เปิดประวัติ รัฐอิสราเอล กับการสร้าง ‘ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย’

5253

สัมพันธมิตรที่เปิดเผยระหว่าง ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย และรัฐอิสราเอล ไซออนิสต์ ไม่ควรเป็นเรื่องน่าประหลาดใจสำหรับ นักศึกษาศาสตร์ด้าน “จักรวรรดินิยมอังกฤษ” ทว่าปัญหาของมันอยู่ที่ วิชาศึกษานี้ มีนักเรียนสนใจที่จะเข้าเรียนน้อยต่างหาก แน่นอนว่า เราสามารถหาอ่าน ระเบียบการสอน หรือ รายชื่อวิชา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย ตามมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร กระนั้น เปอเซนต์ที่จะพบเจอกับหลักสูตรรัฐศาสตร์ปริญญาตรี ว่าด้วย วิชาศึกษาจักรวรรดินิยมอังกฤษ ก็มีน้อยเป็นอย่างมาก ฉะนี้ก็คงไม่ต้องพูดถึงระดับศึกษาที่สูงขึ้นไปกว่านั้น

อย่างไรก็ดี ถ้าหากว่า เหตุการณ์นองเลือดโดยน้ำมือของจักรวรรดินิยมยุโรปในช่วง 4 ปี ระหว่างปี 1914 จนถึง ปี1918 สะกิดเซลล์สมองของคุณบ้าง มันก็คงไม่ยากเกินไปที่จะหาสถาบันดีๆที่สอนเกี่ยวกับวิชาเหล่านี้ เพื่อศึกษาหาข้อเท็จจริง แต่หากคุณประสงค์อยากจะคุ้ยเขี่ย และทำความเข้าใจกับ อุบาย และสาเหตุ เบื้องหลังประวัติการก่ออาชญากรรมสงครามต่อมนุษยชาติของจักรวรรดิอังกฤษระยะเวลายาวนานกว่า 400 ปี ในทางปฏิบัติแล้ว คุณคงจะต้องศึกษามันด้วยความบากบั่นของตัวเองเพียงลำพัง ซึ่งแน่นอนว่า สำหรับอดีตเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มันถือเป็นความสำเร็จที่น่าเกรงขามประการหนึ่ง..

“กษัตริย์อับดุลลาห์ คือ ตัวอย่างของความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ซาอุดิอาระเบีย และรัฐอื่นๆ และแม้แต่รัฐของยิวส์ก็ไม่เป็นที่ยกเว้น” Ali-al-Naimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานปิโตรเลียมแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เคยกล่าวไว้ ในช่วงปลายปี 2014 ตามที่อ้างจาก Foreign Affairs – วารสารทางวิชาการของสหรัฐฯ

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ กษัตริย์ซัลมาล ก็ได้แสดงความเป็นห่วงไปยังรัฐอิสราเอลในทำนองเดียวกัน สังเกตได้จากกรณีที่ ซาอุฯ ร่วมกับอิสราเอล และสหรัฐฯ ตั้งทีมต่อต้านข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน ด้วยเกรงว่าอิหร่านจะใช้โอกาสดังกล่าวขยายอิทธิพลภายในภูมิภาค ทว่าเหตุการณ์นี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ครั้งแรกที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ แบบถ้อยที ถ้อยอาศัยของรัฐอิสราเอล และซาอุดิอาระเบีย

ย้อนไปในเยเมนเหนือ ช่วงปี 1960s ซาอุดิอาระเบีย ได้จัดหาเงินทุนให้กับกองกำลังทหารรับจ้าง นำโดยจักรวรรดิอังกฤษ ต่อต้าน กบฏผู้สนับสนุนการปกครองแบบสาธารณรัฐ ที่ขึ้นมามีอำนาจ ภายหลังจากที่สามารถโค่นล้มเผด็จการผู้นำลงได้ Gamal Abdul-Nasser แห่งอียิปต์ได้ให้การสนับสนุนไปยังกลุ่มกบฏดังกล่าว ขณะที่อังกฤษคอยกระตุ้นให้ซาอุฯ จัดหาเงินทุน และอาวุธ ให้แก่เศษผู้สนับสนุนเผด็จการผู้นำที่หลงเหลืออยู่ นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดการให้ชาวอิสราเอลส่งอาวุธให้กับ พร็อกซี (ตัวแทนผู้รับมอบฉันทะ) ของอังกฤษในเยเมนเหนือ ถึง 14 ครั้ง จักรวรรดิอังกฤษลักลอบวางแผนการทหารต่างๆ และเป็น ตัวการ ที่เชื่อมให้ระบอบไซออนิสต์ (อิสราเอล) และซาอุฯ จับมือกัน ในเยเมนเหนือ เมื่อปี 1960s และทำการต่อกรกับศัตรูที่มีร่วมกัน

อย่างไรก็ดี หากคุณต้องการทำความเข้าใจถึงต้นกำเนิดความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐอิสราเอล และซาอุฯอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ในยุค 1920s งานค้นคว้าเกี่ยวกับองค์กรลับอิลลูมินาติ โดย Dr. Askar H. al-Enazy เมื่อปี 1914-1927 ภายใต้ผลงานวิชาการชื่อ The Creation of Saudi Arabia: Ibn Saud and British Imperial Policy (การสร้างซาอุดิอาระเบีย: วงศ์วานซะอูด และ นโยบายของจักรวรรดิอังกฤษ) ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่เหมือนใคร เกี่ยวกับต้นกำเนิดของสัมพันธมิตรนี้ โดย Dr. Enazy ยังส่งอิทธิพลต่อการเขียนบทความชิ้นนี้อีกด้วย

ความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออตโตมัน ด้วยฝีมือของจักรวรรดิอังกฤษ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้คงเหลือไว้ซึ่ง สามอำนาจบาตรใหญ่ที่มีความแตกต่างกัน ในคาบสมุทรอาหรับ ได้แก่ 1) สมญานาม นายแห่งฮีญาซ ชะรีฟ ฮูเซน บินอะลี (ควบคุมตะวันตก) 2) อิบนิราชิด แห่ง ฮาอิล (ควบคุมตอนเหนือ) และ 3) อิบนิ ซะอูด แห่งนัจด์ พร้อมกับพลพรรควะฮาบี ผู้นับถือศาสนาสุดโต่งของเขา (ควบคุมตะวันออก)

อิบนิ ซะอูด ได้เข้าสู่สงครามในช่วงเดือนมกราคม 1915 และอยู่ฝั่งเดียวกับอังกฤษ แต่ถูกทำให้พ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว และผู้ดำเนินการชาวอังกฤษของเขา วิลเลี่ยม เชกสเปียร์ (William Shakespear) ยังถูกสังหารโดย อิบนิราชิด พันธมิตรของจักรวรรดิออตโตมัน ความพ่ายแพ้เป็นดั่งซุงท่อนใหญ่ที่ขัดขวาง อรรถประโยชน์ของอิบนิ ซะอูด ไปสู่จักรวรรดิ และมันยังเป็นการตัดกำลังทหารของเขานานกว่าปี [1] นายแห่งฮิญาซ ชะรีฟ ฮูเซน ออกแรงมากกว่าคนอื่นๆในการทำสงครามกับจักรวรรดิออตโตมัน เขาคือ สาเหตุหลักๆ ที่อยู่เบื้องหลังความพ่ายแพ้ของจักรวรรดินี้ โดยเขาได้สับเปลี่ยนความจงรักภักดีที่มีต่อจักรวรรดิ และเป็นผู้นำ เหตุการณ์จลาจล ที่เรียกว่า “Arab Revolt” (กบฏอาหรับ) ในเดือนมิถุนายน 1916 เหตุการณ์ที่ซึ่งได้ถอดถอนการมีอยู่ของชาวตุรกีออกจากอาระเบีย

เขาถูกกล่อมให้เปลี่ยนตำแหน่งของเขาอย่างสิ้นเชิง เพราะอังกฤษทำให้เขาเชื่อโดยมั่น ผ่านการติดต่อกับ เฮนรี แม็คมาฮอน (Henry McMahon) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของอังกฤษในอียิปต์ว่า ประเทศเอกราชอาหรับ จากฉนวนกาซาไปยังอ่าวเปอร์เซียจะถูกสถาปนาขึ้น พร้อมกับความพ่ายแพ้ของพวกเติร์ก จดหมายต่างๆที่แลกเปลี่ยนกันระหว่าง ชะรีฟ ฮูเซน และเฮนรี แม็คมาฮอน เป็นที่รู้จักกันในชื่อ McMahon-Hussain Correspondence

อย่างเป็นที่เข้าใจได้ว่า ทันทีที่สงครามสิ้นสุดลง ชะรีฟ ฮูเซน ต้องการยึดอังกฤษให้อยู่ในขอบเขตระยะเวลาสงครามตามสัญญาของพวกเขา หรือสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นคำสัญญาของพวกเขา ดังที่ได้กล่าวไว้ในจดหมายฉบับดังกล่าว ทว่าในทางตรงกันข้าม อังกฤษต้องการให้ ชะรีฟ ฮูเซน ยอมรับ ‘ความเป็นจริงใหม่’ (New Reality) ของจักรวรรดิ เกี่ยวกับวิธีการแบ่งแยกโลกอาหรับระหว่างพวกเขากับฝรั่งเศส (ข้อตกลง Sykes-Picot) และการดำเนินการตาม ปฏิญญาบอลโฟร์(Balfour Declaration) ที่เป็นแผนรับรอง ‘ชาติ’ ให้แก่ชาวยิวส์ยุโรป ให้สามารถตั้งรกราก อาณานิคมในเขตดินแดนปาเลสไตน์

‘ความเป็นจริงใหม่’ ที่ว่านี้ มีบันทึกอยู่ใน สนธิสัญญา แองโกล -ฮิญาซ (Anglo-Hijaz Treaty) ที่ซึ่งชะรีฟ ฮูเซนไม่สมัครใจที่จะลงนามยอมมันอย่างเด็ดขาด [2] อันที่จริงแล้ว ชะรีฟ ฮูเซน ได้ทำให้เป็นที่รู้กันอย่างชัดเจนว่า เขาจะไม่มีวันขายปาเลสไตน์ให้แก่ ปฏิญญาบอลโฟร์ของจักรวรรดิ เขาจะไม่ยอมรับการจัดตั้งระบอบปกครองไซออนิสต์ในปาเลสไตน์ หรือยอมรับแนวพรมแดนแบบสุ่มใหม่ที่ลากผ่านประเทศอาหรับโดยจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส จากส่วนนี้ ทำให้อังกฤษเริ่มพูดถึงเขาในฐานะ “ผู้ขัดขืน” และ “ตัวป่วน” และมองเห็นเขาในฐานะ ผู้มีทัศนคติที่ดื้อรั้น

กระนั้น อังกฤษเองก็ทำให้ นายแห่งฮีญาซ ชะรีฟ ฮูเซน รู้ว่า พวกเขาได้เตรียมพร้อมที่จะใช้มาตรการขั้นรุนแรง เพื่อนำมาซึ่งการอนุมัติ และความยินยอมของเขา เกี่ยวกับ ‘ความเป็นจริงใหม่’ โดยไม่ได้คำนึงถึง ครั้งที่เขาได้เคยช่วยเหลืออังกฤษไว้ในช่วงสงคราม หลังจากการประชุม ณ กรุงไคโร เมื่อเดือนมีนาคม ปี1927 ที่ซึ่ง เสนาบดีใหญ่ในอาณานิคม วินซ์ตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) ได้พบปะกับบรรดาผู้ปฏิบัติการชาวอังกฤษในตะวันออกกลาง เช่น ทีอี ลอว์เรนซ์ (T.E. Lawrence) ผู้ซึ่งถูกส่งไปให้พบกับชะรีฟ เพื่อติดสินบน และข่มขู่ให้เขายอมรับโครงการตั้งอาณานิคมไซออนิสต์ในเขตดินแดนปาเลสไตน์ของอังกฤษ

ในตอนเริ่มต้น ลอว์เรนซ์และจักรวรรดิได้เสนอเงินจำนวนกว่า 80,000 รูปี [3] ให้แก่เขา แต่ชะรีฟปฏิเสธมันอย่างสิ้นเชิง ลอว์เรนซ์จึงเสนอเงินเพิ่ม เป็นเงินประจำปี จำนวนกว่า 100,000 ยูโร [4] ทว่า ชะรีฟยังคงปฏิเสธที่จะประนีประนอมและขายปาเลสไตน์ให้แก่อังกฤษ

เมื่อการติดสินบนด้วยเงิน ไม่สามารถโน้มน้าวชะรีฟได้ ลอว์เรนซ์จึงข่มขู่เขาด้วยการรุกรานของ อิบนิซะอูด ลอว์เรนซ์อ้างว่า “ความอยู่รอดของฮิญาซ ทั้งทางการเมืองและทางทหาร ในฐานะราชอาณาจักรฮาเชไมต์ที่เป็นอิสระ ทั้งหมดล้วนขึ้นอยู่กับเจตจำนงทางการเมืองของจักรวรรดิอังกฤษ ผู้ที่มีความตั้งใจจะปกป้องและรักษากฎเกณฑ์ต่างๆในภูมิภาคนี้” [5]

ในระหว่างการเจรจากับชะรีฟ ลอว์เรนซ์ได้หาเวลาเข้าไปเยี่ยมเยียนผู้นำคนอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ และบอกพวกเขาว่าถ้าพวกเขาไม่พ่วงด้วยกับฝั่งอังกฤษ และหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับชะรีฟ จักรวรรดิจะส่งอิบนิซะอูด และพลพรรควะฮาบีย์เขาต่อกรด้วย ซึ่งพวกเขาเป็นกลุ่มซึ่ง ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม คือ ‘ผู้ถือหางของอังกฤษ’ [6]

พร้อมกันนั้น หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น เชอร์ชิลล์ได้เดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และได้พบปะกับ อับดุลลาห์ บุตรชายของ ชะรีฟ ฮูเซน ซึ่งเป็น “อามีร” ผู้ปกครองดินแดนใหม่ที่เรียกว่า “ทรานซ์จอร์แดน” (Transjordan) เชอร์ชิลล์ชี้แจงกับอับดุลลาห์ว่า เขาควรจะชักชวนให้ “พ่อของเขายอมรับ กฤษฎีกาข้อบังคับเรื่องปาเลสไตน์ และลงนามในสนธิสัญญา” มิฉะนั้น “อังกฤษจะส่งอิบนิซะอูด เข้าสู้รบกับฮิญาซ [7] ในขณะเดียวกัน อังกฤษกำลังวางแผนให้อิบนิซะอูดโค่นล้ม อิบนิราชีด ผู้ปกครองของ ฮาอิล (ทางตอนเหนือ)

อิบนิ ราชิดปฏิเสธการทาบทามทั้งหมด ที่ว่าให้เขากลายมาเป็นหุ่นเชิดอีกตัวของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งได้กระทำผ่านทางอิบนิซะอูด [8] ยิ่งไปกว่านั้น อิบนิ ราชิด ยังขยายอาณาเขตของตนขึ้นเหนือไปยังชายแดนปาเลสไตน์ที่ได้ถูกแบ่งตามกฤษฎีกาใหม่ และไปยังพรมแดนอิรักในฤดูร้อนปี 1920 เช่นเดียวกัน

อังกฤษจึงเป็นกังวลว่า สัมพันธมิตรระหว่าง อิบนิราชีด ผู้มีอำนาจอยู่ทางฝั่งเหนือของคาบสมุทร และชะรีฟที่ปกครองอยู่ทางด้านตะวันตกจะเติบโตขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นจักรวรรดิยังต้องการเส้นทางบกระหว่างท่าเรือปาเลสไตน์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย ให้อยู่ภายใต้การปกครองของพรรคที่เป็นมิตร

ณ ที่ประชุมกรุงไคโร เชอร์ชิลล์เห็นด้วยกับเจ้าหน้าที่ของจักรวรรดิ เซอร์ เพอร์ซ๊ คอกซ์ (Sir Percy Cox) ที่ว่า “อิบนิซะอูด ควรได้รับโอกาสให้เข้ายึดครอง ฮาอิล “[9] ในช่วงปลายปี 1920 อังกฤษได้ปรนเปรออิบนิซะอูด ด้วย “ทรัพย์ช่วยเหลือ” รายเดือน เป็นทองคำมูลค่ากว่า 10,000 ยูโร แถมไปกับเงินอุดหนุนรายเดือนของเขา นอกจากนี้เขายังได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย รวมเป็นปืนไรเฟิล กว่า 10,000 กระบอก เพิ่มเติมจากการโอบล้อมที่แข็งขันและสนามปืนอีกสี่แห่ง” พร้อมครูฝึกชาวอังกฤษ อินเดียอีกหลายคน[10]

อับดุลอาซิซ อิบนิซะอูด กับเจ้าหน้าที่ของจักรวรรดิอังกฤษ เซอร์ เพอร์ซ๊ คอกซ์

ท้ายที่สุด ในเดือนกันยายนปี 1921 อังกฤษก็ได้ปลดปล่อย อิบนิซะอูด ให้เข้ายึดครอง ฮาอิล ซึ่งผู้นำ อิบนิ ราชิด ก็ได้ยอมจำนนอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน หลังจากชัยชนะครั้งนี้ อังกฤษได้มอบชื่อใหม่ให้กับอิบนิซะอูด เขาไม่ได้เป็น “ประมุขแห่งนัจดฺ และหัวหน้าชนเผ่า” อีกต่อไปแล้ว แต่กลายเป็น “สุลต่านแห่งนัจดฺ และบรรดาชาติเมืองขึ้น” ฮาลิล ได้สลายอำนาจลง และกลายเป็นหนึ่งในเมืองขึ้นของจักรวรรดิของสุลต่านแห่งนัจดฺ

ถ้าจักรวรรดิคิดเห็นว่า อิบนิซะอูด พร้อมกองกำลังติดอาวุธ ที่กำลังจ่อปากถ้ำอยู่ ณ พรมแดนของชะรีฟ ฮูเซน ท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ เขาประนีประนอม และยินยอมให้มีการยกดินแดนแก่อังกฤษ เพื่อยึดเป็นรกรากแก่ชาวยิวส์ไซออนิสต์ พวกเขาก็คิดผิดอย่างมหันต์ มีการเจรจาระลอกใหม่เกิดขึ้น ระหว่าง ลูกของอับดุลลาห์ ผู้ซึ่งทำหน้าที่แทนพ่อของเขา ในการส่งสาส์นไปยัง ชะรีฟ ฮูเซน ปู่ของเขา ด้วยกับจดหมายของอับดุลลาห์ที่แนบมาด้วย ซึ่งเรียกร้องให้ชะรีฟ “ยอมรับความจริง” ทว่าชะรีฟ กลับไม่สนใจ แม้แต่จะเปิดอ่านสนธิสัญญาดังกล่าว นอกจากนั้น เขายังได้ร่างสนธิสัญญาขึ้นมาด้วยตนเอง ที่ระบุว่า เขาไม่ยอมรับ การแบ่งอาระเบียแบบใหม่ และต่อต้านปฏิญญาบอลโฟร์ทั้งยังส่งมันไปยังกรุงลอนดอนเพื่อเป็นการให้สัตยาบัน! [11]

นับตั้งแต่ปี 1919 เป็นต้นมา อังกฤษก็ค่อย ๆ ลดเงินสนับสนุนให้แก่ชะรีฟ ฮูเซน จนกระทั่งในช่วงต้นยุค 1920s พวกเขาก็ได้ระงับมันเอาไว้ ในเวลาเดียวกัน ก็คอยส่งเงินสนับสนุนให้แก่ อิบนิซะอูด [12] หลังจากการเจรจาผ่านพ้นไปกว่าอีกสามรอบ ในกรุงอัมมานและกรุงลอนดอน จักรวรรดิก็สำนึกได้ว่า ชะรีฟ ฮูเซน จะไม่มีวันสละปาเลสไตน์ให้แก่อังกฤษใช้สร้างอาณานิคมแก่ชาวยิวส์ ไซออนิสต์ หรือยอมรับการแบ่งดินแดนอาหรับใหม่ [13] ในเดือนมีนาคม 1923 อังกฤษบอกกับ อิบนิซะอูด ว่าจะขึ้นมูลค่าเงินอุดหนุนให้ พร้อมกับให้รางวัลตอบแทนเขาล่วงหน้าเป็นเงินสนับสนุนกว่า 50,000 ยูโร ซึ่งมีค่าเท่ากับเงินอุดหนุนประจำปีของเขา [14]

ในเดือนมีนาคม 1924 หลังจากที่อังกฤษได้มอบรางวัล “เงินช่วยเหลือ” แก่อิบนิซะอูด จักรวรรดิก็ได้ประกาศยุติการหารือเพื่อบรรลุข้อตกลงกับ ชะรีฟ ฮูเซน [15] ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ กองกำลังของอิบนิซะอูด และพลพรรควะฮาบี ก็ได้เริ่มบรรเลง ปฏิบัติการที่ เสนาบดีใหญ่กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ลอร์ด Curzon เรียกมันว่า “การแตะดวลลูกโทษครั้งสุดท้าย” ไปยังชะรีฟ ฮูเซน และโจมตีเขตแดนฮิญาซ[16] เมื่อถึงเดือนกันยายน ปีเดียวกัน อิบนิซะอูด ก็ได้บุกรุกตาอิฟ เมืองหลวง สำหรับใช้บัญชาการในช่วงฤดูร้อนของชะรีฟ ฮูเซน จากนั้น จักรวรรดิได้เขียนจดหมายถึงบุตรชายของชะรีฟ ผู้ซึ่งได้รับรางวัล ราชอาณาจักรแห่งอิรักและ ทราซ์จอร์แดน ไม่ให้ส่งความช่วยเหลือใด ๆ แก่พ่อของเขาที่กำลังถูกปิดล้อม หรือในทางการทูต พวกเขาได้รับแจ้ง “ไม่ให้เข้ามาแทรกแซงใน เฮดแจซ” [17]

ในเมืองตาอิฟ พลพรรควะฮาบีของอิบนิซะอูดได้ กระทำการสังหารหมู่ ตามธรรมเนียมของพวกเขา มีการเข่นฆ่าผู้หญิงและเด็ก ๆ รวมไปถึงการลุกล้ำเข้าไปในเขตมัสยิดและจัดการสังหารนักวิชาการอิสลามดั้งเดิม [18] พวกเขารุกราน และเข้ายึดครอง เมืองเมกกะ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาอิสลาม ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ปี 1924

ชะรีฟ ฮูเซน ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและถูกเนรเทศให้ไปพำนักอยู่ที่ท่าเรือ อะคาบา (Akaba) แห่งฮิญาซ อำนาจราชาธิปไตยของเขา ถูกแทนที่โดยอาลี บุตรชายของเขา ผู้ซึ่งทำให้ เจดดาห์ กลายเป็นฐานทัพรัฐบาล ขณะที่อิบนิซะอูด เคลื่อนพลไปล้อมเมืองอื่น ๆ ในฮิญาซ อังกฤษพบว่า นี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการเริ่มรวม อะคาบา ท่าเรือทางตอนเหนือของฮิญาซ เข้าสู่ ทรานซ์จอร์แดน

ด้วยกลัวว่า ชะรีฟ ฮูเซน อาจจะใช้ ท่าเรือ อะคาบา ตั้งเป็นฐานสำหรับการชุมนุมชาวอาหรับ เพื่อต่อต้านการยึดครองของ อิบนิซะอูด ทางจักรวรรดิได้ทำให้เขารู้อย่างไม่มีข้อกังขาว่า ชะรีฟจะต้องออกจาก อะคาบา หรือ มิเช่นนั้น อิบนิซะอูดก็จะเข้าโจมตีท่าเรือ ในส่วนนี้ ชะรีฟได้โต้ตอบไปยังจักรวรรดิ เขา “ไม่มีทางยอมรับกฤษฎีกาข้อบังคับ ในกรณีของประเทศอาหรับ และยังคงประท้วงต่อต้าน รัฐบาลอังกฤษที่ได้ทำให้ปาเลสไตน์กลายมาเป็นบ้านสำหรับชาวยิวส์”

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1925 ชะรีฟ ฮูเซน ถูกขับออกจาก อะคาบา ท่าเรือที่เขาได้ปลดปล่อยมันเป็นอิสรภาพจาก จักรวรรดิออตโตมานในเหตุการณ์ “Arab Revolt”

อิบนิซะอูดได้เริ่มทำการปิดล้อมเมืองเจดดาห์ ในเดือนมกราคม 1925 และเมืองดังกล่าวประกาศขอยอมจำนนในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน เหตุการณ์ นำมาซึ่งการสิ้นสุดลงของ การปกครองกว่า 1000 ปีของวงศ์วานแห่งท่านศาสดามูฮำหมัด อังกฤษ ได้สถาปนาอิบนิซะอูด ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งฮิญาซอย่างเป็นทางการ เมื่อช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ปี 1926 และชาติทรงอิทธิพลยุโรปอื่นๆก็ให้การยอมรับ ภายในสัปดาห์หลังจากนั้น รัฐปกครองวะฮาบี บัดนี้ได้ถูกสร้างแบรนด์ขึ้นมาใหม่ โดยจักรวรรดิอังกฤษในปี 1932 กลายมาเป็น “ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย” (KSA) ซึ่ง George Rendel เจ้าหน้าที่ประจำโต๊ะดูแลตะวันออกกลาง ณ สำนักงานกระทรงการต่างประเทศ ในกรุงลอนดอน ก็ได้อ้างความดีความชอบไปยังชื่อใหม่ที่ว่านี้

ในระดับของการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) อังกฤษมีส่วนสนับสนุน สร้างความชอบธรรมให้อิบนิซะอูด และพลพรรควะฮาบี กรณีที่ได้เข้ายึดครองฮิญาซ ในสามด้าน อันดับแรก พวกเขาสร้างภาพ และแย้งว่า การรุกรานฮิญาซของอิบนิซะอูด ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความคลั่งศาสนา มากกว่ามาจากการพิจารณาทางภูมิศาสตร์และการเมืองของจักรวรรดิอังกฤษ [20]

ประการที่สอง อังกฤษได้โพนทะนาว่า พลพรรคผู้คลั่งศาสนาวะฮาบีของอิบนิซะอูด ที่จริงแล้ว เป็น หมู่ชนที่มีความอ่อนโยน และเป็นกองกำลังที่ได้ถูกทำให้เข้าใจผิด ผู้ซึ่งหวัง เพียงอยากจะนำพาอิสลาม กลับไปสู่สถานภาพอันบริสุทธิ์ เท่านั้น [22]

จวบจนถึงในปัจจุบัน พวกเขาก็ยังคงโพนทะนาในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กลุ่มก่อการร้าย ภายใต้นาม นักต่อสู้ “จิฮาดิส” เพื่ออิสลาม ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางอาวุธ และเงินจากอังกฤษและชาติตะวันตก เช่น ในเหตุการณ์ความรุนแรง อัฟกานิสถานเมื่อช่วงปี 1980 หรือสงครามกลางเมืองซีเรียที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ต่างถูกขนานนามเรียกโดยสื่อตะวันตกว่า “กบฏสายกลาง”

ประการที่สาม เหล่านักประวัติศาสตร์อังกฤษ ก็ได้บิดเบือนความจริงนี้ พวกเขากล่าวว่า อิบนิซะอูด คือ กองกำลังอิสระ และมิใช่ เครื่องมือของอังกฤษในการจัดการกับท่อนซุงที่คอยขัดขวางความต้องการของจักรวรรดิ ตัวอย่างของกรณีดังกล่าว มีปรากฏอยู่ ในผลงานค้นคว้าล่าสุดของศาสตราจารย์ Eugene Rogan เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชนชาติอาหรับ ที่ซึ่งเขาได้อ้างว่า “อิบนิ ซะอูด ไม่ได้มีความสนใจจะสู้รบ” กับจักรวรรดิออตโตมัน ทว่ามันกลับเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง เพราะ อิบนิซะอูด ได้เข้าร่วมสงครามในปี 1915 เขายังได้อ้างอย่างไม่เป็นธรรม อีกว่า อิบนิ ซะอูด เพียงแต่สนใจที่เขยิบขยาย “วัตถุประสงค์ของเขาเอง” ซึ่งบังเอิญว่า มันสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของจักรวรรดิอังกฤษเพียงเท่านั้น [23]

เราอาจสรุปได้ว่า แง่มุมที่ถูกมองข้ามมากที่สุดเมื่อพิจารณาถึง ปฏิญญาบอลโฟร์คือ ความทุ่มเทของจักรวรรดิอังกฤษในการใช้ความบากบั่นที่ดีที่สุดของพวกเขา ในการอำนวยการสร้าง “ชาติถิ่นฐาน” ให้กับชาวยิวส์

แน่นอนว่า หลายๆชาติ และรัฐของโลกในวันนี้ ถูกสร้าง และขีดเส้นแบ่งแยกประเทศโดยจักรวรรดิอังกฤษ ทว่าสิ่งที่ทำให้พรมแดนของซาอุดิอาระเบียแตกต่าง คือ การที่ชายแดนทั้งทางตอนเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของมัน คือ ผลพวงจากการอำนวยการสร้างรัฐอิสราเอลของจักรวรรดิ อย่างน้อยที่สุด การล่มสลายลงของดินแดนภายใต้การปกครองของเชค แห่งฮาอิล และฮีญาซ จากการรุกรานของพลพรรควะฮาบีแห่งอิบนิ ซะอูด ก็วางอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ผู้นำของพวกเขา ไม่ยอมรับสนธิสัญญาที่จะนำไปสู่การสร้างชาติอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ของอังกฤษ

ดังนั้น มันจึงชัดเจนเป็นอย่างมาก เมื่อเราข้ามฉากมาดูสถานการณ์โลกในตะวันออกกลางที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน มีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างชาติตะวันออกกลาง และมีการแทรกแซงของชาติมหาอำนาจตะวันตก ไม่แตกต่างจากในอดีต เหล่านี้ล้วนมาจาก สัมพันธไมตรีระหว่างราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย กับระบอบการปกครองที่สถาปนามันขึ้นมา และที่มันขัดแย้งยิ่งไปกว่านั้น คือความจริงที่ว่า สองนครอันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม ณ ปัจจุบันนี้ กลับอยู่ภายใต้การปกครองของเผ่าพันธ์แห่งซะอูด และหลักคำสอนสุดโต่งของพลพรรควะฮาบี แม้พวกเขาจะเป็นกลุ่มผู้ที่ขายชาติอาหรับ และประชาชน ให้แก่อำนาจนอก จักรวรรดิซึ่งได้วางรากฐานระบอบไซออนิสต์ในปาเลสไตน์ เมื่อช่วงปี 1920s ในยุคร่วมสมัยเดียวกัน มันจึงมิใช่เรื่องแปลก ที่เราจะเห็น ซาอุฯ และอิสราเอล พร้อมพันธมิตร สหรัฐฯ และชาติในเครือ กระหายจะให้การสนับสนุนไปยังฝั่งของ “กบฎสายกลาง” หรือพวก “จิฮาดิส” ในสงครามกลางเมืองซีเรียปัจจุบัน ประเทศที่ซึ่งต่อต้านและไม่ยอมรับการมีอยู่ของระบอบไซออนิสต์ในปาเลสไตน์อย่างแข็งขัน ทั้งที่เปิดเผย และที่ไม่เปิดเผย

____________

เชิงอรรถ

[1] Gary Troeller, “The Birth of Saudi Arabia” (London: Frank Cass, 1976) pg.91.

[2] Askar H. al-Enazy, “ The Creation of Saudi Arabia: Ibn Saud and British Imperial Policy, 1914-1927” (London: Routledge, 2010), pg. 105-106.

[3] ibid., pg. 109.

[4] ibid., pg.111.

[5] ibid.

[6] ibid.

[7] ibid., pg 107.

[8] ibid., pg. 45-46 and pg.101-102.

[9] ibid., pg.104.

[10] ibid.

[11] ibid., pg. 113.

[12] ibid., pg.110 and Troeller, op. cit., pg.166.

[13] al-Enazy op cit., pg.112-125.

[14] al-Enazy, op. cit., pg.120.

[15] ibid., pg.129.

[16] ibid., pg. 106 and Troeller op. cit., 152.

[17] al-Enazy, op. cit., pg. 136 and Troeller op. cit., pg.219.

[18] David Howarth, “The Desert King: The Life of Ibn Saud” (London: Quartet Books, 1980), pg. 133 and Randall Baker, “King Husain and the Kingdom of Hejaz” (Cambridge: The Oleander Press, 1979), pg.201-202.

[19] Quoted in al-Enazy op. cit., pg. 144.

[20] ibid., pg. 138 and Troeller op. cit., pg. 216.

[21]In the original full length BBC iPlayer version this segment begins towards the end at 2 hrs 12 minutes 24 seconds.

[22] al-Enazy op. cit., pg. 153.

[23] Eugene Rogan, “The Arabs: A History”, (London: Penguin Books, 2009), pg.220.

___

เขียนโดยนักวิจัยอิสระ ชาวอังกฤษ-เยเมน Nu’man Abd al-Wahid ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศ อังกฤษ ละโลกอาหรับ

ที่มา: http://mondoweiss.net/2016/01/zionism-kingdom-arabia/#sthash.t3o3jodo.dpuf