ชาติอาหรับทรยศปาเลสไตน์ “อีกครั้ง” เมื่อปฏิญญาบัลโฟร์กลับชาติมาเกิดใหม่

424
ภาพ: ไคม์ ไวส์มันน์ (ซ้าย) สวมผ้าโพกศีรษะของชาวอาหรับ เพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพร่วมกับชาวอาหรับ และอาเมียร ไฟซาล อิบนิฮุสเซน ในทรานส์จอร์แดน ปี ค.ศ. 1918

ไม่กี่วันที่ผ่านมา รัฐบาลบาห์เรนได้ประกาศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล (เมื่อวันที่ 11 ก.ย.) ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ สำหรับอิสราเอลและประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังเร่งสร้างผลงาน เพื่อกู้คะแนนนิยมก่อนการเลือกตั้ง

ข้อตกลงดังกล่าว ถือเป็นชัยชนะสำหรับอิสราเอลและฝ่ายอนุรักษนิยมในสหรัฐฯ ซึ่งต้องการให้ชาติอาหรับยอมรับสถานะของอิสราเอลโดยปราศจากการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์

ประกาศดังกล่าวมีขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ หลังจากที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยินยอมสถาปนาความสัมพันธ์การทูตสู่ระดับปกติกับอิสราเอลไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ คือ ‘อิหร่าน’ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามร่วม ในมุมมองของรัฐริมอ่าวอาหรับ อิสราเอล และรัฐบาลทรัมป์

ท่ามกลางการประท้วง และความโกรธเคืองของชาวปาเลสไตน์ ที่พิจารณาว่า การกระทำดังกล่าว เป็นการทรยศ หักหลัง เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนของชาติอาหรับ อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ในหน้าประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอลในลักษณะเช่นนี้  ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่เสียทีเดียว เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาติอาหรับ “ทรยศ” ปาเลสไตน์

เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2462 ไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ไคม์ ไวส์มันน์ (Chaim Weizmann) ผู้นำไซออนนิสต์ (ต่อมาดำรงตำแหน่งประธานาธิปดีคนแรกของอิสราเอล) ได้พบกับ อาเมียร ไฟซาล (Emir Faisal) ซึ่งผู้เป็นบิดาของเขา ฮุสเซน บิน อะลี (Hussein bin Ali) เจ้าครองนครเมกกะ ในยุคสมัยนั้น เพิ่งได้ประกาศสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งอาหรับ การประชุมจัดขึ้นที่โรงแรมในลอนดอน ที่ซึ่ง ไวส์มันน์ และไฟซาล ได้ลงนามในข้อตกลงลับ โดยมีนายหน้า คือ นักการทูตชาวอังกฤษ ทอมัส เอ็ดเวิร์ด ลอว์เรนซ์ (T.E. Lawrence) ซึ่งไฟซาล ได้ให้คำมั่นว่า จะสนับสนุนปฏิญญาบัลโฟร์ (Balfour Declaration) เพื่อแลกกับการสนับสนุนของไซออนิสต์ ในการได้มาซึ่ง “รัฐอาหรับ” ในจังหวัดอาหรับต่างๆ ที่สลายตัวจากจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งดินแดนของรัฐอาหรับที่ว่านั้น ไม่รวมดินแดนปาเลสไตน์

ในความทะเยอทะยาน เจ้าชายไฟซาล เปิดไฟเขียว รับรองการล่าอาณานิคมของชาวยิวไซออนิสต์ในปาเลสไตน์ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น เขายอมรับสิทธิของชาวยิวในชาติ และในทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อดินแดนปาเลสไตน์ ที่ซึ่ง “ทุกมาตรการจะถูกนำมาใช้” เพื่อปฏิบัติตามปฏิญญาบัลโฟร์ รวมถึง “การอพยพชาวยิวเข้าสู่ปาเลสไตน์ครั้งใหญ่”

ภาพ: ไคม์ ไวส์มันน์ (ซ้าย) สวมผ้าโพกศีรษะของชาวอาหรับ เพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพร่วมกับชาวอาหรับ และอาเมียร ไฟซาล อิบนิฮุสเซน ในทรานส์จอร์แดน ปี ค.ศ. 1918

ในเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำทั้งสองเดินทางไปร่วมการประชุมสันติภาพที่ปารีส เพื่อแสวงหาข้อตกลงร่วมกันต่อหน้าฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้รับชัยชนะ โดยไฟซาลได้ย้ำถึงความยินยอมของเขา ที่จะไม่รวมดินแดนปาเลสไตน์เอาไว้ในการเรียกร้องเอกราชแก่อาหรับ อันเนื่องจาก “คุณลักษณะที่เป็นสากล” ของดินแดนปาเลสไตน์ เขาบอกกับชาวยุโรป ที่ตกลงอุ้มชูเขาว่า “ปาเลสไตน์จะถูกปล่อยไว้ด้านหนึ่ง เพื่อการพิจารณาร่วมกันของทุกฝ่ายที่สนใจ”

หลังจากการประชุม ไวส์มันน์ เขียนถึงภรรยาของเขาว่า เขาพบว่า ไฟซาลเป็น “คนซื่อสัตย์มาก” ไฟซาลอยู่ในความตกตะลึงของไวซ์มันซ์เป็นอย่างมาก เพราะเขา “สนใจดามัสกัส และซีเรียตอนเหนือทั้งหมด (แต่กลับ) ไม่สนใจปาเลสไตน์ ”

ในเดือนมีนาคม เดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เผยแพร่จดหมายของไฟซาล ไปยัง Felix Frankfurter ภายใต้การพาดหัวข่าว “เจ้าชายแห่งฮิญาซ ยินดีต้อนรับไซออนิสต์” ในการที่อาเมียร ไฟซาล กล่าวย้ำถึงการสนับสนุนของเขาที่มีต่อกลุ่มไซออนิสต์ โดยในจดหมายเขียนว่า: “คณะผู้แทนของเราในปารีส คุ้นเคยกับข้อเสนอที่องค์การไซออนิสต์ยื่นต่อการประชุมสันติภาพ และเรา (ไวส์มันน์ และข้าพเจ้า) ถือว่าพวกเขามีความเป็นกลางและมีความเหมาะสม และกำลังดำเนินการร่วมกันเพื่อการปฏิรูปและฟื้นฟูตะวันออกใกล้ (Near East)

นิวยอร์กไทมส์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1919

 

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรกลับไม่ยอมทำตามที่ตกลงไว้ โดยไม่ได้มอบแก่ไฟซาล ซึ่งรัฐอาหรับที่เป็นอิสระแก่เขา และท่ามกลางความเสียขวัญของเจ้านครเมกกะ พวกเขาก็ได้ริเริ่ม ระบบอาณัติ หรือ การจัดตั้งดินแดนใต้อาณัติ (mandate system) ขึ้นมา ซึ่งเป็นหนทางสู่การแบ่งดินแดนอาหรับให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสมีอำนาจควบคุมซีเรีย และเลบานอน ในขณะที่อังกฤษสามารถเข้าควบคุมปาเลสไตน์ และทรานส์จอร์แดน

ไฟซาลออกจากการประชุมที่ปารีส ด้วยความรู้สึกว่าตนกำลังถูกทรยศหักหลังอย่างเลวร้ายที่สุด ตัวเขาเองได้ทรยศต่อเจ้านายชาวเติร์กของเขา เพื่อต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับอังกฤษ แต่กลับถูกอังกฤษทรยศซ้ำซ้อนภายหลังสงคราม เมื่อไม่มีทางเลือกมากนัก เขาจึงพยายามแก้ไขสิ่งนี้ โดยไม่กี่เดือนต่อมา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2462 สภาแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Congress) ก็จัดตั้งขึ้น เพื่อการสนับสนุนอาณาจักรอาหรับซีเรียของเขา โดยทำการรับรองมติที่ปฏิเสธอำนาจของฝรั่งเศสเหนือซีเรีย และประกาศให้ปาเลสไตน์เป็นส่วนหนึ่งของซีเรีย ที่ไม่อาจแยกออกได้ อีกทั้งยังคัดค้านการอพยพของชาวยิวไปยังปาเลสไตน์

อนุสารจากรัฐสภาแห่งชาติซีเรีย แสดงภาพพรมแดนของอาณาจักรอาหรับซีเรียของไฟซาล ที่ประกอบด้วยปาเลสไตน์ – 8 มีนาคม ค.ศ. 1920

ทว่าสถานการณ์มันก็สายเกินแก้ ในปีนั้น ฝรั่งเศสได้ขับไล่ไฟซาลออกไป โดยกองกำลังจากซีเรีย และสามปีต่อมา อังกฤษก็ได้รับมอบอำนาจจากสหประชาชาติ ให้ปฏิบัติตามปฏิญญาบัลโฟร์ในปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการชดเชยแก่เขา อังกฤษได้แต่งตั้งไฟซาลให้เป็นกษัตริย์แห่งอิรัก อับดุลลาน้องชายของเขาเป็นกษัตริย์แห่งจอร์แดน ในขณะที่ฮิญาซ ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของซาอุดีอาระเบีย

ไฟซาลเสียชีวิตลงในปี 1933 ขณะที่ความฝันเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐอาหรับของเขา ยังคงอยู่ภายใต้อาณัติของยุโรป และสลายหายไป เสมือนระลอกคลื่นจากภาพลวงตา จากวิสัยทัศน์ทั้งหลายของเขา ดูเหมือนจะมีแต่เพียง “ปฏิญญาบัลโฟร์” เท่านั้น ที่ได้ถูกเติมเต็ม และกลายมาเป็นความจริง

ในขณะเดียวกัน เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ไวส์มันน์ ก็มักจะอุธรณ์ถึงคำมั่นสัญญาของไฟซาล ในทุกโอกาสทางการทูต ในปี ค.ศ. 1936 ในการอ่าน ที่ฟังดูคล้ายคำสรรเสริญเยินยอเพื่อนชาวอาหรับของเขา เขาบอกกับคณะกรรมาธิการแผนการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ Peel Commission on Palestine ของอังกฤษว่า: “มีชาวอาหรับที่แตกต่างคนหนึ่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพอาหรับขณะนั้น คือ อาเมียร ไฟซาล โดยไม่อ้อมค้อม ข้าพเจ้าขอยกให้เขาเป็นแรงบันดาลใจ ความหวัง ความปรารถนา ความตั้งใจของเรา และข้าพเจ้าสามารถพูดได้เพียงเท่านี้ (ว่า)- หากจะมีคำปฏิญาณใด ๆ ของข้าพเจ้า ที่จะสามารถโน้มน้าวอาหรับฝ่ายตรงข้ามของข้าพเจ้าได้ (ก็คือสิ่งนี้ เมื่อ..) เราได้ค้นพบตนเองอยู่ในข้อตกลงอย่างสมบูรณ์แล้ว และการพบกันครั้งแรกนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพตลอดชีพ และความสัมพันธ์ของเราก็ได้ถูกแสดงออกมาภายในสนธิสัญญา”

ภายในปี 1946 ประเทศอาหรับทั้งหมด ยกเว้นปาเลสไตน์ได้รับเอกราช ทว่าอาณัติของอังกฤษจะคงอยู่ในปาเลสไตน์ต่อไปอีกสองปี ราวกับจะทำให้มั่นใจว่า วิสัยทัศน์ของไวส์มันน์ และไฟซาลจะได้รับการเติมเต็ม

ในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1947 ในวันก่อนการลงคะแนนเสียงแผนแบ่งพาร์ติสัน (Partition Plan Vote) ไวส์มันน์ได้กล่าวกับสหประชาชาติว่า: “มีช่วงเวลาหนึ่งที่รัฐชาติอาหรับ สามารถมองเห็นความเท่าเทียมนี้ในสัดส่วนที่แท้จริงของมัน นั่นคือ ครั้งที่ผู้นำที่มีชื่อเสียง และผู้ปลดปล่อย ชาวอาหรับ อาเมียร ไฟซาล ซึ่งต่อมาเป็นกษัตริย์แห่งอิรัก ได้ทำสนธิสัญญากับข้าพเจ้า โดยประกาศว่า หากส่วนที่เหลือของเอเชียอาหรับเป็นเอกราช ชาวอาหรับจะยอมรับสิทธิของชาวยิวอย่างอิสระในการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาในปาเลสไตน์ ซึ่งจะอยู่เคียงข้างกับรัฐอาหรับ เงื่อนไขที่เขากำหนดไว้ คือความเป็นอิสระของดินแดนอาหรับนอกปาเลสไตน์ทั้งหมด ได้บรรลุผลสำเร็จแล้ว”

กระทั่งในปีถัดมา อังกฤษก็ออกจากปาเลสไตน์ในที่สุด และจากนั้นอิสราเอลก็ประกาศเอกราช

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 สองวันหลังจากการประกาศอิสรภาพของอิสราเอล ไวส์มันน์ได้ส่งสาส์นไปยังการชุมนุมเฉลิมฉลองที่เมดิสันสแควร์การ์เดน (Madison Square Garden) ในนิวยอร์ก เขาเรียกร้องสนธิสัญญาของเขากับไฟซาล เพื่อใข้เป็นก้าวสำคัญสำหรับเส้นทางสู่เอกราชของอิสราเอล ก่อนที่จะประกาศว่า:“รัฐยิวพร้อม และกระตือรือร้นที่จะเข้าสู่ความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านเสมอ และเข้าร่วมกับพวกเขา (ประเทศเพื่อนบ้าน) ในความพยายามร่วมกันเพื่อเพิ่มสวัสดิการ และความเจริญรุ่งเรืองของตะวันออกใกล้ (the Near East)” แต่แล้วเพื่อนบ้านอาหรับก็ประกาศสงครามกับอิสราเอล เพื่อยึดปาเลสไตน์กลับคืนมา แต่เมื่อเวลาสิ้นสุดลง การสูญเสียปาเลสไตน์ก็เป็นไปแล้ว อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์

หนึ่งศตวรรษหลังจากการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ ระหว่างไฟซาล – ไวซ์มันน์ ผ่านไป เหตุการณ์ในอดีต ก็ดูเหมือนจะย้อนกลับมาฉายซ้ำอีกรอบ ซึ่งคืบคลานเข้ามาในปาเลสไตน์ เมื่อบรรดาผู้สืบทอดอำนาจต่อจากไฟซาล ซึ่งเป็นผู้ปกครองของซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน ได้ยอมรับ “ข้อตกลงแห่งศตวรรษ” (Deal of the Century) ของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งชี้แนะ ให้ยกมอบส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมดของปาเลสไตน์แก่อิสราเอล ภายในนามของ “สันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และอนาคตที่สดใสกว่า”

ข้อตกลงของทรัมป์ จะส่งผลทำให้เยรูซาเล็ม ไร้การแบ่งแยก นี่ยังเหมารวมถึงเมืองเก่าของเยรูซาเล็ม ภายใต้การควบคุมของอิสราเอล และให้สิทธิ์แก่อิสราเอลในการผนวกการตั้งถิ่นฐานทั้งหมด รวมไปถึงหุบเขาจอร์แดน  – ซึ่งกินพื้นที่กว้างเกือบหนึ่งในสี่ของเวสต์แบงก์ – แผนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงภาพรัฐปาเลสไตน์ “ตามเงื่อนไข” ที่ซึ่งจะปลอดทหาร และปราศจากกองทัพบก และกองทัพอากาศโดยสิ้นเชิง ทว่าอิสราเอลจะยังคงมีการควบคุมเหนือกำลังทหาร และการควบคุมเหนือน่านฟ้าอย่างเต็มที่ รัฐใหม่นี้ ตามที่เบนจามินเนทันยาฮูขนานนามมันอย่างถากถางว่า “state-minus” เป็นหมู่เกาะที่ไม่ติดต่อกันในเวสต์แบงก์และกาซา ดังที่แสดงไว้อย่างชัดเจนในแผนที่ของแผน ซึ่งล้อมรอบไปด้วยการตั้งถิ่นฐาน และการประจำการทางทหารของอิสราเอล

จากมุมมองของอิสราเอล แผนของทรัมป์ถือเป็นข้อตกลงแห่งศตวรรษอย่างแท้จริง โดยไม่นับรวมความสำเร็จของปฏิญญาบัลโฟร์ที่เก่าแก่กว่าศตวรรษ ที่ซึ่งผู้นำของอิสราเอลนั้น ได้แสวงหาพันธมิตรชาวอาหรับ ที่พร้อมจะทำสัญญามอบอำนาจอธิปไตยเหนือส่วนมากของปาเลสไตน์ให้แก่พวกเขา ทั้งยังพร้อมขายปาเลสไตน์ เพื่อทำให้สัญญานั้นบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม

แต่สำหรับชาวปาเลสไตน์แล้ว แผนของทรัมป์นั้น มิใช่สิ่งใด นอกจากการกลับชาติมาเกิดของการถูกทรยศ ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เมื่อศตวรรษก่อนหน้า อีกทั้งพวกเขายังเรียกมันว่า ปฏิญญาบัลโฟร์ เบอร์ 2 (The Balfour Declaration No. 2)ด้วย

ผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ เผาภาพของกษัตริย์บาห์เรน นายกรัฐมนตรี UAE และซุลต่านคนใหม่ของซูดาน ในการประท้วงต่อต้านแผนสันติภาพของทรัมป์ – เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2020 ในเวสต์แบงก์

แผนของทรัมป์แสดงถึงระบบอาณัติอย่างชัดเจน อย่างที่มันเคยถูกกำหนดแก่ชาวปาเลสไตน์มาก่อนหน้านี้ เมื่อหนึ่งศตวรรษที่แล้ว โดยครั้งนั้นมีรัฐบาลอังกฤษเป็น “ผู้ดูแลผลประโยชน์” ให้ จนกว่าชาวพื้นเมืองจะ “สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง” – จาเร็ด คุชเนอร์ ลูกเขย และ “สถาปนิก” ที่ออกแบบแผนนี้ให้แก่ทรัมป์ ได้ออกแบบแผนนี้มาในทำนองเดียวกันกับคราวก่อน: “พวกเขา [ชาวปาเลสไตน์] กำลังพิสูจน์ผ่านปฏิกิริยาของพวกเขาว่า พวกเขาไม่พร้อมที่จะมีรัฐ” “ความหวังก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาจะสามารถมีศักยภาพในการปกครอง” – จาเร็ด คุชเนอร์

ดั่งที่ปฏิญญาบัลโฟร์ได้กีดกันชาวปาเลสไตน์ออกจากสิทธิในชาติตามกำเนิด (national rights) ด้วยการอำนวยสิทธิดังกล่าวนั้นให้แก่ชาวยิวแทน แผนของทรัมป์ก็เช่นเดียวกัน ได้พิจารณาว่า สิทธิในชาติตามกำเนิดของชาวปาเลสไตน์ (Palestinian national rights) เป็นสิ่งที่สามารถจ่ายได้ และดั่งที่ปฏิญญาบาลโฟร์ในอดีต ไม่ได้เรียกชาวปาเลสไตน์ โดยชื่อของพวกเขา แต่แทนที่มันด้วยการเรียกพวกเขาว่า “ประชากรที่ไม่ใช่ชาวยิวในปาเลสไตน์” ผู้สร้างสันติภาพแห่งสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ก็เช่นเดียวกัน พวกเขายังคงวางแผนสำหรับอนาคตของชาวปาเลสไตน์ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของชาวปาเลสไตน์อย่างสิ้นเชิง ต่อไป..

นับเป็นอีกครั้งที่ชาวปาเลสไตน์ต้องเผชิญกับความคาดหวังที่เลื่อนลอย เมื่อชะตากรรมของพวกเขาถูกกำหนดโดยบรรดาเจ้าหน้าที่ต่างชาติ ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากมหาอำนาจ และติดอาวุธด้วยบันทึก และข้อเสนอที่เป็นความลับ

ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองซาอุดีอาระเบีย และพันธมิตรอาหรับ ผู้ซึ่งดูเหมือนจะไม่ได้รับบทเรียนอะไรเลยจากประวัติศาสตร์ (แถมพวกเขายังเข้าร่วมการเปิดตัวของแผนดังกล่าวในวอชิงตันอีกด้วย) ก็กำลังเรียกร้องให้ชาวปาเลสไตน์ตกลงไปในห้วงเหวเดียวกัน และในทำนองเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สอง

ผู้นำอาหรับ ซึ่งยึดติดในอำนาจ ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในภูมิภาคอย่างสิ้นหว้ง ได้ขายชาวปาเลสไตน์อีกครั้ง โดยมีเชื่อมั่นว่าเส้นทางสู่วอชิงตัน เริ่มต้นในกรุงเยรูซาเล็ม เช่นเดียวกับที่พวกเขาเคยเชื่อมั่นในชาติตะวันตก เมื่อศตวรรษก่อนหน้าว่าเส้นทางที่มั่นคงที่สุดไปยังปารีส หรือลอนดอน คือการอ้อมผ่านชาติปาเลสไตน์  แต่ประวัติศาสตร์สอนเราว่า การขายปาเลสไตน์เพื่อความอยู่รอดทางการเมือง และความทะเยอทะยานในภูมิภาคที่เพ้อฟันนั้น ดีแต่จะนำไปสู่หายนะและความอัปยศเท่านั้นเอง

……………………………………………………
บทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม: