ตุรกีวิตก ความมั่นคงชาติ “สั่นคลอน” หากชาวเคอร์ดิสถานลงประชามติแยกออกจากอิรัก

457

ยิ่งใกล้ถึงวันลงประชามติ วันที่ 25 กันยายน 2560 เจ้าหน้าที่ตุรกีก็ยิ่งเริ่มแสดงปฏิกิริยาที่รุนแรงมากขึ้น ภายหลังชาวเคิร์ดจะจัดให้มีการลงประชามติในภาคเหนือของอิรักปลายเดือนนี้ เพื่อตัดสินข้อเรียกร้องแสวงหาอิสรภาพ ในความต้องการแยกออกจากอิรัก ขณะเดียวกัน สถานการณ์ยังได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดในระหว่างประเทศเพื่อนบ้าง ในประเด็นที่ว่า ใครจะเป็นเจ้าของทรัพยากรน้ำมันในบริเวณนี้ในอนาคต

นาย Binali Yildirim นายกรัฐมนตรีตุรกีกล่าวเมื่อวานนี้ กรณีออกคัดค้านการลงประชามติเกี่ยวกับความเป็นอิสระของเคอร์ดิสถาน Kurdistan จากอิรัก โดยกล่าวว่า “การลงประชามติแยกออกจากอิรักได้รับการวางแผนโดยชนส่วนน้อยชาวเคอร์ดิสถาน และจากการลงประชามตินี้เองจึงเป็นประเด็นด้านความมั่นคงของชาติสำหรับเรา ซึ่่งไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าเราจะต้องดำเนินการในเรื่องนี้อย่างแน่นอน”

ทางด้าน Recep Tayyip Erdogan ประธานาธิบดีตุรกีของตุรกี ยังกล่าวในแถลงการณ์เชิงข่มขู่ว่า “ประเทศเราจะใช้การตัดสินใจขั้นสุดท้ายและเด็ดขาด เพื่อเผชิญหน้ากับการลงประชามติครั้งนี้ในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติในวันที่ 22 กันยายนนี้ ”

Bodhchelli State ผู้นำพรรคขบวนการรักชาติของประเทศตุรกี กล่าวว่าการลงประชามติเกี่ยวกับความเป็นอิสระโดยรัฐบาลในภูมิภาคเคอร์ดิสถานเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ใกล้เคียงที่สุดต่อความมั่นคงของประเทศ เขายังกล่าวว่า “ไม่ควรอนุญาตให้มีการลงประชามติครั้งนี้ หากไม่สามารถยับยั้งการลงประชามติครั้งนี้ได้ แผ่นดินของเราจะถูกกำหนดเป้าหมายด้วยแผนการสมรู้ร่วมคิดที่ทรยศและมืดมน ”

ตอนนี้คำถามมีอยู่ว่า : ความท้าทายของการลงประชามติเกี่ยวกับความเป็นอิสระของ Kurdistan ในอิรัก จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติใดบ้าง ?

อิสรภาพของเคอร์ดิสถานจะส่งอิทธิพลต่อชาวเคริด์ในตุรกี

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความกังวลที่สำคัญที่สุดของตุรกีในปัญหาการลงประชามติเป็นเอกราชของชาวเคิร์ด คือการมีอยู่ของประชากรชาวเคริด์ในตะวันออกกลางที่มากที่สุดในประเทศนี้ ซึ่งจำนวนประชากรชาวเคริด์ที่อาศัยอยู่ในตุรกีมีประมาณ 15-18 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับยอดจำนวนของประชากรชาวเคิร์ดในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา มีการประท้วงที่เข้มข้นและความขัดแย้งที่รุนแรงต่อรัฐบาลกลาง และได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาพร้อมสำหรับการก่อจลาจลทั่วไปเพื่อต่อรัฐบาลกลางในประเทศตุรกี ดังนั้น จึงต้องได้รับการยอมรับว่า หากการลงประชามติเอกราชของชาวเคิร์ดประสบความสำเร็จ มันก็จะเป็นตัวช่วยในการเสริมสร้างความแตกแยกในด้านอัตลักษณ์ที่มีอยู่ในตุรกีมากยิ่งขึ้น และจะทำให้ความต้องการของชาวเคิร์ดที่เรียกร้องความเป็นเอกราช ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความเป็นปึกแผ่นเดียวกัน และความมั่นคงของตุรกี

การทำลายกลยุทธ์เชิงลึกของตุรกีในอิรัก

อิรักซึ่งปกครองโดยเติกร์ ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน ในส่วนของเขตปกครองของคอร์คุกและโมซุลของ จากเติร์กเมนิสถานที่ได้รับการสนับสนุนจากอังการา ในแง่นี้ จากมุมมองของการตัดสินใจของคณะมนตรีสภา Kirkuk City Administrative Council เพื่อจัดให้มีการลงประชามติในจังหวัดนี้ และในที่สุด ถ้าจังหวัดได้ผนวกกับเคริด์และแยกตัวออกจากอิรักแล้ว อังการาจะสูญเสียอิทธิพลดั้งเดิมในอิรัก

ในบริบทนี้ทาง เออร์โดกาน ได้กล่าวก่อนที่จะเดินทางไปยังนครนิวยอร์กเพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติว่า “มีแนวโน้มที่จะทำให้เราเสียใจ เรามีพรมแดนร่วมกัน 350 กิโลเมตรที่นั่น นอกจากนี้ยังมีประชาชนของเราอยู่ที่นั่น และความเชื่อทางศาสนาของเราก็อยู่ที่นั่น เราได้รับมอบหมายให้เป็นอารยะธรรมร่วมกับพวกเขาที่นั่น กล่าวคือพวกเราเป็นพวกเดียวกัน เป็นชาวตุรกีเหมือนกัน ไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นชาวเคิร์ด เติร์กเมนิสถาน หรืออาหรับ แต่ถ้าเกิดการย่อยสลายตัวอิรักแล้ว เราไม่สามารถพูดกับพวกเขาว่าพวกเขาจะดำเนินในเรื่องนี้อีกต่อไป ”

ประเทศเคอร์ดิสถานเป็นฐานที่มั่นสำหรับ PKK

ด้วยการแยกตัว Kurdistan จากอิรัก ประเทศนี้ จะกลายเป็นฐานที่มั่นที่เหมาะสม และที่พักอาศัยสำหรับกลุ่มและสมาชิก PKK แม้ว่าจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างชาวเคริด์อิรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาธิปัตย์ กับ PKK แต่ปัญหานี้ ไม่ใช่ปัญหาหลักในบริบทของความสัมพันธ์และยุทธการระหว่างชาวเคริด์ ในอิรักกับตุรกี

การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ และการจัดตั้งประเทศใหม่ในประเทศเคอร์ดิสถาน จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาคนี้ ซึ่งการขจัดความไม่ลงรอยกันและความสัมพันธ์ของ PKK กับชาวเคริด์ในอิรัก (ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่จะสามารถคลี่คลายได้) ก็จะเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ชาวเคิร์ดมีแรงจูงใจอย่างแรงกล้าในการจัดตั้งเคอร์ดิสถานแห่งใหญ่ และได้กล่าวซ้ำ ๆ ว่าพวกเขาจะไม่ยอมแพ้ให้กับอุดมการณ์ของพวกเขา พวกเขาเชื่อมั่นว่า การเชื่อมั่นและพึงพอใจในสิ่งที่น้อยกว่า เป็นเพียงแค่สิ่งชั่วคราวและเพื่อประโยชน์บางอย่าง อีกทั้ง เนื่องจากแรงกดดันจากผู้ปกครอง กลยุทธ์ของชาวเคิร์ดเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายนี้จึงเป็นไปทีละขั้นตอน ซึ่งพวกเขาได้รับการยอมรับมาก่อนแล้ว ดังนั้นพวกเขาจะเดินหน้าต่อไปไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็ตาม

นอกจากว่าจะมีอุปสรรคเล็กๆเข้ามาใหม่เท่านั้น การจัดตั้งรัฐของชาวเคิร์ดจะเป็นเวทีสำหรับชาวเคิร์ดในประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆเพื่อไปถึงเคอร์ดิสถานอันยิ่งใหญ่ สถานการณ์นี้จะทำให้พวกเขามีแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจอย่างมาก หากวันนี้ ความต้านทานต่อการแบ่งแยกดินแดนของชาวเคิร์ดในอิรักไม่ได้ยากนัก แต่ในวันพรุ่งนี้หลังจากแยกตัวออกมาอิรักแล้ว ย่อมต้องเจอกับแรงต้านทานต่อการแบ่งแยกดินแดนเคิร์ดปัจจุบัน ด้วยการสนับสนุนของอิรัก ทำให้เคอร์ดิสถานเป็นเรื่องยาก และมีค่างวดที่สูง

อิสรภาพของชาวเคอร์ดิสถาน เป็นจุดเริ่มต้นของโดมิโนการล่มสลายของประเทศในภูมิภาค

ด้วยกับความไม่สมดุลของอำนาจในภูมิภาค และผลพวงจากสถานการณ์ต่างๆในภูมิภาค เช่น การส่งกองทัพสหรัฐและพันธมิตรเข้าไปในอิรักและอัฟกานิสถาน และการล่มสลายของระบบการเมืองในประเทศเหล่านี้ ตลอดจนการตื่นตัวของอิสลาม และความพ่ายแพ้ของระบบการปกครองแบบเผด็จการ ที่ให้การสนับสนุนตะวันตกในภูมิภาค ทำให้เกิดการแข่งขันระลอกใหม่อย่างรุนแรง เพื่อกำหนดวางระบอบใหม่ในภูมิภาค ระหว่างตัวละครหลักที่ปรากฏตัวในเวทีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเอเชียตะวันตก ตัวอย่างที่เด่นชัดและที่สำคัญ คือวิกฤตในซีเรีย ในเรื่องนี้อิสราเอลและมหาอำนาจตะวันตกมีความพยายามเพื่อโค่นล้มรัฐบาลในระดับภูมิภาค เช่น ซีเรีย อิรักและตุรกี ซึ่งถูกวางแผนภายใต้บริบท และบทบาทของชาวเคิร์ด เมื่อแผนการของตะวันตกได้ล้มเหลวในการทำลายซีเรีย พวกเขาจึงหันไปหาทางเลือกอีกทางหนึ่ง คือ การโค่นล้มอิรัก และจัดตั้งรัฐเคิร์ดทางตอนใต้ของชายแดนตุรกี ตะวันตกของอิหร่าน และตะวันออกของซีเรีย ด้วยเหตุนี้เมื่อพิจารณาถึงประเด็นดังกล่าว เจ้าหน้าที่อังการาจึงคาดการณ์ว่าการล่มสลายของอิรักเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นในดินแดนของตน ดังนั้นจึงต้องออกมาคัดค้านเรื่องนี้อย่างรุนแรง

Source: alwaght.com