Alalam – นักข่าวและนักเขียนชาวอังกฤษ ย้ำว่า สถานการณ์ปัจจุบันของความขัดแย้งและสงครามในตะวันออกกลางที่ยังคงอยู่นั้น มันเอื้อผลประโยชน์ให้กับบางฝ่าย เช่นบางชาติอาหรับในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย
แพทริค เบิร์น เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ Independent ว่า สิ่งที่น่าแปลกใจที่สุดต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงล่าสุดในตะวันออกกลาง ส่อให้เห็นในความพยายามของซาอุฯ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลเชิงรากฐานในภูมิภาคโดยใช้อำนาจทางทหารเป็นที่ตั้ง ซึ่งประเทศที่แสดงบทบาทในการสร้างความขัดแย้งต่างๆในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าชาติใดอยู่เบื้องหลัง
เขากล่าวเสริมว่า ซาอุฯได้เริ่มโจมตีทำลายเยเมนทางอากาศ และในซีเรีย ก็ได้ร่วมมือกับตุรกีในการสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มสุดโต่ง อัลนุศราห์ ฟรอน์ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของอัลกออิดะห์ที่อยู่ในซีเรีย ซึ่งวันนี้ กลุ่มก่อการร้าย อัลนุศราห์ ฟรอน์ ก็ได้ยึดเมือง อะดะเลบ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย
เขากล่าวเสริมว่า ซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรรู้ว่า การโจมตีทางอากาศโดยปราศจากพันธมิตรทางทหาร จะทำให้พวกเขาไม่สามารถบรรลุไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ควรคำนึงว่า หากซาอุฯส่งกองกำลังภาคพื้นดินสู่เยเมนแล้ว มันจะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบละความวุ่นวายที่เกิดขึ้นมาแล้วในอัฟกานิสถานและอิรักอย่างแน่นอน
เขาได้ชี้ถึงเหตุผลของซาอุฯ ในการโจมตีเยเมน ว่า เหตุผลหลักคือ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมืองภายในของซาอุดีอาระเบีย “มุฏอวีย์ อัลรอชีด” อาจารย์ชาวซาอุฯ ประจำมหาลัยแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน “มุฮัมมัด บิน ซัลมาน” รัฐมนตรีกลาโหมของซาอุฯ และโอรสของกษัตริย์ ซัลมาน คนปัจจุบัน มีความพยายามที่จะทำให้ซาอุฯ กลายเป็นมหาอำนาจทางทหารในคาบสมุทรอาหรับอย่างเบ็ดเสร็จ และใช้วิธีการปฏิบัติการทางทหารในเยเมน บุกโจมตีเยเมนนั้น เพื่อ “ทำลายชาวชีอะห์และผู้สนับสนุนอิหร่านในเยเมน”
เขาได้ชี้ถึง การขยายบทบาทของซาอุดีอาระเบียในการสนับสนุนสาขาของอัลกออิดะห์ในซีเรีย ว่า ญามาล คอชักญี นักข่าวซาอุฯและที่ปรึกษาของรัฐบาล ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ นิวยอรก์ไทมส์ ว่า ซาอุฯและตุรกี ให้การสนับสนุน กลุ่ม อันนุศรา ฟรอน และกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ เพื่อสามารถยึดเมือง อะดะเลบ ในซีเรีย ซึ่งมีการประสานงานที่ดีในด้านข้อมูลระหว่างซาอุฯ กับตุรกีอย่างไม่เคยมีปรากฏมาก่อน
นักข่าวอังกฤษ ผู้นี้ ยังกล่าวเสริมว่า ประเด็นที่น่าแปลกคือ ซาอุฯไม่เคยออกมายอมรับอย่างเป็นทางการในการสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้เลย
เขากล่าวเสริมว่า ซาอุฯ ซึ่งปกครองระบอบกษัตริย์ ไม่ใช่ชาติเดียวในโลกนี้ ที่คิดว่า การสร้างสงครามภายนอกระยะสั้นๆ จะสามารถประสบชัยชนะได้ เนื่องจาก ในปี 1914 กษัตริย์เยอรมนี รัสเซีย ออสเตรีย ฮังการี ก็มีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน แต่ในที่สุดแล้วความหวังของพวกเขาก็เป็นอันล้มเหลว
เขากล่าวเสริมว่า บางครั้ง สามารถกล่าวได้ว่า บางที่ ซาอุฯ อาจจะตระหนักได้ว่า การทำลายและการสร้างความเสียหายประเทศชาติในตะวันออกกลางนั้น เป็นการปฏิบัติการที่ดีกว่าด้านอื่นๆของซาอุด้วยซ้ำไป