ประเทศ รัฐ และองค์กรหนึ่งๆ จะเสื่อมอำนาจ หรืออ่อนแอลงได้ ก็ด้วยกับปัจจัยมากมายหลายอย่าง ในเบื้องต้น เราอาจจำแนกองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐ และองค์กรหนึ่งๆ ได้สามประการด้วยกัน คือ ผู้นำ ประชาชน และแนวคิด ซึ่งหากอันใดอันหนึ่งล้มเหลว หรือขาดหายไป แน่นอนว่า ประเทศชาติหรืองค์กรนั้นย่อมพบกับหายนะ ดังเช่นที่เราจะยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นต่อไปนี้
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศปาเลสไตน์ได้เผชิญกับอุปสรรคจากการรุกรานของอิสราเอล ด้วยความต้องการกำจัดปาเลสไตน์ให้ออกไปจากแผนที่โลกและยึดครองแผ่นดินนี้ ย้อนกลับไปเมื่อ70 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ปาเลสไตน์ได้ต่อสู้กับความอธรรมที่เกิดขึ้นจากนโยบายที่โหดร้ายของอิสราเอล มีการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ในดินแดนนี้เกิดขึ้นทุกๆวัน แต่ทว่าในขณะเดียวกัน ประเทศอาหรับรอบข้างกลับมีความพยายามที่จะปรับความสัมพันธ์กับอิสราเอล ซึ่งหมายถึงการที่กลุ่มประเทศอาหรับพยายามที่จะไม่สนใจ ไม่แคร์ ไม่เห็นหัวถึงการมีอยู่ของปาเลสไตน์ และเป็นจุดเริ่มต้นของแผนการที่จะขับปาเลสไตน์ให้ออกจากกลุ่มประเทศอาหรับ ในขณะที่อิหร่าน (ซึ่งไม่ใช่อาหรับ) กลับพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ปาเลสไตน์ กลับเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอิสลามมีชื่อจารึกอยู่บนแผนที่โลกตามเดิม อย่างไรก็ตาม สงครามยึดเยื้อในหลายทศวรรษของชาวปาเลสไตน์ที่ลุกขึ้นยืดหยัดเพื่อขับไล่อิสราเอลให้พ้นไปจากประเทศ และในอีกด้านหนึ่งการช่วยเหลือของรัฐบาลอิหร่าน ได้สร้างความหวาดระแวงอยู่เนืองๆแก่รัฐอิสราเอล ไฟแห่งการต่อสู้ของพวกเขาที่ไม่มีวันมอดดับ อาจเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อการมีอยู่ของอิสราเอล (ผู้ที่นำเสนอข้อเท็จจริงดังกล่าวคือ)ฮุเซน ชัยคุลอิสลาม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอิหร่าน ได้นำเสนอจากบทสัมภาษณ์ของเขาเกี่ยวกับปัญหาของปาเลสไตน์กับอิสราเอลดังนี้
“ปัญหาหลักของปาเลสไตน์คือ การมีอยู่ของรัฐไซออนิสม์ (อิสราเอล) แต่เพราะ บางประเทศกลับถือว่าทั้งปาเลสไตน์และอิสราเอลคือประเทศที่ก่อตั้งสร้างชาติขึ้นมาอย่างชอบธรรม คำถามง่ายๆที่จะทำให้เราเข้าใจในข้อนี้คือ จะเป็นไปได้อย่างไรที่ในดินแดนเดียวกันจะมีทั้งสองประเทศรวมกันอยู่ !!? เหมือนดั่งที่ผู้นำการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน ได้กล่าวว่า ปัญหาของปาเลสไตน์ คือการถูกรุกรานจากไซออนิสม์ ซึ่งเป็นรัฐที่ไม่เคยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยเพียงแต่การรุกรานช่วงชิงแผ่นดินของผู้อื่น เพื่อยึดครองเป็นของตัวเอง อย่างเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์ทุกวันนี้ แน่นอนว่าร้อยทั้งร้อยของประชาชนที่อยู่ในปาเลสไตน์คือประชาชนที่มีอยู่มาแต่เดิมในดินแดน ตั้งแต่บรรพบุรุษของพวกเขา และเพราะการรุกรานของอิสราเอล บางส่วนของประชาชนชาวปาเลสไตน์จำต้องอพยพจากบ้านเกิดของตนเองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
แต่องค์กรสหประชาชาติกำลังวางแผนที่จะทำให้ดินแดนนี้แบ่งออกเป็นสองรัฐ แน่นอนว่ามันคือแผนจากองค์กรไซออนิสม์ที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรสหประชาชาติ องค์กรเหล่านี้ได้ละเมิดสิทธิของประชานอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่นสิทธิของเด็กในเยเมนที่ถูกละเมิดโดยซาอุดิอาระเบีย โดยทั้งโลกกลับหลับหูหลับตาทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งนี้เป็นเพราะเงินหลายล้านดอลลาร์ที่ซาอุดิอาระเบียจ่ายเป็นค่าปิดปากองค์กรสหประชาชาติเอาไว้ โดยรายละเอียดดังกล่าว มีการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญทางการเมือง เพราะเหตุนี้จึงไม่มีความหวังจากสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ เนื่องจากประเทศมหาอำนาจที่สนับสนุนอิสราเอลมีอำนาจที่จะควบคุมองค์กรต่างๆของโลก ดังนั้นหนทางเดียวที่จะสามารถเรียกร้องสิทธิของปาเลสไตน์ได้คือการต่อสู้กับการละเมิดสิทธิต่างๆด้วยตนเอง ซึ่งการต่อสู้มีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจหรือทางทหาร
แม้ว่าจะมีการสูญเสียอย่างมากมายของประชาชนปาเลสไตน์ แต่จากการต่อสู้ที่ต่อเนื่องของปาเลสไตน์ จนกระทั่งตอนนี้อิสราเอลยังไม่สามารถที่จะยึดครองแผ่นดินแถบนั้นได้อย่างสมบูรณ์ ผู้นำสูงสุดของอิหร่านได้กล่าวไว้ว่า อิสราเอลจะสูญสิ้นไปภายใน25ปี จากคำพูดนี้ บางส่วนคิดว่าการสูญสิ้นของอิสราเอล อาจเกิดจากการพ่ายแพ้ทางการทหาร แต่ในทัศนะของผู้เขียนไม่ใช่แค่เฉพาะทางทหารเท่านั้น แต่รวมไปถึงความล้มเหลวทางด้านสังคม วัฒนธรรม ระหว่างประเทศและเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ซึ่งเหตุผลดังกล่าวจะได้รับการชี้แจงต่อไป
หลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน อิมามโคมัยนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านคนก่อน กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันชาวปาเลสไตน์ในการต่อสู้กับการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนของอิสราเอล แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวของ ซัยยิด รุฮุลลอฮ โคมัยนี ได้สร้างประโยชน์อย่างมากมายแก่ปาเลสไตน์ ไม่ว่าจะเป็นในแถบฉนวนกาซ่า หรือการปลดปล่อยแถบชายแดนของเลบานอนจากการรุกรานของอิสราเอล ในปี 80 ได้ก่อตั้งกองกำลังก ฮิสบุลลอฮฺ ซึ่งได้สู้รบกับอิสราเอลจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 2000 กองกำลังฮิสบุลลอฮฺได้ประสบความสำเร็จจากการยับยั้งการรุกรานเลบานอนของอิสราเอล ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 ฉนวนกาซ่าได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากการรุกรานของอิสราเอล ในปี ค.ศ. 2006 อิสราเอลได้รับความพ่ายแพ้จากการรบกับฮิสบุลลอฮฺในสงคราม 33 วัน ,ปี ค.ศ. 2012 อิสราเอลไม่ประสบความสำเร็จในการยึดครองฉนวนกาซ่าและเป็นครั้งแรกที่ชาวปาเลสไตน์สามารถสร้างเงื่อนไขให้อิสราเอลหยุดยิงประชาชนในฉนวนกาซ่า และในปี 2014 เงื่อนไขในการหยุดยิงของอิสราเอลได้ถูกยกเลิก ด้วยเหตุนี้อิสราเอลจึงรุกรานฉนวนกาซ่าของปาเลสไตน์เป็นเวลา 51 วัน แต่ทว่าประชาชนในแถบฉนวนกาซ่าก็ยังคงยืนหยัดที่จะต่อต้านการรุกรานนี้ต่อไป
คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกมติในการห้ามอิสราเอลไม่ให้ตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ แต่เนทันยาฮูไม่ได้สนใจในมติดังกล่าวของสหประชาชาติ และรัฐสภาของอิสราเอลได้อนุมัติด้วยตัวเองในการสร้างถิ่นฐานในปาเลสไตน์ ซึ่งการดำเนินการของรัฐอิสราเอล คือการขัดกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (สัญญาเจนีวา) อย่างชัดเจน แน่นอนว่านอกจากจะขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว มันยังขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนด้วย เหตุเพราะการกระทำของอิสราเอล เช่น การรุกรานดินแดนปาเลสไตน์อย่างดื้อๆ หรือการรื้อถอนบ้านเรือนของประชาชน มันเป็นการขัดกับสิทธิมนุษย์ชนอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลเช่นเดียวกัน ในความเป็นจริงการละเมิดของอิสราเอลคืออาชญากรรมที่ได้ก่อไว้กับมนุษยชนอย่างชัดเจน การกระทำดังกล่าวของอิสราเอลมีผลให้ปาเลสไตน์จำเป็นต้องยืนหยัดต่อสู้กับอิสราเอล เพื่อแสดงให้เห็นว่าการกระทำของอิสราเอลคือการละเมิดสิทธิของมนุษย์เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพกับความมั่นคงระหว่างประเทศ และท้ายที่สุดการกระทำของอิสราเอลจะเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก และจะเป็นการสร้างความเสียหายกลับไปยังรัฐไซออนิสม์เอง นี่คือหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ระบอบไซออนิสม์จะล่มสลายลงในไม่ช้านี้ เช่นเหตุผลที่หนึ่ง อิสราเอลจะล่มสลาย เพราะพวกเขาได้สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ในปาเลสไตน์อย่างไม่แคร์สายตาโลก หรือ ปัญหาเรื่องแนวคิดของไซออนิสม์ที่ในปัจจุบัน ปราชาคมโลกเริ่มจะไม่ยอมรับ โดยเหตุผลมาจากการกระทำต่างๆที่โหดร้ายของพวกเขา ส่อถึงแนวคิดที่โหดร้ายนั่นเอง
อิสราเอลไซออนิสม์ได้ใช้กลุ่มสะละฟีย์หัวรุนแรงในนามของอิสลามกระทำการก่อการร้าย เพื่อดึงดูดความสนใจของประชาคมโลกจากปัญหาในปาเลสไตน์ (ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างไซออนิสม์กับกลุ่มก่อการร้าย เช่น การซุ่มฝึกอบรมหลักสูตรการรบให้กับกลุ่มก่อการร้าย อย่าง ไอซิส หรือการรับผู้ก่อการร้ายไอซิสที่บาดเจ็บจากสงครามมารักษาในโรงพยาบาลในอิสราเอล) เพื่อการนี้อิสราเอลจึงได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศแถบตะวันออกกลางบางประเทศ และทำให้กลุ่มชาวมุสลิมทั่วโลกแตกกระเจิงออกเป็นกลุ่มๆ ก่อให้เกิดความแตกแยกในโลกอิสลาม ดังนี้ปัญหาปาเลสไตน์จึงถูกละเลยจากโลกมุสลิมและประชาคมโลกในปัจจุบัน ซึ่งอิหร่านได้ชี้แจงอยู่เสมอว่าปัญหาของปาเลสไตน์ควรได้รับความสนใจและช่วยเหลือเป็นอันดับแรกของโลกอิสลาม แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า บางประเทศอาหรับ เช่นซาอุดิอาระเบีย กลับพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิสราเอล แทนที่จะช่วยเหลือปาเลสไตน์ ซึ่งการกระทำของประเทศอาหรับเหล่านี้คือการกระทำของผู้ที่ปราศจากมนุษยธรรม
การที่ประเทศอาหรับบางประเทศได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิสราเอล เป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างยิ่งในโลกอาหรับ ตัวอย่างเช่นในสมัยหลังจากสันนิบาตอาหรับได้พ่ายแพ้ให้กับอิสราเอลในสงครามหกวัน ประเทศอียิปต์เป็นประเทศแรกที่พยายามจะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิสราเอล หรือประเทศซาอุดิอาระเบียที่ตอนนี้มีความสัมพันธ์กับอิสราเอล(รายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับ ซาอุดิอาระเบีย สามารถค้นคว้าต่อได้ในเว็ปไซต์ http://www.tnews.co.th/contents/207547) มันได้ก่อให้เกิดความแตกแยกในโลกมุสลิม และชาวมุสลิมทั่วโลกจะแตกกระเจิงออกเป็นกลุ่มๆ ซึ่งจริงๆแล้ว สิ่งที่ควรให้ความสำคัญควรจะเป็นปัญหาปาเลสไตน์ ดังนั้นปัญหาปาเลสไตน์ถือเป็นหน้าที่ที่โลกมุสลิมควรให้ความสำคัญ เพราะอิสราเอลได้เล็งเห็นว่า หากโลกมุสลิมได้ร่วมมือกันช่วยเหลือปาเลสไตน์ ก็จะเป็นปัจจัยอันนำไปสู่ความสามัคคีในหมู่ประเทศมุสลิม บรรดาประเทศมุสลิมต่างๆก็จะเป็นหนึ่งเดียว แน่นอนว่าจะส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐไซออนิสม์และจะเป็นเหตุให้ขบวนการไซออนิสม์ล่มสลายในที่สุด
ในแต่ละระบอบหรือขบวนการหนึ่งๆ มีสามองค์ประกอบที่สำคัญด้วยกัน จากพื้นฐานทั้งสามนี้ จึงสามารถคาดการณ์อนาคต และชะตากรรมของระบบ หรือขบวนการนั้นได้อย่างแน่นอน จากการพิจารณา ความเป็นไปและข้อมูลของสามองค์ประกอบ สามองค์ประกอบดังกล่าวคือ ความเป็นผู้นำ แนวความคิด และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในระบบ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอิหร่าน ที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับขบวนการไซออนิสม์ คือขบวนการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน แนวความคิดของขบวนการนี้คือ อิสลาม บทบาทความเป็นผู้นำของผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ซัยยิด อะลี คาเมเนอีและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ดี ที่แม้ว่าจะเกิดปัญหาอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นการคว่ำบาตรจากมหาอำนาจ แต่ทว่ายังมีการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน ซึ่งหากจะวิเคราะห์ถึงหลักทั้งสามในปาเลสไตน์ เราจะแบ่งเหตุการณ์ระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลเป็นสองช่วงใหญ่ๆด้วยกัน
ที่นี้ถ้าเราลองใช้สามองค์ประกอบนี้ในการมองปาเลสไตน์ เมื่อ 60 ปี ก่อน ก็จะเห็นว่า ที่ปาเลสไตน์ถูกโค่นล้มลงได้อย่างง่ายดาย เพราะความอ่อนแอ ของหนึ่งในสามจิกซอว์นี้ อย่างเช่นช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 เมื่อปี 1948 ระบอบไซออนิสม์ได้ถูกสถาปนาขึ้นครั้งแรก ช่วงนั้นในปาเลสไตน์ ถ้าเราจะมาพูดถึงองค์ประกอบทั้งสามในสมัยนั้น แนวคิดกับความร่วมมือของประชาชนเป็นไปได้ด้วยดี แต่ระบบความเป็นผู้นำกลับยุ่งเหยิง ผู้นำของปาเลสไตน์ในสมัยนั้นคือ อิซซุดดีน อัลก็อซซามและ ชะรีฟ ฮุเซน ซึ่งชะรีฟ ฮุเซน ในสมัยนั้นเขาได้มีความคิดว่า การที่จะสามารถยึดอำนาจคืนจากอิสราเอลได้ ต้องอาศัยอำนาจจากอังกฤษ เขาจึงช่วยอังกฤษในการล้มล้างอาณาจักรออตโตมันในยุคนั้น เพื่อที่จะขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ ในการทวงคืนแผ่นดินปาเลสไตน์จากอิสราเอล จึงทำให้เกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น จากความผิดพลาดของตัวผู้นำ ที่เขาไปขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวโดยมีสาเหตุจากผู้นำปาเลสไตน์อ่อนแอ และในที่สุดอิสราเอลก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นประเทศ
ต่อมาในช่วงหลัง หลังจากที่อิสราเอลได้รับการสถาปนาขึ้น ในช่วงระหว่างปี 1948 ถึง 1965 มีการเรียกร้องให้ชาติอาหรับทำสงครามกับอิสราเอลประเทศอาหรับหลายประเทศที่รวมกันเป็นสันนิบาตอาหรับต้องการที่จะรวมพลกันเพื่อจะสู้รบกับอิสราเอล แต่ก็ได้พ่ายแพ้กลับมา เหตุเกิดมาจากความขัดแย้งระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล ต้นตอความขัดแย้งนี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสม์และลัทธิชาตินิยมอาหรับ ที่ต่างมองว่าดินแดนปาเลสไตน์คือดินแดนของพวกตน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายอย่างเต็มขั้น ต่อมาสงครามระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอลได้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของชาติอาหรับที่กินเวลาเพียง หกวัน เหตุที่ชาติอาหรับได้พ่ายแพ้ เกิดจากความบกพร่องของแนวคิดที่ส่งผลต่อความสามัคคีของสมาชิกและมาจากการมีผู้นำที่อ่อนแอ ที่คิดเพียงต้องการผลประโยชน์จากดินแดน แต่ขาดอุดมการณ์ที่เป็นหนึ่งในสามรากฐานที่สำคัญ
ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการก่อตั้งองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ขึ้นในปี 1964(PLO) ซึ่งในช่วงแรกองค์กรนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของชาตินิยมอาหรับ จนกระทั่งยัตเซอร์ อาราฟัตได้ทำการปลดแอกองค์กรนี้จากการควบคุมของชาติอาหรับโดยเฉพาะจากรัฐบาลอียิปต์ ตัวองค์กรเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นหลังจากความพ่ายแพ้ของชาติอาหรับต่างๆที่มีต่ออิสราเอล แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้นำของปาเลสไตน์เกิดอ่อนแอลง และไร้เสถียรภาพในความเป็นผู้นำ และองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์เกิดความล้มเหลว บวกกับชาติอาหรับต่างๆที่พยายามจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ของพวกเขากับอิสราเอล ด้วยเหตุนี้ ขบวนการอินติฟาเฎาะฮฺที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนและคนหนุ่มสาวชาวปาเลสไตน์จึงได้เริ่มต้นขึ้นและยืดเยื้อเป็นเวลาหกปีที่มีการต่อกรกับอิสราเอล จนกระทั่งมีการลงนามสนธิสัญญาออสโล(ยุติการยิง)ในปี 1993 และหลังจากนั้นอิสราเอลได้ละทิ้งสนธิสัญญา เกิดการยิงอีกเป็นครั้งที่สอง ขบวนการอินติฟาเฎาะฮฺจึงได้เริ่มขึ้นอีกครั้งจนกระทั่งยุติในปี 2005 แน่นอนว่าประชาชนชาวปาเลสไตน์ให้ความร่วมมือในอุดมการณ์ของพวกเขาเป็นอย่างดี แต่พวกเขายังขาดผู้นำที่มีคุณภาพ ที่จะนำพาไปสู่ชัยชนะของพวกเขา ชี้ให้เห็นว่า องค์ประกอบที่ทำให้ขบวนการ หรือประเทศหนึ่งล้มลง คือทั้งสามองค์ประกอบนี้ ถ้าครบเงื่อนไขดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นขบวนการหนึ่งๆ หรือชาติหนึ่งๆ ก็จะพบกับการล่มสลายนั่นเอง
เราจะเห็นได้ว่า อิสราเอลในช่วงแรกมีอุดมการณ์ที่แข็งแกร่ง และผู้นำที่มีอุดมการณ์ จากที่พวกเขาพยายามตระหนักถึงวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวกับการยึดครองแผ่นดินจากแม่น้ำไนล์สู่ยูเฟรติส โดยสังเกตจากธงอิสราเอลที่มีแถบน้ำเงินสองเส้น อันหมายถึงแม่น้ำทั้งสองสายนี้ แต่ทว่าแนวความคิดของขบวนการอินติฟาเฎาะฮฺของปาเลสไตน์ ที่ยังคงยืนหยัดจะต่อสู้เพื่อทวงความยุติธรรมและแผ่นดินเกิดของพวกเขา ประกอบกับการช่วยเหลือจากการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านที่ได้สนับสนุนพวกเขา รวมทั้งได้สนับสนุนกองกำลังที่ต่อต้านอิสราเอลเช่น กลุ่มฮิสบุลลอฮในเลบานอน จึงเป็นเหตุให้ภารกิจของอิสราเอลในตอนนี้ ยังไม่ได้คืบหน้าไปถึงไหน เมื่อเวลาผ่านไป และเราลองพิจารณาถึงสามองค์ประกอบในตอนนี้ของอิสราเอล กระแสความอธรรมของอิสราเอลกับการกระทำที่ชั่วร้ายต่างๆของขบวนการไซออนิสม์สื่อให้เห็นถึงหนึ่งในองค์ประกอบทั้งสามนั่นคือ แนวความคิด ได้อ่อนแอและยังได้ย้อนกลับไปหาตัวพวกเขาเอง รวมทั้งสถานภาพของผู้นำและประชาชนของอิสราเอลที่ได้เสื่อมสภาพลงเรื่อยๆจากการกระทำของพวกเขา โดยดูจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอิสราเอล เช่น
- เหตุการณ์ที่ประชาชนอิสราเอลเผาตัวเองเพราะรับไม่ได้กับบริหารของรัฐบาล หรือสมาชิกในรัฐบาลอิสราเอล ได้ลงมือสังหารผู้คนโดยไม่สนกฎหมายบ้านเมือง จะเห็นได้ว่าในจุดนี้เกิดจากความบกพร่องของสมาชิกในระบบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามรากฐานสำคัญ
- แนวคิดของผู้นำแบบที่ได้นำพาไปสู่หายนะซึ่งในปัจจุบัน แนวคิดของไซออนิสม์เริ่มที่จะไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคมโลก ซึ่งในตอนนี้ทั่วทุกมุมโลกได้ต่อต้านถึงการกระทำของขบวนการณ์ไซออนิสม์ อันมีสาเหตุมาจากความบกพร่องของแนวความคิดและความเป็นผู้นำ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของขบวนการณ์เช่นกัน เป็นเหตุให้สัญลักษณ์แห่งการล่มสลายของขบวนการไซออสนิสม์ได้ปรากฏขึ้น และจะเป็นเหตุให้อิสราเอลล่มสลายในที่สุด
ที่มา : http://www.siasi.porsemani.ir/content//سه-عنصر-اصلی-فروپاشی-رژیم-صهیونیستی