แนวคิดในการ”ตักฟีร” แบบนี้ ในยุคนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร(แน่นอนว่าก่อนหน้านี้ก็มีการกล่าวตักฟีร)  ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นว่า เมื่อจิตวิญญาณของสำนักคิดวะฮาบี ไปปรากฎอยู่ที่ใด ความขัดแย้งก็จะไปปรากฎ ณ ที่แห่งนั้น
ต่อมาก็มาถึง ประเด็นในหัวข้อนี้ คือ ถ้าหากสาเหตุที่ซาอุไม่เคยนับว่า อิสราเอล คือ ศัตรู เพราะ ต้องการถอนรากถอนโคนอิสลามจอมปลอม อีก 2,000 ปี ซาอุ ก็จะไม่มีวันรบกับอิสราเอลครับ เพราะไม่ใช่มุสลิมทุกกลุ่มที่จะยอมรับแนวคิดแบบวะฮาบีย์ และแม้แต่ภายในประเทศซาอุดิอาราเบียเอง ก็ยังมีนิกายที่หลากหลาย ดังนั้น การอ้างว่า ต้องกำจัดอิสลามของปลอมก่อน แล้วจึงค่อยมาจัดการกับอิสราเอล จึงเป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้าง ที่ใช้ตอบ และปลอบใจ มุสลิม บางกลุ่มที่ยังคงหวังและศรัทธาว่า วันหนึ่ง ซาอุดิอาราเบีย จะต่อสู้กับอิสราเอล และทวงสิทธิ์ ให้กับชาวปาเลสไตน์อย่างจริงจัง

บางกลุ่มอาจจะอ้างว่า ภาวะทางการเมืองของซาอุยังไม่เหมาะสมพอ ที่จะต่อสู้กับอิสราเอล ในทางทหาร เราอยากจะตั้งคำถามว่า มีภาวะ หรือ ปัจจัยไหน ที่เป็นตัวยับยั้งไม่ให้ ซาอุดิอาราเบีย ทวงสิทธ์ให้พี่น้องชาวปาเลสไตน์ ? พวกเขายากจนหรือ  ? พวกเขาไม่มีอาวุธที่ทันสมัยหรือ  ? พวกเขามีกำลังพลไม่พอหรือ ? อะไรเป็นตัวขัดขวางพวกเขา ? คำตอบคือ ไม่มีอะไรขัดขวางพวกเขาหรอกครับ หากคิดจะทำจริง และหากไม่ทำสงครามโดยตรง อย่างน้อย ทางการซาอุ ก็น่าจะช่วยเหลือ โดยการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือความช่วยเหลือทางด้านอื่นๆให้กับชาวปาเลสไตน์บ้าง เพื่อให้พวกเขาได้ปกป้องตนเอง แต่กลายเป็นว่า กลุ่มที่ส่งอาวุธและเงินสนับสนุนให้ปาเลสไตน์ มาหลายสิบปี กลับกลายเป็นกลุ่ม ที่ มุสลิมบางกลุ่ม ดาหน้าว่า ไม่ใช่มุสลิม คือ อิหร่าน และยังเป็นกลุ่มที่ตั้งวันปลดปล่อยปาเลสไตน์ของทั่วโลก เพื่อระลึก และเตือนผู้คนให้จดจำถึงสิ่งที่อิสราเอลได้ทำกับปาเลสไตน์อยู่เสมอ คือ กลุ่มเดียวกันที่ เนทันยาฮุ เคยออกมาโวยว่า ได้แอบส่งขีปนาวุธไปให้ฮามาส รบกับอิสราเอล และยังเป็นกลุ่มที่คอยช่วยเหลือ และประกาศถึงความชอบธรรมของฮามาส ในการทำสงคราม 50 วัน ในครั้งล่าสุด ซาอุดิอาราเบียอยู่ที่ไหน เวลาที่ปาเลสไตน์ถูกอิสราเอลรุกราน ?
แต่พอ เกิดการปฏิวัติขึ้นในเยเมน ซาอุดิอาราเบีย กลับกลายเป็นประเทศแรกที่บุกเยเมน ด้วยข้ออ้างภัยคุกคาม  ? แล้วที่ผ่านมา ซาอุดิอาราเบีย ไม่เคยรู้เลยหรือว่า อิสราเอล เป็นภัยคุกคามกับมุสลิมมาโดยตลอด ? เพราะอะไร ?

9 กลุ่มพันธมิตรที่เข้าร่วมและเห็นดีเห็นงามกับการโจมตี ดันกลายเป็นพวกที่ไม่มีประวัติขาวสะอาดเอาเสียเลย

เมื่อมองในมุมของชาติที่ร่วมกับซาอุดิอาราเบีย ในการถล่มเยเมน ผู้นำของแต่ละชาติล้วนมีประวัติที่ไม่ค่อยสู้ดีเท่าไหร่นัก ไม่ว่าจะเป็นอิยิปต์ โดย นายพลซีซีย์ ที่ได้ทำรัฐประหารต่อ นาย มูฮัมมัด มอรซีย์ หรือ ตุรกี ที่ก่อนหน้านี้มีแหล่งข่าวปล่อยออกมาว่าเป็นประเทศที่คอยช่วยเหลือ ISIS ในการสร้างความปั่นป่วนต่อภูมิภาค หรือ สหรัฐอเมริกา ที่ ชอบทำตัวเป็นไม้บรรทัด ชี้ผิด ชี้ถูก ชี้เป็นชี้ตาย ชาติต่างๆ พร้อมทั้งๆแผนต่างๆในการเปลี่ยนแปลงการเมืองในตะวันออกกลาง ประเทศอาหรับใหญ่ๆที่มีความร่ำรวยมหาศาล ได้เรียกปฏิบัติการ กำราบเยเมนในครั้งนี้ว่า พายุแกร่ง หรือ พายุอันน่าสะพรึงกลัว แน่นอน ประเทศที่สนับสนุนให้ยำเยเมน ยังมีผู้นำที่มีปัญหากับประชาชนในประเทศของตนเอง และบางประเทศยังเป็นประเทศที่ใช้อำนาจแบบเผด็จการอีกด้วย  การจะดูว่า ใครถูกใครผิด ในด้านหนึ่ง จึงสามารถพิจารณาได้ว่า ศัตรู และมิตรของพวกเขาคือใคร

โดยสรุปแล้ว  จาก ข้อวิจารณ์เหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่า การที่ซาอุดิอาราเบีย ประเทศที่ร่ำรวย และมีอิทธิพลมากที่สุดในอาหรับ ได้บุกโจมตี ประเทศเยเมน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความยากจนมากที่สุด เป็นสงครามผลประโยชน์ไม่ใช่สงครามที่รากของมันมาจากความขัดแย้งทางศาสนา และเมื่อนำเหตุผลต่างที่ทางซาอุได้ใช้อ้างถึงความชอบธรรมในการเปิดสงครามกับความเป็นจริง ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ข้ออ้างเหล่านั้นเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล และจากมุมมองทั้ง 9 ทำให้ได้ข้อสรุปว่า สิ่งที่มหาอำนาจเหล่านี้ กำลังทำอยู่ คือ การทำลาย ไม่ใช่การสร้างสรรค์….

 

 

อ้างอิง
http://www.abnewstoday.com/30-%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C/
http://www.abnewstoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%99/
http://www.abnewstoday.com/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%81/

http://www.abnewstoday.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%AD/

http://islamicstudiesth.com/index.php/news-and-articles/critic/624-what-you-should-know-yemen
http://www.abnewstoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%A5/

http://www.abnewstoday.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%80/

http://www.abnewstoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B4-%E0%B8%9B%E0%B8%98%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%80/

http://www.abnewstoday.com/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%83/