เหลียวมองการตายของอดีตผู้นำตาลีบัน ความขัดแย้งในผู้นำคนใหม่ และอนาคตที่คลุมเครือ

2177

การเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด หลังจากการประกาศยืนยัน ในการตายของมุลลา มุฮัมมัด อุมัร อดีตผู้นำตาลีบัน   ทำให้เกิดประเด็นปัญหาต่างต่างๆ เช่น  ประเด็นเรื่องผู้นำคนใหม่ที่มีการพูดถึง  ข่าวคราวกรณีการตายของ ญะลาลุดดีน ฮักกอนี ผู้นำเครือข่ายฮักกอนี  อีกทั้งมีการเปิดเผยรายชื่อบุคคลสำคัญต่างๆในเครือของตาลีบันเพื่อจะชิงเก้าอี้ดำรงตำแหน่งผู้นำคนใหม่ของตาลีบัน   สิ่งเหล่านี้กำลังเข้าสู่ประเด็นที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเข้าสู่ห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ในกลุ่มตาลีบัน

กลุ่มเครือข่ายตาลีบันในอัฟกานิสถานและปากีสถานนั้น สามารถแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน  และกลุ่มใหญ่ๆเหล่านี้ต่างก็มีกลุ่มย่อยเล็กๆ อีกด้วย  แต่ทว่าในบรรดากลุ่มเหล่านี้ก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน  โดยเฉพาะมีเป้าหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อันเดียวกัน แต่ในวันนี้สิ่งที่ปรากฏตามสื่อ คือ กลุ่มต่างๆเหล่านี้เริ่มแตกคอกันและเริ่มมีความขัดแย้งกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนอย่างมาก  และในหลายกรณี เนื่องจากขาดข้อมูล  ไม่มีการศึกษาอย่างละเอียดในเรื่องของพวกเขา และความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงเกิดอุปสรรค์ปัญหาตามมาในหมู่พวกเขา
กลุ่มหลักๆดังกล่าว ประกอบด้วย

1   อัลกออิดะห์

2    ตาลีบันในปากีสถาน

3   ตาลีบันในอัฟกานิสถาน

4   กลุ่มที่อ้างตนว่าเป็นรัฐอิสลาม (ไอซิส)

จะอย่างไรก็ตามก็ยังมีการกลุ่มขบวนการต่อสู้เล็กๆในอัฟกานิสถานและปากีสถานที่ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งทั้งหมดล้วนได้รับอิทธิพลจากกลุ่มที่ใหญ่กว่าทั้งสิ้น  หรือบางครั้งมีเป้าหมายท้องถิ่น   ศาสนา และชาตินิยม

ทว่าในจำนวนสี่กลุ่มดังกล่าว  การปรากฏตัวของไอซิส ถือเป็นเรื่องใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี่เอง   แม้นว่าทางได้ออกมาการประกาศแสดงความหวาดกังวลอย่างเป็นทางการต่อความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงยิ่งนัก

ในหลายกรณี มีการนำเสนอบทความ ว่า ไอซิสได้ให้การสัตยาบันกับตาลีบันในอัฟกานิสถาน  และให้การบัยอัตกับ มุลลา มุฮัมมัด อุมัร อดีตผู้นำตาลีบัน  แต่ทว่ายังไม่มีการเปิดเผยรายงานดังกล่าวเลย ที่ว่า ไอซิสให้การบัยอัตและใกล้ชิดกับตาลีบัน   แต่รายงานในระดับภูมิภาคล้วนบ่งชี้ว่าทั้งสองกลุ่มมีความขัดแย้งกัน

กลุ่มตาลีบันในปากีสถาน เข้าสู่สนามแห่งการต่อสู้ในภูมิภาคเมื่อสิบกว่าปีก่อน  และหลังจากที่ ฮะกีมุลลอฮ์ มะห์สูด ผู้นำของพวกเขาถูกสังหาร เมื่อสองปีก่อน  ทำให้เกิดปัญหา สุญญากาศ ผู้นำ และความไร้เสถียรภาพของกลุ่มขึ้นมา
แกนนำคนสำคัญต่างๆของตาลีบัน มีความขัดแย้งกับกับมุลลา ฟัฏลุลลอฮ์  หรือเป็นที่รู้จักว่า มุลลา รอดีโยร์ อีกทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า “ญามาอะห์ อัลฮะห์รอร”  หมายถึง กลุ่มขบวนการอิสรภาพ  ซึ่งบางคนก็ออกจากกลุ่มดังกล่าว บ้างก็เข้าร่วมสมทบกับไอซิส

ทางด้านอัลกออิดะห์ เริ่มเสื่อมคลายความน่าเชื่อถือในระดับภูมิภาค หลังจากที่ อุสามะห์ บินลาเดน ถูกฆ่าตาย  นักวิเคราะห์ บางคนเผยว่า ไอมาน อัล ซะวาฮีรีย์ ผู้นำคนใหม่ ไม่สามารถมีบทบาท อิทธิพลและสร้างอำนาจที่แข็งแกร่งให้กลับคืนมาเหมือนยุคสมัยของอุสามะห์ ได้

ตาลีบันออกแถลงการณ์ว่า  มีการแต่งตั้งมุลลา อัคตาร์ มานซูร์ เป็นผู้นำกลุ่มคนใหม่ นับเป็นการเปลี่ยนถ่ายอำนาจครั้งสำคัญของกลุ่ม  การเข้ารับตำแหน่งของเขามีขึ้นขณะที่ตาลีบันกำลังเผชิญกระแสความแตกแยกภายในมากขึ้นทุกขณะและการแผ่ขยายอิทธิพลของกลุ่มไอซิส

ตอลีบานแถลงยืนยันการเสียชีวิตของมุลลา  อุมัร ผ่านเว็บไซต์ของกลุ่ม โดยระบุเพียงว่าเสียชีวิตเพราะเจ็บป่วย แต่ไม่ได้ระบุว่าเมื่อใด แต่รัฐบาลอัฟกานิสถานออกแถลงการณ์ก่อนหน้าเพียง 1 วันว่า ผู้นำตาลีบันเสียชีวิตในปากีสถานเมื่อสองปีก่อน

นายซิราจุดดิน ฮักกานี ผู้นำเครือข่ายฮักกานี พันธมิตรของกลุ่มตอลีบาน ที่สหรัฐตั้งค่าหัวถึง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนายไฮบาตุลลอฮ์ อาคุนด์ซาดา อดีตหัวหน้าศาลตาลีบัน  ถือ่าการถ่ายโอนอำนาจครั้งแรกของกลุ่มตอลีบาน มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลอัฟกานิสถานกำลังพยายามหาทางรื้อฟื้นการเจรจาสันติภาพ แถลงการณ์ของกลุ่มตอลีบานระบุว่า ขณะที่มุลลา อุมัร  ยังมีชีวิตอยู่ มุลลา มานซูร์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่ไว้ใจได้และเหมาะสมที่จะรับชอบภารกิจสำคัญ

อดีตสมาชิกตอลีบานกล่าวว่า มุลลา  มานซูร์เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มตอลีบานและเป็นผู้ที่มีแนวคิดสายกลาง สนับสนุนสันติภาพและการเจรจา เขาเชื่อว่า ภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่ กระบวนการสันติภาพจะแข็งแกร่งขึ้น และตอลีบานจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองในอัฟกานิสถาน.

ตาลีบัน ในอัฟกานิสถาน  :  สถานะภาพในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกรณีการเจรจาระหว่างรัฐบาลอัฟกานิสถานกับกลุ่มตาลีบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา   ทำให้ชื่อของกลุ่มการก่อการร้ายเหล่านี้ ถูกนำเสนออย่างต่อเนื่องเป็น และตกเป็นข่าวมากขึ้น  การประกาศยืนยันการตายของ มุลลา อุมัร ผู้นำกลุ่มตาลีบัน และ หัวหน้าคนใหม่ของกลุ่มตาลีบัน  เป็นฉนวนเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่  อีกทั้งมีรายงานถึงความขัดแย้งภายในที่เกิดขึ้น

จากการที่ทหารสหรัฐโจมตีอัฟกานิสถานและการพัฒนาการของตาลีบันในอัฟกานิสถานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อตัวของรัฐบาลใหม่ในอัฟกานิสถานหลังปี 2002  และการที่ผู้นำตาลีบันได้หลบหนีไปยังปากีสถาน  ทำให้กลุ่มดังกล่าวไม่มีอิทธิและอำนาจแข็งแกร่งเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

หลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น ทำให้กลุ่มตาลีบันเกิดสภาชูรอและสภาผู้นำขึ้นมา ในสองเขตพื้นที่ด้วยกัน  คือ สภาชูรอคุวัยตา  และสภาชูรอ เปชาวาร์  แต่สภาชูรอคุวัยตา มีบทบทและอิทธิพลมากกว่า

ในสภาเหล่านี้ มีหลายต่อหลายครั้งที่ตัวแทนของกลุ่มก่อการร้ายต่างๆในภูมิภาคเข้าร่วม โดยมีการร่วมร่างนโยบายทั่วไปในภาคปฏิบัติการ และดำเนินการเคลื่อนไหวร่วมกัน

การประกาศและการยืนยันข่าวการเสียชีวิตของ มุลลา อุมัร  ผู้นำกลุ่มตาลีบัน  และการหารือเกี่ยวกับผู้ที่สืบตำแหน่งผู้นำของพวกเขา โดยชู มุลลา มุฮัมมัด อัคตาร์ เป็นผู้นำ ซึ่งเขาในฐานะสมาชิกของสภาชูรอ Quetta   และผู้ใกล้ชิดกับมุลลา  อุมัร  อีกทั้งเป็นรองผู้นำของมุลลา อุมัร  ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีการพูดถึง

ซิรอญุดดีน ฮักกอนี  ลูกชายของญะลาลุดดีน ฮักกอนี ผู้นำชุดปฏิบัติการ ภายใต้ชื่อกลุ่มเครือข่าย “ฮักกอนี” และ “ฮัยบะตุลลอฮ์” ถูกเสนอให้เป็นรองผู้นำตาลีบันคนใหม่

การต่อต้านและกลุ่มผู้คัดค้าน

แม้นว่าจะมีการแต่งตั้งและให้การสัตยาบันกับผู้นำคนใหม่และรองผู้นำ แต่ก็มีกระแสข่าวว่า  ผู้อาวุโสและสมาชิกระดับสูงของตาลีบันจำนวนหนึ่งแสดงปฏิกิริยาต่อต้านและคัดค้านการแต่งตั้งครั้งนี้

มุลลา มันนา นิยาซี  สมาชิกระดับสูงคนหนึ่งของตาลีบัน ให้สัมภาษณ์กับ สำนักข่าว บีบีซี  ว่า มีบรรดาสมาชิกระดับสูงของตาลีบัน ที่คัดค้านและต่อต้าน มุลลา มันศูร  ผู้นำคนใหม่ เช่น มุฮัมมัด รอซัก ออคุน  มุฮัมมัด อับดุลญาลีล ออคุน   มุฮัมมัด ซอรีฟ ออคุน  มุฮัมมัด รอซูล ออคุน  มุลลา มุฮัมมัด ออคุน  และ เมาลาวี มุสลิม ฮักกอนี

ในคลิปเสียงหนึ่ง ที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นเสียงของมุลลา อุมัร  ว่า   มุลลา อุมัร ได้กำชับถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความเป็นเอกภาพ   และสำหรับการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่นั้น จะต้องคำนึงและให้เกียตริและอาศัยทัศนะความคิดเห็นจากบรรดาอุลามาอ์ นักต่อสู้ และบุคคลที่มีบทบาทหลักในการ “รัฐอิสลาม” เป็นบรรทัดฐานด้วย

เขายังกล่าวเสริมว่า ไม่มีบุคคลใดในครอบครัวของมุลลา อุมัร   ที่ให้การสัตยาบันกับผู้นำคนใหม่ และหากสภาพความขัดแย้งยังดำเนินการไปในลักษณะเช่นนี้อีก ก็จะไม่มีวันให้การสัตยาบันแก่ผู้ใด  อีกทั้งเรียกร้องบรรดาอุลามาอ์ให้หันหน้าร่วมกันหาแนวทางการแก้ปัญหาความแตกแยกที่เกิดขึ้น แทนเรื่องการสัตยาบัน

ขณะเดียวกัน มุลลา มันซูร  ดาดุลลอฮ์ อดีตผู้บัญชาการทหารของตาลีบัน ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนได้จัดตั้งกลุ่ม “มาฮาซ ฟาดาอี” ก็จัดอยู่ในหมู่ที่คัดค้านด้วยเช่นกัน

บางรายงาน อ้างจากแหล่งข่าวของอัฟกานิสถาน ว่า ในความเป็นจริงแล้วสมาชิกของกลุ่มดังกล่าว ได้กล่าวหาว่า มุลลา อัคตาร์( ผู้นำคนใหม่ของตาลีบัน) เป็นผู้ต้องสงสัยในการลอบสังหาร มุลลา อุมัร

ซึ่งล่าสุด ในแถลงการณ์ ของกลุ่มดังกล่าวเปิดเผยว่า  มุลลา อุมัร อดีตผู้นำตาลีบัน มิได้ตายแบบธรรมชาติ แต่ทว่า ถูกสมาชิกระดับสูงของกลุ่มตาลีบัน ลอบวางยาพิษ

กอรี ฮัมซะห์ โฆษกของกลุ่มดังกล่าว  เผย ว่า หลังจากที่แถลงการณ์ดังกล่าวออกมาว่า  มุลลา อัคตาร์ มุฮัมมัด มันศูร ผู้นำคนปัจจุบันของตาลีบัน  เป็นผู้จัดหายาพิษดังกล่าวให้กับ มุลลา อุมัร และเนื่องจากมุลลา อุมัร  กินยานี้เป็นประจำทำให้เสียชีวิต

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ในภูมิภาค ชี้ว่า การออกมาแสดงทัศนะดังกล่าว เพื่อสามารถสร้างแรงดึงดูดและมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่  อีกทั้งเพื่อลดกระแสที่จะมีการฟื้นฟูการเจรจาระหว่างกลุ่มตาลีบันกับรัฐบาลอัฟกานิสถานอีกด้วย

รายงานยังระบุว่า หัวหน้าตาลีบันในกาตาร์ลาออกไม่พอใจผู้นำคนใหม่

แหล่งข่าวระบุว่า  หัวหน้าสำนักงานทางการเมืองของกลุ่มตาลีบันในกาตาร์ที่อำนวยความสะดวกการเจรจาสันติภาพประกาศลาออก เพื่อแสดงความไม่พอใจการถ่ายโอนอำนาจให้แก่ผู้นำคนใหม่ หลังจากที่มีการประกาศเมื่อไม่กี่วันก่อนว่าผู้ก่อตั้งกลุ่มเสียชีวิตไปตั้งแต่ 2 ปีก่อน

นาย ทาเยบ อักฮา หัวหน้าสำนักงานทางการเมืองตอลีบานในกาตาร์ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลอัฟกานิสถานประกาศลาออกโดยให้เหตุผลว่า ตัดสินใจลาออกเพราะต้องการดำเนินชีวิตอย่างรู้ผิดชอบชั่วดีและยึดมั่นตามหลักการของนายโอมาร์ จากนี้เขาจะไม่เกี่ยวข้องกับแถลงการณ์ทุกอย่างของตาลีบันและจะไม่สนับสนุนทุกฝ่ายที่พัวพันกับความขัดแย้งภายในกลุ่มขณะนี้

นายอักฮาระบุด้วยว่า การเก็บเรื่องนายโอมาร์เสียชีวิตไว้เป็นความลับมานาน 2 ปีถือเป็นความผิดครั้งประวัติศาสตร์ และการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ควรได้รับมติเอกฉันท์จากฐานบัญชาการของกลุ่มในอัฟกานิสถาน

กลุ่มที่คัดค้านนายมานซูร์ มองว่าเขาและรอง 2 คนที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่สนิทสนมกับกองทัพปากีสถานที่มีประวัติสนับสนุนตอลีบานมาโดยตลอด และอาจบีบให้ตอลีบานเจรจาสันติภาพโดยตรงกับรัฐบาลอัฟกานิสถาน

ประเด็นที่น่าสนใจคือ แม้นมีรายงานที่อ้างว่า สำนักงานทางการเมองของตาลีบันในกาตาร์มีการประสานความร่วมมือกับสำนักงานทางการเมืองในคูวัยตา  ทว่า โฆษกของกลุ่ม มะฮาศ ฟาดออี กล่าวว่า อดีตผู้นำตาลีบัน เป็นผู้ต่อต้านสำนักงานทางการเมืองในกาตาร์

ภายใต้บริบทดังกล่าว หากพิจารณา จากการไม่ระบุวัน เวลาที่แน่นอนของการตายของมุลลา อุมัร  แล้ว   ไม่สามารถกล่าวถึงข้อเท็จจริงของคำกล่าวอ้างในการเปิดสำนักงานทางการเมืองในกาตาร์ได้ อีกทั้งไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่า อดีตผู้นำตาลีบัน เป็นผู้ต่อต้านและคัดค้านสำนักงานทางการเมืองในกาตาร์อีกเช่นกัน

อีกมุมหนึ่ง  การเปลี่ยนแปลงมันยิ่งทวีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  ความขัดแย้งต่างๆที่มีการรายงาน และนำเสนอ ระหว่างสำนักงานทางการเมืองตาลีบันในกาตาร์ กับกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิกของตาลีบัน ซึ่งล่าสุด มีการเจรจากับรัฐบาลอัฟกานิสถาน ที่ประเทศจีน และปากีสถาน

แม้นว่าบุคคลในกลุ่มตาลีบัน มีการประกาศการแต่งตั้งให้มุลลา อัคตาร์ เป็นผู้นำคนใหม่ของตาลีบัน  อีกทั้งมีการแพร่คลิปเสียงที่อ้างว่าเป็น เสียงของมุลลา อัคตาร์ ที่กล่าวว่า “ สันติภาพ คือ การโฆษณาชวนเชื่อของศัตรู”  และ กลุ่มตาลีบันเองก็ จะยังคงยืนหยัดต่อสู้ (ญิฮาด)ต่อไป เพื่อสถาปนา “ระบอบอิสลาม” ในอัฟกานิสถาน

ดังนั้นพอจะคาดคะเนว่า มุลลา อัคตาร์ และตัวแทนของเขาเองนี่แหละ ที่มีการพบปะเจรจากับตัวแทนสภาชูรอสันติภาพอัฟกานิสถาน ที่เมือง โมรี ปากีสถาน

ตามรายงานจากเจ้าหน้าที่ของสภาชูรอสันติภาพอัฟกานิสถาน เผยว่า ในการพบปะครั้งนั้น ระหว่างตัวแทนกลุ่มตาลีบัน ในเมือง โมรี  ว่า เจ้าหน้าที่ของสภาชูรอสันติภาพอัฟกานิสถาน รู้จักตัวแทนของตาลีบันทุกคน  และในการพบปะครั้งนี้ ยังมีตัวแทนของเครือข่าย ฮักกอนี เข้าร่วมด้วย

คำถาม

หากพิจารณาจากความสลับซับซ้อนที่เกิดขึ้นดังกล่าวแล้ว  ไม่สามารถกล่าวอย่างชัดเจนได้ว่า หนทางการเจรจาสันติภาพระหว่างตาลีบันกับรัฐบาลอัฟกานิสถาน จะราบรื่น หรือไม่???   อีกด้านหนึ่ง ตราบใดที่ยังไม่สามารถระบุหน้าที่ที่ชัดเจนเสียก่อน  และแล้วหากการเจรจายังคงดำเนินการต่อไป แล้วใครจะเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของกลุ่มตาลีบัน???

เช่นกันความคลุมเครือ ของคำถามดังกล่าว คือ  มุลลา อัคตาร์  มันซูร  ซึ่งได้มีตัวแทนของเขา เข้าร่วมเจรจาสันติภาพ ในเมือง โมรี ตาลีบันในปากีสถาน ครั้งนั้น จะให้การยอมรับการเจรจาดังกล่าวด้วยหรือไม่  และ คำพูดของเขาที่แสดงทัศนะออกมา หลังจากที่ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้นำคนใหม่ ที่ว่า “  เราจะทำการต่อสู้ (ญิฮาด)ต่อไป” นั้น เป็นเพียงแค่ความพยายามของเขาเพื่อควบคุมสถานการณ์และสยบความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านใช่หรือไม่ ?
ในขณะเดียวกันคำถามพื้นฐานที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราคือ      การประกาศข่าวการตายของ มุลลา อุมัร ในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ว่า จากบุคคลใด หรือกลุ่มใด  มันมีเป้าหมายและจุดประสงค์อันใด?

แน่นอนยิ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามแต่  ผลลัพธ์ที่สามารถจับต้องได้ และเห็นชัดคือ  ข่าวการตายของมุลลา อุมัร จะสามารถชะลอการเจรจาสันติภาพ และเปิดเผยความขัดแย้งภายในกลุ่มเครือข่ายของตาลีบัน    ซึ่ง มันย่อมไม่ส่งผลดีอย่างแน่นอน ในสภาพที่กลุ่มอัลกออิดะห์ ตกอยู่ในสถานะที่อ่อนแอกว่าอดีตที่ผ่านมา   กลุ่มตาลีบันในปากีสถาน และกลุ่มก่อการร้ายต่างๆทั้งในปากีสถานและอัฟกานิสถาน กำลังตกอยู่ในสภาพแห่งความอ่อนแอ  และทุกความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ย่อมส่งผลที่ดีต่อกลุ่มก่อการร้ายไอซิสที่กำลังแผ่ขยายอิทธิพลในภูมิภาค …..

Source http://www.bbc.com/persian/afghanistan/2015/08/150802_l30_afghanistan_taliban_new_developments