ขณะที่ทางการซาอุฯพยายามที่จะโยนความผิดให้กับบรรดาผู้แสวงบุญต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันบรรดาผู้อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวบางคน เผยว่า ต้นเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ เนื่องจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ซาอุฯ
Presstv – คอลิด อัลฟาและห์ รัฐมนตรีกระทรงสาธารณสุขของซาอุดิอาระเบีย ประกาศว่า โศกนาฏกรรมอันเศร้าสลดครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากความไร้ระเบียบและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเรา ซึ่งหาก “บรรดาผู้แสวงบุญปฏิบัติตามคำแนะนำของเราแล้ว เหตุการณ์อันเศร้าสลดครั้งนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น”
แต่ทว่าผู้อยู่ในเหตุการณ์ เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอีกลักษณะหนึ่ง ที่ต่างจากคำกล่าวอ้างของทางการซาอุดิอาระเบีย
ผู้รอดชีวิตบางคนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เล่าว่า ความแออัดชุลมุนของผู้แสวงบุญเกิดขึ้นหลังจากกองกำลังรักษาความปลอดภัยของซาอุดิอาระเบีย ได้พยายามสกัดเคลื่อนขบวนของผู้แสวงบุญยังถนนแคบๆ ซึ่งไม่มีทางออก
อับดุลลอฮ์ ลุตฟี วัย 44 ปี ผู้แสวงบุญชาวอียิปต์ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ว่า ผมเห็นชายคนหนึ่งมีอาการอ่อนเพลีย ขาสั่น ล้มลงทับชายคนหนึ่งที่นั่งอยู่บนรถเข็นคันหนึ่ง ถัดจากนั้นก็ได้มีชายจำนวนหนึ่งได้ล้มทับบนเรือนร่างของชายดังกล่าว (หลังจากนั้น) ประชาชนผู้แสวงบุญต่างตกตระหนกพากันวิ่งหนีอลมาน เพื่อสูดอากาศหายใจ ….. มันเหมือนดังคลื่นมหาชน…. จากนั้นผมก็ได้เดินก้าวไปข้างหน้าและแล้วก็หันกลับ
ผู้อยู่ในเหตุการณ์อีกคนหนึ่ง ดร. อับดุลรอฮ์มาน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว เอเอพพี ว่า “ ผมเห็นผู้แสวงบุญจำนวนหนึ่งล้มลงกับพื้น ซึ่งล้มทับใส่เรือนร่างอีกจำนวนหนึ่ง จากนั้นได้ยินเสียงร้องของผู้แสวงบุญที่เป็นสตรีและผู้สูงวัย ร้องขอความช่วยเหลือ……. ผมพยายามอย่างหนักเพื่อที่จะเอาตัวเองให้หลุดออกจากผู้คนที่แออัดจำนวนดังกล่าว เสื้อผ้าของผมหลุดออกมาและขาดวิ่นเป็นชิ้นๆ แต่มันไม่ใช่สิ่งสำคัญ และในที่สุดก็สามารถหลุดออกมาได้”
กองกำลังรักษาความปลอดภัยของซาอุดิอาระเบีย สร้างวิกฤติของเหตุการณ์ให้รุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก
ดร อับดุลเราะฮ์มาน ยังเปิดเผยถึงบทบาทของกองกำลังรักษาความปลอดภัยของซาอุฯ ที่พยายามสร้างวิกฤติให้รุนแรงมากขึ้นว่า “จากนั้นผมพยายามที่จะเข้าไปในแคมป์ที่อยู่ข้างๆ แต่ทางกองกำลังรักษาความปลอดภัยปิดกั้นและไม่อนุญาตให้เข้าไป ไม่ยอมให้ใครเข้าไปในแคมป์ ซึ่งทำให้วิกฤติเหตุการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น”
“ผมตระหนักว่า ปัญหาหลักคือ ขาดทางออกฉุกเฉิน ซึ่งควรที่จะมีการสร้างทางออกฉุกเฉินตลอดเส้นทางไว้ ในทุกๆระยะทาง 50 เมตร”
เขาได้ตำหนิบทบาทของเจ้าหน้าที่ซาอุฯ ในการควบคุมวิกฤติ ว่า เจ้าหน้าที่ซาอุดิอาระเบีย มีความเฉื่อยชาในการเข้าไปช่วยเหลือต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้
ผมเห็นเจ้าหน้าที่ของกองกำลังกรมป้องกันภัยพลเรือน แต่พวกเขามาถึงที่เกิดเหตุช้ามาก
อะห์มัด อบูบักร์ ผู้แสวงบุญชาวลิเบีย วัย 45 ปี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว ฝรั่งเศส ต่อความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ซาอุฯ ต่อเหตุโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ว่า “คลื่นขบวนเริ่มหลั่งไหลจำนวนมาก ตำรวจได้ปิดเส้นทางออกทั้งหมดที่จะเข้าถึงยังแคมป์ของผู้แสวงบุญ โดยเปิดเส้นทางเพียงแค่หนึ่งทางเท่านั้น….. พวกเขาเหล่านี้ไม่เป็นอะไรสักอย่าง และไม่รู้อะไรแม้แต่สัญลักษณ์เส้นทาง และแคมป์รอบๆ ดังกล่าว”
อิรฟาน อัลอาลาวี ประธานมูลนิธิมรดกอิสลาม ได้เห็นเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เล่าว่า “ตำรวจที่เข้ามาทำหน้าที่ ไม่เป็นอะไรสักอย่าง ไม่รู้ว่าจะสื่อสารกับผู้แสวงบุญอย่างไร พวกเขาไม่สามารถที่จะควบคุมผู้แสวงบุญ”
หมิ่นผู้แสวงบุญ
ผู้แสวงบุญชาวอียิปต์คนหนึ่ง ได้ตำหนิการทำงานของตำรวจซาอุดิอาระเบีย ว่า ตำรวจซาอุดิอาระเบีย ได้ดูหมิ่นผู้แสวงบุญชาวแอฟริกา
“กองกำลังจำนวนมากที่รวมตัวกัน ณ สถานที่ดังกล่าว แต่ไม่ได้ทำอะไรเลย และได้พูดกับผมว่า “ช่วยมาตรวจสอบดูศพนี่หน่อย ว่าเป็นผู้เสียชีวิตชาวอียิปต์หรือไม่”
การทุจริตของรัฐบาล และไม่มีกฎระเบียบ ของเจ้าหน้าที่ซาอุ คือต้นเหตุหลักในโศกนาฏกรรมที่ มินา
นักการเมืองคนหนึ่งที่ไม่ประสงค์ออกนาม เพราะเกรงว่าทางการซาอุดิอาระเบียจะปราบปราม ได้เปิดเผยว่า การทุจริตของรัฐบาล และไม่มีกฎระเบียบของเจ้าหน้าที่ซาอุ คือต้นเหตุหลักในโศกนาฏกรรมที่ มินา
นักการเมืองอีกคนหนึ่งในเมืองมักกะห์ เปิดเผยกับ หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ว่า “เราไม่ได้แปลกใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เพราะเรากำลังรอดูเหตุการณ์ที่มีความเลวร้ายกว่านี้อีกที่จะเกิดขึ้นในช่วงพิธีฮัจญ์ ”
“ทว่า บางครั้งประเด็นนี้อาจไม่ใช่เป็นเรื่องปรกติสำหรับประเทศอื่นๆ แต่หากพิจารณาในประเด็นเรื่องการทุจริตอย่างแพร่หลายในประเทศนี้นั้น เหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้นมันจะเปลี่ยนให้เป็นโศกนาฏกรรมขึ้นมาสำหรับเรา ซึ่งเราต้องรอดูโศกนาฏกรรมที่อาจจะเลวร้ายกว่านี้เสียอีก”
เขาได้ชี้ถึงแผนการขยายบริเวณรอบเมืองมักกะฮ์ ในระยะเวลายี่สิบปี ว่า ทางการซาอุดิอาระเบีย ได้สร้างโรงพยาบาลแห่งเดียวเท่านั้นสำหรับการให้บริการแก่บรรดาผู้แสวงบุญ และไม่ได้ติดตั้งระบอบการป้องกันภัยดับเพลิงเลยในบริเวณมัสยิดอัลฮะรอม
ในแต่ละปีจะมีผู้แสวงบุญจากทั่วทุกโลกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประมาณ สอง ล้านกว่าคน ซึ่งในปีนี้ ตามการประกาศของซาอุดิอาระเบีย มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครนยักษ์ถล่มและเหตุการณ์เหยียบกันตาย ที่มินา จำนวน 1000 กว่าคน และเหตุการณ์ที่มินา ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างจริงจังขึ้นมา ถึงการไร้ความสามารถของทางการซาอุดิอาระเบียในการบริหารจัดการดูแลความปลอดภัยของผู้แสวงบุญที่มาจากทั่วทุกมุมโลก
http://www.presstv.ir/DetailFa/2015/09/25/430632/Saudi-Stampede-Survivors