(ภาพ) เยาวชนเอธิโอเปียเชื้อสายอิสราเอลสองคนทาสีหน้า ขณะเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติในเยรูซาเล็ม ขณะที่ผู้อพยพชาวเอธิโอเปียและผู้สนับสนุนอีกหลายพันคนรวมตัวกันอยู่ด้านนอกรัฐสภาอิสราเอล เพื่อประท้วงการเหยียดเชื้อชาติที่มุ่งตรงมายังพวกเขา
อิสราเอลยังคงห่อหุ้มตัวเองด้วยกลิ่นไอของการเป็นข้อยกเว้นพิเศษภายหลังเหตุการณ์น่าสยดสยองที่ชาวยิวประสบจากน้ำมือของนาซีเยอรมัน ถึงกระนั้นก็ไม่อาจปฏิเสธหรือเมินเฉยต่อแนวโน้มในการแสดงออกถึงความคลั่งชาติที่ชัดเจนยิ่งกว่าของอิสราเอล และการประทับตราศาสนาแห่งชาติพันธุ์ภายในเขตแดนของตน
ผู้นำโลกมีความเชื่องช้าอย่างน่าเจ็บปวดในการกล่าวถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงครามมากมายของอิสราเอล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าประเด็นเหล่านี้ไม่มีอยู่
“สังคมของอิสราเอลไม่สามารถและไม่เต็มใจที่จะข้ามพ้นความรู้สึกนิยมชาติแบบชาติพันธุ์ทางศาสนา (ethno-religious nationalism) ที่ให้เอกสิทธิ์กับพลเมืองชาวยิว และแสดงออกทางการเมืองโดยการดำเนินการเพื่อผู้ตั้งถิ่นฐานที่เคร่งศาสนา และกลุ่มฆราวาสอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวาที่เพิ่มมากขึ้น” มัยราฟ ซันสตีนน์ นักข่าวอิสระได้เขียนลงในนิวยอร์ค ไทม์ส เดือนกันยายน โดยกล่าวถึงแนวโน้มในการเกลียดกลัวคนต่างชาติของอิสราเอล
ถ้าอิสราเอลเปิดเผยความเป็นปรปักษ์กับทุกอย่างที่ปาเลสไตน์ใช้ในการโต้แย้งทางการเมือง สื่อไม่ค่อยจะมองชะตากรรมของชาวปาเลสไตน์เพื่อรับรองเรื่องเล่าที่เป็นคำเตือนเกี่ยวกับการสร้างความเกลียดกลัวคนต่างชาติ และการควบคุมประชากรทั่วโลกโดยยึดหลักชาติพันธุ์ของอิสราเอล
เมื่ออยู่ในกรงของลัทธิไซออนิสต์ อิสราเอลกลายเป็นศูนย์รวมของการเหยียดผิว คลั่งศาสนา และไม่ยอมรับความแตกต่าง ซึ่งเป็นความชั่วร้ายที่ศาสนายิวอ้างตนว่าจะต่อสู้ ประณาม และคัดค้าน ชื่อเสียงในด้านการเหยียดเชื้อชาติของเจ้าหน้าที่อิสราเอลเป็นเสมือนหลักฐานในการเลือกปฏิบัติที่ยึดหลักชาติพันธุ์และการแบ่งแยกนิกายที่เป็นเรื่องปกติไปแล้ว และขณะที่เรื่องเช่นนี้ไม่ได้ขึ้นหน้าปกนิตยสาร เพราะมันจะเปิดเผยถึงการแบ่งแยกนิกายและการเหยียดเชื้อชาติที่ถูกกำหนดโดยรัฐ แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังมีอยู่
“ท่าทีในการเหยียดเชื้อชาติของอิสราเอลที่มีต่อชาวปาเลสไตน์และการปฏิเสธบุคคลอื่นทั้งหมดที่ไม่คู่ควรกับเกณฑ์ทางเชื้อชาติของตน เช่นผู้อพยพชาวแอฟริกา เป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนถึงการยึดชาติพันธุ์เป็นศูนย์กลางแบบฟาสซิสท์ของอิสราเอล” มัรวา ออสมาน นักวิเคราะห์การเมืองนักวิชาการที่ทำงานกับกลุ่ม Strategic Foresight Group บอกกับสำนักข่าวมินท์เพรสส
“ไม่ว่าอิสราเอลจะกระทำทารุณและรุนแรงต่อชาวปาเลสไตน์อย่างไร ประเทศนี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างเท่าเทียมกันในการกดขี่คนทุกกลุ่มที่มันเข้าใจว่าเป็นภัยคุกคามต่ออุดมคติ ‘อัชเคนาซี’ ของมัน ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน อิสราเอลก็เป็นรัฐที่เหยียดเชื้อชาติโดยเนื้อแท้ และบางคนอาจจะแย้งว่าเป็นรัฐเชิดชูคนผิวขาว (white supremacist state)”
หลักเชิดชูคนผิวขาวของอิสราเอล
ถ้าภาพลักษณ์ในการเหยียดเชื้อชาติของอิสราเอลสามารถแสดงออกได้ดีที่สุดในความมุ่งมั่นที่จะประหัตประหาร ดูแคลน และกระทำทารุณต่อชาวปาเลสไตน์ ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กๆ ที่มีความผิดเพียงแค่เรียกร้องหาเสรีภาพและการตัดสินใจทางการเมืองด้วยตนเองภายในดินแดนของตนเท่านั้น ภาพลักษณ์ในการคลั่งชาติของอิสราเอลก็สามารถมองเห็นได้จากทุกลักษณะและทุกแง่มุมของชีวิตทั้งจากชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ที่ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การปกครองของอิสราเอล
(ภาพ) แรงงานชาวปาเลสไตน์ขี่รถโดยสารเฉพาะชาวปาเลสไตน์กลับจากการทำงานในเทลาวีฟของอิสราเอลไปยังเวสต์แบงก์ เมื่อ 4 มีนาคม 2013 การตัดสินใจเปิดใช้รถโดยสาร “เฉพาะชาวปาเลสไตน์” ในเวสต์แบงก์ ถูกนักวิจารณ์ประณามว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ และได้รับการชื่นชมจากอิสราเอลว่าเป็นท่าทีแห่งไมตรีจิตที่ฉายมาบนสถานการณ์อันยุ่งยากที่เกิดขึ้นจาก 45 ปีแห่งการยึดครองด้วยกำลังทหารและการตั้งถิ่นฐานชาวยิว
เกี่ยวกับสิ่งที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการตกลงสู่ลัทธิฟาสซิสม์ของอิสราเอล แม้กซ์ บลูเมนธอล นักข่าวแนวสืบสวนในสหรัฐฯ ได้เปิดเผยในสารคดีปี 2013 ถึงความมีอคติของชาวอิสราเอลที่มีต่อผู้อพยพชาวแอฟริกา หรือที่ประเทศนี้เรียกพวกเขาว่าเป็น “หนอนบ่อนไส้”
บลูเมนธอลระบุว่า “ผู้อพยพชาวแอฟริกาประมาณ 60,000 คน ได้เข้ามายังอิสราเอลตั้งแต่ปี 2006 โดยหลบหนีเหตุการณ์จลาจลในประเทศบ้านเกิดของตัวเอง แต่เมื่อมาถึงประเทศที่ป่าวประกาศว่าเป็นประชาธิปไตยแห่งนี้ ผู้อพยพได้เผชิญกับการกลั่นแกล้งอย่างหนักหน่วง และยังถูกนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวปีกขวาตราหน้าว่าเป็น ‘หนอนบ่อนไส้’ อีกด้วย
“ถ้าพวกเขาให้ผมใช้เครื่องมือได้ทั้งหมด ภายในไม่ถึงหนึ่งปีจะไม่มีหนอนบ่อนไส้หลงเหลืออยู่ในประเทศอิสราเอลเลยแม้แต่คนเดียว” เอลี ยีไช รัฐมนตรีมหาดไทยอิสราเอลประกาศต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2012 โดยอ้างถึงแผนของเขาในการเนรเทศผู้อพยพชาวแอฟริกาทั้งหมดออกไปจากอิสราเอล
เช่นเดียวกับไมเคิล เบน-อารี สมาชิกรัสภานิติบัญญัติของอิสราเอลคนหนึ่ง ที่ได้เรียกร้องให้มีการส่งผู้อพยพชาวแอฟริกากลับประเทศโดยให้เหตุผลว่า “พวกเขามีบ้าน”
“คุณจะเรียกว่านี่เป็นการขับไล่ได้อย่างไร? พวกเขากำลังกลับบ้าน ประเทศที่มีอารยธรรมทุกประเทศในโลกนี้ก็จะทำแบบเดียวกัน” เขากล่าว
หลังจากนั้นเขาอุทานออกมาว่า “เราจะกลายเป็นประเทศของผู้อพยพไปแล้ว”
ออสมานจากกลุ่ม Strategic Foresight Group กล่าวกับมินท์เพรส ว่า “เบน-อารีมองเห็นแต่ความสำคัญทางศาสนาและชาติพันธุ์ของตัวเองจนทำให้เขาไม่รับรู้ใดๆ เลยว่าคำพูดของเขามีเนื้อหากระทบอะไรบ้าง อิสราเอลไม่ใช่ประเทศที่เกิดจากการนำเข้าชาวต่างชาติหรอกหรือ? มันไม่ได้สร้างความแข็งแกร่งขึ้นมาจากการอพยพประชากรยิวทั้งหมดหรอกหรือ? แต่มันมีหลักการและเหตุผลเพียงเล็กน้อยที่จะยึดถือชาติพันธุ์”
คำขวัญแสดงความรักชาติของอิสราเอลและวาทะกรรมที่คู คลักซ์ แคลน ใช้ช่างมีความเยือกเย็นเหมือนกัน ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์เท่านั้นที่แยกคำประกาศของยาริฟ เลวิน นักกฎหมายและนักการเมืองชาวอิสราเอลที่กล่าวว่า “นี่คือบ้านของเรา นี่คือประเทศของเรา” กับสุภาษิตของคู คลักซ์ แคลน ที่กล่าวว่า “รักษาอเมริกาให้เป็นของชาวอเมริกัน”
“เราจำเป็นต้องปกป้องอิสราเอลให้เป็นรัฐยิว” แดนนี่ ดานอน รัฐมนตรีช่วยกลาโหมกล่าวเน้นในการรณรงค์ต่อต้านชาวแอฟริกาในเทลาวีฟเมื่อปี 2012 ซึ่งคำกล่าวนี้ถูกปฏิบัติอย่างรวดเร็วโดยมิรี เรเกฟ ประธานคณะกรรมการภายใน ที่กล่าวว่า “ชาวซูดานเป็นมะเร็งต่อร่างกายของเรา”
“ถ้ามีใครสงสัยกับท่าทีของอิสราเอลต่อผู้หาที่พึ่งพิงและสิทธิมนุษยชนแล้วละก็ เจ้าหน้าที่ของอิสราเอลมีความชำนาญอย่างยิ่งในการนำมันกลับไปที่เดิม และยังไม่มีหน่วยงานระหว่างประเทศใดๆ ที่มีความเหมาะสมจะเข้ามาแทรกแซง” เควิน บาร์เร็ต นักวิเคราะห์การเมืองบอกกับมินท์เพรส
“หลักคำสอนของศาสนายิวในเรื่องประชาชาติที่ถูกเลือกได้ถูกกลุ่มนอกรีตไซออนิสต์เปลี่ยนให้เป็นความเหนือกว่าทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์ที่บริสุทธิ์ โลกของชาวคริสเตียนตะวันตกในปัจจุบันถูกขู่เข็ญให้เชื่อว่าพวกเขาต้องชดใช้ต่อการปฏิบัติไม่ดีกับชาวยิวในอดีตด้วยการมอบทุกอย่างให้กับไซออนิสต์ตามที่พวกเขาขอ ผลกระทบกำลังพัฒนาขึ้น แต่มันยังไม่ถึงจุดขั้นวิกฤต” บาร์เร็ตกล่าว
Dieudonne M’bala M’bala ดาราตลกและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวฝรั่งเศส ได้ทำให้โลกตกตะลึงเมื่อเขาเริ่มนำสัญลักษณ์ “เกอแนลล์ (quenelle)” มาใช้ในปี 2009 เขาอธิบายว่าเป็นการปฏิเสธลัทธิไซออนิสม์ เกอแนลล์เป็นสัญลักษณ์ที่ผสมกันระหว่างท่าทำความเคารพของนาซีแบบกลับด้านกับ bras d’honeur ของฝรั่งเศส (แขนข้างหนึ่งเหยียดลงพื้น แขนอีกข้างพับมาที่ระดับหัวไหล่ หมายถึงการต่อต้านชาวยิว) รัฐบาลฝรั่งเศสถือว่าเป็นการต่อต้านเชื้อชาติเซไมท์ในปี 2014 สัญลักษณ์นี้ถูกนำมาใช้ในการเดินขบวนต่อต้านการตั้งถิ่นฐานด้วย
ด้วยความกระตือรือร้นที่จะให้เหตุผลต่อข้อเรียกร้องของเขาในการส่งกลับประเทศและเนรเทศผู้อพยพชาวแอฟริกาทั้งหมดออกจากอิสราเอล เพราะ “เอกลักษณ์ของชาวยิว” จำเป็นต้องได้รับการปกป้องไม่ให้เจือจางไป เบน-อารีจึงได้ระบุว่า “อิสราเอลเป็นรัฐที่ไม่เหมือนรัฐอื่นใด” โดยอ้างถึง ความเป็นข้อยกเว้นพิเศษของอิสราเอล
การเชิดชูคนผิวขาวถูกกำหนดว่าเป็นแนวคิดที่ยึดถือเชื้อชาติที่ส่งเสริมความเชื่อว่าคนขาวมีความสูงส่งทางธรรมชาติมากกว่าคนอื่นๆ ทุกชาติพันธุ์ และยังถูกกำหนดโดยแอนโธนี่ มัสตาซิช ว่าเป็น “ความจริงทางสังคม” ที่เกิดจาก “ความไม่เท่าเทียมกันทางโครงสร้างที่ทำให้เกิดการเชิดชูคนผิวขาวสูงส่งกว่าคนผิวไม่ขาวในทุกแง่ของชีวิตทางสังคม”
เมื่อมองดูการจัดการของอิสราเอลต่อผู้อพยพชาวแอฟริกา การเป็นปฏิปักษ์ที่สัมผัสได้ต่อทุกอย่างที่เป็นปาเลสไตน์และความรังเกียจต่อชาวยิวเชื้อสายอาหรับแล้ว หลักการเชิดชูคนผิวขาวอาจมีสถานะเป็นมากกว่าแค่การเปรียบเปรยเท่านั้น
เมื่อกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของอิสราเอลเพื่อออกกฎหมายมาจัดการกับผู้ที่ถูกเรียกว่า “หนอนบ่อนไส้” เพื่อปกป้องเอกลักษณ์ความเป็นชาติของตนแล้ว นอร์แมน พอลแล้ก นักวิเคราะห์โครงสร้างของลัทธิทุนนิยมและลัทธิฟาสซิสม์ ได้กล่าวเน้นว่า การเรียกว่ากลุ่มเชิดชูคนผิวขาวไม่ได้นำเสนอความสำคัญอย่างครบถ้วนของสถานการณ์
“การเรียกว่า “กลุ่มเชิดชูคนผิวขาว” ไม่เพียงพอ ความเกลียดชังและความหวาดกลัวทำให้เข้าใจได้มากกว่า วัฒนธรรมทางการเมืองแบบยึดชาติพันธุ์เป็นศูนย์กลาง/แบบรวบอำนาจของการไม่ผ่อนปรนทางหลักการ (เห็นได้จากการโจมตีกาซ่าอย่างป่าเถื่อนเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา) คำนั้นยังไม่พอสำหรับผม”
พอลแล้กกล่าวโดยอ้างอิงถึงสารคดีของบลูเมนธอล ว่า “ฉากฝูงชนในตอนเริ่มต้นแสดงให้เห็นถึงความน่าเกลียดในส่วนของประชาชนที่ผมอยากจะให้อิสราเอลมองดูกระจกและสำนึกว่ามันแสดงความหมายที่ผิดพลาดของศาสนายิวมากแค่ไหนจากการนำเสนอที่ดีที่สุดของมัน รวมทั้งการต้อนรับคนแปลกหน้า การปลอบใจผู้ถูกกดขี่และคนทุกข์ยาก”
ยิวอัชเคนาซีและยิวเซฟาร์ดี
ความเป็นปฏิปักษ์ของอิสราเอลไม่ได้มุ่งตรงไปยังชุมชนที่ไม่ใช่ชาวยิวเท่านั้น แต่แม้กระทั่งชาวยิวด้วยกันเองก็ยังอยู่ในแนวไฟนั้นด้วย
ราเชล ชาบี นักข่าวและนักเขียนชาวอิสราเอลเชื้อสายอิรักกล่าวในหนังสือ “Not the Enemy: Israel’s Jews from Arab Lands” ของเธอเกี่ยวกับการที่อิสราเอลคบค้าสมาคมกับชาวยิวพื้นเมืองหรือชาวยิวเซฟาร์ดีด้วยความเป็น “ศัตรู” มาตั้งแต่แรกเริ่ม การเป็นชาวอาหรับจึงเป็นตัวกลั่นกรองทางชาติพันธุ์อีกอย่างหนึ่งสำหรับการทำความเข้าใจเอกลักษณ์ของชาวยิว
ชาบียังชี้ให้เห็นตัวอย่างของการเลือกปฏิบัติอย่างน่าอายและบางครั้งน่ากลัวที่มุ่งเป้าไปยังชาวยิวเชื้อสายโมรอคโค, เยเมน, ตูนีเซีย และอื่นๆ ที่พวกเขาพบว่าการดำรงชีวิตและความเชื่อของคนเหล่านั้นขัดกับวัฒนธรรมที่แพร่หลายของยิวอัชเคนาซี ในตอนหนึ่งที่น่าตกตะลึงในหนังสือของเธอ ชาบีได้กล่าวถึงเรื่องที่ชาวยิวเชื้อสายแอฟริกาเหนือจะได้รับอนุญาตให้เข้ามาในอิสราเอลก็ต่อเมื่อพวกเขายินยอมเข้ารับการให้ยาฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น
เดวิด ชาชา ได้สะท้อนความกังวลเช่นเดียวกับชาบีในเรื่องภาพลักษณ์ด้านลบของอิสราเอลต่อการสืบเชื้อสายอาหรับของชาวยิวเซฟาร์ดีที่ทำให้พวกเขามีสายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับตะวันออกกลาง โดยเขาได้เขียนลงใน Mondoweiss เดือนมกราคม 2013 ว่า
“ขณะที่มันเป็นความจริงแท้แน่นอนที่ไซออนิสม์ปฏิบัติแบบยึดชาติพันธุ์และเย่อหยิ่งต่อชาวปาเลสไตน์พื้นเมืองเชื้อสายอาหรับ มันก็เป็นความจริงแท้อย่างเท่าเทียมกันที่ว่าเชื้อสายอาหรับนั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่กับชาวมุสลิมหรือคริสเตียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงชาวยิวที่เป็นชาวพื้นเมืองในภูมิภาคนี้ด้วย… การเป็นชาวยิวของอิสราเอลนั้นหมายถึงการเป็นยิวอัลเคนาซี ชาวยิวเชื้อสายอาหรับยังคงเป็นคนล่องหน ไม่มีสิทธิ์มีเสียงใดๆ ทั้งสิ้น”
แรบไบเฮิร์ช จาก Neturei Karta องค์กรยิวที่ประณามลัทธิไซออนิสม์และส่งเสริมการยอมรับความต่างทางศาสนา ความเมตตา และความเป็นปึกแผ่นระหว่างทุกประชาคม ได้ประณามนโยบายปากว่าตาขยิบสองมาตรฐานของอิสราเอลที่มีต่อชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติและศาสนา
เฮิร์ชกล่าวว่า “การอ้างตัวว่าเป็นประชาธิปไตย มีคุณธรรมและเมตตาธรรมของอิสราเอลนั้นเป็นเรื่องโกหก การอ้างเช่นนั้นเป็นแค่เปลือกนอกเท่านั้น และเห็นได้ชัดเจนว่ามันไม่ได้มีไว้ใช้กับใครก็ตามที่มีลักษณะทางร่างกายคล้ายคลึงกับที่พวกเขาเรียกว่าชาวอาหรับที่น่าชัง”
เขากล่าวว่า “อิสราเอลมีความเข้าใจที่คับแคบมากว่าศาสนายิวที่แท้จริงนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง ลัทธิไซออนิสม์ถูกกำหนดและวางพื้นฐานด้วยแนวคิดกีดกันผู้อื่นออกไป โดยไม่ได้ยึดจากศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเชื้อชาติด้วย ชาวยิวเซฟาร์ดีต้องทนกับสภาพการถูกกดขี่มากเช่นเดียวกับชาวคริสเตียนและชาวมุสลิมเชื้อสายอาหรับทั้งหมด เนื่องจากลักษณะทางร่างกายของพวกเขาที่คล้ายคลึงกับบรรดาผู้ที่ถูกตราหน้าว่าเป็น ‘ศัตรูของรัฐ’”
ในรายงานเรื่องหนึ่งใน Al Monitor เมื่อเดือนมิถุนายน ดาเนียล เบน ซิมอน อดีตสมาชิกรัฐสภาจากพรรคลิคุดได้เขียนถึงประเด็นเกี่ยวกับคู่อริทางเชื้อชาติชาวยิว โดยได้เจาะจงไปที่การเพิ่มความเป็นปฏิปักษ์กับชาวยิวเซฟาร์ดีภายในดินแดนอิสราเอล เพื่อดึงชาวยิวออร์โธดอกซ์อัชเคนาซีเข้ามาในสังคมอิสราเอลมากยิ่งขึ้น
ถ้าการไม่ยอมรับความแตกต่างดำเนินอยู่อย่างลึกซึ้ง การดำเนินการโดยยึดถือชาติพันธุ์อย่างเปิดเผยของอิสราเอลที่มีต่อผู้อพยพชาวแอฟริกา ก็เป็นสิ่งที่รบกวนความสงบมากที่สุด และบ่งบอกถึงแนวความคิดที่เป็นตัวขับเคลื่อนและกำหนดนโยบายของรัฐมากที่สุด
อิสราเอลมีศัตรูและภัยคุกคามมากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นเหยื่อตลอดกาล หาใช่ผู้กระทำผิดไม่ ที่มันใช้เพื่อให้เหตุผลต่อนโยบายที่น่ากังขาของมัน รวมถึงข้อห้ามแบบเหยียดชาติพันธุ์ของเจ้าหน้าที่ของมันเองที่มีต่อผู้อพยพชาวแอฟริกาที่ไม่ใช่ผู้ต้องสงสัย
source http://www.mintpressnews.com
แปล/เรียบเรียง กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์