รายงาน: เปิดประวัติ NATO – ยุทธศาสตร์ที่เปลี่ยนไป ภายหลังสงครามเย็น!

4142

อเมริกา หลังสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต   ได้มุ่งหาเป้าหมายของตนไปทั่วโลกด้วยการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO)

หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) และการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การนาโต้ (NATO) ภายหลังสงครามเย็น  Manlio DINUCCI ผู้เขียนบทความนี้ได้อภิปรายว่า:

นาโต้ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 1949   ในช่วงสงครามเย็นด้วยการเข้าร่วมของ 16 ประเทศ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นนายใหญ่ของนาโต้ และใช้องค์การนี้ในการปกป้องการครอบงำเหนือพันธมิตรยุโรปของตน และใช้ประโยชน์จากยุโรปในฐานะแนวหน้าในการเผชิญหน้ากับชาติสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact)  สนธิสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1955  หกปีหลังจากที่นาโต้ได้ก่อตั้งขึ้นมา โดยมีการเข้าร่วมของหกประเทศและมีสหภาพโซเวียตเป็นนายหัว

นาโต้ในช่วงสงครามเย็นและภายหลังจากนั้น

ในปี 1989 กำแพงเบอร์ลินได้พังลง เยอรมนีทั้งสองได้รวมเป็นหนึ่งเดียวในปี  1990  และในปี 1991  สนธิสัญญาวอร์ซอถูกยุบ ประเทศในยุโรปตะวันออกที่เป็นภาคีสนธิสัญญา ไม่ถือว่าเป็นพันธมิตรที่ดีสำหรับสหภาพโซเวียตและสิ่งที่น่าสนใจในขณะที่เยอรมันเป็นหนึ่งเดียวคือ สหภาพโซเวียตถูกแบ่งออกเป็น 15 รัฐเอกราช

การหายตัวไปของสหภาพโซเวียต และกลุ่มตะวันออก สร้างสถานการณ์ทางการเมืองที่สำคัญขึ้นในภูมิภาคยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง ในเวลาเดียวกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต วิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองที่รุนแรงได้ครอบงำรัสเซีย ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดของการปกครองของมหาอำนาจตะวันออกซึ่งเป็นคู่แข่งหลักของมหาอำนาจในนามของอเมริกา

สงครามอ่าวเปอร์เซียหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามครั้งแรกที่กรุงวอชิงตันเผชิญหน้าโดยปราศจากข้ออ้างใเรื่องภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นข้ออ้างในการเข้าแทรกแซงทางทหารในโลกที่สาม ในช่วงสงครามเย็นการแทรกแซงทางทหารของสหรัฐอเมริกาในประเทศต่างๆ เช่น ในนิการากัว และเวียดนาม ถูกเปิดตัวด้วยเหตุผลเดียวกัน โดยการใช้ประโยชน์จากสงครามอ่าว สหรัฐฯได้ขยายการทหารและอิทธิพลทางการเมืองในภูมิภาคอ่าวซึ่งถือเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ที่เก็บกักปริมาณสำรองของน้ำมันโลก

ในเวลาเดียวกัน วอชิงตันได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯและตั้งแต่ปี พ. ศ. 2534 ก็ได้มีการใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ “แม้จะมีการเกิดศูนย์อำนาจใหม่ ๆ แต่สหรัฐฯ – ในด้านการเมือง การทหารและเศรษฐกิจทั้งหมด – เป็นมหาอำนาจแห่งโลกเพียงหนึ่งเดียว” เอกสารกล่าวว่า ในยุค 90 เช่นเดียวกับในศตวรรษที่ยี่สิบ แทบจะไม่มีมหาอำนาจใดที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำโลก เหมือนอย่างอเมริกา”

หกเดือนหลังจากที่มีการลงนามในสัญญาฉบับใหม่โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ กระทรวงกลาโหมได้นำเสนอ “แผนการวางแผนป้องกันสำหรับปีงบประมาณ 2537-2542

The New York Times ได้ตีพิมพ์สำเนาแผนดังกล่าวในเดือนมีนาคม 2535 โดยในแผนดังกล่าวระบุว่า  “วอชิงตันมีเป้าหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดคู่แข่งในการช่วงชิงความเป็นผู้นำของอเมริกาในโลก  ซึ่งมันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันการฟื้นตัวของอดีตคู่แข่งในดินแดนที่เป็นของอดีตสหภาพโซเวียต และการเกิดขึ้นของอำนาจที่เกิดขึ้นใหม่ในหมู่พันธมิตรของประเทศสหรัฐอเมริกา  เราต้องต่อต้านและสกัดการเกิดขึ้นของทุกอำนาจที่ต่อต้านเราในภูมิภาคที่มีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับการเป็นมหาอำนาจของโลก  นั้นคือภูมิภาคของยุโรปตะวันตก เอเชียตะวันออกและดินแดนของสหภาพโซเวียตและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ “

ในเรื่องนี้ การรักษาองค์การสนธิสัญญานาโต้ เป็นเครื่องมือหลักในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงในตะวันตก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะทำให้อเมริกามีอิทธิพล และทำให้ยุโรปมองเห็นว่าการแทรกแซงประเด็นปัญหาด้านความปลอดภัยในยุโรปโดยสหรัฐฯเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็น   ในขณะที่สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะรักษาอธิปไตยของดินแดนในยุโรป แต่ก็จำเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยแบบยุโรปขึ้นมา เพื่อสกัดกั้นภัยคุกคามและอุปสรรคปัญหาในการทำงานของนาโต้ และโดยเฉพาะโครงสร้างคำสั่งของผู้บัญชาการองค์สนธิสัญญานาโต้

ยุทธศาสตร์ใหม่ของนาโต้

สหรัฐอเมริกาชี้นำนาโต้ให้เดินไปตามยุทธศาสตร์ของตน และในเวลาเดียวกันก็ผลักดันองค์กรดังกล่าวให้ดำเนินการในรูปแบบที่แตกต่างออกไป การกำหนดกลยุทธ์ใหม่สำหรับนาโต้ รวมทั้งบทบาทของพันธมิตรแอตแลนติกคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับอเมริกา

การสิ้นสุดของสงครามเย็น การยกเลิกสนธิสัญญาวอร์ซอ และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ข้ออ้างเช่น “โซเวียตเป็นภัยคุกคาม” ได้หายไป  ภัยคุกคามของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลานั้นเป็นหลักประกันในการรักษาการประสานงานระหว่างสมาชิกนาโต้ ภายใต้การเป็นผู้นำอย่างผูกขาดของสหรัฐฯ แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต อันตรายที่พันธมิตรยุโรปในสถานการณ์ยุทธศาสตร์ใหม่ในภูมิภาคยุโรปกังวลจึงหมดไปด้วย สมาชิกอาจถือว่าการมีอยู่ของนาโต้ไร้ประโยชน์ และมีตัวเลือกอื่นที่ไม่ใช่นาโต้ได้ปรากฏขึ้น

ผู้นำของ 16 ประเทศสมาชิกของนาโต้เข้าร่วมการประชุมในกรุงโรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 1991  หลังจากสงครามอ่าวครั้งแรก และการปรากฏตัวอย่างไม่เป็นทางการของนาโต้ในที่ประชุมก็ได้วาดยุทธศาสตร์สนธิสัญญาแอตแลนติกฉบับใหม่ขึ้นมา  ซึ่งในยุทธ์ศาสตร์ใหม่ชี้ว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ในยุทธศาสตร์ใหม่นี้จึงกล่าวถึง ความตึงเครียดที่ถือว่าเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพของยุโรป ตลอดจนวิกฤตการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะถูกแทรกซึมเข้าสู่ประเทศนาโต้

หลังจากเกิดวิกฤติในคาบสมุทรบอลข่าน  ยุทธ์ศาสตร์ใหม่สำหรับการแทรกแซงของนาโต้ในภูมิภาคนี้มีความเป็นไปได้มากขึ้น  กลุ่มยูโกสลาเวียปกครองนิยม ได้กระตุ้นให้เกิดกระแสการแบ่งแยกดินแดนขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนปี 1990 สภาคองเกรสของสหรัฐฯได้อนุมัติการจัดหาเงินทุนโดยตรงจากพรรคเดโมเครตทั้งหมดในยูโกสลาเวีย

การกระทำนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเหล่านี้กลายเป็นคนแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันรัฐสภาโครเอเชียได้ประกาศอิสรภาพ หกเดือนต่อมา ในเดือนมิถุนายน ปี 1991   ถึงเวลาที่จะประกาศเอกราชของสโลเวเนีย กองทัพยูโกสลาเวียพร้อมกับกองกำลังเข้าไปแทรกแซงในสองภูมิภาคนี้ทันที  รัฐบาลโครเอเชียขับไล่ชาวเซอร์เบีย 25,000 คน และเข้ายึดกองกำลังติดอาวุธในเมือง Vukovar กองทัพสหรัฐเข้าสู่ปฏิบัติการ ด้วยการโจมตีเมือง Vukovar และเข้าควบคุมเมือง สงครามกลางเมืองที่อาจจะยุติลงได้กลับขยายตัวในวงกว้าง

เยอรมนีซึ่งสามารถป้องกันความตึงเครียดจากอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจในคาบสมุทรบอลข่าน ในเดือนธันวาคม   ปี 1991 ได้รับรองสถานะโครเอเชียและสโลเวเนีย ทั้งสองประเทศเกิดใหม่ได้รับการยอมรับจากสหภาพยุโรปในเดือนมกราคม 1992

กลุ่มชาติพันธุ์ – ศาสนาในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้เกิดการปะทะกัน  กลุ่มหมวกนิรภัยสีน้ำเงินของสหประชาชาติถูกนำไปใช้ในภูมิภาค โดยมีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ และต่อมาพวกเขาถูกขังอยู่ในระหว่างการสู้รบ สถานการณ์ดังกล่าวได้รับการออกแบบมาในลักษณะที่เจตนาให้กลุ่มหมวกนิรภัยสีน้ำเงินของสหประชาชาติล้มเหลว และเปิดโอกาสให้กองทัพนาโต้เข้าสู่บอสเนีย

เครื่องบินของนาโต้ได้โจมตีเครื่องบินเซอร์เบียของบอสเนียในเดือนกุมภาพันธ์  1994  เนื่องจากเข้าสู่เขตห้ามบิน เป็นผลให้นาโต้เข้าสู่สงครามเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สถาปนาองค์กรขึ้นมา

ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ของนาโต้ รัฐสมาชิกสามารถดำเนินการทางทหารภายใต้ขอบเขตของรัฐสมาชิกตามข้อ 5 ของกฎบัตรขององค์การนาโต้ ซึ่งยุทธศาสตร์ใหม่นี้ถือเป็นการอนุญาตให้ปฏิบัติการทางทหารของนาโต้นอกสนธิสัญญาการป้องกันแอตแลนติกเหนือ

ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้ประกาศความเป็นไปได้สำหรับปฏิบัติการทางทหารของนาโต้ นอกเขตแดนของรัฐสมาชิก และเพื่อลดความอ่อนไหวของรัสเซีย  เขากล่าวว่าประเทศนี้จะไม่ติดอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศใหม่ที่เพิ่งเข้าเข้าสู่สมาชิกนาโต้ เขาชี้โดยนัยว่าตั้งแต่นั้นมา องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือสามารถมีส่วนร่วมในปฏิบัติการทางทหารในส่วนอื่น ๆ ของโลก นอกเหนือจากพรมแดนของนาโต้และพรมแดนยุโรป ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์นี้ สหรัฐฯก็ยังคงรักษากองกำลังในทวีปยุโรปไว้ได้ถึง 100,000 นาย   ที่น่าสนใจคือ ผู้บัญชาการของนาโต้จะถูกกำหนดและแต่งตั้งโดยสหรัฐอเมริกาและผู้บัญชาการนี้ต้องเป็นยศนายพลหรือพลเรือเอกอเมริกัน

นาโต้เริ่มขยายตัวในรัสเซียในปี  1999   หลังจากที่รับรองโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็กและฮังการีซึ่งเป็นอดีตสมาชิกของสนธิสัญญาวอร์ซอทั้งหมดเข้าสู่องค์การนาโต้  การแผ่ขยายครั้งนี้ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปี 2004  โดยรับสมาชิกเพิ่มอีก7 ประเทศ (เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย เชโกสโลวะเกีย และสโลเวเนีย)

ที่ประชุมสุดยอดนาโต้ ในบูคาเรสต์เมื่อเดือน เมษายน 2008  แอลเบเนียและโครเอเชียก็ได้เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (PNC) สมาชิกใหม่ทั้งหมดหลังจากเข้าร่วมกับนาโต้แล้ว ก็เริ่มออกห่างและแยกตัวจากเยอรมนีและฝรั่งเศสซึ่งเป็นสองประเทศมหาอำนาจในยุโรปและถูกครอบงำโดยสหรัฐอเมริกา

สหรัฐฯยังคงดำเนินแผนตามนโยบาย ด้วยการผลักดันนาโต้ให้ส่งทหารเข้าสู่สนามในอัฟกานิสถานและอิรัก กองกำลังนาโต้ได้เข้าไปในอัฟกานิสถานในเดือนตุลาคม 2008  ภายใต้ข้ออ้างของการดำเนินปราบปรามโจรสลัดในมหาสมุทรอินเดียนอกชายฝั่งโซมาเลีย

เห็นได้ชัดว่า ในยุทธ์ศาสตร์ใหม่ของสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือคือ การล้มรัฐบาลที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯซึ่งให้มันเป็นวาระสำคัญของนาโต้  

หลังจากสงครามสื่อกับรัฐบาลลิเบีย และด้วยเหตุผลของการช่วยเหลือพลเรือนชาวลิเบียจากการปกครองแบบเผด็จการของ Gaddafi   นาโต้ได้เข้าสู่ลิเบียตามความต้องการของสหรัฐฯเพื่อโค่นรัฐบาลลิเบีย หลังจากสงครามต่อลิเบีย ที่นำโดยสหรัฐฯในปี 2011  รัฐบาลลิเบียก็ถูกโค่นล้ม และ กัดดาฟีก็ถูกสังหาร

แต่เหตุผลของการเปิดตัวสงครามในลิเบียเพราะมีน้ำมันสำรองที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา คุณภาพน้ำมันที่อยู่ในระดับดีที่สุดของประเทศ  และต้นทุนที่ต่ำมากในการสกัดทองดำในลิเบีย และเหตุผลสุดท้ายคือ มีก๊าซธรรมชาติสำรองจำนวนมาก

ยุทธศาสตร์ใหม่ของนาโต้สอดคล้องกับความต้องการของอเมริกา เป็นการเปิดทางให้กองกำลังขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือเข้าสู่ซีเรียและจากนั้นไปยังยูเครนทั้งทางตรงและทางอ้อม

Source: parstoday.com