สายตาแห่งความหวัง:แนวทางปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่(ตอนที่1)

288

ผู้ถูกกดขี่ คือ ผู้ที่ถูกทำให้ตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก ถูกกดดันถูกกลั่นแกล้ง

ถูกทำร้าย ถูกทำให้ทุกข์ทรมานในสภาวะที่ไม่สามารถทนรับมันได้ ผู้

ถูกกดขี่ เป็นผู้ที่ไร้อำนาจ ด้อยโอกาส ไม่มีสิทธิเสียง และไม่สามารถปกป้องตนเองได้

การกดขี่ในยุคโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาวิกฤตด้านมนุษยธรรม ซึ่งในปี 2017 มีผู้ถูกกดขี่มากมายในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ทั่วโลก มีวิธีการกดขี่ อันได้แก่การกดขี่ทางการเมืองการกดขี่ด้วยการแบ่งชนชั้น การกดขี่ด้วยบริบทของสังคม การกดขี่ ในระดับสถาบันครอบครัว การกดขี่ทางเศรษฐกิจ โดยผู้กดขี่จะเป็นผู้ที่มีอำนาจมากกว่า กระทำการบางอย่างเป็นการบีบบังคับหรือสร้างภาวะให้ผู้ที่ไร้อำนาจ ตกอยู่ในภาวะที่เรียกว่าการกดขี่ และในปีปัจจุบัน ตัวอย่างของผู้ถูกกดขี่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดก็คือ ชาวปาเลสไตน์ ชาวโรฮิงยา โดยเหตุผลของการกดขี่แบบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยังคงมีอยู่ในปัจจุสมัย เป็นเพราะ “กลไกความซับซ้อนทางการเมือง เป็นปัจจัยที่ทำให้ มโนทัศน์ของ ”การกดขี่ เป็นสิ่งคลุมเครือ ไม่ชัดเจน”

 ความซับซ้อนทางการเมือง ช่วยสร้างให้”การกดขี่”เป็นสิ่งคลุมเครือ และไม่ชัดเจน

เมื่อมีชาติหรือประเทศหนึ่งกระทำการกดขี่ต่อกลุ่มชนหรือชาติหนึ่ง ในอดีตเราจะสามารถเห็นการกระทำเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนและไม่มีความคลุมเครือ แต่ในสมัยปัจจุบันสถานการณ์ไม่ได้เป็นไปเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น

  • ในกรณีของประเทศเยเมนซาอุอ้างว่า เยเมน คือกบฏที่ต้องปราบปราม รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย จึงเริ่มต้นสงครามโดยมีจุดประสงค์เพื่อคืนอำนาจให้กับประธานาธิบดี มันศูร ฮาดี ในทางหนึ่งก็ให้ฝ่ายส่งของราชสำนักออกคำวินิจฉัยทางศาสนา เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกองทัพในการบุกโจมตีเยเมน
  • ในปาเลสไตน์ อิสราเอล ก็ใช้ข้ออ้างเรื่อง การทำรายกลุ่มก่อการร้ายในการยิงจรวดและขีปนาวุธใส่ ปาเลสไตน์

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะความซับซ้อนทางการเมือง ทำให้ประเด็นทางศีลธรรมที่ค่อนข้างชัดเจน เช่นการกดขี่ถูกมองว่ามันเป็นเรื่องที่มองได้หลายแบบ มองได้หลายด้านและสร้างความชอบธรรม ให้กับผู้กดขี่จนกลายเป็นว่า สมัยนี้ ถ้ากดขี่ใครอย่างมีเหตุผล ก็พอที่จะยอมรับกันได้

ขั้นตอนการสร้างความซับซ้อน เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์และความเข้าใจ โดยอาศัยบริบททางการเมืองโดยรัฐบาลต่างๆ เพื่อให้เข้าใจความหมายนี้ ขอยกตัวอย่างเช่น..

คําว่า”รัฐอิสลาม” เป็นคำที่ เมื่อพูดถึง ผู้คนจะนึกถึงสมัยการปกครองของท่านศาสดา และกาหลิบทั้งสี่ แต่เมื่อกลุ่มไอเอส ได้เข้ามาปฏิบัติการ และปรากฏตัว ก่อการร้ายทั่วโลก คำคำนี้ก็ถูกเรียกจนติดปากว่าเป็นอัตลักษณ์ ของกลุ่มที่มีความโหดเหี้ยมรุนแรง

ในกรณีของคำว่า”กดขี่” ถูกบดบัง เคลือบแคลง ทำให้ดูคลุมเครือ ด้วยข้ออ้างทางการเมือง เช่น

พวกโรฮิงญาแย่งงานของคนในประเทศ……

โรฮิงญาไม่ใช่ชาวพม่า……

ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะชาวโรฮิงญาเองนั่นแหละที่ทําให้เกิดเรื่อง……

แผ่นดินปาเลสไตน์จริงๆแล้วเป็นแผ่นดินของอิสราเอลมาตั้งแต่แรก……

ฮามาส และฮิสบุลลอฮ เป็นพวกผู้ก่อการร้าย ซึ่งกำลังแอบสร้างอาวุธมหาประลัย เราจึงต้องยุติ ภัยคุกคามอันนี้……

ชาวเยเมนเป็น ชีอะฮ์ ไม่ใช่อิสลาม……

ซาอุเป็นผู้นำผู้ดูแลมักกะฮ์ จึงมีความชอบธรรมในฐานะตัวแทนผู้นำอิสลาม……

ข้อความเหล่านี้ ได้เปลี่ยนมโนทัศน์ของคำว่ากดขี่ ให้กลายเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ ช่วยสร้างความชอบธรรมให้ผู้กระทำ ทำในสิ่งที่ตนต้องการได้

ดังนั้น จากการวิเคราะห์ปัญหา  ผ่านมุมมองนี้ มีข้อเสนอในเชิงการเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่
1. ทำความเข้าใจมโนทัศน์เรื่อง”การกดขี่” ให้ชัดเจน

นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ นักคิดนักเขียน จะต้องนำเสนอความเข้าใจที่ถูกต้อง ที่เกี่ยวข้องกับบริบทของคำว่า”การกดขี่” จะต้องชี้เห็นว่าในยุคสมัยปัจจุบันหรือยุคโลกาภิวัตน์อะไรคือการกดขี่ ใครคือผู้ที่กดขี่ และใครคือผู้ถูกกดขี่ เพราะการสร้างสยามอารยชน จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากคนในประเทศ เข้าใจการกดขี่อย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้นข้อเสนอแรกของการช่วยเหลือผู้กดขี่ คือ เราต้องมอบมโนทัศน์ที่ถูกต้องของ”การกดขี่”ให้แก่คนในสังคมเข้าใจอย่างถูกต้อง ตราบใดที่คนยังไม่เข้าใจบริบทของคำว่่า”กดขี่”ย่อมยากที่จะมองเห็นว่าใครกำลังกดขี่ใครอยู่

2.รัฐบาลไทย ช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่ และไม่ร่วมมือกับผู้กดขี่ มีจุดยืนคือ”คุณธรรม”

ปัจจัยที่ทำให้การเมืองไทยมั่นคง คือ “คุณธรรม” การแสดงออกทางจุดยืนศีลธรรม คุณธรรมของรัฐบาลไทย คือปัจจัยหลัก ที่จะทำให้เราเป็นสยามอารยะ ดังนั้นเมื่อได้ยินเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการกดขี่ รัฐบาลจำเป็นต้องแสดงออกว่าเราอยู่ตรงข้ามกับการกดขี่ แนะนำสู่ภาคปฏิบัติด้วยการใช้สิทธิ์และเสียงของตนในการเรียกร้องสิทธิของผู้ถูกกดขี่ คนไทยไม่มีใครอยากอยู่ร่วมหรือกอดคอกันกับคนที่ได้ชื่อว่าเขียนฆ่าสังหารผู้คนแบบล้างเผ่าพันธุ์นโยบายด้านการบอยคอต คว่ำบาตร จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อเปลี่ยนแปลงนิสัยของประเทศเพื่อนบ้าน นี่คือการเก่งในเรื่องที่ดี

การแสดงออกถึง”คุณธรรม ของรัฐบาล คือ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างเยาวชน และบุคคลในสังคมให้มีความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม หรือ MQ (Moral Quotient) โดยรัฐบาล จะเป็นต้นแบบในการแสดงความดี เพื่อเป็นตัวอย่างแก่สังคม การแสดงคุณธรรมเช่นนี้เปรียบเสมือน การหว่านเมล็ดพันธ์ที่ดีงามแก่สังคม เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมเมล็ดพันธ์เหล่านี้จะเติบโตเป็นต้นไม้แห่งคุณธรรมที่งดงาม มอบผลประโยชน์แก่สังคม

3.ข้อเสนอ สำหรับ “ทุกคน” ใช้พลังมวลชน ขจัดการ”กดขี่”

ชาวสยามอารยะ จำเป็นต้องใช้ทุกโอกาสในการขจัดการกดขี่ที่มีอยู่ในโลก เช่นการใช้การทูตสาธารณะ (public diplomacy) หรือการใช้ สังคมออนไลน์(social media) และช่องทางต่างๆเพื่อสร้างสังคมสีขาวให้เกิดขึ้น การใช้”พลังมวลชน มีอิทธิพล และมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากนำพลังมวลชน มาเปรียบ ก็คงเปรียบเหมือน คลื่น เสียงหนึ่งเสียง คนหนึ่งคนเปรียบเสมือนน้ำหยดหนึ่ง หากนำมารวมกันหลายคน ก็จะกลายเป็นคลื่นที่สามารถขจัดการกดขี่เหล่านี้ออกไปได้ เมื่อ”คลื่นธรรม” ปรากฏ การเอาชนะภัยคุกคามมนุษยธรรมของมนุษย์ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

การกดขี่คือการกระทำในรูปแบบหนึ่ง เป็นปัญหาวิกฤติด้านมนุษยธรรม
มันไม่เคยทำให้ใครหรือสังคมใดเจริญขึ้นเลย
การปิดหูปิดตาและนิ่งเงียบๆกับเรื่อง”การกดขี่”
เป็นสัญญาณเตือนแก่ตัวเราเองว่า
ศีลธรรมและคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจกำลังเหือดแห้ง และจะจางลง
จึงเป็นหน้าที่ของคนฉลาดทางศีลธรรม
ที่จะดับความมืดมนแห่งการกดขี่นี้
ขจัดภัยมืดนี้ให้หายไป
———————————–