“ตะวันตก” กับ “สองมาตรฐาน” ในกรณี ซีเรีย และบะห์เรน

โดย : ยูซุฟ ญาวาดี

866

นับ เป็นเวลา เกือบสามปี แล้ว ที่ประชาชนชาวบะห์เรน ทำการประท้วง เพื่อแสวงหาเสรีภาพ ขณะที่อีกด้านหนึ่งสงครามก็ปะทุขึ้นในซีเรีย ทั้งสองประเทศ มีการประท้วงเกิดขึ้นเหมือนกัน แต่ชาติตะวันตก กลับแสดงท่าที่ สองมาตรฐาน กับสองประเทศนี้

เมื่อ ทำการพิจารณาถึงการประท้วงที่เกิดขึ้นในบะห์เรน และซีเรีย จะเห็นความแตกต่างในเชิงลึก ถึงแก่นแท้ ของการประท้วงทั้งสองนี้ ในหลายๆ ประการด้วยกัน

ประชา ชนชาวบะห์เรน เริ่มต้นประท้วงในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011 ซึ่งในเวลานั้น ประชาชนชาวบะห์เรน ได้ลุกขึ้นประท้วง จากปรากฎการณ์ที่เกิดจากการประท้วง ของประชาชน ชาวตูนิเซีย อิยิปต์ เยเมน ลิเบีย หรือในช่วง “อิสลามิคอวาเคนนิ่ง”

ใน ช่วงเริ่มต้น  จุดประสงค์ของการประท้วงคือ การเสนอเงื่อนไขในการปกครองอย่างเป็นธรรม และยกเลิกการเนรเทศ กลุ่มประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ แต่อาลีคอลีฟะฮ ได้ใช้เกมการเมือง ในมาตรการที่รุนแรง และทารุน นับตั้งแต่วันแรกที่เกิดการชุมนุม นั้นก็คือการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมโดยทันที

โดย ในเวลานั้นการประท้วงในบะฮเรน  แก่นแท้ของการประท้วง คือการแสวงหาเอกราชของประชาชน  และเสรีภาพของประชาชน ทางอาลี คอลีฟะฮ วิตกกังวล ต่อการล่มสลาย ของเผด็จการโลกอาหรับที่ถูกโค่นล้มมาก่อนหน้านี้  จึงได้มอบอำนาจให้กับ คิงซาอุ เพื่อทำการถอนรากถอนโคน กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงให้หมดสิ้น  และปกป้องตระกูลอาลีอลีฟะฮ ให้พ้นภัยจากวิกฤติการณ์ครั้งนี้

การ ปราบปราม โดยใช้มาตรการขั้นรุนแรง และเด็ดขาด ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมานี้   ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป โดยวิธีการต่างๆที่ทางฝ่าย อาลี คอลีฟะฮ ใช้ปราบปราม คือ การจับกุม หรือ การทรมานกลุ่มผู้ประท้วง หรือ การสังหาร ถึงแม้ว่าประชาชนจะทำการประท้วงโดยสันติ

แต่ กระนั้น อาลีคอลีฟะฮ ก็ไม่อาจหยุดยั้งประชาชน ในการเรียกร้องสู่เสรีภาพได้  เมื่อเวลาผ่านไป เป้าหมายของประชาชน ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง นั่นคือ  “การโค่นล้มอาลีคอลีฟะฮ” การประท้วงของประชาชนชาวบะฮเรนนั้น เป็นการประท้วงโดยสันติ ซึ่งจากหลักฐาน ได้ชี้ให้เห็นว่า พวกเขาได้ทำการประท้วงโดยไม่ใช่อาวุธ แม้แต่วันเดียว

ทว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียนั้น มีความแตกต่างอย่างมากมาย การประท้วงเริ่มต้นประมาณวันที่ 15 เดือนมีนาคม  ปี 2001 หลังจากการประท้วงในบะฮเรน ไม่นานนัก โดยจุดประสงค์หลัก ของการประท้วงในช่วงเริ่มต้น คือ การปฏิรูปทางการเมืองในประเทศ และเปิดโอกาสให้ บุคคลซึ่งมาจากนิกายต่างๆ ได่มีโอกาสในทางการเมือง ซึ่งการประท้วง เริ่มต้นโดย บางส่วน ของ มุสลิมนิกายซุนนี่ และมุสลิมนิกายอื่นๆ

ใน ช่วงเริ่มต้น บะชัร ได้ใช้มาตรการเหมือนกับรัฐบาลในประเทศอื่น  และถือว่าการชุมนุมมาจากชนกลุ่มน้อย และยังได้ขึ้นปราศรัยชี้แจงว่าจะให้ความร่วมมือในการปฏิรูปทางด้านการเมือง อีกด้วย ทว่ากระแสการประท้วงก็เริ่มหนักหน่วงขึ้น และเปลี่ยนแปลงสภาพไปอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองไปในที่สุด สงครามเหล่านี้ เต็มไปด้วยกลุ่มนักรบติดอาวุธ และนักรบติดอาวุธเหล่านี้ก็ค่อยๆ หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศอย่างรวดเร็ว

ตาม มาตรวัดความยุติธรรม และกฎหมายของ สหประชาชาติแล้ว การประท้วงในบะเรนนั้น มีแก้นแท่มาจากประชาชน และประชาชนบะฮเรน มีสิทธิในการรวมตัวกัน และทำการชุมนุมประท้วงอย่างสันติ ได้ตามกฎหมาย ขณะที่สิทธิอันนี้ได้ถูกทำลายลงไปในบะฮเรน อย่างสมบูรณ์แบบ  ในขณะที่อีกด้านหนึ่งไม่มีกฎหมายใดๆที่บอกว่า การประท้วงสามารถกระทำได้ด้วยการจับอาวุธ เพื่อไปให้ถึงสิ่งต่างๆที่ต้องการได้ และด้วยหลักการนี้เอง รัฐบาลซีเรีย จึงสามารถให้ความสนใจจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ต่อต้านได้เพียงระยะเวลา หนึ่งเท่านั้น ตราบใดที่พวกเขายังไม่ถืออาวุธในมือ  แต่เมื่อภาพที่ออกมา คือสิ่งตรงกันข้าม  รัฐบาลซีเรีย จึงมีทางเลือกเดียวเท่านั่น คือการรักษาความมั่นคงของชาติ และรวมชาติในธงผืนเดียวกัน  ซึ่งการดำเนินดังกล่าว เป็นสิ่งที่รัฐบาลของทุกๆชาติ จะกระทำ เพื่อ ข่มขู่ กลุ่มผู้ติดอาวุธ

ประเด็น ที่น่าสนใจคือ ในการประท้วงของประชาชนในสองประเทศนี้ มีการแบ่งมาตรฐานในวิกฤติการณ์ของสองประเทศนี้ โดยสื่อตะวันตก ในด้านหนึ่ง สื่อต่างๆพยายามปกปิด ถึงการทรมาน การจับกุม และการสังหารผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ของบะฮเรน  และการเข้าแทรกแซงโดยตรงของซาอุดิในการปราบปรามประชาชนชาวบะฮเรน

ใน อีกด้านหนึ่งสื่อเหล่านี้  ได้พยายามนำเสนอ  วิกฤตการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในซีเรีย พวกเขา พยายามเผยแพร่ถึง ประเด็นการละเมิดสิทธมนุษยชน โดยรัฐบาลซีเรีย อยู่ตลอดเวลา  และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะนำเสนอ อาชญากรรมต่างๆ ที่มาจากกองทัพฝ่ายต่อต้านรัฐบาล  ไม่ว่าจะเป็นการข่มขืน หรือ การฆ่ากันเอง ในหมู่พวกเขา หรือการทรมานเชลย

ตลอด ระยะเวลา 3 ปีนี้ ชาติตะวันตก ไม่ได้โจมตีรัฐบาลซีเรีย ด้วยสื่อ แต่เพียงอย่างเดียว พวกเขายัง ได้สนับสนุนงบประมาณ และมอบอาวุธให้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนในมิติทางการเมืองนั้น พวกเขาได้สนับสนุน ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ด้วยการจัดตั้ง กลุ่มต่างๆขึ้นมา ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เหล่านี้

จึงมีคำถามขึ้นมาว่า ผู้นำของทั้งสองประเทศนี้ มีอะไรที่แตกต่างกัน ?

การ จะหาคำตอบ จึงต้องพิจารณาจากการวางยุทธศาสตร์ของตะวันตก คิงซาอุ  และรัฐเถื่อนอิสราเอล  ว่า พวกเขาจะได้รับประโยชน์อะไรจากบะฮเรน และซีเรีย

บะฮเรน นั้น เป็นหนึ่งในพันธมิตรของอเมริกา ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และยังเป็นเจ้าบ้านมารยาทดี ในการตอนรับ กองทัพเรือที่ 5 ของอเมริกา โดยแท้จริงแล้ว อเมริกา ประเทศซึ่งประกาศ อุดมการณ์ แห่งเสรีภาพ และประชาธิปไตย มากว่า ศตวรรษ ต้องการที่จะควบคุม รัฐเผด็จการ ในบะฮเรน ให้อยู่ในกำมือ เพื่อที่ ปฏิบัติการลับต่างๆ และควบคุม ประเทศนี้ ให้อยู่หมัด  แน่นอน เป้าหมายระยะยาวของอเมริกา คือการเข้าแทรกแซง และควบคุม ทุกๆประเทศในตะวันออกกลาง เพื่อจะได้ สามารถ วางกองกำลังของตัวเองตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ พวกเขาสบโอกาส ในการปฏิบัติแผนการเหล่านี้ ในประเทศบะฮเรน  และอันตรายที่จะเกิดจากชัยชนะของประชาชน  อาจะสงผลกระทบต่อผลประโยชน์ของพวกเขา ตรงนี้เองที่ทำไม อเมริกา ถึงได้นิ่งเงียบ และเพิกเฉย ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในบะฮเรน ที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า และหันมาสนับสนุนต่ออาลีคอลีฟะฮ แทน

ใน อีกด้านหนึ่งการแสวงหา ผลประโยชน์ ของอเมริกา ในซีเรีย เป็นสิ่งที่แตกต่างจากบะฮเรนอย่างสิ้นเชิง รัฐบาลซีเรีย ได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาล ที่เป็นศูนย์กลางของการยืนหยัด  และยังทำการต่อสู้กับนายทุนหน้าเลือด และยืนหยัดในการต่อสู้กับรัฐเถื่อนอิสราเอล ตลอดเวลา และในหลายๆปีที่ผ่านมานี้ อิหร่าน ซีเรีย และฮิสบุลลอฮ ได้ทำลาย ผลประโยชน์ของอเมริกา ในตะวันออกกลางไว้อย่างยับเยิน

ใน ความเป็นจริงแล้ว ตะวันออกกลาง เป็นหนึ่งในแผนการที่ไซออนิสต์  ได้นำเสนอไว้หลายปีแล้ว และได้ดำเนินการตามแผนการอันนั้น เช่นในสงคราม 33 วัน ที่รบกับฮิสบุลลอฮ หรือการบุกถล่มฉนวนกาซ่า  หรือการปูทางเพื่อสร้างสงครามภายในให้เกิดในซีเรีย หรือแม้แต่การบอยคอตเศรษฐกิจอิหร่าน โดยข้ออ้างในเรื่อง อาวุธ นิวเคลียร์  แผนการดำเนินการ รักษา ผลประโยชน์, ความมั่นคง และความเป็นระเบียบ ของอเมริกา และอิสราเอล นี้ น้อยคนนักที่จะไม่รู้  เพราะ คณะรัฐบาลอเมริกา อย่างเดโมแครต ได้วางเงื่อนไข ตัวเอง ในการสนับสนุน อิสราเอลในทุกๆ ด้าน  นับตั้งแต่แรก

อิสราเอล ได้พ่ายแพ้ เมื่อทำสงครามกับฮิสบุลลอฮ ในสงคราม 33 วัน  และยังพ่ายแพ้ต่อการทำสงครามในกาซ่า และการให้ความร่วมมือ ของ 6 มหาอำนาจ ในโครงการนิวเคลียร์ ของอิหร่าน ก็ทำให้ ตะวันตก และไซออนิสต์ ต้องอับอายขายหน้า

จึง ทำให้เราเห็นถึง การวางตัวสองมาตรฐาน  ในสองประเทศ คือ ซีเรีย และบะฮเรน    สองปรากฎการณ์ที่ทำให้เห็นว่าตะวันตกกำลังเดินสวนทางกับอุดมการณ์ของตนเอง ในการพิทักษ์รักษาสิทธิมนุษยชน  การวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ ในซีเรีย และบะฮเรน ทำให้เราเห็นว่า ตะวันตก  ทำการเคลื่อนไหว เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองเท่านั้น

และ ไม่ว่าที่ใดที่พวกเขาเห็นว่า จำเป็นต้องใช้อุดมการณ์ประชาธิบไตย เสรีภาพ แล้ว เขาจะใช้อุดมการณ์เหล่านี้ หลอกลวง ประชาชน เพื่อกอบโกย และรักษาผลประโยชน์ของตนเอง!!