Opinion: อดีตทูตอิหร่านในไทยชี้ – ฟิลิปปินส์คือ “ประตูของไอซิส” สู่เอเชียตะวันออก

850

อิทธิพลของลัทธิวะฮาบีและการปรากฏตัวของกลุ่มตักฟีรีย์ในภาคใต้ของฟิลิปปินส์มีประวัติศาสตร์มาก่อนหน้านี้แล้ว  กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮฺและสาขาในเครือ เช่น กลุ่มอบูซายาฟ ( Abu Sayaf) มีบทบาทและเคลื่อนไหวมานานหลายปี ในฐานะกลุ่มผู้ก่อการร้าย และกลุ่มหัวรุนแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย กลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากซาอุดิอาระเบีย กาตาร์และประเทศอาหรับอื่น ๆ และมีความพยายามเป็นพิเศษ ที่จะชักนำบรรดาเยาวชนให้เข้าร่วมขบวนการ

หลังจากที่ประธานาธิบดีดูเตอร์เตร์  ( Rodrigo Dutrethe ) เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ จุดยืนที่ต่อต้านอเมริกาของเขา และองค์ประกอบที่สำคัญอื่นๆ ได้ส่งผลทำให้การปรากฏตัวทางกายภาพของไอซิสบนเกาะมินดาเนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองมุสลิม มาราวี เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และกิจกรรมการก่อการร้ายของกลุ่มดังกล่าวที่ เช่นเดียวกันได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบ่อนทำลายเสถียรภาพไปยังรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่ต่อต้านอเมริกา

ไอซิสในช่วงแรก แทนที่จะส่งกองกำลังพื้นเมือง กลับส่งกองกำลังทหารที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเป็นทางการมาปฏิบัติการก่อการร้ายในฟิลิปปินส์ ทั้งยังมีการคาดการณ์ถึงความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในเอเชียตะวันตก โดยได้มีการหารือ ร่วมกับซีไอเอในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้การปรากฏตัวของไอซิสบนเกาะมินดาเนาในลำดับต้นๆของสถานการณ์ความรุนแรงที่ปะทุขึ้นในฟิลิปปินส์ครั้งนี้เป็นไปตามแผนการณ์ที่คาดไว้

การยึดเมืองมาราวีและการจัดตั้งรัฐอิสลามไอซิสในเมืองนี้หลัง จากการปะทะและการนองเลือด ได้สร้างความหวังให้กับไอซิสในการปรากฏตัวในพื้นที่มากขึ้น แต่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกในจังหวัดมินดาเนาและส่งกองกำลังกองฟิลิปปินส์ไปยังมาราวี เวลาผ่านไปห้าเดือน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคมปีนี้ เมืองมาราก็ได้รับการปลดปล่อย ในการปราบปรามซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น 144 วัน  ซึ่งตามสถิติจากสื่อมวลชนฟิลิปปินส์รายงานอย่างเป็นทางการว่า สถานการณ์ความขัดแย้งส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 1057 คนรวมทั้งสมาชิกของไอซิสอีก อีกจำนวน 847 ราย

การจับกุมภรรยาแกนนำไอซิสชาวอินโดนีเซียที่เป็นผู้วางแผนและนำการโจมตีเมืองมาราวี ถือเป็นการยืนยันว้า มีกองกำลังของอินโดนีเซียและมาเลเชียเข้าร่วมกับขบวนการไอซิส ในการสู้รบกับทหารในฟิลิปปินส์ และสิ่งนี้ทำให้ไอซิสเพ่งมองว่า สามารถส่งผู้ก่อการร้ายออกจากฟิลิปปินส์ไปยังพื้นที่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

แม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของไอซิสในฟิลิปปินส์ แต่รากเหง้าของความคิดวะฮาบีตักฟีรี และการปรากฏตัวของกองกำลังไอซิสอย่างลับๆ ถือเป็นสัญญาณเตือนที่อันตรายอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในฟิลิปปินส์เท่านั้น แต่สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนมาก  สืิ่งนี้สามารถเห็นได้จากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายอีกครั้งของไอซิส เมื่อมีการเปิดตัวอามีน บากู  ( Amin Baku )ในฐานะหัวหน้าไอซิสคนใหม่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมันเป็นการบ่งชี้และยืนยันถึงวิธีการของไอซิสในการปรากฏตัวในฟิลิปปินส์

ตอนนี้หลังจากชัยชนะของกองกำลังปกป้องมาตุภูมิ(มุกอวิมัต) ในอิรักและซีเรีย ประกอบกับความพ่ายแพ้ของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ไอซิสตักฟีรีย์ ในภูมิภาค หลักฐานเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่า การปรากฏตัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ฟิลิปปินส์เป็นประตูทางผ่าน เป็นแผนการที่ถูกวางอยู่ในวาระข้อกำหนดของผู้นำไอซิส และเหล่าผู้สนับสนุนของพวกเขา -ชาติอาหรับ และมหาอำนาจตะวันตก

การประกาศการมีอยู่ของกลุ่มตักฟีรีย์  Bangsamoro ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสาขาของกองกำลังทหารของไอซิส  และเป็นความท้าทายใหม่ในความพยายามที่จะโจมตีเมืองมาราวีอีกครั้ง ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ไอซิสจะโจมตีพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่า Bangsamoro  ถือว่ากลุ่มของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของขบวนการปลดปล่อยโมโร (Moro Liberation Front) แต่ก็ไม่น่าเป็นไปได้ว่าแนวรบนี้ที่ยอมลงนามในข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลกลางเมื่อปี 2014 จะเป็นพันธมิตรกับไอซิส ในขณะที่ไอซิสพยายามหาที่จะดึงแนวร่วมและกองกำลังจากกลุ่มอาบูซายาฟและ Ansar Khalifa ในฟิลิปปินส์ด้วย

ดูเหมือนว่า อันตรายจากการแพร่กระจายของการก่อการร้ายบนพื้นฐานของการตีความ โองการจากคัมภีร์ของศาสนาอิสลามอย่างบิดเบือน ตามแนวคิดของวะฮาบีตักฟีร์ จะเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดสำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย   ไอซิสและกลุ่มหัวรุนแรงอื่น ๆ ใช้สนามสงครามในซีเรียและอิรักเป็นค่ายสรรหา และฝึกอบรมให้กับบรรดาเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแม้แต่กลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวมลายูและอินโดนีเซียที่เรียกว่า “กลุ่มมาลายูนุสันตารา” ในอิรัก ก็เป็นหนึ่งในมือระเบิดพลีชีพ

เมื่อถึงจุดนี้ การสร้างความมุ่งมั่นในระดับภูมิภาค และการใช้แนวทางร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายตักฟีรีย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นในหมู่ประเทศในเอเชียใต้และตะวันออก การเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ก่อการร้ายและพันธมิตรของไอซิส ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการใช้ประสบการณ์จากอิหร่านและกองกำลังปกป้องมาตุภูมิ(มุกอวิมัต) จึงจะสามารถป้องกันไม่ให้ไอซิสบรรลุเป้าหมายได้ และสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในภูมิภาคที่สำคัญของโลกนี้ให้คงอยู่ต่อไป

บทความโดย  Mohsen PakAyin   (ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ และอดีตเอกอัคราชทูตอิหร่านประจำกรุงเทพมหานคร)