บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม ( ตอนที่ 7-3)

401

2.5 ความยุติธรรม คือ สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์

ฮูม ถือว่าความยุติธรรม ไม่ใช่ค่านิยมที่ดีจากธรรมชาติ(natural virtue) แต่เป็น สิ่งประดิษฐ์(artificial) เหมือนกับกฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ไม่ได้มีอำนาจสูงส่งใดๆสำหรับผู้ที่เชื่อในเรื่องของพระเจ้า และมันไม่ใช่สิ่งที่ธรรมชาติมอบให้แก่มนุษย์สำหรับผู้ที่เชื่อว่าธรรมชาติคือแก่นแท้สูงสุด ทว่ามันเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง อันที่จริงสำหรับเขา ค่านิยมทุกชนิด ที่มนุษย์ให้ความเคารพไม่ว่าจะมาจากธรรมชาติหรือมาจากการที่มนุษย์ประดิษฐ์มันขึ้นมาเองเช่นความยุติธรรม ล้วนมีจุดประสงค์คือการแสวงหาผลประโยชน์(usefulness)ทั้งสิ้น สำหรับฮูม ความยุติธรรม เป็นผลงานการสร้างของคน แต่การแสวงหาผลประโยชน์มาจากธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ เพราะไม่มีใครเกิดมาบนโลกนี้โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์[1]

2.6 เงื่อนไขของความยุติธรรม

มาถึงคำถามว่าความยุติธรรมเป็นค่าที่สมบูรณ์หรือขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสถานการณ์

เดวิด ฮูม มีทัศนะว่าการเยียวยาและการรักษาเป็นคุณลักษณะพิเศษของความยุติธรรม (remedical virtue) ความคิดนี้คือสิ่งที่ยับยั้งเขาไม่ให้เชื่อว่าความยุติธรรมเป็นค่านิยมแบบสมบูรณ์ เพราะสำหรับเขาแล้ว ความยุติธรรมจะมีค่ามีความหมาย และกลายเป็นสิ่งจำเป็นก็ต่อเมื่อมีสถานการณ์เฉพาะเกิดขึ้นที่ทำให้ความยุติธรรมมีโอกาสเข้าไปรักษาเยียวยาสถานการณ์นั้น

เราจะยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สมมุติว่าเราอยู่ในสภาพสังคมที่ผู้คนฝากใส่กันในการทำความดีมากกว่าการเห็นแก่ตัวหรือชิงดีชิงเด่นกัน ในสังคมนั้นจะไม่มีการพูดถึงหรือแสวงหาความยุติธรรม เหมือนกับชุมชนหนึ่งที่มีบ้าน 10 หลังที่สมาชิกครอบครัวของทั้ง 10 หลังต่างอาศัยอยู่ร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่เสมอ สำหรับฮูม สังคมแบบนี้ไม่เพียงแต่เรื่องความยุติธรรม แม้แต่เรื่องของกฎหมายก็จะไม่มีการพูดถึงเพราะไม่มีใครรู้สึกว่าตนถูกละเมิดผลประโยชน์ [2]

จากความเข้าใจดังกล่าวฮูมได้แบ่งเงื่อนไขของความยุติธรรม ได้แก่ ความขาดแคลนปานกลาง,ความเห็นแก่ตัวปานกลาง,การพิจารณาปริมาณอำนาจที่เหมาะสมของบุคคลในสังคม

2.6.1 ความขาดแคลนปานกลาง

เงื่อนไขแรกคือ ความขาดแคลนปานกลาง(moderate scarcity) ไม่ได้ครอบคลุมถึงสถานการณ์ที่มีบางสิ่งขาดแคลน แต่มนุษย์สามารถหามันมาได้ง่าย เช่น อากาศหายใจ ถ้าหากคนต้องการอากาศหายใจเขาก็แค่เดินออกไปข้างนอกในที่อากาศปลอดโปร่ง ในกรณีแบบนี้ จะไม่มีการนำเสนอการแบ่งอย่างเป็นกลาง และถ้าหากว่ามีกฎหมายนั้นก็เป็นกฎหมายที่ไร้สาระ ในทางกลับกันถ้าหากมีสิ่งหนึ่งอยู่ในภาวะขาดแคลนในลักษณะที่เลยเถิด เงื่อนไขดังกล่าวจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการสร้างกฎหมายที่ยุติธรรมเพื่อแบ่งอย่างยุติธรรม นี่คือเงื่อนไขแรก[3]

เงื่อนไขที่ 2 ความเห็นแก่ตัวปานกลาง(moderate selfishness)

มนุษย์ทุกคน มีสัญชาตญาณความเห็นแก่ตัวถูกฝังไว้ โดยธรรมชาติ ความเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามากเกินไปจะเป็นหายนะ ฮูม มองว่าความเห็นแก่ตัวที่เลยเถิดไม่ได้มาจากธรรมชาติของมนุษย์ และเมื่อมันเลยเถิด วาระเรื่องความยุติธรรมก็จะถูกพูดถึง

เพราะความเห็นแก่ตัวแบบทั่วไป ไม่ได้ยับยั้งความเป็นกลาง แต่ความเห็นแก่ตัวแบบเลยเถิด ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นหากสังคมขาดภาวะความเห็นแก่ตัวในระดับปานกลางความยุติธรรมจะถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ ตามเงื่อนไขนี้ [4]

เงื่อนไขที่ 3 คือการพิจารณาปริมาณอำนาจที่เหมาะสมของบุคคลในสังคม กล่าวคือถ้าหากในสังคมหนึ่งความเหลื่อมล้ำค่อนข้างอยู่ในระดับสูงนั่นเป็นเพราะปริมาณของอำนาจ ที่บุคคลในสังคมดังกล่าวได้รับ เป็นสิ่งไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม จึงต้องมีกระบวนการยุติธรรมเพื่อปรับดุลอำนาจของบุคคลในสังคม

มุมมอง ว่าด้วยเงื่อนไขของความยุติธรรม

John rawls มีความคิดเหมือนกับโคมที่บอกว่าความยุติธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาไม่ได้มาจากธรรมชาติ ตั้งกฎเกณฑ์หลักการต่างมาจากฝีมือการประดิษฐ์ของมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆกับสามัญสำนึกทั้งสิ้น และไม่ได้เป็นข้าบริสุทธิ์สมบูรณ์ถาวรเหมือนกับความจริง แต่มุมต่างของเรากับเดวิดคุมคือมองว่า การเข้าถึงภาวะความยุติธรรมได้นั้นจะต้องกลับไปสู่สภาวะแรกเริ่ม หรือ Original Position ที่ได้อธิบายไปแล้วในบทความความยุติธรรมในตอนที่ 3 โดยเขา ได้เสนอว่าการเข้าถึงการตัดสินอย่างความยุติธรรม จะทำได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์ลืมสถานะและที่ทางของตนเองไม่มีตำแหน่งไม่มีหน้าที่ไม่มี เพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีเด็กไม่มีผู้ใหญ่ ไม่มีเรื่องของการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง และ ผู้เขียนก็ได้แย้ง แนวคิดทฤษฎีนี้แล้ว ว่าภาวะดังกล่าวเป็นไปไม่ได้ แต่มันก็คือเงื่อนไขของความยุติธรรมที่รอสได้พูดถึง ต่างจากเดวิดฮูมที่มองว่าสภาวะแรกเริ่มมีเรื่องของความเห็นแก่ตัวเรื่องของผลประโยชน์ของตนเองเข้ามาเกี่ยวข้อง

เช่นเดียวกันเงื่อนไขความยุติธรรมของเดวิดฮูม ต่างจาก เอมานูเอล คานท์ ตรงที่ เเงื่อนไขของความยุติธรรมฮูม พิจารณา จากข้อเท็จจริงของจิตใจของมนุษย์ หรือกล่าวในอีกบริบทหนึ่ง เงื่อนไขดังกล่าวมาจากการศึกษา มนุษย์ในทางจิตวิทยา โดยเฉพาะเรื่องสัญชาตญาณ การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ในภาพรวมค่านิยมทางศีลธรรมของเดวิด ฮูม พิจารณาโดยมีประสบการณ์นิยมเป็นหลักการ ในขณะที่เอ็มมานูเอลคาน อยู่ในสภาวะเหนือประสบการณ์ [5]

ความแตกต่างที่ 2 คือฮูม มองว่า มนุษย์ จะรู้จักศิลธรรมและหลักการของมันก็ต่อเมื่อเขาคำนึงถึงศิรธรรมบนพื้นฐานของผลประโยชน์ของตนเอง ในขณะที่คานท์ มองว่ามนุษย์จะเข้าใจศิลาทำและหลักการของมันเมื่อพวกเขาเพิกเฉยต่อการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว

และนี่คือข้อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างศีลธรรมของเอมานูเอลค้านกับเดวิดฮูม

วิพากษ์

1.ความยุติธรรมของฮูม วางอยู่บนหลัก”ผลประโยชน์” แต่ไม่ใช่ผลประโยชน์ในแบบอรรถประโยชน์นิยม ที่มองว่าอะไรจะยุติธรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ แต่ฮูม อธิบายไปในลักษณะที่ว่า ผลประโยชน์เป็นแรงจูงใจของบุคคลในการแสวงหาความยุติธรรม ความต่างคือ เขาไม่ได้ตัดสินว่า ความยุติธรรม คือ การแบ่งให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด มันอาจจะไม่ให้ผลประโยชน์แก่ทุกคน แต่ก่อนจะไปถึงขั้นนั้นถึงคนต้องการความยุติธรรมเพราะผลประโยชน์ของตัวเอง ในหัวข้อแรก มีข้อวิพากษ์ที่สำคัญคือ การสรุปว่า แรงจูงใจของมนุษย์ในการแสวงหาความยุติธรรม ไม่ใช่เรื่องของผลประโยชน์แต่เพียงด้านเดียว เพราะในบางครั้งการเรียกร้องความยุติธรรม เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีแรงจูงใจมาจากการมองประโยชน์ เพราะมีแรงจูงใจอื่นๆอีกมากมาย เช่น การยับยั้งโทษ หรือ อันตรายที่เป็นไปได้ ความยุติธรรม จึงประกอบจากแรงจูงใจ ทั้งคุณ-โทษ ในหนึ่งเดียวกัน

2.จริงอยู่ที่ค่าทางศีลธรรมไม่ได้เป็นประพจน์ ยืนยัน หรือ ปฏิเสธ แต่ไม่ได้หมายความว่า มันจะไม่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงของโลก มนุษย์ หรือ สรรพสิ่ง เพราะเราเข้าใจความหมายของความยุติธรรม หรือ การกดขี่จากพฤติกรรมของบุคคล และหากบุคคลมีอยู่จริงในโลกนอกจิต บุคคล จะถือเป็นภาชนะ และพฤติกรรมคือ สิ่งที่อยู่ในภาชนะ หรือ จะกล่าวในอีกบริบทหนึ่ง เมื่อมีมนุษย์อยู่จริง ย่อมมีพฤติกรรมของมนุษย์อยู่จริง และหากพฤติกรรมหนึ่งถูกตัดสินว่าดีหรือเลว นั่นย่อมหมายความว่า ค่าดังกล่าว ก็เป็นผลสะท้อนจากสิ่งที่มีจริงเช่นกัน ปัญหาของเขา คือ การสรุปทุกองค์ความรู้ไว้เพียงกรอบการทำความเข้าใจด้วยวิทยาศาสตร์ ซึ่งหาข้อมูล จากการทดลอง สังเกต เทียบเคียง ในขณะที่ยังมีองค์ความรู้อื่นๆอีกมากมาย ใกล้ตัวเรา ที่ไม่สามารถทำได้เช่นนั้น เช่น คณิตศาสตร์ ที่การบวกจำนวนผลส้มนับล้านหน่วย ไม่จำเป็นต้องมีจริง ถึงจะยืนยันผลลัพธ์ หรือ จริยศาสตร์ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง และค่าอื่นๆ เป็นสิ่งที่เราประจักษ์เองในจิต โดยไม่สามารถสังเคราะห์ สกัด หรือ แบ่งจำนวน แน่นอนว่า อาจมีผู้อธิบายว่า ค่าทางศีลธรรมเป็นปฏิกิริยาเคมี แต่นั่นคือ การปนกันระหว่าง ผลกระทบ กับ ตัวตนของมัน ปัญหาของฮูมก็เช่นกัน การที่ลูกฟุตบอลทะลุกระจกหน้าต่าง โดยที่เราไม่รู้ว้าเป็นฝีมือของใคร ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีสาเหตุ ส่วนค่าของศีลธรรมก็จะเช่นกัน การที่สิ่งหนึ่ง สมควรทำ หรือ ไม่นั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะไร้สาเหตุเบื้องหลังที่อยู่ในข้อเท็จจริงของโลก

3.หากความยุติธรรม ขึ้นอยู่กับ กฎที่คนวางร่วมกัน วันหนึ่งมันจะเปลี่ยนแปลง หากคนส่วนมากเปลี่ยนกฎดังกล่าว เช่น หากสมัยหนึ่ง กฎหมายระบุว่า คนต่างชาติไม่มีสิทธิซื้อขายที่ดินของเจ้าของประเทศ เพราะทำให้เจ้าของประเทศ มีโอกาศน้อยลงในการพัฒนาเศรษฐกิจ หลังจากผ่านไปสิบปี กฎหมายนี้ถูกเปลี่ยน นั่นย่อมเท่ากับ ความยุติธรรม ไม่มีความหมายอะไรเลย ในขณะที่เราต่างสัมผัส และรับรู้ถึงมันได้ ผ่านสามัญสำนึก โดยปกติ อยู่ๆคงไม่มีใครรู้สึกสนุก ถ้ามีคนมาตบหัว หรือ ทุบตี โดยไม่มีเหตุผล หรือ มีเหตุผลแต่เป็นเหตุผลที่ไม่ดี การเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง เพื่อยึดว่าอะไรยุติธรรม หรือ ไม่ยุติธรรม จึงเหมือนการทำลาย คุณค่าของศีลธรรมในด้านหนึ่ง และเป็นความขัดแย้งกับสามัญสำนึกของมนุษย์ในอีกด้านหนึ่ง และยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะหากความยุติธรรม ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ ทุกคนล้วนมีมุมมองเกี่ยวกับผลประโยชน์ของตัวเอง และในระดับมหภาค ท้ายที่สุด ความยุติธรรมแบบประสบการณ์นิยม จะกลายเป็น ความเห็นแก่ตัวแบบส่วนรวม ถ้าท่านไม่ใช่คนที่เห็นด้วยกับกฎนั้น หรือ เป็นคนส่วนน้อย สิ่งที่พวกเขาเรียกว่า วามยุติธรรมอาจเป็นการบั่นศรีษะ ของคนอื่น ที่ไม่ได้ตกลงร่วมด้วย และในท้ายที่สุด เนื่องจากใครจะบัญญัติความยุติธรรมด้วยนิยามใดก็ได้ สุดท้ายแล้ว ทุกประเทศ ทุกคนก็จะอ้างว่า ประเทศของตนกระทำบนความยุติธรรมและประเทศอื่นอยุติธรรม ซึ่งผลของมันคือ ทุกประเทศยุติธรรม หรือ ไม่มีประเทศไหนยุติธรรมเลย

อ่านเพิ่มเติม:

บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 1)

บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 2)

บทความ – สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 3)

บทความ – สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 4)

บทความ-สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 5)

บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม ( ตอนที่ 6)

บทความ-สีสันแห่งความยุติธรรม ( ตอนที่ 7-1)

บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม ( ตอนที่ 7-2)

 

[1] Hume David,Treatise on Human Nature,press Oxford 1888,p619

[2] Hume David,Treatise on Human Nature,press p 486

[3] An enquiry Concerning the principles of morals ,p184

[4] An enquiry Concerning the principles of morals p 191