Opinion: ความไม่มั่นคงในลิเบีย- ตราบาปของสหรัฐอเมริกา

998
ศพผู้อพยพ ในเรือยางบนชายหาดใกล้กับเมือง Zawiya ประเทศลิเบีย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 Libyan Red Crescent/Handout via REUTERS Reuters

เมื่อช่วงสมัยรัฐบาลโอบามาเปิดตัวการแทรกแซงทางทหารในลิเบียในปี 2011 ผ่านการสนับสนุนกลุ่มกบฏลิเบียเพื่อโค่นล้ม Muammar Gaddafi   บรรดาเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เชื่อว่าการกระทำครั้งนี้จะนำมาซึ่งอนาคตที่ชัดเจนสำหรับประเทศนี้

แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ว่า เจ้าหน้าที่และสื่อได้กล่าวว่า จะมีความท้าทายมากมายในยุคหลังกัดดาฟี  เมื่ออเมริกาเข้ามาแทรกแซง แต่พวกเขาอธิบายว่า ท้ายที่สุดแล้ว สถานการณ์ไม่น่าจะเลวร้ายยิ่งกว่าตอนนี้ ทว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหกปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ข้อสันนิษฐานของพวกเขาผิดอย่างสมบูรณ์  ลิเบียเป็นสถานที่แห่งความสับสนวุ่นวาย และกลายเป็นเขตของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง

เมื่อจุดจบของกัดดาฟีใกล้เข้ามา การมองโลกในแง่ดีเป็นที่แพร่หลายในวงการการเมืองและนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน โอบามาประกาศในเดือนสิงหาคม 2011 ว่า “คนลิเบียได้แสดงให้เห็นว่า การแสวงหาศักดิ์ศรีและเสรีภาพนั้นแข็งแกร่งกว่ากำปั้นเหล็กของเผด็จการ” แม้แต่วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันก็มีความสุขและมองโลกในแง่ดีเช่นนี้เหมือนกัน

ในคำพูดของเขาในเดือนตุลาคมปีนั้น โอบามาอ้างถึงการจับกุมและเสียชีวิตของกัดดาฟี ว่า “เงาดำของการปกครองแบบเผด็จการในลิเบียถูกโค่นล้มแล้ว “ เขาเรียกร้องให้พลเมืองประเทศลิเบีย “สร้างความสงบสุข และส่งเสริมประชาธิปไตยในลิเบีย”   

Evo Dolder  ทูตสหรัฐอเมริกาประจำ NATO และพลเรือตรี เจมส์ สตาริริดิส ก็มีความรู้สึกกระตือรือร้นอย่างมากเกี่ยวกับสิ่งนี้ และถือว่าสิ่งนี้เป็น “ชัยชนะในประวัติศาสตร์ของชาวลิเบีย” ซึ่งด้วยความช่วยเหลือของ NATO ทำให้ประเทศของตนกลายเป็นหุ้นส่วนที่เป็นไปได้ของตะวันตกในอนาคตอันใกล้นี้

ในขณะเดียวกัน มีเพียงไม่กี่เสียงที่คัดค้าน หนึ่งในนั้นคือ เกลน กรีนวาลด์ (Glenn Greenwald) นักข่าวเว็บไซต์ Salon ได้แสดงความกังวลต่อความไม่สมจริง และการที่หมู่ผู้กำหนดนโยบายมีความมั่นอกมั่นใจจนเกินไปในสถานการณ์ลิเบีย

ความกังวลของเกลน กรีนวาลด์ เกิดขึ้นจริงจนได้ ลิเบียได้กลายเป็นสถานที่แข่งขันสำหรับกลุ่มติดอาวุธ และรัฐบาล อย่างรวดเร็ว  กรีนวาลด์ ยกประเด็นนี้ขึ้นในปี 2012 หลังจากการเสียชีวิตของคริสโตเฟอร์ สตีเวนส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออื่น ๆ ใน Benghazi   โดยตั้งคำถามว่า “และจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใด ก่อนที่เราจะได้ยินว่า การแทรกแซงทางทหารในลิเบียเป็นสิ่งจำเป็น (อีกครั้ง) ในครั้งนี้เพื่อควบคุมพวกสุดโต่งที่ต่อต้านสหรัฐฯ ผู้ซึ่งขณะนี้ได้รับการติดอาวุธและเสริมสร้างอำนาจ โดยอาศัยอำนาจของการแทรกแซงครั้งแรก?”

ประมาณสามปีต่อมา สหรัฐอเมริกาได้เริ่มปฏิบัติการโจมตีลิเบียรอบใหม่ โดยอ้างว่า เป็นไปเพื่อป้องกันการจัดตั้งรัฐอิสลามไอซิส  ข้อบ่งชี้เบื้องต้นของการปรากฏตัวของกลุ่มก่อการร้ายนี้ คือการตัดคอชาวคริสเตียนคอร์ติค 21 คนที่อพยพไปหางานที่นั่น

การแทรกแซงครั้งใหม่ของสหรัฐฯ  ตามคำเชิญชวนของรัฐบาล ที่เรียกว่า รัฐบาลสมานฉันท์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ ความจริงก็คือ “รัฐบาลแห่งความสามัคคี(สมานฉันท์)” เป็นชื่อหนึ่งในหลาย ๆ นิกายที่พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะเข้ามาเป็นผู้นำของลิเบีย

ทว่า แม้กระทั่งความหลากหลายของความเป็นศัตรูนี้ ก็ไม่ได้บ่งบอกถึงความเข้มข้นของความสับสนวุ่นวายที่มีอยู่ เหตุการณ์เดือนตุลาคมปี 2017 แสดงให้เห็นว่า การแข่งขันทางการเมืองและการทหารมีความซับซ้อนเพียงใด การโจมตีทางอากาศในทางตะวันออกของเมือง Derneh  ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนอียิปต์ 265 กิโลเมตร ได้ฆ่าพลเรือนอย่างน้อยสิบห้าคน ในช่วงเวลาแห่งการโจมตี Derneh ถูกควบคุมโดยกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มติดอาวุธที่เรียกว่า สภาชูรออิสลามมุญาฮิดีนเดรนาห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มการเมือง-ศาสนาที่หลากหลายภายในประเทศ  เมืองนี้อยู่ภายใต้การยึดครองของกองทัพแห่งชาติลิเบียมานานหลายปี  กองทัพลิเบียและกองทัพอียิปต์ที่สนับสนุนกองทัพแห่งชาติลิเบียได้เคยทำการโจมตีทางอากาศในเมืองนี้

รัฐบาลอียิปต์และกองทัพลิเบียไม่ได้ออกมารับผิดชอบในการโจมตีทางอากาศครั้งนั้น แม้ว่ารัฐบาลอียิปต์ออกมาประณามการโจมตีที่ฆ่าผู้บริสุทธิ์ก็ตาม  กองทัพแห่งชาติลิเบียยังปฏิเสธข้อกล่าวหาและกล่าวว่าเป็น “การโจมตีของผู้ก่อการร้าย” ในพื้นที่ดังกล่าว  สภาชูรออิสลามมุญาฮิดีนเดรนาห์ ก็ได้ประณามการโจมตีทางอากาศและประกาศไว้ทุกข์สามวัน

สภาชูรออิสลามมุญาฮิดีนเดรนาห์ ได้เข้าควบคุมเมืองตั้งแต่ปี 2015  หลังจากที่สามารถขับไล่ไอซิสสำเร็จ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กลุ่มหัวรุนแรงที่ติดอาวุธได้ขับไล่กลุ่มหัวรุนแรงที่เป็นคู่ต่อสู้ออกไป นี่คือลักษณะของการเมืองและการทหารในลิเบียหลังยุคของกัดดาฟี

ความสับสนวุ่นวายและความคลั่งไคล้อิสลามได้ทวีความรุนแรงขึ้นในลิเบียและนำไปสู่การไหลทะลักของผู้อพยพข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งคล้ายคลึงกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในซีเรีย เหล่าผู้สนับสนุนสงครามที่นำโดยสหรัฐฯ ต้องบันทึกความล้มเหลวอันน่าเศร้าอื่น ๆ ไว้ในบันทึกของพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง

Source: akharinkhabar