“ซารีฟ” สวนสหรัฐฯ “หยุดขายเสียอาวุธก่อน!” แล้วค่อยมาพูดเรื่องขีปนาวุธอิหร่าน

257

สปุตนิก  – โมฮัมหมัด ญะวาด ชารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านตอบคำนักข่าวที่ถามว่า อิหร่านพร้อมที่จะเจรจาในประเด็นโครงการขีปนาวุธกับสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ว่า เบื้องต้นอเมริกาต้องหยุดขายอาวุธให้กับประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้  แล้วจากนั้นค่อยมาพูดคุยเรื่องนี้

เป็นที่ทราบกันดีสำหรับทุกคนว่าสาเหตุหลักของวิกฤตการณ์ในตะวันออกกลางทั้งหมดมาจากความมั่งคั่งที่พระเจ้าทรงมอบให้กับประชาชนในภูมิภาคนี้ 

เพื่อสามารถกอบโกยความมั่นคั่งของประเทศเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด อเมริกาจึงผลักดันให้เกิดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศในภูมิภาคเพื่อสามารถขายอาวุธให้กับประเทศเหล่านี้

หากต้นทุนในการผลิตขีปนาวุธแต่ละลูก ตัวอย่างเช่น 1,000 ดอลลาร์ อเมริกาสามารถที่จะขายจรวดหรือขีปนาวุธเหล่านี้ไปยังประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซียในราคาหลายพันดอลลาร์อย่างสบายๆ  แล้วลองคิดดูว่าจะได้ผลกำไรเท่าไหร่ ?  

ตัวอย่างเช่นระบบป้องกันขีปนาวุธ S 400 ของรัสเซียที่ซื้อโดยตุรกี มีมูลค่าประมาณ  400 ล้านดอลลาร์ และมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบป้องกันขีปนาวุธทาด  (THAAD) หรือ แพทริออต  ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 2 – 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่ขายให้กับชาติอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย

การรุกล้ำล่าสุดของของโดรนอันซอรุลเลาะห์เยเมนเข้าไปในดินแดนซาอุดิอาระเบีย แสดงให้เห็นว่า ระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐไม่สามารถรับมือกับโดรนที่ผลิตโดยชาวเยเมนได้ 

โดยปกติแล้วอเมริกาจะใช้ระบบการตลาดในการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ของตน และด้วยรูปลักษณ์ภายนอกทำให้ผู้ซื้อคิดว่ามันเป็นระบบที่ทันสมัยที่สุด และลูกค้าก็ไม่มีความสามารถพอที่จะทดสอบระบบทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าอาวุธเหล่านี้มีประสิทธิภาพใช้งานได้จริงตามที่อเมริกากล่าวอ้าง 

อาจกล่าวได้ว่าชาวอิหร่านได้ทดลองอาวุธของอเมริกามาแล้วในช่วงสงครามอิหร่าน – อิรัก และตระหนักว่าอาวุธส่วนใหญ่ที่ซื้อมาจากอเมริกามันไม่ได้ช่วยอะไรพวกเขาเลย และถึงแม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีเครื่องบินอเมริกันที่ทันสมัยที่สุด แต่เนื่องจากขาดอะไหล่ทำให้เครื่องบินเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง

หากดูรายได้ของบริษัทอเมริกันจะพบว่า รายได้ส่วนใหญ่นั้นมาจากลูกค้าเช่นรัฐในอ่าวเปอร์เซียซึ่งยินดีที่จะซื้อแผ่นป้ายปลอมมูลค่า 450 ล้านดอลลาร์เพื่อเป็นอาวุธ

โฆษณาบางอย่างมันสามารถสร้างรายได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อดูดเงินจากประเทศเหล่านี้ 

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้อเมริกาโกรธแค้นพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขาในนาโต้คือ ตุรกี  นั่นก็เพราะว่าตุรกีสั่งซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธจากรัสเซีย และแน่นอนว่าสิ่งนี้มันอาจทำลายความสมดุลของการซื้ออาวุธจากสหรัฐอเมริกา  เมื่อประเทศอื่น ๆ สามารถที่จะซื้อเช่นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีประสิทธิภาพขั้นสูงกว่าระบบของอเมริกา ในราคาหนึ่งในห้าหรือน้อยกว่านั้น ทำให้ทุกประเทศจะหันไปทางรัสเซีย และสิ่งนี้อาจทำให้เสียเปรียบอย่างมากต่อเศรษฐกิจด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของอเมริกา

ทีนี้เรากลับไปที่อ่าวเปอร์เซียอีกครั้ง

หนึ่งในเหตุผลที่อเมริกาไม่ต้องการให้อิหร่านผลิตอาวุธและขีปนาวุธที่สมัยใหม่คือถ้าอิหร่านประสบความสำเร็จในเรื่องนี้มันจะกลายเป็นต้นแบบให้กับผู้อื่นและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค และโลกอาจพยายามบรรลุสิ่งนี้เหมือนกับอิหร่านที่สามารถผลิตระบบป้องกันภัยและอาวุธป้องกันตนเอง  

เป็นสิ่งปรกติทั่วๆ ไปเมื่อประเทศต่างๆ สามารถผลิตขีปนาวุธที่มีมูลค่าหลายพันดอลลาร์ด้วยเงินเพียงไม่กี่พันดอลลาร์ พวกเขาก็จะไม่หันไปซื้อและสนใจในอาวุธของอเมริกา 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราสังเกตจะเห็นว่า ขีปนาวุธอิหร่านที่ผลิตโดยอิหร่านเองซึ่งนายไบรอัน ฮุค ผู้รับผิดชอบโต๊ะเจรจาในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาออกมาพูดว่าเป็นภาพโฟโต้ช็อป (Photoshop)  ทว่าขีปนาวุธนี้สามารถสอยหนึ่งในสามของโดรนที่ล้ำสมัยที่สุดของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสิ่งนี้เองได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าขีปนาวุธของ อิหร่านใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพจริง 

วันนี้หากสหรัฐอเมริกาไม่โจมตีอิหร่านก็ไม่ได้หมายความว่านักการเมืองอเมริกันไม่ต้องการทำสิ่งนี้  แต่เนื่องจากเหตุผลที่ว่าอิหร่านในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาสามารถผลิตอาวุธป้องกันและปกป้องดินแดนของตนได้ด้วยตัวเองและไม่ได้พึ่งพาประเทศใด ๆ ซึ่งในวันนี้พรุ่งนี้จะได้ไม่ต้องขอให้พวกเขาส่งอะไหล่ให้กับอิหร่าน 

ในการปฏิบัติการทางทหาร ขีปนาวุธถือเป็นอาวุธยับยั้งและป้องกัน และอเมริกาก็ตระหนักถึงเหตุการณ์นี้เป็นอย่างดี 

กล่าวคือขีปนาวุธเหล่านี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยึดครองประเทศอื่น แต่ถ้าประเทศใดต้องการโจมตีอิหร่านแล้ว ขีปนาวุธเหล่านี้จะใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพมาก

ดังนั้นหากอเมริกาวางแผนที่จะโจมตีอิหร่านในตอนนี้หรือในอนาคต สิ่งแรกที่ต้องทำคือกำจัดขีปนาวุธในอิหร่านเสียก่อน เหมือนกับสิ่งที่พวกเขาทำกับลิเบีย 

แต่ทั้งนี้อิทธิพลของอิหร่านในภูมิภาคนี้ก็ไม่อาจที่จะละเลยได้เช่นกันที่ต้องมีการพูดถึง แต่เนื่องจากเราไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องที่พูดคุยกันเท่าไหร่จึงไม่ขอลงรายละเอียด 

แน่นอนว่าแรงกดดันทั้งหมดจากอเมริกาที่ต้องการกำจัดขีปนาวุธในอิหร่านให้หมดไปนั้น อาจเป็นเพราะสหรัฐอเมริกามีแผนระยะยาวที่พวกเขาวางแผนจะโจมตีอิหร่านในวันหนึ่ง และขีปนาวุธเหล่านี้เป็นตัวทำลายแผนสงครามนี้ หรือการโจมตีครั้งนี้ 

เห็นได้ชัดว่าชาวอิหร่านตระหนักดีถึงเรื่องนี้และไม่เต็มใจที่จะสูญเสียอาวุธป้องกัน โดยที่นายชาริฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านได้ย้ำจุดอ่อนของอเมริกาในเรื่องนี้ นั่นคือการขายอาวุธของอเมริกาให้กับประเทศในภูมิภาค…..

เมื่ออิหร่านไม่เต็มใจที่จะให้ใครมาพูดถึงอาวุธป้องกันตนของพวกเขา อเมริกาเองก็ไม่พอใจที่จะให้ใครมายุ่งเกี่ยวกับอาวุธที่พวกเขาขายให้กับประเทศในภูมิภาคนี้เช่นกัน