ส่อง “มาตรการรับมือ” ผู้ก่อการร้ายไอซิสที่กลับมาจาก “อิรัก-ซีเรีย” ของประเทศต่างๆ!!

344

การล่มสลายของกลุ่มก่อการร้ายไอซิสหลังจากที่ถูกโจมตีฐานที่มั่นสุดท้ายครั้งล่าสุดในซีเรีย กำลังท้าทายหลายๆประเทศเกี่ยวกับมาตรการที่พวกเขาจะดำเนินการรับมือกับนักรบอิสลามหัวรุนแรงเหล่านี้ที่เดินทางกลับประเทศ  

กองกำลังประชาธิปไตยแห่งซีเรีย (SDF) ในฐานะกองกำลังหลักในการสู้รบกับไอซิส ซึ่งจนถึงวันนี้สามารถจับกุมตัวสมาชิกของไอซิสจำนวนหลายร้อยคน 

นอกเหนือจากกลุ่มก่อการร้าย ยังมีสมาชิกของครอบครัวไอซิสจำนวนมากกำลังอาศัยอยู่ในดินแดนภายใต้การควบคุมของกองกำลังประชาธิปไตยของซีเรีย นั่นคือผู้หญิงและเด็กๆ ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้

ไอซิส ที่เข้ามายังซีเรียเหล่านี้  ส่วนใหญ่มาจาก ตูนิเซีย โมร็อกโก ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี และรัสเซีย รวมถึงฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และเบลเยียม

ฝรั่งเศส: ดำเนินการตามแผนรับกลุ่มไอซิสกลับประเทศ 

กองกำลังประชาธิปไตยของซีเรียได้จับกุมผู้หญิงและผู้ชายชาวฝรั่งเศสประมาณ 50 คนและเด็กอีก 80 คนในซีเรีย และคาดว่าประมาณ 250 คนผู้หญิงและเด็กยังคงอยู่ในพื้นที่ควบคุมของไอซิสในประเทศซีเรีย

นอกจากนี้ยังมีการประมาณว่านับรบไอซิสชาวฝรั่งเศสมากกว่า 300 คนถูกสังหารในระหว่างการต่อสู้เพื่อไอซิส

เจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสกล่าวว่าพวกเขากำลังพยายามป้องกันการแพร่กระจายของพวกเขาในประเทศหลังจากการกลับมาของนับรบไอซิส  นอกจากนั้นยังได้พูดคุยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการยอมรับชาวฝรั่งเศส 130 คนซึ่งปัจจุบันถูกควบคุมตัวโดยกองกำลังประชาธิปไตยแห่งซีเรีย แต่ยังไม่ได้เผยแพร่รายละเอียดในเรื่องนี้ 

เบลเยียม: จะดูแลบรรดานักรบไอซิสเมื่อกลับประเทศ 

ในบรรดาชาวเบลเยียมกว่า 400 คนที่ต่อสู้กับไอซิสมาตั้งแต่ปี  2012  มีนักรบประมาณ 150 คนที่ยังคงประจำการอยู่ในอิรักและซีเรียและมีส่วนร่วมในการต่อสู้ ตัวเลขนี้รวมถึงเด็กและวัยรุ่นที่เกิดจากพ่อชาวเบลเยียมประมาณ 160 คน

รัฐบาลเบลเยี่ยมกล่าวว่า การกลับมาของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี จะช่วยได้ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ว่าพ่อแม่ของพวกเขาเป็นชาวเบลเยียมเท่านั้น และสถานการณ์ของนักรบไอซิสอื่น ๆ หรือสมาชิกในครอบครัวจะได้รับการดูแลด้วย

เยอรมนี: สนับสนุนสิทธิ์ในการกลับประเทศ 

นักรบไอซิสจากประเทศเยอรมนีที่ได้มายังอิรักหรือซีเรียมีจำนวนมากกว่า 1,050 คน และประมาณหนึ่งในสามของพวกเขาได้กลับประเทศแล้ว  ตามที่รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมันกล่าวว่า “พลเมืองชาวเยอรมันทุกคนรวมถึงผู้ที่สงสัยว่าจะต่อสู้เพื่อไอซิสนั้นมีสิทธิ์ที่จะกลับไปยังประเทศเยอรมนี”

อังกฤษ : เป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่ 

จนถึงเดือนมิถุนายน 2018 มีนักรบไอซิสชาวอังกฤษราว 400 คน จาก 900 คนที่เดินทางไปอิรักและซีเรียได้เดินทางกลับประเทศ มีผู้หญิงและเด็กจำนวนมาก

ในจำนวนดังกล่าว มี 40 คนถูกเพ่งเล็งอย่างใกล้ชิด  นอกจากนั้นทางรัฐบาลอังกฤษยังได้ดำเนินโครงการที่มุ่งลดมุมมองและทัศนคติของพวกหัวรุนแรงที่เดินทางกลับประเทศอีกด้วย 

ในเดือนมกราคม 2019 ลอนดอนประมาณการว่ามีนักรบไอซิสชาวอังกฤษ 200 คนที่ยังคงอยู่ในอิรักและซีเรีย   เมื่อเร็ว ๆ นี้หนึ่งในเจ้าหน้าที่ต่อต้านการก่อการร้ายระดับสูงในประเทศกล่าวถึงนักรบไอซิสเหล่านี้ว่าเป็น “ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อความมั่นคงของชาติ”

รัสเซีย: ไม่มีแผนที่จะรองรับกลับประเทศ 

ตามหน่วยรักษาความปลอดภัยของรัสเซียเปิดเผย ในต้นปี 2018   มีพลเมืองรัสเซียประมาณ 4,500 คนออกจากประเทศเพื่อต่อสู้เคียงข้าง”ผู้ก่อการร้าย” และบางคนก็พาครอบครัวไปด้วย 

มอสโกไม่เคยพูดถึงแผนการใดๆ ที่จะรองรับพวกนักรบไอซิสเหล่านี้กลับประเทศ  แต่ตั้งแต่ปีที่แล้วผู้หญิงและเด็กเกือบ 100 คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากคอเคซัสได้รับการสนับสนุนจากโครงการที่สนับสนุนโดยประธานาธิบดีเชเชน Ramadan Kadyrov ได้เดินทางกลับประเทศ 

อย่างไรก็ตามในเดือนพฤศจิกายนปี 2018 Gharat Sarova นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนของเชชเนียกล่าวหาหน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลกลางรัสเซียที่พยายามหยุดโครงการพาสมาชิกไอซิสที่เหลืออยู่ซึ่งเป็นหญิงม่ายและเด็ก ๆกลับประเทศ 

จากข้อมูลของ Ms. Saratova ผู้หญิงและเด็กกว่า 2,000 คนยังคงอยู่ในอิรักและซีเรีย

โคโซโว และแอลเบเนีย : ต้องโทษจำคุก 

ในจำนวนนักรบ 300 คนจากโคโซโวที่ได้เดินทางไปยังอิรักและซีเรียมี 145 คนที่ยังคงอาศัยอยู่ที่นั่น และครึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิงและเด็ก

ตามกฎหมายใหม่ของโคโซโว บรรดานักรบไอซิสจะต้องถูกจำคุกห้าถึง 15 ปีหลังจากเดินทางกลับประเทศ มีการเลือกนักการศาสนาประมาณ 20 คนเพื่อดำเนินการโครงการอบรมเพื่อปรับทัศนคติและมุมมองสุดโต่งของนักรบไอซิสในเรือนจำ

ในประเทศเพื่อนบ้าน คือแอลเบเนีย  ระหว่างปี 2010 ถึงปี 2014 มีชาวแอลเบเนีย 145 คนรวมถึงผู้หญิงและเด็กจำนวนหนึ่งเดินทางไปยังพื้นที่ไอซิสเพื่อทำสงคราม ซึ่ง 23 คนได้รับการยืนยันว่าถูกฆ่าตาย และ 45 ได้กลับประเทศ 

รัฐบาลแอลเบเนียได้ดำเนินการตามแผนเพื่อปรับทัศนคติและมุมมองของพวกหัวรุนแรงรวมถึงความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเพื่อให้พวกเขาเดินทางกลับประเทศ และบรรดานักรบรับจ้างเหล่านี้ก็ต้องโทษจำคุก 18 ปี

โมร็อกโก: ต้องโทษจำคุก

ในปี 2015  จำนวนชาวโมร็อกโกที่ต่อสู้ร่วมกับกลุ่มไอซิสในอิรักและซีเรียมีจำนวนมากกว่า 1,600 คน ชาวโมร็อกโกที่เดินทางกลับประเทศของพวกเขาถูกจับกุมตัวและคุมขังหลังจากการพิจารณาคดี โทษจำคุกของพวกเขาอยู่ระหว่าง 10 ถึง 15 ปี  และในปี 2018 มีผู้ถูกดำเนินคดีแล้วมากกว่า 200 คน

ตูนิเซีย: ยอมรับผ่านระบบตุลาการ

ตามการประมาณการ ระหว่าง 3,000 ถึง 5,000 คนชาวตูนิเซียอยู่ในหมู่สมาชิกไอซิสในซีเรีย อิรักและลิเบีย  รัฐบาลตูนิเซียไม่เต็มใจที่จะให้พวกเขากลับประเทศ ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ดบาจิ กออิด  แห่งตูนิเซียประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่าแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะพูดถึงการยอมรับในตัวประชาชนทุกคน แต่พวกเขาจะต้องผ่านเส้นทางของกระบวนการยุติธรรมอีกครั้งในการยอมรับเป็นพลเรือนของตูนิเซีย และพวกเขาต้องยอมถูกจำโทษในเรือนจำ 

อินโดนีเซีย: ไอซิสอยู่ในการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 

ชาวอินโดนีเซียประมาณ 590 คนที่เข้าร่วมไอซิสยังคงอยู่ในซีเรีย ส่วยยอดจำนวนที่อยู่ในอิรักยังไม่ชัดเจน ชาวอินโดนีเซียที่กลับประเทศจะต้องเข้าร่วมในโครงการปรับทัศนคติและมุมมองผู้นิยมลัทธิหัวรุนแรงก่อน จากนั้นพวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ แต่พวกเขาจะถูกเฝ้าระวังอยู่เสมอ

อ้างอิง ยูโรนิวส์