สำหรับผู้ที่ให้ความสนใจกับทฤษฎีสมคบคิดอาหรับ – วันที่ 4 พฤศจิกายน ถือว่าเป็นวันที่น่าจดจำอีกวันหนึ่ง
ในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง ริยาด แห่งซาอุดิอาระเบีย ได้กลายเป็นจุดบรรจบของเหตุการณ์ที่ชี้ถึงพัฒนาการที่สำคัญในภูมิภาคสามประการ หนึ่งในนั้น คือ การที่นายกรัฐมนตรีซาอาด ฮาริริ แห่งเลบานอน ประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างกระทันหัน ประการที่สอง คือ กรณีที่มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบีย โมฮัมเหม็ด บินซัลมาน เริ่มมีความแข็งกร้าวและเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามคู่แข่งขันของตนภายในราชวงศ์ปกครอง ประการที่สาม คือ เรื่องขีปนาวุธระยะไกล ที่มุ่งเป้าไปยังเมืองหลวงของประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยกลุ่มฮูซี่ (Houthis) ของเยเมน
ไม่มีอะไรเกี่ยวกับแผนการเดินทางล่าสุดของฮาริริ หรือมุมมองทางการเมืองใด ที่จะบอกใบ้ถึงการประกาศลาออกจากตำแหน่งของเขาที่เกิดขึ้นอย่างฉุกละหุกนี้ สิ่งนี้เปิดประตูไปสู่การคาดเดาต่างๆนานา บ้างกล่าวว่า การประกาศลาออกได้ช่วยให้เขารอดชีวิตจากการถูกลอบสังหารโดยคำสั่งการของอิหร่านและพันธมิตรในกรุงเบรุต แต่บางฝ่ายก็ชี้ว่า เขาถูกกักกันตัวโดยซาอุฯภายในกรุงริยาด อย่างไรก็ดี เขาเองมีประวัติของการตกอยู่ภายใต้แรงกดดันของซาอุดีอาระเบีย ในปี 2009-2010 ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ฮาริริได้วิจารณ์ถึงซาอุฯ กับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กรณีที่ซาอุฯบีบให้เขาต้องทำทีปรองดองกับระบอบการปกครองของซีเรีย
เมื่อแผนการฟื้นไมตรีระหว่างซาอุดีอาระเบียกับซีเรียเริ่มไม่เข้าที่เข้าทาง ฮาริริก็ถูกขับออกจากอำนาจเมื่อเดือนมกราคม ปี2011 ภายในไม่กี่นาทีหลังจากถ่ายรูปร่วมกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ภายในห้องทำงานรูปไข่ (Oval Office) และล่าสุด ฮาริริถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่ซาอุดีอาระเบียไม่ให้เข้าร่วมระบอบการปกครองซีเรีย หรือยอมจำนนต่ออิทธิพลของอิหร่าน
มีคำอธิบายที่พอจะฟังขึ้นสามประการ สำหรับเหตุการณ์ประกาศลาออกของเขาในวันที่ 4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
1) คำอธิบายที่น่าเชื่อถือประการแรก คือ การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติของเลบานอนที่กำหนดไว้สำหรับเดือนพฤษภาคม ในขณะที่คณะรัฐมนตรีได้ตกลงกันอย่างไม่เต็มใจ เกี่ยวกับกฎหมายการเลือกตั้งใหม่ มีความไม่เห็นด้วยเชิงขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีดำเนินการ หรือ การนำกฎหมายดังกล่าวไปปฏิบัติ
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่นานมานี้ ซาอุดีอาระเบียไม่สามารถชุมนุมผู้นำเลบานอนด้วยการเลือกตั้ง สำหรับใช้ต่อต้านกองกำลังฮิซบุลลอฮ์ได้
หนทางที่ความสามารถของฮาริริ จะเอาชนะฮิซบุลลอฮ์ได้อย่างใสสะอาด เลือนรางจนแทบจะมองไม่เห็น ทั้งนี้ เนื่องจากทรัพยากรทางการเงินของเขากำลังร่อยหรอลง ประกอบกับการจำยอมสละ (appeasement) ของเขาเองที่มีต่อกองกำลังฮิซบุลลอฮ์
ขณะที่การเลือกตั้งกำลังมีขึ้นในตอนนี้ ฮาริริอาจจะพยายามชุบฐานเหล็กของเขาด้วยสังกะสีเพื่อกันไม่ให้เกิดสนิม เช่นเดียวกับที่พ่อ ราฟิก ฮาริริ ของเขา ได้กระทำในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่
2) คำอธิบายที่เป็นไปได้ประการที่สอง คือ ตำแหน่งของ ฮาริริในกลุ่มข้าราชบริพาลของเจ้าชายมงกุฎราชกุมาร
นับตั้งแต่กษัตริย์อับดุลลาห์สิ้นพระชนม์ในปี 2015 การลงทุนของนายกรัฐมนตรีเลบานอนในซาอุดิอาระเบียก็เริ่มติดขัด จึงเป็นไปได้ว่า ฮารีรี ผู้ที่แข็งขืนต่อแรงกดดันของซาอุฯ เพื่อให้แสดงท่าทีต่อต้านฮิซบุลลอฮ เป็นระยะเวลากว่าหลายเดือน อาจกำลังพยายามส่งสาส์นยืนยันความจงรักภักดีของตนที่มีต่อมกุฎราชกุมาร ด้วยการประกาศลาออกของเขา
เพราะหากฮารีรี รอดชีวิตจากการปราบปรามของมกุฎราชกุมารครั้งล่าสุด ซึ่งมุ่งเป้าไปยังนักธุรกิจซาอุฯที่สำคัญ นี่อาจให้ความหมายว่า หุ้นส่วนทางการเมืองของฮารีรีในริยาดก็จะเติบโตขึ้น และนั่นแปลว่า เขามีโอกาสช่วยบริษัท Saudi Oger ของเขาให้รอดพ้นจากการล้มละลายในท้ายที่สุด
3) คำอธิบายที่เป็นไปได้ประการที่สาม คือ การแข่งขันระหว่าง ซาอุฯ และอิหร่าน ซึ่งมันไม่มีความหมายอะไรเลย ที่กรุงริยาดได้สร้างความผ่อนคลายของวิกฤติการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศกับกรุงเตหะรานในเบรุต และตัดสินใจถอนกำลังออกจากอิรัก จากกรณีที่ IS ปรากฏขึ้นในฐานะกองกำลังก่อการร้ายตัวหลักในปี 2014 เพราะ ณ ตอนนี้ ที่ซึ่งสงครามต่อต้าน IS กำลังลดความตึงเครียดลง ริยาดได้ฉวยโอกาสนี้ อ้างถึงอิทธิพลของตนในอิรัก และทำให้ความผ่อนคลายทางการเมืองกับอิหร่าน ในเลบานอนกลายเป็นโมฆะ
การเคลื่อนไหวของซาอุดีอาระเบียอาจมุ่งเป้าไปที่การท้าทายสถานะเดิมของกองกำลังฮิซบุลลอฮ์ โดยการบีบบังคับ มือเท้าของอิหร่านในเลบานอน เพื่อแลกกับการประนีประนอม ณ ที่อื่นแทน หรือ ในประเทศซีเรีย อย่างที่สามารถสังเกตได้
การผลักดันให้ฮารีรี ยื่นจดหมายลาออก เป็นข้อบ่งชี้ว่า ริยาดอาจยังไม่พร้อมสำหรับการเผชิญหน้าแบบเปิดเผยกับกรุงเตหะราน
คำถามที่สำคัญตอนนี้คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากการลาออกของฮาริริ การคาดเดาว่า ‘นรกจะแตก’ หรือ เหตุการณ์ไม่สามารถควบคุมได้ มันเป็นอะไรที่เกินความเป็นจริง เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก หรือ ครั้งสุดท้าย ที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นในเลบานอน มีความเคลื่อนไหวบางอย่างที่น่าจับตามอง ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในลำดับต่อไป:
ประการแรก คือ การประสานงานด้านความมั่นคงระหว่าง การเคลื่อนไหวในอนาคตนำโดย ฮารีรี กับ กองกำลังฮิซบุลลอฮ์ จะดำเนินต่อไปผ่านหน่วยงานที่เป็นทางการ ซึ่งจงรักภักดีต่อพวกเขา หรือไม่?
ประการที่สอง กลุ่มฮิซบุลลอฮ ซึ่งมีอิหร่านหนุนหลัง จะผลักดันนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพื่อให้เลบานอนสามารถปกครองได้โดยไม่ต้องพึ่งริยาด หรือไม่?
ประการที่สาม คือ สหรัฐฯจะเข้าร่วมกับแผนการกดดันของซาอุฯ ในเลบานอน หรือไม่?
มีสถานการณ์ ที่เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดขึ้น 3 สถานการณ์ สำหรับหลายสัปดาห์และเดือนที่จะถึงนี
1)การทำให้ช่องว่างจากการลาออกของฮาริริ กลายเป็นเรื่องปกติ อาจนำมาซึ่ง รัฐบาลผู้ดูแลที่เป็นอัมพาต และการขยายกำหนดวาระของรัฐสภาอีกครั้ง เช่นนี้ จะทำให้วิกฤติเลบานอน หยุดชะงัก โดยมันจะถูกเลื่อนเวลาไปจัดการในภายหลัง ทั้งนี้พิจารณาจากการวางลำดับความสำคัญของวิกฤติการณ์ต่างๆโดยสหรัฐฯ เช่น วิกฤติเยเมน และวิกฤติ GCC ตามความพยายามในการสกัดกั้นอิหร่านไม่ให้มีบทบาทไปมากกว่านี้
2) สถานการณ์ที่สอง คือการท้าทายริยาด และเลือกนายกรัฐมนตรีที่มีความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้า สถานการณ์เช่นนี้ จะทำให้ฮาริริ สามารถชักนำฝ่ายค้าน เพื่อต่อต้านคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้
3) สถานการณ์ที่สาม และมีประสิทธิผลมากที่สุด คือการสร้างรัฐบาลที่ปกครองโดยผู้เชี่ยวชาญหรือรัฐบาลแบบเทคโนเครตในระยะเปลี่ยนผ่าน นำโดยบุคคลที่นับถือนิกายสุนหนี่อย่างเป็นกลาง ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยฮาริริ และมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อจัดตั้งการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติขึ้น นี้จะช่วยให้ฮาริริ ทำงานได้อย่างอิสระ ในฐานะผู้สมัครที่ต่อต้านฮิซบุลลอฮ์โดยไม่มีข้อกำจัดของการปกครอง
มันไม่ชัดเจนว่าสหรัฐฯจะเลือกยืนอยู่ในตำแหน่งใด จากสถานการณ์ต่างๆข้างต้น; เจ้าหน้าที่ของสหรัฐกล่าวกับ Al-Monitor ว่า สิ่งที่วอชิงตันคาดหวัง คือ การทำให้ “กระบวนการทางการเมืองที่เป็นระเบียบ” เกิดขึ้นในเลบานอน
การยืดเวลาสำหรับการผจญภัยของกองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนโดยอิหร่านในสงครามซีเรีย ถือเป็นความเสี่ยงระดับภูมิภาคที่เป็นอันตราย และการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเบรุตกับดามัสกัสเป็นไปอย่างปกติ ไม่ควรถูกจัดว่ามีความสำคัญมากไปกว่า การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ
นอกจากนี้ ควรจะต้องตระหนักรู้ว่า การที่ซาอุดีอาระเบียได้หวนคืนสู่การเมืองเลบานอน หลังจากที่ห่างหายไปนาน มันอาจจะสายเกินไปสำหรับพวกเขา การควบคุมนโยบายของเลบานอน อาจไม่มีศักยภาพมากพอ สำหรับใช้ตอบโต้อิหร่าน หากปราศจากนโยบายของซีเรีย ทั้งนี้ผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งผูกมัดคณาธิปไตยเลบานอน ก็มีความแข็งแกร่งกว่า ความกดดันจากภายนอก
Source: al-monitor.com