โรฮิงญา: เบี้ยหมากในสงครามพร็อกซีแองโกล-จีน รบโดยจิฮาดิสต์ซาอุดิอาระเบีย

1317

สื่อมวลชนถูกชี้นำความสนใจไปยังความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อชนกลุ่มน้อยในเมียนมาร์ หรือ พม่า ในอดีต เรื่องราวที่ถูกกล่าวถึงในข่าวจากฝั่ง “ตะวันตก” อธิบายว่า ชาวมุสลิมโรฮิงญาถูกละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์อย่างไม่เป็นธรรม และถูกไล่ล่า สังหาร โดยกลุ่มชาวพุทธและกองทัพในรัฐยะไข่ใกล้ชายแดนบังกลาเทศ ขณะที่ “ผู้แทรกแซงสิทธิมนุษยชนเสรีนิยม” อย่าง Human Rights Watch ได้ร่วมกับกลุ่มอิสลามิสต์ เช่น ประธานาธิบดี Erdogan ของตุรกี คร่ำครวญต่อชะตากรรมของชาวโรฮิงญา และเรียกร้องสิทธิมนุษยชนให้แก่พวกเขา

พันธมิตรผู้มีความอยากรู้อยากเห็น เคยปรากฏขึ้นก่อนหน้านี้ ช่วงระหว่างสงครามในลิเบีย และซีเรีย มันจึงควรถูกพิจารณาเอาไว้ในฐานะ “สัญญาณเตือน”… มีนัยยะแอบแฝงอันใด มากไปกว่า ความขัดแย้งระดับท้องถิ่นภายในประเทศเมียนมาร์หรือไม่? มีใครพยายามสุมไฟหรือป่าว?

แน่นอน

ในขณะที่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่เป็นเรื่องที่ถือกำเนิดมานมนานแล้ว อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งดังกล่าวเพิ่งจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสงครามกองโจรจิฮาดิสต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและชี้นำโดยซาอุดิอาระเบีย ด้วยพื้นที่นี้มีความน่าสนใจในทางภูมิศาสตร์เชิงกลยุทธ์:

‘ยะไข่’ เป็นส่วนสำคัญในแผนการดำเนินโครงการ OBOR (the Chinese One Belt One Road Initiative) หรือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักที่จีนริเริ่ม เนื่องจากเป็นทางออกสู่มหาสมุทรอินเดีย และสถานที่ตั้งของโครงการจีนซึ่งมีมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์ ตามแผนการที่ได้ถูกตระเตรียมเอาไว้แล้ว ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจบนเกาะ Ramree และ ท่าเรือน้ำลึก Kyaukphyu โดยมีท่อส่งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเชื่อมโยงกับ เขตการปกครองคุนหมิงประจำมณฑลยูนนาน

ท่อส่งจากชายฝั่งด้านตะวันตกของพม่าไปทางตะวันออกของประเทศจีน ได้อนุมัติให้มีการนำเข้าไฮโดรคาร์บอนจากอ่าวเปอร์เซียไปยังประเทศจีน ขณะเดียวกันมันยังสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาคอขวดของช่องแคบมะละกา และส่วนต่างๆที่ตกอยู่ในข้อพิพาททะเลจีนใต้

ดังนั้น มันจึงถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่ซึ่งตกอยู่ใน “ความสนใจของประเทศมหาอำนาจตะวันตก” เพื่อขัดขวางโครงการของจีนในเมียนมาร์ เป็นไปได้ว่า การชวนเชื่อให้มีการญิฮาด ในรูปแบบของการก่อการร้ายอิงแอบศาสนาในยะไข่อาจช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ ทั้งนี้ มีกรณีอย่างที่ปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์สำหรับสงครามพร็อกซีในเมียนมาร์ เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ซึ่งจักรวรรดิอังกฤษได้ยั่วยุให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ต่อสู้กับชาวพุทธพม่า ซึ่งเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น

ชาวโรฮิงญาอพยพไปทางตอนเหนือของอาระกัน ซึ่งปัจจุบันนี้ คือ รัฐยะไข่ของเมียนมาร์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 คลื่นใหญ่ปรากฏขึ้นภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิอังกฤษเมื่อหลายร้อยปีก่อน การอพยพที่ไม่ถูกกฎหมายจากบังกลาเทศดำเนินต่อไปในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา รวมชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนประมาณ 1.1 ล้านคน อาศัยอยู่ในเมียนมาร์ อัตราการเกิดของชาวโรฮิงญาสูงกว่าของชาวพุทธอาระกัน พวกเขาเหล่านี้จึงมีความรู้สึกกดดันบนดินแดนของตนเอง

ในขณะที่ประชากรเหล่านี้มีการผสมผสานกันในบางเมือง แต่ก็ยังมีหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่งอาศัยอยู่ 100% ทั้งนี้มีส่วนน้อยของชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ในพม่า และส่วนมากจากพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในฐานะพลเมือง ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา และทศวรรษที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ความรุนแรงปะทุขึ้นระหว่างผู้ลี้ภัยและชาวบ้านหลายราย ความขัดแย้งมุสลิม – พุทธครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2012

ตั้งแต่นั้นมา มีการก่อจลาจลแบบอิสลามิสต์ถูกสร้างขึ้นอย่างชัดเจนในพื้นที่ นั่นคือ ปฏิบัติการภายใต้นาม กองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน หรือ Arakan Rohingya Salvation Army (ARSA) นำโดย Ataullah abu Ammar Junjuni นักรบจิฮาดิสต์จากปากีสถาน (ก่อนหน้านี้ARSA ดำเนินการภายใต้ชื่อ Harakah al-Yakin หรือ ขบวนการศรัทธา)

Ataullah เกิดในชุมชนโรฮิงญาแห่งใหญ่ของการาจี ปากีสถาน เขาเติบโตขึ้นและได้รับการศึกษาที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย เขาได้รับการฝึกทางทหารในปากีสถาน และทำงานเป็นอิหม่ามลัทธิวะฮาบี ในซาอุดิอาระเบีย ก่อนจะย้ายมายังประเทศเมียนมาร์ นับแต่นั้น เขาก็ได้ทำการล้างสมอง ประกาศจ้าง และฝึกอบรบกองกำลังรบในท้องถิ่น กลุ่มตักฟีรีย์เป็น จำนวนกว่า 1,000 คน

จากรายงานปี 2015 ในหนังสือพิมพ์ Dawn ปากีสถาน ระบุว่า มีชาวโรฮิงญามากกว่า 500,000 คน อาศัยอยู่ในการาจี พวกเขามาจากประเทศบังกลาเทศในระหว่างทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ตามคำสั่งของนายพล Ziaul Haq แห่งระบอบการปกครองทหาร และ CIA เพื่อสู้กับโซเวียตและรัฐบาลอัฟกานิสถาน:

ชุมชนชาวโรฮิงญา (ในการาจี) มีแนวโน้มที่จะให้ความสนในในเรื่องราวของศาสนา พวกเขาส่งลูกหลานเข้าเรียนตามโรงเรียนสอนศาสนาต่างๆ อันเป็นเหตุผลสำคัญที่กลุ่มชนทางศาสนาหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิกาย อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะอ์, JI และ Jamiat Ulema-i-Islam-Fazl มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นในดินแดนเมียนมาร์

“สมาชิกโรฮิงญาหลายคนที่อาศัยอยู่ในอาระกัน ได้สูญเสียญาติของพวกเขาในการโจมตีเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยกลุ่มชาวพุทธ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2012 ในเมียนมาร์” – Mohammad Fazil นักกิจกรรมท้องถิ่นของ JI ในกรุงการาจีกล่าว

ชาวโรฮิงญาจากฝั่งการาจี จะคอยรวบรวมเงินบริจาค เงินซากาต และหนังของสัตว์ที่ได้ถูกเชือดพลีตามหลักการศาสนา และทำการส่งสิ่งของเหล่านี้ไปยังเมียนมาร์และบังกลาเทศ เพื่อให้การสนับสนุนครอบครัวที่พลัดถิ่น

Reuters ระบุในปลายปี 2016 ว่า กลุ่ม Jihadist ได้รับการฝึกอบรม ชี้นำ และสนับสนุนทางการเงินผ่านปากีสถานและซาอุดีอาระเบีย:

กลุ่มชาวมุสลิมโรฮิงญาที่เข้าโจมตีหน่วยรักษาความปลอดภัยชายแดนเมียนมาร์ในเดือนตุลาคม อยู่ภายใต้การดูแลและชี้นำของผู้ที่เชื่อมโยงกับซาอุดีอาระเบียและปากีสถานInternational Crisis Group หรือ องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ ที่เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขข้อขัดแย้ง (ICG) กล่าวอ้างถึงสมาชิกของกลุ่ม เมื่อวันพฤหัสบดี

“แม้ว่าจะไม่ได้รับการยืนยัน แต่ก็มีข้อบ่งชี้ว่า [Ataullah] เดินทางไปยังประเทศปากีสถานและอื่น ๆ และเขาได้รับการฝึกปฏิบัติในสงครามกองโจรสมัยใหม่” ICG อธิบาย – กลุ่มดังกล่าวยังระบุเอาไว้อีกด้วยว่า Ata Ullah เป็นหนึ่งใน 20 คน ในกลุ่มชาวโรฮิงญาจากซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้นำการปฏิบัติการของกลุ่มในรัฐยะไข่ นอกจากนี้ คณะกรรมการโรฮิงญาอาวุโสกว่า 20 คนยังคอยสอดส่องดูแลกลุ่มนี้ด้วย ทั้งนี้สำนักงานใหญ่ของพวกเขาตั้งอยู่ที่เมืองเมกกะ – ICG กล่าว

ผู้ก่อการร้ายจากกลุ่ม ARSA กล่าวว่า พวกเขาเพียงแต่โจมตีกองกำลังของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ทว่าพลเรือนชาวพุทธอาระกันก็ถูกซุ่มโจมตีและสังหาร ชุมชนชาวพุทธก็ถูกเผาไหม้ด้วยเช่นกัน

รัฐบาลเมียนมาร์อ้างว่า Ataullah และกลุ่มของเขาต้องการประกาศรัฐอิสลามอิสระ ในเดือนตุลาคมปี 2016 กลุ่มของเขาเริ่มโจมตีตำรวจและกองกำลังรัฐบาลอื่น ๆ ในพื้นที่ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมปีนี้ กลุ่มของ Ataullah ได้โจมตีสถานีตำรวจและด่านทหารรวม 30 แห่ง และได้ฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 12 นาย กองทัพและตำรวจตอบสนองไปยังเหตุโจมตีตามปกติในความขัดแย้งนี้ โดยการเผาเมืองโรฮิงญาที่สงสัยว่าเป็นแหล่งกบดานของกองกำลังกองโจร

เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายที่เพิ่มขึ้น ชาวพุทธอาระกันจำนวนมากหลบหนีไปยังเมืองหลวงของระไข่ ส่วนชาวมุสลิมโรฮิงญาในท้องถิ่นหนีข้ามพรมแดนไปยังประเทศบังกลาเทศ มีเฉพาะผู้ลี้ภัยในยุคต่อมาที่ดูเหมือนจะได้รับความสนใจจากต่างประเทศ

กองทัพเมียนมาร์ปกครองประเทศมาหลายสิบปี ทว่าภายใต้แรงกดดันทางเศรษฐกิจ พวกเขาจึงเปิดประตูให้กับทางฝั่ง “ตะวันตก” และริเริ่มระบอบ “ประชาธิปไตย” เพียงในนาม ขณะที่ยอดนางสุดที่รักของ “ตะวันตก” ในเมียนมาร์ คือ นางอองซานซูจี พรรคของเธอชนะการเลือกตั้ง และเธอมีบทบาทสำคัญในรัฐบาล แม้นางอองซานซูจี จะเป็นชาตินิยมที่มีความสำคัญที่สุดของเมียนมาร์ ทว่าอำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่ในมือของบรรดานายพล

Aung San in Burma National Army uniform (Source: Wikimedia Commons)

ขณะที่ นาง อองซานซูจีได้รับการยกย่องว่าเป็น ไอคอน หรือ สัญลักษณ์ แห่งประชาธิปไตย แต่นั่นเป็นเพียงบุญเล็กน้อยของเธอ เพราะที่ทำให้เธอก้าวเข้าสู่อำนาจได้ เพราะเธอเป็นลูกสาวของนายพล อองซาน ผู้นำที่มีชื่อเสียงของกองทัพพม่า (BIA) และยังได้รับการสถาปนาให้เป็น “บิดาแห่งชาติ” อีกด้วย

ในทศวรรษที่ 1940 อองซาน ได้รับคัดเลือกจากกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อทำสงครามกองโจรกับกองทัพอังกฤษในอาณานิคม และกองกำลังอังกฤษเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศจีน:

หนุ่มอองซานเรียนรู้ที่จะสวมเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น พูดภาษาญี่ปุ่น และแม้แต่มีชื่อในภาษาญี่ปุ่น ในประวัติศาสตร์ของ “The River of Lost Footsteps” ของ Thant Myint-U เขาอธิบายตัวเองว่า กำลังหลั่งไหลออกไปในบรรยากาศสุขสบายแบบฟาสซิสต์ อย่างไรก็ดี เขาก็ยังระบุว่า พันธสัญญาของเขายังคงเป็นการกอบกู้เอกราชของพม่า

การปะทะกันของชาติพันธุ์ในยะไข่ยังมีบทบาทในความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับญี่ปุ่นในพม่า:

ในเดือนเมษายนปี 1942 กองกำลังญี่ปุ่นได้ก้าวเข้าสู่รัฐยะไข่และไปถึงเมือง Maungdaw ใกล้ชายแดนกับ บริทิชอินเดีย ณ ตอนนั้น และปัจจุบันนี้ คือประเทศบังกลาเทศ ในขณะที่อังกฤษถอยกลับไปยังอินเดีย ระไข่กลายมาเป็นแนวหน้า ชาวพุทธอาระกันท้องถิ่นในประเทศได้ร่วมมือกับ BIA และกองกำลังญี่ปุ่น ทว่าชาวอังกฤษคัดเลือกชาวมุสลิมเพื่อตอบโต้ชาวญี่ปุ่น

กองทัพทั้งสอง ทั้งอังกฤษและญี่ปุ่นใช้ประโยชน์จากความร้าวฉานและความไม่เป็นมิตรระหว่างประชาชนในท้องถิ่น เพื่อจุดประสงค์ทางทหารของตัวเอง” นักวิชาการ Moshe Yegar เขียน

เมื่ออังกฤษได้รับชัยชนะเหนือญี่ปุ่น นายอองซานได้เปลี่ยนข้าง และยื่นเรื่องเจรจายุติการปกครองของจักรวรรดิอังกฤษในพม่า เขาถูกลอบสังหารในปี 1947 ด้วยความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่อังกฤษ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พม่า ภายหลัง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมียนมาร์ และถูกปกครองโดยกลุ่มผู้แข่งขันจากกองทัพทหาร.

ลูกสาวของ อองซาน นาง อองซานซูจี ได้รับการศึกษาจากอังกฤษ และถูกสร้างให้เข้ารับตำแหน่งในพม่า ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 90 เธอมีความขัดแย้งกับรัฐบาลทหาร เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็น นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้ก้าวหน้าโดยนักวิชาการชาว “ตะวันตก” แต่เธอและสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่เธอเป็นผู้นำ – มักจะแสดงออกในสิ่งที่ตรงกันข้าม – คือ เผด็จการหัวรุนแรงในคาบพระสงฆ์นุ่งจีวร – บรรดาคนหน้าซื่อใจคด ขณะนี้มีความผิดหวัง ที่เธอไม่ได้แสดงออกในท่าทีที่เห็นด้วยกับชาวโรฮิงญา แต่การกระทำเช่นนั้น จะทำให้เธออยู่ฝั่งตรงข้ามกับสิ่งที่พ่อของเธอได้ต่อสู้จนมีชื่อเสียงโด่งดัง มันจะทำให้เธอขัดแย้งกับคนส่วนใหญ่ในพม่าที่มีความเห็นอกเห็นใจเล็กน้อยต่อชาวโรฮิงญา และการจิฮาดต่อพวกเขา

นอกจากนี้ โครงการ OBOR ของจีน ยังเป็นโครงการที่สำคัญสำหรับเมียนมาร์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ ซาอุดิอาระเบียและปากีสถานต่างส่งกองบัญชาการกองโจรและเงินเพื่อปลุกระดมชาวโรฮิงญาให้ทำการญิฮาดในเมียนมาร์ ประวัติศาสตร์กำลังซ้ำรอย แผนปฏิบัติการของ CIA ต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียตในอัฟกานิสถาน แต่แตกต่างจากในอัฟกานิสถาน เพราะคนเมียนมาร์ไม่ใช่มุสลิม พวกเขาจะสู้รบ และไม่เข้าร่วมกับกลุ่มญิฮาดในประเทศของตน ชาวโรฮิงญาตกเป็นเบี้ยหมากในเกมที่ยอดเยี่ยม และพวกเขาย่อมได้รับผลกระทบจากมัน

______________________

Source: globalresearch.ca

The original source of this article is Moon of Alabama

Copyright © Moon of Alabama, Moon of Alabama, 2017