ฮามาส : ระหว่างกลุ่มต่อต้านและรัฐบาล (ตอนที่ 1)

1319

ขณะที่กลุ่มนี้ได้รับการถอนชื่อออกจากบัญชี “ผู้ก่อการร้าย” ของสหภาพยุโรปเมื่อเร็วๆนี้ แต่มีความขัดแย้งในตัวอยู่ที่ใจกลางของฮามาส ขบวนการต่อต้านเพื่ออิสลามของปาเลสไตน์ มันเป็นขบวนการที่อยู่ระหว่างโครงการที่จะเป็นกลุ่มต่อต้านอิสราเอลด้วยอาวุธในด้านหนึ่ง และความปรารถนาที่จะเป็นรัฐบาลในอีกด้านหนึ่ง ขณะที่ประวัติศาสตร์ของขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติในซีกโลกใต้แสดงให้เห็นว่าสองเป้าหมายนี้ไม่อาจไปด้วยกันได้ มันยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าทั้งสองสามารถขัดแย้งกันได้ในด้านที่สำคัญหลายด้าน

ความขัดแย้งนี้มาถึงขีดสุดตั้งแต่ปี 2005 เมื่อผู้นำทางการเมืองของกลุ่มซึ่งได้รับการยอมรับด้วยความเคลือบแคลงใจจากปีกที่ใช้อาวุธ ได้ตัดสินใจลงสู่สนามการเมืองสายเลือกตั้งของคณะปกครองปาเลสไตน์อย่างเต็มตัว

ก่อนหน้านี้ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับฮามาสได้ลงสมัครในการเลือกตั้งท้องถิ่นและการเลือกตั้งของนักศึกษา แต่ชัยชนะอย่างถล่มทลายจากการเลือกตั้งปี 2006 มีความหมายว่า ขบวนการนี้ถูกผลักเข้าสู่ตำแหน่งผู้มีอำนาจทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนส่วนใหญ่ และแม้กระทั่งแก่คนในฮามาสเองด้วยซ้ำ ในรูปแบบเดียวกันกับกลุ่มฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอน (แม้การเปรียบเทียบจะมีจุดบกพร่องในด้านสำคัญบางด้านก็ตาม) ฮามาสอาจจะไม่มีความมุ่งหมายที่จะชนะการเลือกตั้งเสียเลยทีเดียว มันอาจอยากจะแสดงออกถึงความแข็งแกร่งทางการเลือกตั้งที่จะทำให้มันมีเสียงคัดค้านภายในที่ประชุมของผู้มีอำนาจแห่งคณะปกครองปาเลสไตน์มากกว่า นี่จะทำให้ขบวนการนี้มีอำนาจในการออกเสียงคัดค้านอย่างแท้จริง ในขณะที่ไม่ต้องแบกรับภาระของรัฐบาล และทำให้มันมุ่งเน้นไปที่โครงการต่อต้านของมันได้
ถึงกระนั้น เมื่อชัยชนะทางการเลือกตั้งของฮามาสเป็นที่ชัดเจนออกมา ไม่มีการถอยกลับหลัง และมันได้เป็นรัฐบาล หลังจากความพยายามช่วงสั้นๆ ที่จะจัดตั้งรัฐบาล “เอกภาพแห่งชาติ” ในปี 2006 ถูกฟาตาห์ปฏิเสธ (ซึ่งเจ็บปวดจากการถูกลงโทษในกล่องลงคะแนนเลือกตั้งมาหลายปีเนื่องจากความล้มเหลวในการ “เจรจา” กับอิสราเอล) ฮามาสได้จัดตั้งรัฐบาลที่มีรัฐมนตรีเป็นของตนเอง ร่วมกับสมาชิกอิสระบางคน (เป็นคริสเตียนหนึ่งคน) ต่อมาภายหลัง การเจรจาได้ทำให้เกิดรัฐบาล “เอกภาพ” ช่วงสั้นๆ ที่มีการเจรจาข้อตกลงกันในซาอุดิอารเบีย

ความขัดแย้งภายในของขบวนการต่อต้านที่เข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อเป็นคณะปกครองปาเลสไตน์ได้กลายเป็นความตายตัวในไม่ช้า คณะปกครองปาเลสไตน์ไม่เหมือนกับรัฐบาลอื่นใด ถึงแม้จะมีความพยายามในยุโรปเพื่อให้รับรองมันเป็น “รัฐปาเลสไตน์” ไม่มีรัฐปาเลสไตน์ในเนื้อหาใดๆ เลย ปาเลสไตน์ที่แท้จริงในประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำและทะเลที่ถูกปกครองและถูกครอบงำโดยอิสราเอลทั้งหมด กองกำลังของคณะปกครองปาเลสไตน์ไม่มีทางเลือกใดนอกจากต้องเชื่อฟังคำสั่งของอิสราเอล นั่นคือเหตุผลที่แท้จริงสำหรับการมีอยู่ของมัน

คณะปกครองปาเลสไตน์ถูกจัดตั้งขึ้นมาจากผลของสนธิสัญญาออสโลเมื่อปี 1993 ซึ่งเป็นการลงนามร่วมกันระหว่างอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) เจตนารมณ์เบื้องหลังข้อตกลงนี้ถูกสรุปความโดยเอ็ดเวิร์ด ซาอิด ผู้ทรงคุณวุฒิชาวปาเลสไตน์ โดยเขาได้อธิบายว่ามันเป็น “การยอมจำนนของปาเลสไตน์ เป็นแวร์ซายแห่งปาเลสไตน์” ออสโลคือชัยชนะของอิสราเอล เป้าหมายของมัน ภายใต้การอุปถัมภ์ของสหรัฐฯ ก็คือการชำระล้าง PLO ออกจากการขบวนการต่อต้าน ปัจจุบันนี้ PLO ไม่ได้มีอยู่ในลักษณะที่เป็นตัวตนใดๆ เลย

ตั้งแต่แรกเริ่ม การชี้แจงเหตุผลพื้นฐานของคณะปกครองปาเลสไตน์เป็นไปเพื่อบังคับให้เป็นไปตามการยึดครองของอิสราเอลราวกับเป็นกองกำลังตัวแทน สิ่งนี้เป็นการลด หรือถึงขนาดตัดภาระทางการเงินของอิสราเอลที่ใช้สำหรับการยึดครองเวสท์แบงก์และฉนวนกาซ่าไปมาก งบประมาณของคณะปกครองปาเลสไตน์สำหรับกองทหารติดอาวุธจำนวนมากของตนและหน่วยงานลับของตำรวจมีมากกว่าค่าใช้จ่ายทางสังคมที่ให้แก่ประชากรชาวปาเลสไตน์ทั่วๆ ไปเสียอีก การมีอยู่ของคณะปกครองปาเลสไตน์ยังทำให้อิสราเอลมีตัวกันชนที่แสนสะดวกระหว่างมันกับความเดือดดาลของประชาชนชาวปาเลสไตน์ที่มีต่อการกดขี่และอยุติธรรมของอิสราเอล มันเป็นปุ่มนิรภัยสำหรับการยึดครอง

ดังนั้น เมื่อฮามาสมีท่าทีว่าจะเข้าควบคุมเครื่องมือด้านความมั่นคงของคณะปกครองปาเลสไตน์หลังการเลือกตั้ง ผู้หนุนหลังคณะปกครองปาเลสไตน์ที่เป็นชาวสหรัฐฯ อิสราเอล และยุโรป ก็ไม่มีเครื่องมือใดๆ เลย มันจึงลงมติในทันทีด้วยการล้มผลการเลือกตั้งของการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาครั้งหนึ่งของตะวันออกกลาง
ถึงแม้จะมีความพยายามที่จะบ่อนทำลายอำนาจการบริหารคณะปกครองปาเลสไตน์ของยัสเซอร์ อารอฟัต ผู้นำ PLO มาเป็นเวลาหลายปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี 2004 ด้วยการกดดันเขาให้มอบอำนาจให้แก่นายกรัฐมนตรีที่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง (มาห์มูด อับบาส) มหาอำนาจตะวันตกกลับเปลี่ยนใจอย่างมีเงื่อนงำด้วยการให้อำนาจแก่คณะปกครองปาเลสไตน์หลังการเลือกตั้ง อิสมาอิล ฮานีเยห์ ผู้นำฮามาสได้รับการเลือกตั้งด้วยการอยู่อันดับต้นของบัญชี “การเปลี่ยนและปฏิรูป” ของฮามาส แล้วจึงได้อำนาจในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรี ในทันทีทันใดนั้น การเจรจาทั้งหมดอยู่ตำแหน่งประธานาธิบดีมีความสำคัญอย่างไรในการควบคุมบุคคลสำคัญในการคานอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายความมั่นคง ผู้มีอำนาจพิเศษจึงถูกย้ายขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดี นี่เปิดเผยให้เห็นฉากโดยรวมในสมัยของจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในการบิดแขนของอารอฟัตให้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ราวกับแกล้งทำให้มันเป็น ดูเหมือนอารอฟัตจะไม่ว่าง่ายพอต่อข้อตกลงของอิสราเอล ฮามาสยิ่งมากกว่านั้น

เรื่องราวแบบเต็มๆ ถูกเล่าอย่างละเอียดอีกครั้งที่อื่น แต่มันเพียงพอสำหรับจุดประสงค์ของเราที่จะระบุว่า ด้วยการสนับสนุนจากผู้หนุนหลังชาวตะวันตก กองกำลังฟาตาห์ในกาซ่าที่นำโดยแม่ทัพมุฮัมมัด ดาห์ลัน ได้เริ่มทำสงครามกลางเมืองขึ้นบนท้องถนนของกาซ่า ทำให้สูญเสียชีวิตพลเรือนไปมากมายจากการยิงต่อสู้กัน เมื่อได้รับแรงกระตุ้นจากชาวอเมริกาและหุ่นเชิดกับพันธมิตรในภูมิภาคของพวกเขา ดาห์ลันวางแผนยึดอำนาจเพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ฮามาสรู้ตัวและปฏิบัติการอย่างรวดเร็วในการขับไล่กองกำลังของดาห์ลันออกไปจากฉนวนกาซ่า การยึดอำนาจถูกจัดการตั้งแต่อยู่ในเปล มาห์มูด อับบาสตอบโต้ด้วยการยึดอำนาจในเวสท์แบงก์ ที่ซึ่งฮามาสมีความอ่อนแอ โดยขับไล่และจับกุมบุคคลสำคัญของฮามาส รัฐบาลคู่ขนานของคณะปกครองปาเลสไตน์ทำการบริหารในกาซ่าและรามัลลอฮ์ จนกระทั่งมีการ “ปรองดอง” กันในฤดูใบไม้ผลิของปีนี้

ข้อตกลงในเดือนเมษายนระหว่างฟาตาห์และฮามาส มีความหมายสำคัญว่า ฮามาสได้มอบคืนอำนาจการปกครองให้แก่ “ประธานาธิบดี” ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นายมาห์มูด อับบาส ปัจจุบันผู้ภักดีต่ออับบาสเป็นนายกรัฐมนตรีของทั้งเวสท์แบงก์และกาซ่า

ไม่เหมือนกับฟาตาห์ และ PLO ที่หมดหน้าที่ไปแล้ว ฮามาสไม่เคยตกลงที่จะวางอาวุธของการต่อต้านลง ดังที่ได้พิสูจน์ให้เห็นในฤดูร้อนที่ผ่านมา ฮามาสทำสงครามแห่งการปลดปล่อยอย่างเป็นธรรมและป้องกันตนเอง ขับไล่การรุกรานของอิสราเอลไปจากฉนวนกาซ่า โดยใช้วิธีการและเทคโนโลยีการทำสงครามแบบกองโจรมากยิ่งขึ้น

ขณะนี้ ถึงแม้ว่าความขัดแย้งระหว่างสองโครงการกำลังแสดงออกมาอีกครั้ง ดังที่มีข่าวลือแพร่ออกไปเกี่ยวกับการปรองดองของฮามาสกับหนึ่งในศัตรูคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของขบวนการ นั่นก็คือ มุฮัมมัด ดาห์ลัน นั่นเอง

ในตอนต่อไปของบทความนี้ เราจะมาตรวจสอบสัมพันธไมตรีกับดาห์ลันตามที่ร่ำลือในรายละเอียดที่มากขึ้น

 

 

โปรดติดตามอ่านต่อตอนต่อไป

by Asa Winstanley

source https://www.middleeastmonitor.com

แปล/เรียบเรียง กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์