การทบทวนกลยุทธ์และการปฏิบัติงานขององค์การระหว่างประเทศและสถาบันอิสลามที่มีอยู่อย่างมากมายในโลกมุสลิมเป็นสิ่งที่ควรนำมาพิจารณา เนื่องจากการแพร่กระจายของการกดขี่ การแสดงพฤติกรรมที่โหดร้ายต่อชาวมุสลิมได้อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในโลกอิสลาม ซึ่งนับเป็นปัญหา ที่องค์กรเหล่านี้ไม่อาจละเลยและเพิกเฉยได้
องค์กรศาสนาอิสลามระหว่างประเทศต่างๆ ถูกก่อตั้งขึ้น ด้วยกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของตนเอง ในวิสัยทัศน์เพื่อช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนชาวมุสลิม โดยได้มีการจัดการรณรงค์ กิจกรรม และปรากฏตัวในเวทีประชาคมระหว่างประเทศเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดี ภายหลังจากหลายปีของการเข้ามามีบทบาทของพวกเขา ทว่าบางองค์กรและหน่วยงานที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ กลับมีศักยภาพ เพียงแค่ออกแถลงการณ์ประณามเชิงวาจาต่อการกระทำใดๆก็ตาม ที่เป็นการทำลายเกียรติของศาสนาอิสลาม และ/หรือดูหมิ่นไปยังประชาชาติมุสลิมเท่านั้น ขณะที่ในทางปฏิบัติแล้ว องค์กรเหล่านี้ กลับมิได้ดำเนินการใดๆที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังปราศจากแผนการที่ชัดเจน เพื่อเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมต่างๆให้แก่ชาวมุสลิมผู้ถูกกดขี่ในข้อบังคับและนโยบายของพวกเขา
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของรายงานฉบับนี้ เป็นไปเพื่ออภิปรายถึงยุทธศาสตร์ขององค์กรระหว่างประเทศเหล่านี้ และเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของพวกเขา นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังมีความพยายามต้องการทบทวนบทบาทที่สำคัญขององค์กรดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เพื่อเข้าใกล้เป้าหมายของรายงานฉบับนี้ให้ดียิ่งขึ้น จำเป็นที่ผู้อ่านจะต้องทำความรู้จักองค์กรที่มีชื่อเสียง และเข้าใจกิจกรรมของพวกเขาดังต่อไปนี้:
• องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมอิสลาม (ISESCO)
ISESCO (Islamic Educational, Scientific and Cultural Organization) เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ประจำองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 1982 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก
ปัจจุบัน องค์การนี้มีสมาชิกรวม 57 ประเทศ โดยทั้งหมดเป็นสมาชิกของ OIC และมีสมาชิกสังเกตการณ์ (Observer Member) 3 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย สาธารณรัฐตุรกีแห่งนอร์เทิร์นไซปรัส และประเทศไทย ซึ่งเข้าเป็นสมาชิกสังเกตการณ์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550
ISESCO มีคณะผู้แทนถาวรประจำ UNESCO ที่กรุงปารีส มีสำนักงานภูมิภาคในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รัฐชาร์จาห์) อิหร่าน โคโมรอส และสาธารณรัฐชาด
องค์กรนี้จัดตั้งขึ้นหลังจากที่มีการให้สัตยาบันอนุสัญญาในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 11 ขององค์การความร่วมมืออิสลามในกรุงอิสลามาบัดเพื่อประสานงานและขยายการปฏิสัมพันธ์ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และความร่วมมือ ด้วยแรงบันดาลใจจากเป้าหมายและคำสอนของศาสนาอิสลาม

IISO ได้ทำสัญญากับหน่วยงานและหน่วยงานเฉพาะด้านจำนวน 114 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์การสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศ NGOs และสถาบันการศึกษา สหภาพของมหาวิทยาลัยอิสลามเป็นส่วนย่อยขององค์กรนี้
• องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)
ก่อตั้งขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 1971 ตามมติการประชุมสุดยอดเป็นครั้งแรกของประเทศมุสลิม 35 ประเทศ ที่กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก เมื่อวันที่ 22-25 กันยายน 1969 โดยใช้ชื่อเดิมว่า องค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of the Islamic Conference) ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นชื่อ Organisation of Islamic Cooperation ในปัจจุบัน ตามมติในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 38 ที่กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2011 เพื่อแสดงถึงความเป็นปึกแผ่นของประชาชาติมุสลิม (Islamic Ummah) ในยุคสมัยใหม่
การก่อตั้ง OIC มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นองค์การความร่วมมือที่เป็นปึกแผ่นของประชาชาติมุสลิม (Islamic Ummah) ที่ประชาชนสามารถยืนหยัดได้อย่างมีศักดิ์ศรี ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน สืบเนื่องจากความเปราะบางทางการเมือง และกิจการระหว่างประเทศในประชาชาติมุสลิม อาทิ สงคราม ข้อพิพาทเรื่องดินแดน และเหตุวินาศกรรมมัสยิดอัล-อักซอร์ (Al-Aqsa Mosque)- สถานที่ที่มีความสำคัญลำดับ 3 ของโลกมุสลิม
OIC เป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมุสลิม ประกอบด้วยสมาชิก 57 รัฐ และมีผู้สังเกตการณ์ประกอบด้วย รัฐ องค์การระหว่างประเทศ และองค์กรอิสลาม
องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ยังเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากองค์การสหประชาชาติ มีสมาชิกประเทศครอบคลุมมากกว่า 4 ทวีป โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Jeddah ประเทศซาอุดีอาระเบีย
การประชุมสุดยอด OIC จะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี ในเมืองหลวงของประเทศอิสลามแห่งหนึ่งจากบรรดาประเทศสมาชิก
• สันนิบาตโลกมุสลิม (Muslim World League -MWL)
สันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League -MWL) หรือ รอบีเฏาะฮ ในภาษาอาหรับ เป็นองค์กรเอกชนนานาชาติ (International Non-Governmental Organization) ตั้งอยู่ที่นครมักกะห์ ซาอุดีอาระเบีย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 1962 โดยรัฐบาลซาอุฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ไฟซอล (Faisal bin Abdul Aziz Al-Saud) ให้จัดตั้งเป็นองค์กรเผยแผ่ศาสนา ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม และสาธารณกุศล โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ประสบความเดือดร้อนทั่วโลก
MWL กำหนดแนวทางที่จะเป็นองค์กรด้านศาสนา วัฒนธรรม ไม่ข้องเกี่ยวข้องกับการเมือง ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยะธรรม (Dialogue among Civilizations) ทั้งนี้ MWL เป็นองค์กรสังเกตการณ์ของ ECOSOC UNESCO OIC UNICEF
ถึงแม้ว่าองค์กรจะมีวัตถุประสงค์ตามที่กล่าวอ้าง เพื่ออธิบายความจริงเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม การประสานงานเพื่อเผยแพร่เรื่องอิสลาม และอธิบายหลักการในการรับมือกับความเคลือบแคลงสงสัย และดูหมิ่นศาสนาอิสลาม การช่วยเหลือชาวมุสลิมในการโฆษณาชวนเชื่อโครงการด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ส่งเสริมการเจรจากับผู้นับถือศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และมีความพยายามที่จะบรรลุสู่สันติภาพ ความมั่นคงความยุติธรรมและการต่อสู้กับการก่อการร้ายและความรุนแรง ทว่าองค์กรนี้กลัอยู่ภายใต้การควบคุมของลัทธิวะฮาบี( Wahhabism ) ซึ่งเป็นลัทธิความเชื่อที่สนับสนุนนความแตกแยกในหมู่ประชาชาติอิสลาม ทั้งยังเป็นต้นแบบแนวความเชื่อที่องค์การก่อการร้ายที่มีชื่อเสียงทั่วโลกยึดมั่น
องค์กรนี้- โดยหลักแล้ว ดำเนินการตามนโยบายและแนวทางของซาอุดีอาระเบีย และแทบจะไม่มีควาหวังจากสมาคมที่จะให้บริการรับใช้ศาสนาอิสลามและชาวมุสลิมอย่างแท้จริงตามที่กล่าวอ้าง
นอกเหนือจากองค์กรระหว่างประเทศทั้งสามองค์กรดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี ยังคงมีองค์กรและสถาบัน และสมาคมอิสลามระหว่างประเทศอื่นๆอีก ที่แม้ว่าจะมีการก่อตั้ง ภายใต้นามของศาสนาอิสลามและมีกลิ่นอายชาวมุสลิม แต่กระนั้น ก็ยังไม่ได้ดำเนินการเพื่อปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของโลกอิสลามเท่าที่ควร
องค์กร ระหว่างประเทศและสถาบันอื่น ๆ ที่สามารถเอ่ยถึงในทีนี้ ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศเมืองและเมืองหลวงของอิสลาม สภานักเทศน์มุสลิม สหภาพสากลของนักวิชาการมุสลิม สภาระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่และการบรรเทาทุกข์ของชาวมุสลิม และสมาคมการกุศลอิสลามนานาชาติ และฯลฯ
แม้ว่า การให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ของสถาบันอิสลามประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อสันติภาพ และความสงบสุข ที่ปราศจากความสุดโต่งและความคลั่งไคล้ และเพื่อนำเสนอประเด็นทางศาสนาที่จำเป็นสำหรับการปฏิสัมพันธ์กับตะวันตกและวัฒนธรรมที่หลากหลาย จะเป็นวัตถุประสงค์หลักขององค์กรเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ กลับต้องเผชิญกับการตั้งคำถาม และความท้าทายอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ล่าสุดที่ได้ทำร้ายผู้อพยพชาวมุสลิมในประเทศต่างๆ

นับเป็นการตัดสินใจที่ลำเอียง ถ้าหากเราจะตัดสินองค์กรเหล่านี้ทั้งหมดด้วยการพิจารณาในด้านเดียว อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือ ISISCO องค์กร OIC และ MWL ล้วนเป็นสถาบันระหว่างประเทศ 3 แห่งที่ชาวมุสลิมทั่วโลกต่างให้ความคาดหวัง ในการทำหน้าที่ และดำเนินกิจการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประชาชาติมุสลิม และโลกอิสลาม อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวมุสลิมโรงฮิงญา เหตุการณ์ก่ออาชญากรรมของยิวไซออนิสต์ต่อชาวปาเลสไตน์ และการทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธ์ของชาวมุสลิมเพื่อขยายอานานิคมยิวไซออนิสต์ เหตุการณ์การก่อการร้ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไนจีเรีย วิกฤตเยเมน ซีเรียและอิรัก รวมทั้งกิจกรรมที่ไร้มนุษยธรรมในประเทศมุสลิมและต่อชาวมุสลิม กลับชี้ให้เห็นว่า องค์การระหว่างประเทศเหล่านี้ไม่ได้สำแดงบทบาทของตนในเชิงบวก และไร้อิทธิพลในการต่อกรกับศัตรู และภัยคุกคามต่างๆ โดยในหลายกรณี พวกเขากระทำเพียงแค่ออกแถลงการณ์ประณามเพียงเท่านั้น

ความคิดเห็นของ ฮะซัน อัลบัรซ์ นักวิจัยด้านสังคมศึกษา เชื่อว่าการดำรงอยู่ขององค์กรเหล่านี้ อันที่จริง สามารถเป็นแหล่งหลักในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิส่วนบุคคลของชาวมุสลิมได้
เช่นเดียวกับ Khalid Muammar Jandali นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเชื่อว่า การดำรงอยู่ขององค์กรเหล่านี้และสถาบันเหล่านี้ มีความจำเป็นสำหรับชีวิตทางสังคม การเมือง กฎหมายและศาสนา
คำถามสองสามข้อ
คำถามที่มีตามมา คือ ทั้งๆที่นักวิชาการเหล่านี้ และนักวิชาการคนอื่น ๆ แสดงความคิดเห็นเช่นนี้ แล้วเหตุใด เรายังคงเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวันในเกือบทุกๆภูมิภาค-จากเยเมนไปยังพม่า แอฟริกา เอเชียตะวันตกและประเทศมุสลิมอื่น ๆ ?
หากองค์กรเหล่านี้ใช้บทบาทและยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้มาบังคับใช้ในภาคปฏิบัติ หรือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมจริง ความกดดันต่อชาวมุสลิมย่อมลดลง แต่ทว่าความกดดันเหล่านี้นับวันจะเพิ่มมากขึ้น และเป็นคำถามที่องค์กรระหว่างประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องอธิบาย หรือ ชี้แจงให้ได้
ดูเหมือนว่าขอบเขตและบทบาทของการดำเนินงานและกิจกรรมขององค์กรระหว่างประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะดวงตาของคนที่ประสบความเดือดร้อนและผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของโลกมหาอำนาจกำลังจดจ้องมายังพวกเขา ในฐานะที่พึ่งในการขอความช่วยเหลือ
ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งก็คือ สถาบันอิสลามหลายแห่ง เช่น องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ได้ละทิ้งกรอบงานและภารกิจของตน และกลับกลายมาเป็นสถาบันสำหรับการดำเนินงาน และแนวทางในการรับนโยบายของบางประเทศ รวมถึงประเทศซาอุดิอาระเบีย ในการก่อความเสียหาย (ฟิตนะห์)ในสังคม ข้อพิสูจน์ของสิ่งนี้ ก็คือ ท่าทีที่นิ่งเงียบและบางครั้งยังสนับสนุนการโจมตี การก่ออาชญากรรมร้ายแรงและไร้มนุษยธรรมต่อพลเมืองเยเมน
นอกจากนี้ IISO ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ การวิจัยและวัฒนธรรม ในหลายเหตุการณ์กลับมุ่งเน้นไปยังการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และในบางครั้ง ยังแสดงจุดยืนและท่าที่ในประเด็นทางการเมือง มีการถกเถียง และออกแถลงการณ์ระหว่างประเทศ แม้การแสดงออกดังกล่าว จะเป็นบทบาทที่ไม่จำเป็น และนอกเหนือไปจากกรอบของนโยบายและการทำงานขององค์กรนี้ก็ตาม