สงครามนิวเคลียร์จาก “จินตนาการ” สู่ “ความจริง”

405

 isna  – ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้เห็นความตึงเครียดระหว่างอเมริกาและเกาหลีเหนือที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น สร้างความวิตกกังวลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการเริ่มต้นสงครามนิวเคลียร์  แต่ทว่าประสบการณ์ที่ซ้ำซ้อนในอดีตที่ผ่านมาในการขมขู่ที่ว่าจะเริ่มต้นสงครามนิวเคลียร์ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วนับหลายครั้งหลายคราด้วยกัน ถึงแม้ว่าความเสี่ยงของเหตุการณ์สงครามเหล่านี้ยังสามารถยับยั้งด้วยการเจรจาต่อรองทางการทูตหรืออาจจะเป็นเรื่องโชคดีของสังคมมนุษย์ที่ผ่านมาก็ว่าได้

ในห้วงวันที่ผ่านมาและการมาถึงของเรือรบสหรัฐในคาบสมุทรเกาหลี คลื่นกระแสของภัยคุกคามต่างๆระหว่างสหรัฐและเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือมีการโต้ตอบวาทะในรูปลักษณะต่างๆ

หลังจากที่เกาหลีเหนือได้แถลงกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่อยู่ในประเทศกรณีที่จะเกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่ในอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้  วันแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 105 ปีวันเกิดของผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ  หลายคนเชื่อว่าจะมีการทดสอบนิวเคลียร์ลูกใหม่เร็วๆนี้  และวอชิงตันออกมาเตือนว่าหากเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบขีปนาวุธนิวเคลียร์ เราก็จะดำเนินการทางทหารตอบโต้เกาหลีเหนืออย่างแน่นอน

หลังจากนั้นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงในเปียงยางกล่าวว่า ถ้าเราเห็นการกระทำที่ก้าวร้าวใด ๆ ของอเมริกา เราก็จะทำการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ทันที

นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่อเมริกาหลายคนให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว เอ็นบีซี ว่า หากเกาหลีเหนือทดสอบนิวเคลียร์ครั้งใหม่อเมริกาก็พร้อมที่จะใช้อาวุธที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ตอบโต้ด้วยเช่นกัน

สหประชาชาติรายงานเตือนต่อการดำเนินการด้วยระเบิดนิวเคลียร์และประกาศเตือนถึงความเป็นไปได้ของการเริ่มต้นสงครามนิวเคลียร์เพราะมันถึงจุดสูงสุด

บันคีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติเตือนว่าโลกได้ขยับเข้าไปใกล้ที่จะสูญพันธุ์จากอาวุธนิวเคลียร์

ในขณะที่มอสโกและจีนเรียกร้องให้เกาหลีเหนือยุติการทดสอบนิวเคลียร์ และหันมาเจรจาอย่าง สันติวิธีพร้อมยื่นข้อเสนอปลดอาวุธบนคาบสมุทรเกาหลี

ในขณะเดียวกันการคาดเดาแสดงให้เห็นว่าเปียงยางกำลังเตรียมที่จะดำเนินการทดสอบนิวเคลียร์ครั้งใหม่     สถาบัน Johns Hopkins University เผยว่า เปียงยางอาจจะทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ได้ตลอดเวลาเพียงแค่รอรับคำสั่งจากผู้นำเกาหลีเหนือคิมจองอึงเท่านั้นก็จะทำการทดสอบนิวเคลียร์ลูกที่หกของเขาในทันที

ตามการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาวิจัยปลดอาวุธนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ (UNIDIR) ว่า การคุกคามของระเบิดนิวเคลียร์ (โดยไม่ได้ตั้งใจหรือจงใจ) ตั้งแต่ปลายสงครามเย็นจนถึงวันนี้ได้มาถึงจุดสูงสุดในรอบ 26 ปีที่ผ่านมา

แต่นี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของโลกในการเข้าสู่ความหายนะจากสงครามนิวเคลียร์ เพราะในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญอื่นๆมาแล้วที่มีการคุกคามทั้งโดยเจตนาหรือโดยไม่ได้ตั้งใจซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ถึงระดับสูงสุด

รายงานชิ้นนี้ได้นำเสนอบางส่วนของความตึงเครียดที่เกือบจะเป็นชนวนของสงครามนิวเคลียร์ได้ในระดับสูงสุดในห้วงเวลาที่ผ่านมา

วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (1962)

วิกฤติการณ์ขีปนาวุธคิวบา  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามเย็นเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1962 โดยตรงกับช่วงของ จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ของสหรัฐฯ นิกิต้า ครุสชอฟ(บางที่เรียกครุสเชฟ)แห่งโซเวียต และฟิเดล คัสโตรของคิวบา นับเป็นวิกฤติที่เกือบนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ โดยมีชื่อเรียกต่างกันไป คิวบาเรียก “วิกฤติเดือนตุลาคม” รัสเซียเรียก “วิกฤติแคริบเบียน”

วิกฤตินี้เริ่มขึ้นเมื่อเครื่องบิน U-2 ของสหรัฐฯบินเหนือน่านฟ้าคิวบาแล้วพบว่ามีการลำเลียงขีปนาวุธจากโซเวียตมาติดตั้งยังคิวบาในวันที่14ตุลาคม ซึ่งต้องกล่าวก่อนว่า หลัง1959 คิวบาได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์โดยคัสโตรนี่เอง หลังจากนั้นคิวบาก็เริ่มมีนโยบายต่างประเทศห่างจากสหรัฐแล้วไปหาโซเวียตมากขึ้น จึงไม่เป็นที่แปลกใจ ว่าทำไมโซเวียตจึงส่งอาวุธให้คิวบา ซึ่งคิวบาอยู่ทางใต้ของสหรัฐ และสหรัฐฯจึงถือว่าเป็นการคุกคาม และได้ประกาศกร้าวให้โซเวียตถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยขู่ว่าจะนำกำลังเข้าถอนเองถ้าโซเวียตไม่ถอนออกไป รวมถึงได้เริ่มการปิดล้อมคิวบาตรวจเรือที่จะเข้าคิวบาทุกลำ

โดยวิกฤติทวีความตึงเครียดมากขึ้นในวันที่22-28ต.ค.เมื่อโซเวียตเสนอว่าจะยอมถอนโดยดี แต่สหรัฐต้องถอนขีปนาวุธที่ตุรกีด้วย ซึ่งทางสหรัฐฯไม่ยินยอมในทีแรก แต่ก็ได้ถอนออกอย่างเงียบๆในเวลาต่อมา และทางเคนเนดี้ก็ได้ย้ำข้อเรียกร้องเดิมอีกครั้ง โดยขู่ว่าให้ตอบภายใน24-48ช.ม.พร้อมทั้งย้ำข้อเสนอนี้ผ่านทางทูตโซเวียตในสหรัฐฯ และในที่สุดโซเวียตก็ได้ยินยอมตกลงถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยมีข้อแม้ว่าสหรัฐจะไม่บุกคิวบา แม้คัสโตรจะไม่พอใจก็ตาม และมีการตรวจสอบโดยเลขาธิการ UN ขณะนั้น คือ นายอู ถั่น  ซึ่งคัสโตรปฏิเสธการตรวจสอบ สหรัฐจึงได้นำเครื่องบิน U-2 ขึ้นตรวจสอบเอง จนเดือนม.ค.1963 อูถั่น ก็ได้ออกมายืนยันว่าการรื้อถอนขีปนาวุธเสร็จสิ้น

การคุกคามจากอิสราเอล (1973)

ในเดือนตุลาคมปี 1973 ซีเรียและอียิปต์ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อการยึดครองพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ถูกยึดก่อนหน้านี้ในสมัยสงครามอาหรับกับอิสราเอลในปี 1967  จึงได้ทำการบุกโจมตีอิสราเอล

หลังจากนั้น Gldamyr นายกรัฐมนตรีอิสราเอลสั่งให้เตรียมพร้อมเครื่องบินรบที่ติดหัวขีปนาวุธนิวเคลียร์

นอกจากนั้นอเมริกาก็ได้สเตนบายและเตรียมพร้อมเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ B-52

เหตุผลสำหรับการดำเนินการครั้งนี้เพราะอเมริกา เพราะถ้าหากอิสราเอลใช้อาวุธนิวเคลียร์กับอียิปต์และซีเรีย สหภาพโซเวียตก็จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ของตนในการโจมตีอิสราเอล ดังนั้นอเมริกาจึงมีการวางแผนเตรียมพร้อมในการโจมตีและทำการตอบโต้โซเวียตหากสถานการณ์ได้เกิดขึ้น   หลังจากที่อิสราเอลต้องล้มตายจำนวนมากและความล้มเหลวของทหารซีเรีย ทางยูเอ็นหยุดก็สามารถบรรลุการหยุดยิงระหว่างทั้งสองฝ่าย

การซ้อมรบของนาโต้ในปี 1983

ในปี 1983 นาโต้ได้มีการซ้อมรบทางทหารที่เหลืออีกไม่กี่ก้าวก็จะกลายเป็นความหายนะด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ในห้วงเวลาดังกล่าวเจ้าหน้าที่โซเวียตเชื่อว่าการซ้อมรบทางทหารของนาโต้ในยุโรปตะวันออกนั้น เป็นกลอุบายและแผนการสำหรับการโจมตีทางทหารอย่างแท้จริงและเป็นการเตรียมพร้อมในการโจมตีนิวเคลียร์ของอเมริกา การซ้อมรบครั้งนั้นเป็นการจำลองสงครามนิวเคลียร์โดยมีผู้นำของประเทศนาโต้เข้าร่วมด้วย

ในการตอบสนองต่อการซ้อมรบครั้งนี้ โซเวียตได้เตรียมพร้อมขีปนาวุธนิวเคลียร์ข้ามทวีป และวางไว้ในด้านหน้าตรงทิศทางของจุดแห่งการซ้อมรบและเวลาของการปล่อยหรือยิงขีปนาวุธดังกล่าวใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง บวกลบ 20 นาที

เช่นในช่วงเวลาที่สำคัญเช่นนี้สิ่งเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมคือการที่อเมริกาก็ไม่รู้ถึงการกระทำของสหภาพโซเวียต  ตะวันตกไม่ได้เตรียมความพร้อมของตนในการตอบสนองความเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ของรัสเซีย เพราะตะวันตกไม่รู้ถึงการดำเนินการของรัสเซีย

และหากตะวันตกมีการเตรียมพร้อมแล้ว รัสเซียมีความมั่นใจในทันทีว่าการซ้อมรบครั้งนี้เป็นข้ออ้างที่จะบุกสหภาพโซเวียต

ข้อพิพาทระหว่างปากีสถานและอินเดีย (1999)

ในปี 1999 และในสงครามเคร์กิลในเขตพื้นที่ข้อขัดแย้งแคชเมียร์ ปากีสถานได้เตรียมคลังแสงนิวเคลียร์ของตนสำหรับการโจมตีที่เป็นไปได้กับอินเดียประเทศเพื่อนบ้าน  ในช่วงเวลาที่นาวาซ ชารีฟ นายกรัฐมนตรีปากีสถานได้เรียกร้องจากอเมริกาให้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสงครามการทำลายล้าง ในการสนทนากับบิลคลินตันประธานาธิบดีของอเมริกาได้รับการยอมรับว่าประเทศของเขาได้เตรียมพร้อมที่จะใช้คลังแสงนิวเคลียร์กับอินเดีย

เขากล่าวว่าเขาเชื่อว่าอินเดียก็ได้ทำในสิ่งเดียวกันนี้

คลินตันก่อนที่จะประสบความสำเร็จในลงนามในข้อตกลงหยุดยิง ก็ได้เรียกร้องให้ปากีสถานถอนกองกำลังออกจากแคชเมียร์และไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์กับอินเดีย

แต่ในปี 2001 และ 2002 หลังจากที่ผู้ก่อการร้ายโจมตีรัฐสภาอินเดีย โดยมีการกล่าวว่าเป็นการดำเนินการโดยผู้ก่อการร้ายชาวปากีสถาน ทำให้สองประเทศเริ่มมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น และทั้งสองประเทศก็ได้ส่งกองกำลังติดอาวุธของตนไปยังชายแดนในแคชเมียร์

ในเดือนตุลาคมปี 2002 จากความพยายามทางการทูตระหว่างประเทศนำไปสู่ทั้งสองประเทศถอนกองกำลังของตนออกจากแคช์เมียร์

ความโกรธแค้นของเกาหลีเหนือต่อมาตรการคว่ำบาตที่เกิดขึ้นกับประเทศ

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2013 หลังจากที่สหประชาชาติมีมติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ ทำให้เกาหลีเหนือออกมาขมขู่อเมริกาที่จะดำเนินการโจมตีด้วยนิวเคลียร์

อเมริกาก็ตอบโต้ว่าเรามีความสามารถพอในการป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธทุกชนิดของเกาหลีเหนือ

หนึ่งเดือนหลังจากนั้น เกาหลีเหนือเรียกร้องให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเกาหลีใต้ออกจากประเทศและอ้างว่าทั้งสองประเทศอยู่บนปากเหวของการเริ่มต้นสงคราม

เกาหลีเหนือกล่าวในการแถลงข่าวว่า สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีเนื่องจากการกระทำที่ไม่เป็นมิตรของอเมริกาและการเป็นหุ่นเชิดของเกาหลีใต้ มันใกล้ที่จะเป็นชนวนสงครามนิวเคลียร์ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่าการโจมตีอเมริกานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้….

http://www.isna.ir/news/96021207344/جنگ-هسته-ای-از-تصور-تا-واقعیت