เขียนโดย มนาร์ มูฮาเวช ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการ MintPress News
ที่มา http://www.mintpressnews.com
แปลโดย กองบรรณาธิการเอบีนิวส์ทูเดย์
หมายเหตุ บทความชิ้นนี้ MintPress News เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2014 ตัวเลขผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในกาซ่าจึงเป็นตัวเลขของวันที่ดังกล่าว
นับ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 – 2007 ชาวอิสราเอลประมาณ 1,000 คนถูกสังหาร อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และในส่วนของชาวปาเลสไตน์ มีผู้สูญเสียชีวิตเกือบ 6,000 คน การจู่โจมในฉนวนกาซา ภายใต้ปฏิบัติการโพรเทคทีฟเอดจ์ เมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้ชาวปาเลนส์ไตน์กว่า 230 คนถูกสังหาร ในจำนวนนี้เป็นเด็กเกือบ 40 คน ผู้หญิง 20 คน และยังมีผู้บาดเจ็บอีกกว่า 500 คนในขณะที่บ้านเรือนพังทลายกว่า 80 หลัง – ตัวเลขเหล่านั้นยังคงพุ่งสูงขึ่น จรวดของกลุ่มฮามาสที่ยิงเข้าไปในอิสราเอลนั้นไม่ได้สังหารชาวอิสราเอลแม้แต่ คนเดียว ตั้งแต่การยิงตอบโต้กันเริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
รายงานล่าสุดของ กระทรวงสารสนเทศปาเลสไตน์ เกี่ยวกับการบาดเจ็บและเสียชีวิตของพลเรือน เปิดเผยว่า ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา ทุกๆ 3 วัน จะมีเด็กชาวปาเลสไตน์ 1 คนถูกสังหารโดยฝีมืออิสราเอล
ในฐานะชาวอเมริกันคน หนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในเยรูซาเล็ม ฉันต้องต่อสู้ระหว่างความต้องการที่จะเปิดเผยสิ่งที่ฉันรู้สึกว่า เป็นการกลบเกลื่อนของสื่ออย่างกว้างขวางต่อการกระทำอันรุนแรงที่นำโดย อิสราเอล กับความต้องการที่จะลุกขึ้นยืนและพูดว่า “พอได้แล้ว” ข้อความทั้งสองสะท้อนความจริงจากผู้คนที่ติดกับอยู่ในความรุนแรง ไปจนถึงผู้ที่ถูกปิดปากเมื่อรายงานการคุกคามที่รุนแรง
การตายของวัยรุ่น อิสราเอล นาฟตาลี ฟราเอนเคล จิลาด ชาแอร์ และเอแอล ยิฟราห์ เป็นตัวแทนความสูญเสียหนึ่งที่ไม่มีครอบครัวไหนควรเผชิญ ความรุนแรงเอื้อมถึงทุกชุมชนอย่างลึกล้ำ และมันไม่สนใจแม้เชื้อชาติ หลักคำสอนทางศาสนา หรือความมีเหตุมีผล สิ่งที่ฉันเกาะติดก็คือ การตอบสนองที่จะเกิดขึ้นต่อความตายของพวกเขา ส.ส.อิสราเอลเรียกร้องให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และล้างแค้นต่อชาวอาหรับ นำมาซึ่งการทรมานและฆ่าวัยรุ่นอายุ 17 ปี มุฮัมมัด อาบู คาแดร์ โดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอล แสดงให้เห็นว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานเหล่านี้ยังคงลักพาตัวและกระทำทารุณต่อเด็กชาวปาเลสไตน์ และบัดนี้ ปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล และการคุกคามที่รุนแรงต่อกาซ่านั้น ก็เป็นการลงโทษโดยรวมต่อคนกว่า 1.7 ล้านคนซึ่งมีชีวิตที่ยากเข็ญอยู่แล้ว กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้บรรยายถึงกาซ่าว่า เป็นเสมือนคุกในที่โล่งซึ่งไม่มีทางหนี…สิ่งนี้มันต้องจบ
การฆ่าหมู่จะมีอยู่ เพียงเพื่อนำพาความเจ็บปวดและทรมานมาสู่ความขัดแย้ง ซึ่งสอนทั้งเด็กชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ให้รู้ว่า เส้นทางสู่ความสงบนั้นได้ถูกพังเป็นเสี่ยงๆ ไปแล้ว
ขณะที่ฉันดูสื่อเล่น เกมพาดหัว และแสร้งทำตัวเป็นสุนัขตัวเล็กๆ กับพันธมิตรของสหรัฐฯ มันทำให้ฉันหวนนึกถึงในปี 2001 เมื่อฉันกลับไปยังสหรัฐฯ หลังใช้ชีวิตอยู่ในเยรูซาเลมมาประมาณ 4 ปี
ขณะที่เรากำลังจะเดิน ทางไปสนามบินเพื่อกลับสหรัฐฯ ที่ซึ่งฉันเกิดและเติบโตมา พ่อของฉันได้รับโทรศัพท์จากญาติ ซึ่งตกใจและหวาดกลัวต่อการสั่งอพยพคนจากโรงเรียนประถมหญิงล้วน ที่ซึ่งญาติคนนี้ทำงานเป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ในตอนนั้น เพราะมีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลวางระเบิดไว้ในโรงเรียน ในเวลาเดียวกัน ญาติคนนี้เล่าว่า ได้มีการสั่งอพยพที่โรงเรียนประถมชายล้วนซึ่งลูกชายของเขาเรียนอยู่ เพราะมีชาวอิสราเอลวางระเบิดไว้เช่นกัน
ในวันนั้น ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลวางระเบิดไว้ในโรงเรียนของชาวปาเลสไตน์ทั่วทุก แห่ง และไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ปลอดภัย ความรู้สึกสะเทือนใจและหวาดกลัวสุดขีด ที่เด็กผู้บริสุทธิ์ถูกหมายหัวจากพวกหัวรุนแรงเหล่านี้ เป็นความรู้สึกที่ยิ่งกว่าความบอบช้ำทางจิตใจสำหรับฉัน และครอบครัว ซึ่งขณะนั้นฉันมีอายุพียง 13 ปี
ฉันเข้าใจในทันทีว่า ในฐานะเป็นวัยรุ่น ฉันมีสิทธิ์ที่จะโกรธแค้นคนเหล่านั้นที่ทำชั่ว ก่อความรุนแรง แต่ฉันก็รู้สึกถึงความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงเช่นกัน
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ฉันประจักษ์กับการที่ญาติของฉันต้องตื่นตระหนกและหวาดกลัว และนี่อาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ปีที่ฉันอาศัยอยู่ในเยรูซาเลมอย่างอเมริกันคนหนึ่ง ที่มาจากเมืองมินนีอาโพลิส รัฐมินเนโซต้า ฉันได้กลายเป็นประจักษ์พยานต่ออาชญากรรมสงคราม ซึ่งไม่ควรมีเด็กคนไหนสมควรได้เจอ ฉันอยู่ภายใต้การยึดครอง เราโดนตัดน้ำตัดไฟอยู่เป็นประจำ และเราอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก มีการกำหนดเคอร์ฟิวในเมืองส่วนใหญ่ และมีทหารถือปืน และแม้กระทั่งจ่อปืนใส่พลเมือง ขณะคอยควบคุมตามถนน
ขณะเมื่อฉันอายุได้ 13 ปี ฉันก็ได้เห็นเครื่องบินรบอิสราเอลทิ้งระเบิดลงในเมืองใหญ่ๆในฝั่งเวสต์แบงค์ เช่น รามัลเลาะฮฺ ทำลายบ้านของครอบครัวปาเลสไตน์และฆ่าเด็กๆ ฉันเคยนั่งรถแท็กซี่ข้ามจุดตรวจ และคนขับจะตะโกนว่า “บ้าชิบ” เพราะทหารอิสราเอลกำลังยิงใส่เด็กนักเรียนซึ่งปาหินใส่มัน เป็นกลุ่มเด็กซึ่งถูกกั้นไม่ให้ผ่านจุดตรวจของกองกำลังป้องกันตนเองอิสราเอล จึงทำให้พวกเขาตอบโต้ด้วยการใช้ก้อนหินปาใส่ เพราะพวกเขาต้องการไปหาครอบครัวหลังเลิกเรียน ที่โรงเรียนอเมริกันของฉันในเยรูซาเล็ม เพื่อนร่วมชั้นเรียนของฉันครึ่งหนึ่งขาดเรียนเกือบทุกวัน เป็นเหตุให้ถูกปฏิเสธให้เข้าเรียนเพราะเหตุนั้น สาเหตุมาจากการที่พวกเขาถูกไล่กลับที่ด่านตรวจ เพราะพวกเขาอาศัยอยู่ในเวสต์แบงค์ และเป็นชาวปาเลสไตน์ ไม่ว่ามุสลิม และ/หรือคริสเตียน
ฉันมักจะได้ยินเรื่อง เล่าจากเพื่อนบ้าน และเพื่อนๆ จากโรงเรียนประถมอื่นๆ ที่ถูกจู่โจมโดยทหารไอดีเอฟ และล้อมจับพวกวัยรุ่นชาย และกักตัวพวกเขาอย่างไม่มีกำหนดและไม่มีข้อหา เพียงเพราะพวกเขาอาจเป็น ‘ผู้ก่อการร้าย’ ได้ในอนาคต ซึ่งมันผิดกฎหมายภายใต้กฎหมายนานาชาติ เมื่อตอนที่ฉันกลับไปยังเยรูซาเลมครั้งสุดท้ายเมื่อมีอายุได้ 18 ปี ฉันต้องตกตะลึงกับการทำลายล้างของกำแพงที่แบ่งแยก ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อพรากครอบครัวออกจากกัน รวมทั้งทำลายเกษตรกรรมและที่ดิน ซึ่งหลายชีวิตใช้เป็นแหล่งเลี้ยงปากท้อง กำแพงยังแบ่งแยกครอบครัวจากกันและกัน และสกัดกั้นไม่ให้เด็กๆ ได้ไปโรงเรียน ฉันจำได้ว่าเคยไปที่เมืองเฮบรอนในเวสต์แบงค์ เพื่อเยี่ยมเยือนมัสยิดอิบราฮิมที่ซึ่งชาวมุสลิม ยิวและคริสเตียนมาเยี่ยมกันเป็นประจำ และมีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวเขวี้ยงขยะใส่ขณะตะโกนคำปรามาสเหยียดเชื้อชาติใส่ เราอย่างไร้เหตุผล
ระหว่างการเยือนครั้ง นั้น มีเหตุการณ์ซึ่งดูเหมือนเป็นการประชดประชัน เพราะเราต้องได้รับการคุ้มกันโดยทหารอิสราเอล เพื่อให้สามารถเข้าใกล้มัสยิดได้ พวกเขาเตือนเราว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานอิสราเอลเริ่มก่อความรุนแรงต่อผู้มาเยือนที่ไม่ใช่ยิว และหลายครั้งก็ลักพาตัวเด็กๆ และผู้หญิง หรือไม่ก็ฆ่าพวกเขา แต่เนื่องจากฉันเป็นพลเมืองอเมริกัน พวกทหารจึงต้องดูให้แน่ใจว่า ฉันและกลุ่มของฉันจะได้รับความคุ้มครองเป็นอย่างดี
พอฉันอายุได้ 13 ปี ฉันและเพื่อนสาวจากมินนิอาโพลิส มินเนโซต้า ได้เป็นประจักษ์พยานการปกครองแบบแบ่งแยกเชื้อชาติ และการยึดครองโดยทหาร แต่ฉันรู้ ว่าฉันจะต้องทำอะไรสักอย่าง
เมื่อกลับถึงบ้านใน สหรัฐฯ ที่ซึ่งมีสนามหญ้าสีเขียวสะอาดสะอ้าน และมีเพื่อนร่วมชั้นที่คอยแต่จะคิดว่าเมื่อไหร่จะมีปาร์ตี้อีก หรือจะมีรายการอะไรต่อในทีวี หรือจะดื่มเหล้าได้มากขนาดไหนเทียบกับเพื่อนร่วมชั้น แต่ฉันกลับรู้สึกหลงทางและโดดเดี่ยว
ถึงตอนนี้ ฉันต้องทุกข์ทรมานจากอาการผิดปกติหลังภาวะความเครียดที่สะเทือนใจ สิ่งที่ฉันเอาแต่นึกถึง สิ่งที่กำลังกลืนกินฉัน คือ สงครามที่ฉันจากมา และครอบครัวที่ถูกพลัดพรากจากกันเพราะสงคราม ความรู้สึกผิดมีชัยเหนือร่างกายของฉัน ตั้งแต่เรามาใช้ชีวิตแบบชาวอเมริกันที่แสนสะดวกสบาย ในแถบชานเมืองที่ถูกตกแต่งไว้อย่างดีเหมือนการทำเล็บ แต่ฉันรู้ว่าเพื่อนๆ เพื่อนร่วมชั้น ทั้งคุณครูชาวอเมริกันและอาหรับ และครอบครัวที่ฉันทิ้งไว้ในเยรูซาเลม ยังตกอยู่ภายใต้การยึดครองและยังต้องอยู่ด้วยความหวาดกลัว
ฉันไม่สามารถพูดคุย เกี่ยวกับสงครามที่ฉันทิ้งไว้เบื้องหลังกับใครได้เลย และฉันไม่สบายใจเลยกับสื่ออเมริกัน เมื่อตอนนั้น ก็เหมือนกับตอนนี้ ที่สื่อต่างจัดฉากราวกับว่า ชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอลต่อสู้กันและกันบนสนามเกมที่เท่าเทียม ที่จริงมันถูกวางกรอบไว้ในการรายงานข่าวของสื่อส่วนใหญ่ ว่า เป็นการต่อสู้ของมุสลิมกับยิว และชาวปาเลสไตน์ถูกอ้างถึงว่าเป็นผู้ก่อการร้าย หรือกลุ่มติดอาวุธ อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนส่วนใหญ่ในละแวกบ้านเราในเยรูซาเลมเป็นชาวคริสเตียนปาเลสไตน์ ซึ่งทุกข์ทรมานจากการยึดครองทางทหารเช่นเดียวกับชาวมุสลิมปาเลสไตน์ นี่จึงไม่ใช่การสู้รบระหว่างมุสลิมกับยิวเลย
ฉันโทษสื่อที่ทำให้ เพื่อนพี่น้องอเมริกันของฉันขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง และขาดความตระหนักรู้ว่าอะไรคือความขัดแย้งจริงๆ ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ฉันโทษสื่อที่ทำให้ชาวอเมริกันขาดความเห็นอกเห็นใจต่อการยึดครองในปี 2001 ฉันยังคงโทษสื่อที่รายงานข่าวอย่างไม่ถูกต้องต่อประเด็นหลักในปัญหาสิทธิ มนุษยชนที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก
สื่อถูกกล่าวถึงใน รัฐธรรมนูญเพราะในระบอบประชาธิปไตย หน้าที่ของนักข่าวคือ การปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนอย่างสำคัญ โดยที่พวกเขาจะสามารถกุมตัวผู้มีอำนาจมารับผิดชอบได้ เมื่อสื่อสร้างภาพให้การฆ่าเป็นการป้องกันตัว และการป้องกันตัวเป็นการฆ่า เรารู้ว่าสื่อไม่ได้พูดความจริงกับประชาชน และไม่ได้ทำตัวเป็นสุนัขที่คอยจับตารัฐบาล แต่เป็นสุนัขเลี้ยงของรัฐบาล ดังที่ฝ่ายบริหารของโอบามาปฏิญาณว่า จะยังคงส่งเงินช่วยเหลืออิสราเอลในอัตรา 3 พันล้าน ดอลลาร์ต่อปี ทั้งๆ ที่ ส.ส.อิสราเอลเรียกร้องให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาหรับในความขัดแย้งนี้ ผู้สื่อข่าวที่มีสติหลายคน อดไม่ได้ที่จะถามว่า รัฐบาลสหรัฐฯเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ด้วยหรือไม่?
เพียงแค่เดือนก่อน สื่อของเราต่างเพิกเฉยต่อความจริงเกี่ยวกับความรุนแรงในกาซ่า และอะไรที่นำมาสู่วงจรของความรุนแรงรอบนี้ เหตุใดเรายังคงเงียบเฉย?
นิวยอร์คไทม์พาดหัว ด้วยข้อความ “ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นในกาซ่า เมื่อฮามาสโจมตีเป้าหมายใหม่ในอิสราเอล” โยนคำกล่าวโทษทั้งหมดที่ทำให้ชาวปาเลสไตน์ต้องบาดเจ็บล้มตาย ว่ามาจากการกระทำของฮามาส แทนที่จะกล่าวว่า ที่จริงการโจมตีด้วยระเบิดโดยอิสราเอล คือ รูปแบบของการลงโทษแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ฆ่าพลเมืองเหล่านั้นต่างหาก
วอลล์สตรีท เจอร์นอล ก็นำด้วย “อิสราเอลพุ่งเป้าโจมตีจุดปล่อยจรวดในกาซ่า” โดยไม่กล่าวถึงการที่จรวดของอิสราเอลพุ่งเป้าโจมตีบ้านเรือนประชาชนในกาซ่า
ลอสแองเจลิส ไทมส์ เริ่มว่า “จรวดปาเลสไตน์รุกไปไกลมากขึ้นในอิสราเอล” รายงานว่าจรวดทำเองไม่ได้ฆ่าใครเลยสักคน แต่ไม่ได้เอ่ยถึงการที่จรวดมิสไซล์ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากอเมริกานั้น ทิ้งให้ชาวปาเลสไตน์กว่า 50 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก กลายเป็นศพในกาซ่า
แต่กระนั้น องค์กรสื่อทางเลือกและสื่ออิสระส่วนใหญ่ เพิ่งเริ่มเอ่ยถึงอิสราเอลว่า เป็นรัฐเหยียดเชื้อชาติเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมานี่เอง แต่สื่อกระแสหลักยังล้าหลังอยู่ไกล และไม่เคยตั้งคำถามถึงการสมรู้ร่วมคิดของรัฐบาลสหรัฐฯในการปกครองเหยียด เชื้อชาตินี้
เรื่องราวที่ฉันได้ ประจักษ์และใช้ชีวิตผ่านมา คือ หนึ่งในอีกหลายพันชีวิตที่ต้องอยู่ภายใต้การยึดครอง วันนี้ ขณะที่ฉันเฝ้าดูเหตุการณ์ในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์เริ่มเปิดเผยออกมา และการที่สื่อยังคงสมรู้ร่วมคิดกับอาชญากรรมสงครามของอิสราเอลในกาซ่า นักหนังสือพิมพ์อีกมากมาย นักวิชาการ กลุ่มสิทธิมนุษยชน และกลุ่มสนับสนุนสันติภาพ เริ่มตั้งคำถามว่า หรือนี่คือการฉีดยาชาอเมริกาไม่ให้รับรู้ถึงความจริงอันน่าสะพรึงกลัว ที่ความช่วยเหลือทางทหารของเรากำลังถูกถ่ายเทไปยังแผ่นดินที่แสนเป็นที่รัก ของคนทั้งโลก
ฉันค้นพบความกล้าและ การปลดปล่อย ในการโน้มน้าวให้เหล่าสื่อมวลชนออกมาเปิดปาก ไม่ใช่เพียงเพื่อชาวปาเลสไตน์ แต่เพื่อผู้คนทั้งหมดทั่วโลกซึ่งทนทุกข์ทรมานและถูกกดขี่ ผู้คนที่กำลังถูกสังหารหมู่ในนามของอำนาจ เงินทอง และความโลภ ไม่ว่าจะเป็นใน ซูดาน คองโก พม่า ซีเรีย อิรัก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง จีน เม็กซิโก และอีกหลายแห่งมากมาย ซึ่งถูกรายงานน้อยกว่าความเป็นจริงในทั่วทุกแห่งบนโลก
สื่อมวลชนนั้นเป็น เสมือนทางออกของฉันขณะที่ฉันเติบโตมาอย่างหมดหนทางช่วยเหลือ เมื่อฉันทรมานจากโรคผิดปกหลังภาวะเครียดมาหลายปี ทุกวันฉันต้องอยู่กับความกังวลเพราะสิ่งที่ฉันต้องทนมา ขณะที่ความบอบช้ำทางจิตใจที่ได้มาเพราะชีวิตในเขตสงคราม และตระหนักว่า ฉันได้ละทิ้งคนจำนวนมากซึ่งยังคงต้องทุกข์ทรมาน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปาเลสไตน์หรืออิสราเอล หรือที่ใดๆในโลก
การเป็นกระบอกเสียงให้ กับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียง และรายงานข่าวทั้งเรื่องในประเทศและต่างประเทศผ่านเลนส์แห่งความยุติธรรมและ สิทธิมนุษยชน คือเหตุผลทั้งมวลที่ฉันก่อตั้ง MintPress News และฉันหวังว่าพวกเราอีกหลายๆ คน สามารถมาร่วมกันเพื่อสิทธิมนุษยชน และรู้ว่าชีวิตทุกชีวิตนั้นเป็นสิ่งล้ำค่า พวกเราก็เป็นมนุษย์ซึ่งดิ้นรนในชีวิตเพื่อใฝ่หาอิสรภาพ ในโลกที่แบ่งฝ่ายเป็นชาติต่าง ๆ
มาร่วมกันกับ ฉัน เพื่อช่วยนักข่าวอิสระบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดของความรุนแรงในกาซ่า เราภูมิใจที่ได้จับมือกับกลุ่ม Jewish Voices for Peace เพื่อช่วยกันยุติความรุนแรงระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล และการเข้ายึดครองของอิสราเอล มาร่วมกันแชร์แคมเปญ “End The Violence” กับเครือข่ายหรือผู้ชมของคุณ คลิกที่นี่ เพื่อลงนามแสดงเจตจำนงในการนำความสงบสุขกลับคืนมาสู่ผืนดินอันศักดิ์สิทธิ์