ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ดำเนินสงครามห้ารูปแบบที่สำคัญแบบจัดเต็มกับอิหร่านมาอย่างต่อเนื่อง เพราะสงครามไม่ได้หมายถึงการทำสงครามในทางทหารหรือสงครามทางกายภาพเพียงด้านเดียว ยังมีสงครามอื่นอีกมากมาย ประเทศหลายๆประเทศกำลังต่อสู้กัน หากสังเกตการตอบโต้กันระหว่างอิหร่าน กับ สหรัฐ ก็จะเห็นสงครามเหล่านี้
ครั้งหนึ่งในยุคของซัดดัม ฮุสเซน สหรัฐได้ทดสอบความสามารถของอิหร่านมาแล้ว ในฐานะประเทศที่สนับสนุนซัดดัมให้ทำสงคราม และหลังอิหร่านสอย UAV ประสิทธิภาพสูงร่วง รูปแบบการทำสงครามก็เปลี่ยนไป แน่นอนว่า สงครามเชิงกายภาพเป็นตัวเลือกหนึ่งบนโต๊ะ แต่ที่พวกเขาไม่ทำ ไม่ใช่เพราะวอชิงตันทำไม่ได้ แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถรบกับประเทศที่บุกยากที่สุดในโลก และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ถ้าบุกแล้วจะชนะร้อยเปอร์เซ็น วอชิงตันจึงเลือกทำสงครามในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งสงครามที่สหรัฐฯกำลังทำต่ออิหร่าน ได้ห้ารูปแบบ ได้แก่:
1. สงครามทางเศรษฐกิจ
สงครามนี้อยู่ในรูปของการคว่ำบาตรและการก่อวินาศกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นสงครามที่อเมริกาไม่ยอมรับว่าตนเป็นผู้ก่อ เพียงแต่เรียกในชื่ออื่น มาตลอดสี่สิบปีตั้งแต่อิหร่านปลดแอกอิทธิพลของสหรัฐได้สำเร็จ วิธีการ คือ การคว่ำบาตรทางการเงินน้ำมัน และอันที่จริงแล้ว นี่คือ อาวุธหลักของ USA ในการทำให้ประเทศเป้าหมายยอมจำนน สงครามนี้เริ่มโดยประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน จอร์จดับเบิลยู. บุช อย่างเป็นทางการ และทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงแปดปีของบารักโอบาม่า จนมาถึงสมัยของทรัมป์ภายใต้นโยบาย”การกดดันขั้นสูงสุด”
2. สงครามจิตวิทยา
สื่อเป็นเครื่องมือหลักของสงครามแห่งความไม่เท่าเทียม หากเปรียบเรือรบและเครื่องบินทิ้งระเบิดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการปกครองและการสงคราม สื่อก็ถือเป็นอาวุธอันทรงพลังและกว้างขวางสำหรับนักลงทุนระดับโลก ก็คืออาวุธอันทรงพลัง ยิ่งกว้างขวางมากเพียงใดก็ยิ่งมีโอกาสสร้างอำนาจมากเท่านั้น
บางส่วนอาจคิดว่า สื่อในประเทศโลกเสรีย่อมเป็นอิสระจากการเมืองและไม่ขึ้นกับใคร อันที่จริงแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เราสามารถรู้ได้ว่า สื่อเคลือบการเมืองของผู้ปกครองหรือไม่ ตั้งแต่มีสื่อกระแสหลักกับสื่อกระแสรอง การที่รายงานจากสื่อกระแสรอง รายงานคนละม้วนกันกับสื่อกระแสหลัก ย่อมชี้ให้เห็นถึงการเซ็นเซอร์ และในอีกแหล่งหนึ่งคือ โลกโซเซียลมีเดีย เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลง ข่าวสารเป็นอิสระ ยิ่งทำให้ผู้คนมองเห็นว่า พวกเขาเสพข้อมูลแบบเลือกนำเสนอมานานแค่ไหน
ในสงครามนี้ พวกเขาเป็นคนที่กำหนดและชี้นำความคิดเห็นสาธารณะต่อโลก พวกเขาสามารถปรับแต่งให้เผด็จการ ผู้บงการที่ชั่วร้ายและก่ออาชญากรรมกลายเป็นผู้ปกป้องชีวิตได้ราวพลิกฝ่ามือด้วยอำนาจนี้ หรือเปลี่ยนรัฐบาลบางประเทศ ให้กลายเป็นผู้ก่อการร้าย
สงครามจิตวิทยาฉบับนี้ถูกนำมาใช้กับอิหร่าน ตามเป้าหมายและภายใต้โครงการต่าง ๆ ซึ่งในเวลาเดียวกัน ก็มีการปลอมแปลงข้อเท็จจริงและบิดเบือนสิ่งสำคัญของเนื้อหา ทั้งความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค เช่น การเสนอตัวเลขกลุ่มผู้เห็นด้วยกับการปฏิวัติในสมัย ชาปาเลวี การกล่าวหาว่าอิหร่านสร้างอาวุธนิวเคลียร์ การเชิดชูซัดดัมและเสนอว่าซัดดัมทำสงครามอย่างชอบธรรมในอิหร่าน เมื่อครั้งอดีต มีการกล่าวหาว่าอิหร่านอยู่เบื้องหลังการโจมตีแหล่งน้ำมัน การปกป้องมาลิกซาอุ และนำเสนอว่า การบุกเยเมน คือ การปกป้องชีวิต
- สงครามทางวัฒนธรรมและศาสนา
สงครามครั้งนี้มีผลน้อยกว่าสี่สงคราม แต่เป็นจุดเครื่องมือสำคัญของการหว่านเมล็ดพันธ์แห่งความขัดแย้ง คือการสร้างสงครามระหว่างนิกาย ซุนนี่ ชีอะฮ์
- สงครามความปลอดภัยและความมั่นคง
สงครามโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่สงครามที่หนักหน่วง ยากและกึ่งยาก โดยในที่นี้ สงครามความมั่นคงและความปลอดภัยจัดอยู่ในประเภทกึ่งยาก กลุ่มที่เคลื่อนไหวในการทำลายสาธารณรัฐอิสลามเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้ร่มของเงาของสหรัฐทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม ครอบคลุมถึงกลุ่มที่คอยสร้างสถานการณ์ความไม่มั่นคงในประเทศ หรือก่อวินาศกรรมและการลอบสังหาร บางกลุ่มก็แสดงเจตนาแบ่งแยกดินแดนอย่างเป็นทางการ เช่น MKO นอกจากนี้ยังมีการโจมตีทางไซเบอร์จำนวนมาก รวมถึงการจารกรรมข้อมูลในด้านอื่นๆ ตลอดจนไปถึงการลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
5. สงครามในสนามรบ:
ซีเรียเป็นภาคสนามหลักของการก่อสงครามนี้ ประเทศหรือกลุ่มใด ๆก็ตาม ในภูมิภาคหากผูกมิตรภาพหรือปฏิบัติดีกับอิหร่าน ประเทศนั้นจะไม่ได้เป็นอิสระจากการมอนิเตอร์ และการวางแผนของสหรัฐและทหารรับจ้างของตน ตลอดจนไปถึงอิสราเอล และบางประเทศในภูมิภาคนี้
ไม่ว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับ สหรัฐก็มีส่วนร่วมโดยตรงต่อบทบาทของภูมิภาคในตะวันออกกลาง และมีมานานเกินกว่าใครจะจินตนาการได้และในปัจจุบัน พวกเขาก็มีส่วนร่วมในเยเมน และยังสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายในซีเรียที่มีสถานะผู้ทำลายล้าง ไม่ใช่ผู้สร้างสันติ เราจะเห็นปรากฎการณ์แบบนี้อยู่เสมอ ทั้งในบาห์เรนสนับสนุนการปราบปรามชีอะและในเลบานอนพวกเขาก็พยายามลดความแข็งแกร่งและความนิยมของเฮซบอลเลาะห์ กล่าวโดยสรุปได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่ภูมิภาคนี้มีผลประโยชน์กับอิหร่าน หรือหันมานิยมอิหร่านมากขึ้น ปรากฎการณ์ความขัดแย้ง และความเสี่ยงในการก่อสงครามในอนาคต จะเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์สามารถคาดการณ์ได้อย่างง่ายดาย
สิ่งที่กล่าวมาเป็นบทสรุปทั่วไปที่ไม่อาจปฏิเสธได้ของสถานการณ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่าน ส่วนยุทธศาสตร์และกลวิธีในการจัดการกับแต่ละพื้นที่ของความขัดแย้งเหล่านี้จะเป็นเรื่องของรายละเอียด เพียงคลิกหาในอินเตอร์เน็ตผู้อ่านก็จะพบด้วยตนเองว่า ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา อิหร่าน โดนหาเรื่องมากเพียงใด
ประเด็นสำคัญบางประการที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการต่อสู้ที่ดุเดือดดังนี้:
1.หากมองจากผลโดยรวมของของสงครามทั้งห้า จะแสดงให้เห็นถึงขอบเขตของความเกลียดชังของอเมริกาต่ออิหร่าน ไม่ใช่แรงจูงใจแบบขั้วตรงข้ามเป็นเผด็จการ หรือ เจตนาดีอย่างแท้จริงในการแจกเสรีภาพและประชาธิปไตยแต่อย่างใด
- ความเกลียดชังของอเมริกาต่ออิหร่านไม่ใช่เรื่องเมื่อวานหรือวันนี้ แต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ เดโมแครต และพรรครีพับลิกัน ต่างหวังว่าให้วันหนึ่งมาถึง วันที่การใช้ความรุนแรงของสหรัฐ ถูกมองในเชิงบวกในสายตาของโลก กระบวนการของความขัดแย้งนั้นไม่มีอะไรไร้เดียงสา ผู้ที่คิดว่าถ้าทรัมป์ออกไปในปี 2020 และสหรัฐชนะการเสนอชื่อให้กลับคืนสู่ข้อตกลงนิวเคลียร์ แล้วสุดท้ายจะนำสู่สันติภาพนั้น เป็นความคิดที่ห่างใกลจากความเป็นจริง และประวัติศาสตร์การเจรจาก็เป็นพยานแก่เราในเรื่องนี้
3.มีผลกระทบหลายด้านเกิดขึ้นจากห้าสงครามข้างต้น กลุ่มหนึ่งที่ส่งผลกระทบคือ ประชาชน หมายถึง สงครามทั้งห้า ถ้าจะมองในอีกมิติหนึ่ง กลุ่มเป้าหมายก็คือ ประชาชนชาวอิหร่าน ดังที่บุตรชายของชาฮ์ปาเลวี และ ปธน.ทรัมป์ ได้ออกมาแสดงความเห็นอกเห็นใจ ทุกครั้งที่มีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเข้ามาก่อการร้าย ประชาชนอิหร่าน เป็นเป้าหมายใหญ่ที่พวกเขาหวังจะให้ปชช.อิหร่านเป็นฐานเสียงสนับสนุน และนำไปสู่การล้มรัฐบาล แต่หลังจากผ่านไปสี่สิบปี พวกเขาก็เริ่มตระหนักว่าประชาชนอิหร่าน ไม่ใช่เป้าหมาย ที่จะกลืนกินได้ง่ายๆ และยังเป็นพื้นฐานของอำนาจอิหร่าน ซึ่งในทุกวันนี้ ชื่อระบบการปกครองของอิหร่าน ก็บอกเล่าเรื่องราวของตัวเองอยู่แล้ว ชาวอิหร่านเรียกระบบการปกครองของตนเองว่า มัรดูมซอลอรีดีนีย์ หรือ ประชาธิปไตย อันมีศาสนาเป็นอธิปไตย ดังนั้นคนเหล่านี้จึงต้องเผชิญกับแรงกดดันแห่งความผิดหวังอยู่เสมอ แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังกระตุ้นให้เกิดความไม่สงบต่อไป เหมือนกับที่เคยทำกับประเทศอื่นๆ
- ความไร้เดียงสาอีกประการในเรื่องนี้ คือบางคนคิดว่าการเจรจาต่อรองและการประนีประนอมสามารถลดและควบคุมการบุกรุกของอเมริกาได้มากยิ่งขึ้น แต่เราต่างก็ได้เห็นว่ายิ่งเจรจา ยิ่งล้มไม่เป็นท่า
- โดยทั่วไปสงครามเป็นภัยคุกคามต่อธรรมชาติ แต่บุคคลและกลุ่มที่ชาญฉลาดเปลี่ยนภัยคุกคามให้เป็นโอกาส ในเวลาเดียวกันสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสและจุดอ่อนเป็นจุดแข็ง ผลลัพธ์ของสงครามเศรษฐกิจอาจเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจที่ปราศจากน้ำมัน และการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นที่รุนแรงยิ่งขึ้นความในหลากหลายมิติของเศรษฐกิจ
- การยอมรามือ การยุติการแทรงแซงประเทศอื่นๆในโลก ควรจะเป็นตัวเลือกแรกของสันติภาพ ในยุคสมัยปัจจุบันมักมีเรื่องเหล่านี้เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ทั้งๆที่มันไม่จำเป็นเลย…
source: kayhan