ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ปฐมเหตุแห่งสงคราม 8 ปี “อิรัก – อิหร่าน” (ตอนที่ 1)

วันที่ 22 กันยายน  ปี ค.ศ.1980 สนามบินหลายแห่งในอิหร่านถูกโจมตีทางอากาศโดยเครื่องบินรบของอิรัก ในเวลาเดียวกันเมืองต่างๆ ของอิหร่านทั้งทางทิศตะวันตกและทิศใต้ได้ถูกจู่โจมทั่วทุกแว่นแคว้นเช่นกัน  สงครามแปดปีระหว่างอิรักและอิหร่านโดยการจุดชนวนของ ซัดดัม ฮุสเซน ได้เริ่มต้นขึ้น

สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านประมาณ 19 เดือน ซัดดัม ฮุสเซน ได้ฉีกสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่อหน้าโทรทัศน์และสื่อต่างๆ  โดยซัดดัมอ้างว่าเขามีสิทธิและอำนาจในการครอบครองแม่น้ำอัรวันด์ (โดยเขาได้ตั้งชื่อใหม่กับแม่น้ำนี้ว่าชัฏฏุลอาหรับ) และหมู่เกาะต่างๆ ที่อยู่ในอ่าวเปอร์เซียเพื่อหาข้ออ้างในการทำสงครามระหว่างอิหร่าน และต่อมาสงครามอิรัก-อิหร่านก็ได้อุบัติขี้น

ในช่วงเวลาที่สงครามได้เริ่มขึ้นอิหร่านอยู่ในช่วงที่กำลังฟื้นตัวจากการปฏิวัติใหม่ๆ ประเทศไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง เศรษฐกิจ หรือสังคมในยุคนั้นกำลังอยู่ในสภาวะที่กำลังก่อร่างสร้างตัว อำนาจในการบริหารประเทศไม่ว่าจะเป็นกำลังทหารหรืออาวุธก็ยังไม่พร้อมสำหรับการเข้าสู่สงครามกับประเทศใดๆ ด้วยเหตุนี้ในช่วงต้นของสงคราม ประเทศอิหร่านจึงเสียดินแดนให้กับอิรักในแถบชายแดนและเมืองบางส่วนของภาคใต้.

สาเหตุของการเริ่มต้นสงคราม

แม้ว่าซัดดัม ฮุสเซน จะหาเหตุผลต่างๆ นาๆ มาเป็นข้ออ้างในการทำสงคราม  แต่ทว่าตัวเขาเองก็ได้วางแผนขั้นตอนในสงครามนี้มาแล้วไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายหรือแผนการยึดครองประเทศอิหร่าน และรัฐบาลแบกแดดได้ดำเนินงานตามแผนที่ซัดดัมฮุสเซนได้วางไว้ อย่างเช่นการใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการที่จะอ้างสิทธิในการยึดครองเกาะต่างๆ ที่อยู่ในอ่าวเปอร์เซียเพื่อสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นระหว่างอิรักกับอิหร่าน

แต่ความจริงคือ พวกมหาอำนาจคือสาเหตุหลักในสงครามนี้ เพราะแผนการต่างๆ สำหรับการยึดครองตะวันออกกลางและอ่าวเปอร์เซียได้ถูกวางไว้โดยพวกมหาอำนาจต่างๆ ไว้แล้ว  ซึ่งอิหร่าน ได้ต่อสู้อย่างชาญฉลาดและมีไหวพริบเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงจากพวกมหาอำนาจต่างๆ เหล่านี้คือความมั่นคงของตะวันออกกลางที่เริ่มสั่นคลอนจากการนำออกน้ำมันดิบจากอ่าวเปอร์เซียของพวกมหาอำนาจ ซึ่งทำให้การปฏิวัติอิสลามและอิหร่านตกอยู่ในอันตราย ด้วยเหตุสำคัญที่เกิดจากสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต ที่แม้จะมีความขัดแย้งกันจากสงครามเย็น แต่เพราะทั้งสองประเทศนี้มีความบาดหมางเช่นกันกับรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน อเมริกาและสหภาพโซเวียตจึงร่วมมือกันเพื่อต่อกรกับอิหร่านในห้วงเวลานั้น

ประมาณปีกว่าๆ ก่อนที่สงครามอิรัก-อิหร่านจะเริ่มขึ้น มีการโฆษณาชวนเชื่อและทำสงครามทางจิตวิทยาจากบรรดาศัตรูก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายใน เป็นผลทำให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและภัยคุกคามจากทหารที่ได้เข้ามา(การแทรงแซงของกำลังทหารในเมืองทะบัซและที่อื่นๆ)  ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดมากมายในแถบชายแดนของอิหร่านส่งผลให้เกิดการกระทบต่อการป้องกันและความปลอดภัยภายในประเทศ

เป้าหมายของศัตรูอิหร่าน  คือ

  • สร้างสงครามภายในประเทศ

เพื่อสร้างภาพพจน์ในแง่ลบต่อรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน โดยพวกเขาได้ทำให้เกิดสงครามขึ้นภายในอิหร่าน เพื่อการนี้จึงจำเป็นต้องวางแผนโดยใช้ประเทศต่างๆ เช่น อิรัก ในการสร้างแผนการต่างๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อทำให้เกิดสงครามในที่สุด

  • เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของอิมามโคมัยนี ซึ่งการปฏิวัติอิสลามของเขานั้น เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้เกิดกำหนดการเคลื่อนไหวของยุทธศาสตร์โลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแผนการณ์ต่างๆ ที่ศัตรูได้วางไว้

แน่นอนว่าความทะเยอทะยานที่อันตรายของซัดดัมนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสงคราม เพราะการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านฉบับนี้เป็นผลให้ทรราชย์อย่างซัดดัมเกรงกลัวและหวั่นวิตกอย่างรุนแรง มันอาจส่งผลต่อประชากรในประเทศอิรักโดยเฉพาะการที่ประชากรในประเทศอิรักที่มีมุสลิมชีอะฮฺถึงประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์

ซัดดัมและนักการเมืองผู้สวามิภักดิ์ต่อตนได้อ้างว่า พวกเขาไม่พอใจเกี่ยวกับสนธิสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับอิหร่านเรื่องเกาะต่างๆ ในอ่าวเปอร์เซีย หลังจากนั้นจึงถือโอกาสนี้ในการยกเลิกสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นผลให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศตามความต้องการของพวกเขา หลังจากนั้นซัดดัมได้ทำการปล่อยตัวนักการเมืองบางคนที่เป็นชาวอิรักและไม่ใช่ชาวอิรักจากการจับกุมตัวโดยมีแผนที่จะขจัดความอันตรายของแนวคิดแห่งการปฏิวัติอันนี้ให้พ้นไป แผนการณ์ที่จะยึดครองประเทศอิหร่านของเขาเริ่มต้นขึ้นจนสามารถเบี่ยงเบนความคิดของประเทศต่างๆ ที่มีความสนใจต่อชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านได้ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของซัดดัมคือการได้เป็นผู้นำในภูมิภาคอาหรับนี้ด้วย เหตุดังกล่าวนักวิเคราะห์การเมืองจึงกำหนดว่าสงครามอิรักอิหร่านเป็นสงครามแห่งการรุกรานภูมิภาคและการก่อการร้ายข้ามพรมแดน

อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภายหลังพบว่าอเมริกาและพันธมิตรของพวกเขาไม่ได้อธิบายข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นเกมทางการเมืองของอเมริกาที่มีเป้าหมายโดยใช้วิธีการสร้างข้อมูลที่เป็นเท็จต่างๆ นาๆ เพื่อโจมตีอิหร่าน ในขณะเดียวกันนั้นอิหร่านในขณะนั้นก็ยังไม่มีกำลังเพียงพอที่จะนำเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้องในเหตุการณ์นี้ได้ สืบเนืองมาจากผลของการรุกรานทั้งทางด้านสงครามและการเมืองรวมถึงการที่อิหร่านอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากการปฏิวัติมาใหม่ๆ