เปิดมุมมองใหม่  ว่าด้วย “ระบอบประชาธิปไตยในกรอบศาสนา” (  Religious democracy)

260

คำว่า ประชาธิปไตยในกรอบศาสนา” «مردم سالاری دینی» (  Religious democracy) เป็นคำศัพท์ใหม่ในวาทกรรมทางการเมืองของโลกที่ – แตกต่างจากคำต่างๆ เช่น สาธารณรัฐอิสลาม รัฐสภาอิสลาม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดแบบตะวันตก บวกกับพันธะ(เงื่อนไข)อิสลาม – พัฒนาขึ้นในบริบทของรากฐานทางการเมืองของศาสนาอิสลาม และได้รับอิทธิพลจากคำสอนของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) และแนวคิดแบบอาลาวีย์ (อิมามอาลี อ.) โดยมีเจตนาเพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนในด้านการเมืองการปกครองของสังคม และเพื่อหลีกเลี่ยงรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ และนำไปสู่การปฏิบัติตามหลักการ และค่านิยม  ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ระบบอิสลามแตกต่างจากต้นแบบเซคคิวลาร์ของตะวันตก  ภายใต้จุดประสงค์นี้ ในรัฐบาลอิสลามจึงมีการพิจารณาวิธีการใหม่ ที่ไม่ใช่เผด็จการ หรือ เสรีนิยมนี้  ซึ่งท่านผู้นำสูงสุดรัฐอิสลามอิหร่าน อิมามซัยยิด อาลี คาเมเนอี ได้ให้นิยามวิธีการปกครองนี้ว่า “ประชาธิปไตยในกรอบศาสนา” โดยท่านได้อธิบายว่า :

ประชาธิปไตย (ใต้กรอบศาสนา) นี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรากเหง้าของประชาธิปไตยแบบตะวันตก นี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง   ประการแรก ประชาธิปไตยในกรอบศาสนา ไม่ใช่สองสิ่ง มันไม่เหมือนกับการที่เราเอาประชาธิปไตยจากตะวันตกมาปักหมุดกับศาสนา เพื่อที่เราจะได้มีระบบที่สมบูรณ์  ไม่ใช่แบบนี้  แต่ทว่าประชาธิปไตยนี้เป็นของศาสนา ประชาธิปไตยในกรอบศาสนามีสองด้านที่เป็นองค์ประกอบหลัก – ด้านหนึ่งคือการก่อตัวของระบบนั้น เกิดขึ้นโดยเจตจำนงและการลงคะแนนเสียงของประชาชน นั่นหมายความว่าประชาชนเลือกระบบ พวกเขาเลือกตั้งรัฐบาล นี่คือสิ่งที่ตะวันตกอ้างและแน่นอนในตะวันตกคำกล่าวอ้างนี้ไม่เป็นความจริง คำกล่าวนี้มีพื้นฐานมาจากความคิดเห็นและคำพูดและการพินิจพิเคราะห์ และตัวอย่างของบุคคลสำคัญของวรรณกรรมตะวันตก (ทว่าในกรอบประชาธิปไตยที่เราหมายถึงนั้น..) ประชาชนเป็นหนึ่งในสองส่วนของประชาธิปไตยใต้ศาสนา กล่าวคือ ผู้คนต้องเลือก ต้องการรู้ และตัดสินใจเพื่อให้หน้าที่ทางศาสนาสำเร็จสำหรับพวกเขา ปราศจากการเข้าใจ การรับรู้และความต้อง การ มันย่อมไม่มีภาระหน้าที่และข้อผูกมัดใดๆ

“ในอีกด้านหนึ่งของบริบทของประชาธิปไตย (ในกรอบศาสนา) ก็คือ ตอนนี้คุณและฉันได้รับการเลือกตั้งแล้ว เรามีความรับผิดชอบที่จริงจังและแท้จริงต่อพวกเขา … “

นอกจากนั้น ผู้นำสูงสุด ยังกล่าวอีกว่า: “ประชาธิปไตยในกรอบศาสนา … เป็นความจริงเดียวในแก่นแท้ของระบบอิสลาม เพราะถ้าระบอบต้องการปฏิบัติบนพื้นฐานของศาสนาก็ไม่สามารถทำได้ หากไม่มีประชาชน  ในขณะเดียวกันการที่จะมีรัฐบาลประชาธิปไตยที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีศาสนา … ”

การอธิบายแนวคิดประชาธิปไตยในกรอบศาสนา โดยสังเขป สามารถสรุปได้ดังนี้:

ประชาธิปไตยในกรอบศาสนา หมายถึงรูปแบบการปกครองที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความชอบธรรมของพระเจ้า และการยอมรับของประชาชน และอยู่ในกรอบข้อบังคับของพระเจ้า และมีบทบาทในทิศทางของการวางแนวทางที่ถูกต้อง การมุ่งเน้นการบริการ(รับใช้ประชาชน) และการปูทางสำหรับการเติบโต และการพัฒนาทางวัตถุและจิตวิญญาณ และความเป็นเลิศ ซึ่งโมเดลวางอยู่บนสองเสาหลักด้วยกัน :

  1. ในด้านหนึ่งมีรากฐานมาจากคำสอนที่เป็นวิวรณ์(วะห์ยู)
  2. คำสอนเหล่านี้เรียกร้องผ่านเจตจำนงของประชาชน

ดังนั้นในระบบประชาธิปไตยในกรอบศาสนา ระบบการเมืองจึงมีรากฐานมาจากทั้งเสาหลักของพระเจ้าและของมนุษย์ และระบบนี้ เมื่อพิจารณาถึงหลักธรรมคำสอนของศาสนาอิสลาม ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล

หลักการของประชาธิปไตยในกรอบศาสนาคือ:

  1. หลักคุณธรรม. 2. หลักการชี้นำและแนะนำ 3. อำนาจอธิปไตยของพระเจ้า 4. ศรัทธาทางศาสนา. 5. การเลือกของประชาชน 6. อุดมคติ 7. หลักภาระหน้าที่ 8.ความเท่าเทียมกัน 9. หลักกฎหมาย 10. ความพึงพอใจ

ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยในกรอบศาสนา และประชาธิปไตยที่ไม่ได้อยู่ในกรอบศาสนา คือ:

) ความเหมือน:

  1. รู้จักสิทธิของประชาชนและเคารพประเทศชาติ
  2. วางรากฐานสำหรับการมีส่วนร่วมที่เป็นที่นิยมในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจทางการเมืองและสังคม
  3. กำหนดให้การเลือกตั้ง เป็นวิธีการทางกฎหมายในการใช้ระบอบประชาธิปไตย
  4. ยอมรับในคะแนนเสียงข้างมากในการบริหาร
  5. เคารพในเสรีภาพส่วนบุคคลและส่วนรวม
  6. การพัฒนาและการเติบโตที่ครอบคลุมและการเฟื่องฟูของความคิดสร้างสรรค์ในแง่ของความขัดแย้งของความคิดเห็นและปฏิสัมพันธ์ของความคิด

) ความแตกต่าง:

  1. ในระบอบประชาธิปไตยแบบฆราวาส อำนาจอธิปไตยของชาติเป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอน แต่ในระบอบประชาธิปไตยในกรอบศาสนานั้น ว่าด้วยการยอมรับอำนาจอธิปไตยที่สมบูรณ์ของพระเจ้าจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตยของชาติ
  2. ระบอบประชาธิปไตยแบบฆราวาส ใช้คะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์สัมบูรณ์ แต่ในระบอบประชาธิปไตยในกรอบศาสนาในมิตินิติบัญญัติการลงคะแนนเสียงข้างมากเป็นที่ยอมรับภายใต้กรอบของชารีอะห์
  3. ในระบอบประชาธิปไตยแบบฆราวาส อำนาจอธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก และสำคัญที่สุดจากประชาชนเหล่านั้น แต่ในระบอบประชาธิปไตยใต้กรอบศาสนา อำนาจอธิปไตยมาจากพระเจ้าเป็นอันดับแรก และสำคัญที่สุด และรองลงมาคืออำนาจอธิปไตยของประชาชนที่สอดคล้องกับอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า ไม่ใช่ตรงกันข้าม
  4. ในระบอบประชาธิปไตยแบบฆราวาส ศาสนาเป็นเพียงเรื่องของปัจเจกบุคคล แต่ในระบอบประชาธิปไตยในกรอบศาสนานั้น ศาสนาครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคลและสังคม
  5. ระบอบประชาธิปไตยแบบฆราวาส แตกต่างจากระบอบประชาธิปไตยในกรอบศาสนาในนิยามของมนุษย์และสิทธิของพวกเขาในแง่อื่น ๆ

ประเด็นสุดท้ายคือวิกฤตสามประการ ที่ได้ผลในการกำหนดทฤษฎีประชาธิปไตยในกรอบศาสนา:

  1. การหยุดชะงักทางทฤษฎีของความคิดทางการเมืองแบบตะวันตก 2. ทางตันของประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ 3. วิกฤตทางจิตวิญญาณและศาสนา

ไม่ว่าในกรณีใด ๆ “วันนี้ประชาธิปไตยในกรอบศาสนา ในสาธารณรัฐอิสลามเป็นคำใหม่ที่ดึงดูดความสนใจของหลายชาติ บุคคลและปัญญาชนของโลก”  ประชาธิปไตยนี้มีที่มาจากศาสนา และมีรากฐานทางศาสนาที่ลึกซึ้ง และผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐอิสลาม จะใช้ คำพูดนี้เสมอ(ประชาธิปไตยในกรอบศาสนา ) مردم سالاری دینی   ต่อรูปแบบการปกครองในอิหร่านไม่ใช่ ประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว และมันเป็นระบอบ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในโลก

source: hawzah