บทบาทของ “ประเทศจิบูตี” ในสงครามเยเมน – ศูนย์ความมั่นคงของอิสราเอลในจงอยแอฟริกา (ตอนที่ 2)

1872
แผนที่ ประเทศจิบูตี

เนื่องจากประเทศจิบูตีตั้งอยู่บนตำแหน่งภูมิศาสตร์ที่สำคัญ จึงกลายเป็นประเทศที่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลนานาประเทศ    ประเทศเล็ก ประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายพอ  ประเทศที่ไม่สามารถจะประกอบอาชีพเกษตรกรและเพาะปลูกได้   แต่เนื่องจากอยู่ติดกับอ่าวเอเดนและทะแลแดง จึงกลายเป็นประเทศที่มีความสำคัญในเชิงยุทธ์ศาสตร์และภูมิศาสตร์ในทันที อีกทั้งมีรายได้หลักจากการที่ชาติมหาอำนาจต่างๆเข้าไปตั้งฐานทัพในประเทศจิบูตี
ในตอนที่ 1   เราได้ชี้ถึงการปรากฏตัวและการเข้าร่วมของทหารและกองกำลังตั้งต่างในจิบูตี โดยเฉพาะอิสราเอลไปแล้วพอสังเขป

ในตอนที่ 2  นี้ จะนำเสนอ ในประเด็น   “บทบาทของจิบูตีที่มีต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเยเมน”

เบื้องต้นสามารถกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระห่างเยเมนกับจิบูตี  หรือ บทบาทของรัฐบาลจิบูตี ไม่อาจจะส่งผลกระทบอะไรมากต่อวิกฤติในเยเมน  แต่เป็นประเด็นและปัญหาที่จะต้องย้อนกลับไปยังประเทศและรัฐบาลต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องและตั้งฐานทัพในประเทศจิบูตี  หรือประสิทธิของประเทศจิบูตีในด้านภูมิศาสตร์ที่ติดกับประเทศเยเมน

การช่วยเหลือ

ประเทศจิบูตี เนื่องจากมีเขตแดนติดกับอ่าวเอเดน ประมาณ 23   กิโลเมตร    เป็นประเทศที่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่สงคราม   โดยสหประชาชาติเลือกให้ประเทศนี้เป็นสถานที่รวบรวมสิ่งบรรเทาทุกข์และสิ่งช่วยเหลือต่างๆด้านมนุษยธรรมให้กับชาวเยเมน

ในประเด็นนี้ ควรจะตั้งข้อสังเกตว่า  ก่อนหน้านี้ “กษัตริย์ ซัลมาน” แห่งซาอุดีอาระเบีย ประกาศว่าจะให้ดินแดนซาอุดิอาระเบีย เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสิ่งบรรเทาทุกข์และสิ่งของความช่วยเหลือต่างๆด้านมนุษยธรรมให้กับชาวเยเมน  แต่เนื่องจากหลายประเทศ เช่น อิหร่าน ไม่ยินยอมที่จะขนย้ายสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมให้กับชาวเยเมนไปรวบรวมที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในฐานเป็นประเทศผู้บุกโจมตีเยเมน ทำให้ข้อเสนอของกษัตริย์ ซัลมานไม่ถูกตอบรับเท่าที่ควร

การเข้าไปมีส่วนร่วมของชาติต่างๆและการส่งผลกระทบต่อเยเมน

1.ซาอุดีอาระเบีย 

ในช่วงแรกที่ซาอุดีอาระเบียโจมตีเยเมนทางอากาศ  เอกอัคราชทูต  จิบูตี ประจำกรุงริยาด ออกมาประกาศให้การสนับสนุน  “การปฏิบัติการพายุแกร่ง” ของซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรที่มีต่อเยเมน

เขากล่าวว่า  “เราพร้อมที่จะเปิดน่านฟ้าและอ่าวของตนเพื่อให้ซาอุดีอาระเบียใช้เป็นฐานทัพในการโจมตีเยเมน”
นอกจากนั้นจิบูตีและซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งรัฐบาลจิบูตี ได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนมากจากซาอุดีอาระเบียอย่างต่อเนื่อง

เอกอัครราชทูตจิบูตี ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์   Asharq Al-Awsat     เมื่อ วันที่   16    พฤษภาคม   ที่ผ่านมา โดยแสดงปฏิกิริยาต่อเรือบรรเทาทุกข์ของอิหร่านที่มุ่งหน้าสู่อ่าวเอเดนเยเมน   ว่า  ประเทศของตนยังไม่ได้รับจดหมายขออนุญาตจากอิหร่านเพื่อผ่านอ่าวเอเดนสู่ประเทศเยเมนอีก  และหากอิหร่านมีการยื่นคำขอดังกล่าว เราจะไม่มีวันอนุญาตให้เข้าไปได้จนกว่าเราจะได้รับการอนุญาตจากซาอุดีอาระเบียเสียก่อน

สามารถกล่าวได้ว่าไม่มีประเทศใดๆที่มีสิทธิและมีอำนาจในการแอบอ้างในเรื่องนี้  แต่การแสดงทัศนะดังกล่าวของเอกอัครราชทูตจิบูตีนั้น มันแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีและความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกับซาอุดีอาระเบีย

2    อิสราเอล  

อิสราเอล ได้ส่งเรือรบหลายลำ  เครื่องบินรบ f 16   และ หน่วยรบพิเศษจำนวน 200   นาย  ทำให้อิสราเอลเป็นชาติเดียวที่ส่งกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์มากที่สุดเข้าไปในจิบูตี

เนื่องจากมีการรายงานข่าวอย่างแพร่หลาย กรณีที่เครื่องบินรบอิสราเอลโจมตีเยเมนทางอากาศ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับซาอุดีอาระเบีย   ดังนั้น จากรายงานข่าวเช่นนี้ ในอนาคตสามารถกล่าวได้ว่า หากสงครามเยเมนยืดเยื้อ แล้ว จิบูตีจะกลายเป็นต้นทางของเครื่องบินรบในการโจมตีเยเมนอย่างแน่นอน

เลขาธิการ พรรค “อัลฮักก์” เยเมน ประกาศเป็นครั้งแรกว่า กองกำลังทหารอิสราเอลได้เข้าร่วมโจมตีเยเมนทางอากาศร่วมกับซาอุดีอาระเบียและชาติพันธมิตรด้วย

ทางสถานีโทรทัศน์ช่องสิบ ของอิสราเอล ก็ออกมายอมรับในเรื่องนี้ ต่อการเข้าร่วมของเครื่องบินรบอิสราเอลในการโจมตีเยเมน  พร้อมกับคาดหวังว่าซาอุดิอาระเบียจะเป็นฝ่ายชนะในสงครามครั้งนี้ อีกทั้ง การเข้าไปแทรกแซงของซาอุในเยเมน สร้างความดีใจแก่อิสราเอลเป็นอย่างยิ่ง

เว็บไซต์   www.veteranstoday.com    เปิดเผยว่า   อดีตนายทหารสมัยสงครามเวียดนาม เปิดเผยว่า   เครื่องบินรบของอิสราเอลได้ทิ้งระเบิดนิวตรอน ในพื้นที่ “ญะบาลุล นะกอม”  กรุงซานา

สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ถึงความร่วมมือของอิสราเอลกับซาอุดีอาระเบียในการโจมตีเยเมน  และในขณะที่เรารู้แล้วว่า จิบูตีเป็นฐานทัพใหญ่ของอิสราเอล ดังนั้นก็ควรที่จะเฝ้าระวังและติดตามความสำคัญและบทบาทของจิบูตีอย่างใกล้ชิดและให้มากกว่านี้

3    อเมริกา

สำหรับอเมริกานั้น ไดเข้าไปฐานทัพทหารครั้งแรกในจิบูตี  หลังจากเกิดเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่สอง และสงครามอิรัก  จากนั้นก็ไม่ได้เพิ่มกองกำลังแต่อย่างใด อีกทั้งยังใช้ฐานทัพในจิบูตีในการปล่อยเครื่องบินไร้อากาศยานยังเยเมน

หลังจากเหตุการณ์ 11   กันยา 2001      อเมริกาถือว่าเยเมนเป็นศูนย์บัญชาการหลักของอัลกออิดะห์ รองจากอัฟกานิสถาน และใช้เครื่องบินไรอากาศยานเพื่อสอดแนมเยเมน อยู่เสมอ โดยใช้จิบูตีเป็นฐาน

เมื่อหลายเดือนก่อน จอห์น แครี่  ได้เยือนจิบูตี  และเยี่ยมชม ฐานทัพ “โลโมนิส” ในจิบูตี ด้วย

ดังนั้น หากพิจารณาจากเนื้อหาข้างต้นแล้ว สามารถสรุปว่า แม้นวาจิบูตีจะเป็นประเทศเล็กๆที่ไม่มีความสำคัญใดๆ แต่ทว่าหากพิจารณาจากภูมิศาสตร์ของประเทศแล้ว เป็นประเทศที่กำลังถูกจับตามองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ จากเหตุการณ์วิกฤติในเยเมน และการเคลื่อนไหวของเรือบรรเทาทุกข์ต่างๆที่มุ่งหน้าสู่พอร์ต อัลฮะดีดะห์    จิบูตีเสมือนเป็นคอขวดของอ่าวมันเดบ  ที่สามารถมีบทบาทเชิงบวกและเชิงลบอย่างมากมายต่อเยเมน

http://www.farsnews.com/newstext.php?nn=13940306000904