ขบวนการปฏิวัติประชาชนในเยเมน

1361

กำเนิดขบวนการต่อสู้อัลเฮาซี
เรื่องราวเกี่ยวกับขบวนการเฮาซีในเยเมนนั้นกำเนิดขึ้นมาในสมัยไหน? และมีเป้าหมายอย่างไร? อันดับแรกเราจำเป็นจะต้องค้นคว้าประวัติศาสตร์เหล่านี้จากมุมมองของบรรดามุสลิมในพื้นที่ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์ซัยดียะห์
ขบวนการต่อสู้ของมุสลิมนิกายชีอะฮ์ซัยดียะห์กำเนิดขึ้นมาโดยธรรมชาติด้วยการรวมตัวกันของชนพื้นเมืองในเยเมน ไม่ได้เกิดมาจากการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด ซึ่งชีอะฮ์ซัยดียะห์มีความใกล้ชิดอย่างมากกับอิหร่าน พวกเขาสามารถจัดตั้งรัฐการปกครองได้ในพื้นที่ทางตอนเหนือของอิหร่าน เยเมนและโมร็อกโก เมื่อ ศตวรรษที่สาม 3 ตามปฏิทินอาหรับ และเมืองตับริสตอน อิลัม ถือเป็นฐานหลักแรกสำหรับพวกเขา ซึ่งเหล่าบรรดาผู้นำของขีอะฮ์ซัยดียะห์ได้จัดตั้งรัฐบาลปกครองที่นั้น และเป็นการปกครองที่กินเวลายาวนานหลายปี และมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่ออิหร่านเสมอมา การปกครองของชีอะฮ์ซัยดียะห์ทางตอนเหนือของเยเมนถูกก่อตั้งขึ้นมาโดย ยะห์ยา บิน ฮาซัน เป็นผู้ที่มาจากเชื้อสายอิมามฮาซันบุตรของอิมามอาลี(อ) แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นเขามีความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐปกครองทางตอนเหนือของอิหร่านแต่เนื่องจากหลายๆปัจจัยจึงทำให้ความพยายามของเขาล้มเหลวลง หลังจากนั้นเขาและผู้ร่วมขบวนการอีก 800 คนได้เดินทางต่อไปยังเมือง ซะห์ดะห์ และด้วยกับจำนวนคนอันน้อยนิดเหล่านั้นพวกเขาก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลปกครองขึ้นได้ในที่นั่น เหล่าสมาชิกของขบวนการยะห์ยาได้ถูกสังหารในสงครามต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น และถูกฝังในสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า    ( มักบิระห์ตับริยูน )
ด้วยกับการแทรกแซงเข้าไประหว่างเผ่าต่างๆของชาวเยเมนโดยชีอะฮ์ซัยดียะห์ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจึงทำให้อิทธิพลของพวกเขาเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้น และด้วยการบั่นทอนอำนาจจึงทำให้การปกครองของมุลิมซัยดียะห์ไปถึงจุดสูงสุดของอำนาจ คือ การปกครองตั้งแต่ ศัฟฟัรโอมาน กว้างไปจนถึง ตออิฟ ซาอุดิอารเบีย แต่ทว่าในสมัยที่การปกครองของซัยดียะห์เริ่มอ่อนแอลงทำให้พวกเขาสูญเสียอำนาจการปกครองจนเหลืออำนาจแค่เพียงหยิบมือเดียว คือ เมือง ซะห์ดะห์
การเคลื่อนไหวของกลุ่มซัยดียะห์นั้นเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่มีประวัติที่ยาวนานกว่า 11 ศตวรรษ และในที่สุดการปกครองของซัยดียะห์ก็ถูกล้มลงเมื่อปี 1962 โดยการปฏิวัติของพรรครีพับลิเสนาในศันอา และ ด้วยการช่วยเหลือจากรัฐบาลอียิปต์ ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเหล่าบรรดาผู้รู้และผู้นำของซัยดียะห์ก็ได้ถูกสังหารลง และด้วยการสังหารและการอพยพของผู้นำและบรรดาผู้รู้ของซัยดียะห์จากพื้นที่นั้นทำให้ชีอะฮ์ซัยดียะห์แตกกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ
การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของกลุ่มซัยดียะห์เป็นตัวขจัดการเผยแพร่ความคิดของกลุ่มตักฟีรี มุสลิมซัยดียะห์ได้มีการส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับแนวความคิดและวัฒนธรรมเท่านั้นโดยเฉพาะในโรงเรียนสอนศาสนา ซึ่งก่อนหน้านี้การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมและทางความคิดนั้นเป็นคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของชีอะฮ์สิบสองอิมาม เนื่องจากว่ามุสลิมนิกายชีอะฮ์สิบสองอิมามในหน้าประวัติศาสตร์ได้มีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมมาอย่างยาวนานจนถึงสมัยที่ท่าน อิมาม โคมัยนี ปรากฏพร้อมกับขบวนการปฏิวัติในอิหร่านซึ่งในที่สุดก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลอิหร่านได้สำเร็จ เป็นเหตุทำให้มุสลิมนิกายชีอะฮ์อิมามสิบสองได้กลับเข้ามาสู่ยุคแห่งการเมืองอีกครั้งหนึ่ง และในขณะที่ชีอะฮ์ซัยดียะห์เยเมนนั้นได้เน้นการขับเคลื่อนไปในแนวทางความคิดและวัฒนธรรม การขับเคลื่อนนี้เป็นเหตุให้การเผยแพร่ความคิดตักฟีรีของนิกายวาฮาบีซาอุดิอารเบียนั้นชะงักลงในประเทศเยเมน  ในความเป็นจริงถ้าหากไม่มีการเคลื่อนไหวของชีอะฮ์ซัยดียะห์ ปัจจุบันประเทศเยเมนคงอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและการปกครองของประเทศซาอุดิอารเบียไปเสียแล้ว

การก่อตั้งขบวนการ ชะบาบุลมุอ์มิน

เป็นที่รู้กันว่าเนื่องจากการลุกขึ้นต่อสู้ของเหล่าบรรดานักคิดและผู้รู้ของชีอะฮ์ซัยดียะห์ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานั้นเป็นเหตุทำให้เยเมนที่ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนนั้นกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันได้ในปี 1990 การก่อตั้งขบวนการ ชะบาบุลมุฮ์มิน ซึ่งเป็นชื่อขบวนการต่อสู้ของกลุ่มชีอะฮ์ซัยดียะห์ กลุ่มขบวนการนี้ได้เอาชื่อหัวหน้าขบวนการมาใช้ คือ อัลเฮาซี ซึ่งถูกสังหารโดยกองกำลังรัฐบาลเยเมนในปี 2004 กลุ่มซัยดียะห์ได้มีการเคลื่อนไหวกับเยาวชนเยเมน อบรม สั่งสอน ซึ่งจะมีการเคลื่อนไหวอย่างจริงจังในช่วงสองฤดู คือ ในช่วงเดือนรอมฏอน และ มุฮัรรอม ซึ่งกลุ่มซัยดียะห์ได้ใช้สองเดือนนี้ในการเผยแพร่ความรู้แก่บรรดาเยาวชนซึ่งพวกเขาจะเดินทางไปยังทุกๆหัวเมืองในประเทศเยเมน
(รัฐบาลอาลี อับดุลลอฮ์ สมัยที่รับรู้ว่าขบวนการเฮาซีย์มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจนเขาไม่สามารถที่จะถอนรากถอนโคนได้ จึงพยายามที่จะโฆษณาชวนเชื่อว่าขบวนการเฮาซีย์นั้นมีความสัมพันธ์กับอิหร่านและลิเบียแต่ทว่าภูมิศาสตร์ของเยเมนถือว่าอยู่ห่างกันมากกับภูมิศาสตร์ของอิหร่านจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าถึงและตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์เดียวกัน)
การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านและการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวอิหร่านทำให้เกิดคลื่นจากบรรดาผู้ปราถนาความยุติธรรม และเนื่องจากความสัมพันธ์อันยาวนานในหน้าประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะด้วยเรื่อง ความเชื่อ ความคิด และอื่นๆ จึงเป็นเหตุให้ชาวซัยดียะห์รู้สึกว่าพวกเขามีความสามารถที่จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งเหมือนในอดีตของพวกเขา และตามลำดับเหตุการณ์ข้างต้นเป็นเหตุทำให้เกิดขบวนการของกลุ่มซัยดียะห์ “ฮูเซ็น บัดลุดดีน อัลเฮาซี” จึงได้จัดตั้ง “ขบวนการชบาบุลมุอ์มิน” ขึ้นมา ซึ่งเหล่าเยาวชนชีอะฮ์ซัยดียะห์จะได้รับการเรียนการสอนต่างๆไม่ว่าจะทางความคิด วัฒนธรรม และการเมือง ของขบวนการ
ขบวนการนี้ได้มุ่งไปยังการเคลื่อนไหวในบรรดาเยาวชนตั้งแต่ปี 1990-2004 เพื่อสร้างพื้นฐานความดีและความเหมาะสมต่างๆในระหว่างเยาวชนเยเมนจนเป็นเหตุทำให้ชีอะฮ์ซัยดียะห์เป็นที่ถูกยอมรับกันในระหว่างประชาชนชาวเยเมน
สมาชิกเฮาซีเพิ่มขึ้นถึง 500 เท่า
สมาชิกของขบวนการเฮาซีมีความแตกต่างอย่างมากจากเมื่อปี 1982 ที่มีจำนวนสมาชิกราว 200 คน แต่ปัจจุบันกลับมีนักรบเข้าร่วมขบวนการและได้รับการฝึก อบรมภายใต้การดูแลของเฮาซีแล้วกว่าหมื่นคน ถึงแม้ขบวนการเฮาซีจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่พวกเขาก็ไม่ได้เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อรัฐบาลเยเมนปัจจุบัน โดยเฉพาะคำถามที่ว่า เฮาซีย์หรือซัยดียะห์มีเป้าหมายที่จะก่อตั้งรัฐบาลขึ้นเองในเยเมนหรือไม่นั้น ก็ไม่มีใครที่สามารถจะกล่าวเช่นนั้นได้ และการเคลื่อนไหวของขบวนการก็ยังไม่ได้สื่อให้เห็นถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่สิ่งที่ควรรู้ คือ ขบวนการเฮาซีย์เป็นขบวนการของประชาชนที่ไม่กระจอกอีกต่อไป และไม่ใช่ขบวนการที่จะหายสาบสูญไปอย่างง่ายดายแม้จะเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ก็ตาม

ขบวนการเฮาซีผู้เปลี่ยนทิศทางทางการเมืองเยเมน

ขบวนการเฮาซีเยเมนถูกก่อตั้งโดย ซัยยิดฮูเซ็น ซึ่งเป็นลูกชายของ ซัยยิด บัดรุดดีน อัลเฮาซี หนึ่งในผู้รู้ทรงคุณวุฒิในหมู่ผู้รู้ของมุสลิมซัยดียะห์ แม้พวกเขาจะถูกห้ามในการเคลื่อนไหวจากรัฐบาลเยเมนหลายครั้งด้วยกัน แต่พวกเขามีกลยุทธสำคัญที่ทำให้พวกเขาเดินหน้าต่อไปได้นั้นก็คือ การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศนี้  ขบวนการเฮาซีย์เป็นขบวนการของประชาชน
ขบวนการเฮาซีย์ในช่วงเริ่มต้นไม่ได้เป็นขบวนการทางการเมืองที่ลุกขึ้นมาต่อสู้โดยมีเป้าหมายเฉพาะหรือมีผลประโยชน์แอบแฝงในเวทีการเมือง แต่ทว่าในช่วงต้นของขบวนการถูกก่อตั้งมาในกรอบความคิดแค่เพียงว่า เพื่อประชาสัมพันธ์และเป็นจดหมายข่าว ซึ่งซัยยิด ฮูเซ็น อัลเฮาซี ได้ตีพิมพ์และแจกจ่ายหนังสือและด้วยการประท้วงด้วยสโลแกนเกี่ยวกับความคิดของอิสลามโดยได้กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆโดยมีเป้าหมายที่จะฟื้นฟูนิกายซัยดียะห์ แต่ด้วยเงื่อนไขในการควบคุมการเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่มีต่อเฮาซีย์และการรับมือในการเผชิญหน้าของรัฐบาลกับเฮาซีย์จึงทำให้เป้าหมายขบวนการและรูปแบบในการเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป และด้วยการแพร่กระจายข่าวการตีพิมพ์แต่ละครั้ง มีผลกระทบต่อการขยายอำนาจของพวกเขาอย่างมากในเยเมนจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

สรุป

ความคิดของขบวนการเฮาซีย์เป็นขบวนการทางความคิดที่ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงแม้กับฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เห็นด้วยกับเขาและเป็นขบวนการที่ปลุกประชาชนให้กลับมาตื่นตัวอีกครั้ง เป็นขบวนการขับเคลื่อนทางความรู้ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงกับรัฐบาลกลาง เป็นขบวนการที่คอยขัดขวางการแทรกแซงของสหรัฐและอิสราเอลในเยเมน และเป็นขบวนการที่เน้นอย่างมากในประเด็นที่เกี่ยวกับการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ ด้วยเหตุนี้ขบวนการเฮาซีย์จึงเลือกสโลแกนในการขับเคลื่อนว่า “พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่” “สหรัฐจงพินาศ” “อิสราเอลจงพินาศ”
ขบวนการเฮาซีย์เริ่มต้นขับเคลื่อนขบวนการของตนในเมือง ซะห์ดะห์ ซึ่งตั้งอยู่แถบชายแดนระหว่างเยเมนและซาอุดิอารเบีย มีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นราว 7 แสนคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวซัยดียะห์ เมืองซะห์ดะห์ เป็นเมืองที่มีปัญหาในหลายๆเรื่อง เช่นเรื่องสวัสดิการ ที่อยู่อาศัย เป็นต้น อาชีพส่วนใหญ่ของชาวพื้นเมือง คือ เกษตรกร และอีกอาชีพหลักของพวกเขาคือการค้าอาวุธ ถึงขั้นกล้าพูดได้เลยว่าตลาดค้าอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางตั้งอยู่ในที่นี่ อาชีพนี้กระทำกันโดยเปิดเผยโดยรัฐบาลก็รับรู้เช่นกัน
ผู้ก่อตั้งขบวนการเฮาซีย์ ซัยยิด ฮูเซ็น อัลเฮาซี ก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นอดีตตัวแทนรัฐสภาของเยเมน ในปี 1993-1997 หลังจากการตายของเขาพ่อของเขาได้อุทิศเวลาที่เหลือทั้งหมดของตนเพื่อสร้างความปรองดองและขจัดความขัดแย้งระหว่างเผ่าในเยเมนมาโดยตลอด นอกจากนี้เขายังพยายามที่จะขจัดพื้นที่ที่ยากลำบากต่างๆที่อยู่ภายใต้การดูแลของเขาไม่ว่าจะด้วยการซื้อ สร้างถนนในพื้นที่ ติดตั้งไฟฟ้า และหนทางในการสื่อสาร และพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เหล่านั้น
การเคลื่อนไหวของขบวนการตามที่ได้กล่าวข้างต้น เป็นการกระทำปราศจากการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง หรือ เก็บเงินเรี่ยไรเงินจากประชาชน ด้วยการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ทำให้รัฐบาลกลางที่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ใดๆกับขบวนการเฮาซีย์ก็เริ่มสร้างความสัมพันธ์กับขบวนการนี้ขึ้น
นับวันอิทธิพลของขบวนเฮาซีย์ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในเยเมน รัฐบาลกลางเกรงจะเป็นภัยคุกคามที่อันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ จึงตัดสินใจที่จะกำจัดขบวนการนี้ทิ้งเสีย จึงเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐบาลกับเฮาซีย์ขึ้น ซึ่งเป็นสงครามที่กินเวลานานกว่า 6 ปี ในสงครามนี้ อาลี อับดุลลอฮ์ ซอแหละ มีแผนจะกำจัดการเคลื่อนไหวของขบวนการเฮาซีย์ ในภาคเหนือของเยเมน สำหรับขบวนการเฮาซีย์ นับได้ว่าสงครามนี้ อาจเป็นแค่สงครามที่สู้เพื่อรักษาขบวนการให้คงอยู่ต่อไปเท่านั้น มีการสร้างความกดดันและความยากลำบากต่างๆให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ แต่การยืนหยัดและลุกขึ้นสู้ของขบวนการเฮาซีย์เป็นเหตุให้ขบวนการได้รับการช่วยเหลือและการเข้าร่วมขบวนการจากประชาชนอย่างมากมาย หลังจากนั้นอิทธิพลและบทบาทของขบวนการเฮาซีก็กลับมาเติบโตอีกครั้ง
จากคำกล่าวตอนต้นในประเด็นที่ว่า ขบวนการเฮาซีย์ไม่ได้มีเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจน แต่ในขณะนี้ การขาดความชัดเจนทางการเมือง หรือ การเพิกเผยเฉยนั้น ถ้าพิจารณาจากกระแสของพวกเขาในเยเมนแล้วนั้น คำนี้ไม่สามารถใช้กับเขาได้อีกต่อไป ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติเยเมน ประชาชนเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของ อาลี อับดุลลอฮ์ ซอแหละ และเรียกร้องให้สลายรัฐบาลของเขาเสีย และกระแสของขบวนการเฮาซีในเยเมนถูกตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแนวทางที่มีอิทธิพลและมีผลต่อการเมืองของเยเมนอย่างมาก และพวกเขาได้เรียกร้องให้เปลี่ยนรัฐบาล และได้ประกาศอีกว่า เราขบวนการเฮาซีย์จะยังคงสู้ไปจนกว่าประชาชนชาวเยเมนจะได้รับการตอบสนองในข้อเรียกร้องต่างๆของพวกเขา

ความต้องการของเฮาซี

ในมุมหนึ่งซัยดียะห์ คือ หนึ่งในนิกายมุสลิม โดยพื้นฐานการเรียกร้องของพวกเขาควรได้รับการช่วยเหลือ เฮาซีย์มีสองความต้องการที่สำคัญที่รัฐบาลมีทัศนคติเชิงลบต่อมัน หนึ่ง คือ ต้องขจัดความแตกแยกที่เกิดขึ้นอยู่ในเมือง ซะห์ดะห์ โดยเฉพาะเมืองซะห์ดะห์น่าจะเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในเยเมนแต่กลับกลายเป็นเมืองที่ลำบากที่สุดในประเทศ
สอง คือ การให้อิสรภาพในการนับถือศาสนา และ ให้อิสรภาพกับขบวนการต่างๆของชาวซัยดียะห์ในการเคลื่อนไหวขบวนการของตน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างมัสยิดและอื่นๆ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลเยเมนได้ส่งบาทหลวงจากอียิปต์มายังพื้นที่ต่างๆของชาวซัยดียะห์ จึงทำให้จำนวนมัสยิดที่เหลืออยู่ลดลงอย่างมาก
เหตุความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องในซะห์ดะห์
เนื่องจากยังคงมีการจำกัดสิทธิของชาวซัยดียห์และอีกทั้งยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับพวกเขา
การปฏิบัติที่แย่และไม่เหมาะสมอีกทั้งการใช้ความรุนแรงของทหารแก่ชาวเมืองที่เป็นชาวซัยดียะห์
การบิดพริ้วสัญญาของประธานาธิบดีโดยเฉพาะการให้อิสรภาพแก่บรรดานักวิชาการและผู้รู้ชาวซัยดียะห์
การโจมตีอย่างหนักต่อชีอะฮ์และชาวซัยดียะห์และการจำกัดการสื่อสารของพวกเขาและการจำคุกนักเขียนของพวกเขา
และอีกหลายๆเหตุผล