เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (ศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562) ซึ่งสถานการณ์ตะวันออกกลางที่น่าจับตามองประจำสัปดาห์ในช่วงนั้นโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ทรัมป์ปลดที่ปรึกษาสายเหยี่ยว เรื่องที่ทางซัยยิด มุกตะดา อัศศอดร์ เข้าพบผู้นำสูงสุดอิหร่าน แม้กระทั้งการที่ทรัมป์ประกาศให้การสนับสนุนซาอุฯหลังถูกโจมตีแหล่งน้ำมัน ในส่วนทางด้านอบูบักร บัฆดาดีย์ ที่อยากมีบทบาท เรื่องที่รัสเซีย อิหร่าน ตุรกี จัดประชุมหารือความมั่นคง รวมไปถึงกรณีที่แคชเมียร์ อินเดีย-ปากีสถาน และการที่เนทันยาฮูต้องการคะแนนเสียงเพิ่มเพื่อจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่มีน่าจับตามองเป็นอย่างมากเพราะอาจส่งผลกระทบตามมา
1.ทรัมป์ปลดที่ปรึกษาสายเหยี่ยว
เริ่มด้วยต้นเดือนกันยายน 2562 ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ได้ประกาศปลด จอห์นโบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกาแบบฉับพลันกระทันหัน มีสองกระแสต่อมาคือ ทรัมป์ปลดโบลตันเพราะไม่ลงรอยกันในเรื่องนโยบาย บางกระแสรายงานว่า ปลดเพราะขัดแย้งกันส่วนตัว ส่วนฝั่งโบลตันออกมาโพสต์ทวิตว่า ตนได้ขอลาออกด้วยตัวเอง
มุมมองทางเลือก : ในวงการ รู้จักกันดีว่า โบลตัน เป็นสายเหยี่ยวด้านความมั่นคง เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นนโยบายเชิงรุกยุทธศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยบุช คนที่ติดตามข่าวจะทราบว่า นโยบายที่ดุดัน แข็ง และท้าทายด้วยสงคราม ล้วนมาจากโบลตัน ซึ่งถือเป็นมันสมอง ผู้ออกแบบและวางแผน การที่ทรัมป์ปลดโบลตันกลางอากาศจึงมองได้ว่า สหรัฐกำลังเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของตนเอง โดยเปลี่ยนจากสายเหยี่ยวเป็นสายพิราบ นักวิเคราะห์ข่าวหลายสำนักก็ออกมาพูดกันในลักษณะนี้ แต่จากประวัติศาสตร์การเมืองตั้งแต่สมัยที่ทรัมป์เข้ารับตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะล่าสุด คือ เรื่องการความขัดแย้งกันเองในประเทศ G7 การกล่าวหาปากีสถานโจมตีแหล่งน้ำมันซาอุฯ กลับชี้ในทางตรงข้าม แค่ปลดโบลตันออกมันไม่ได้ช่วยเสริมภาพลักษณ์นกพิราบสีขาวให้สหรัฐแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่ควรเปลี่ยนคือนโยบาย ไม่ใช่บุคคล อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ปธน.โดนัล ทรัมป์ ได้ตั้งนาย โรเบิร์ต โอเบรียน มาเป็นที่ศึกษาด้านความมั่นคงคนใหม่ โรเบิร์ต เป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาต่อรอง และกิจการตัวประกัน หากทรัมป์พิจารณาความสามารถของคน ให้เหมาะกับงาน ก็จะทำให้เราเห็นทิศทางว่า สหรัฐจะเล่นบทบาหนักเจรจาต่อรองในภายภาคหน้ง
2.ซัยยิด มุกตะดา อัศศอดร์ เข้าพบผู้นำสูงสุดอิหร่าน
เมื่อช่วงต้นกันยาฯ ซัยยิด มุกตะดา อัล ศอดร์(Muqtada al-Sadr)ได้ปรากฎตัวในงานรำลึกถึงโศกนาฎกรรมของท่านฮูเซน เขาได้นั่งอยู่ข้างผู้นำสูงสุดของอิหร่าน การมาเยือนครั้งนี้ทำให้เกิดกระแสและคำถามมากมายทั้งในและนอกประเทศ ทางมิตรและศัตรูของอิหร่าน
มุมมองทางเลือก : ก่อนหน้านี้ ซัยยิด มุกตะดา อัศศอดร์ เอนเอียงไปทางอาหรับ และได้แสดงความเห็นที่ต่างจากอิหร่าน แต่ในเวลา อัศศอดร์ มีความเห็นไม่ลงรอยกับกลุ่ม PMU ตามที่รายงานข่าวได้ระบุเรื่องที่ไม่ลงรอยคือเรื่องทัพอากาศ แต่ที่ลึกซึ้งกว่านั้นคือ “แนวคิดชาตินิยมอาหรับ” การปรากฎตัวของเขาแสดงให้เห็นว่าอัศศอดร์กำลังหารือเรื่องการเมืองกับผู้นำสูงสุด และทันที่ภาพการปรากฎตัวในที่สาธารณะถูกเผยแพร่ ฝ่ายชาตินิยมอาหรับ ก็ออกมาแสดงความเห็นในทันทีว่า”คนที่นั่งอยู่ต่ำกว่าผู้นำอิหร่าน ย่อมไม่คู่ควรเป็นผู้นำเรา” บ้างก็ออกมาแสดงความเห็นในลักษณะว่า”เขาได้ลดคุณค่าตัวเองต่อชาวอิรัคทั้งหมดเสียแล้ว”ที่กระทุ้งโลกตะวันออกกลางคือ กระแสชาตินิยมอาหรับเป็นวัฒนธรรมที่ศาสดาอิสลามได้ทำลายลงไปเมื่อ 1400 ปีก่อน อย่างไรก็ตามในอิสราเอล และสหรัฐ และซาอุฯรู้ดีว่า การเข้าหาผู้นำสูงสุดของอัศศอดร์ หมายความว่าอะไร
3.ทรัมป์ ประกาศให้การสนับสนุนซาอุฯด้านความมั่นคงหลังถูกโจมตีแหล่งน้ำมัน
เสาร์ที่ 13 กันยายน 62 ซาอุดิอาราเบีย ด้วยจรวดที่ถูกยิงจากโดรน ในตอนเช้าวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น การโจมตีมีผลต่อการผลิตน้ำมันดิบป้อนสู่ตลาดโลก การโจมตีดังกล่าวได้ทำลายแหล่งผลิตน้ำมันหลายแห่งของซาอุดิอาราเบีย ทำให้ปปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของซาอุฯลดลง 5.7 ล้านบาเรลต่อวัน กลุ่มฮูษีย์ได้ออกมารับผิดชอบต่อการโจมตีแต่สหรัฐและเครือพันธมิตรประกาศว่าเป็นฝีมืออิหร่าน ในขณะที่อิหร่านออกมาปฏิเสธเรื่องนี้ ล่าสุด เมื่อวันพุทธที่ 18 กันยายน 2562 ซะรีฟได้ส่งข้อความแก่ผู้กล่าวหาอิหร่านว่า”สงครามเศรษฐกิจของสหรัฐฯต่ออิหร่านทวีความรุนแรงขึ้น ทรัมป์ออกคำสั่งให้เพิ่มการคว่ำบาตรต่ออิหร่านมากขึ้น นี่ถือเป็นการยอมรับว่า อเมริกาประชาชนสามัญอย่างจงใจ นี่คือการก่อการร้ายทางเศรษฐกิจอย่างผิดกฎหมายและละเมิดมนุษยธรรม จงยุติสงครามและความหวาดกลัวเสีย นั่นคือ ความปลอดภัยสำหรับทุกคน” นอกจากนี้ยังได้ส่งสาส์นต่อสหรัฐว่า”ที่ผ่านมา สหรัฐปฏิเสธว่าการโจมตีแหล่งน้ำมันเป็นการสู้กลับของชาวเยเมนที่ต้องทนกับสงครามอันเลวร้ายมานานถึง 4 ปีครึ่ง อาจเป็นเพราะพวกเขาอายที่กองทัพดอลลาร์ไม่สามารถชนะชาวเยเมนได้ และการโทษอิหร่านก็ไม่ได้ช่วยอะไร ยุติสงครามคือทางออกของทุกสิ่ง
มุมมองทางเลือก : เรื่องนี้ต้องเสพข่าวสองด้าน ไมค์ ปอมปีโป เริ่มเปิดคนแรกๆโดยโพสต์ทวิตว่า อิหร่านอยู่เบื้องหลัง จากนั้น ซะริฟ รมต.ต่างประเทศอิหร่าน ก็ตอบโต้กลับว่า สหรัฐฯกำลังเปลี่ยนความพ่ายแพ้ขั้นสูงสุดเป็นโกหกขั้นสูงสุด และทรัมป์ก็ประกาศว่า อิหร่านเคยยิงโดรนเราตก และอ้างว่ารุกล้ำน่านฟ้า ทั้งๆที่มันไม่ได้บินไปล้ำน่านฟ้าอิหร่าน แล้ววิ่งไปอิสราเอล เนทันยาฮูประกาศว่า เราพร้อมเสมอ พร้อมดูแลความมั่นคงของประเทศตัวเองแบบ 360 องศา ตบท้ายด้วยโฆษกซาอุฯออกมาแถลงว่า จรวดไม่ได้ถูกยิงจากเยเมน ต่อมา UN ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น ก็ออกมาแถลงว่าทรัมป์กล่าวหาอิหร่านแบบลอยๆอย่างนี้ไม่ถูกต้อง ที่น่าคิด คือ แทบจะไม่มีใครพูดถึงเรื่องที่ซาอุฯโจมตีเยเมน มาเกือบ 5 ปี มานี้เลย ทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน เด็กกำพร้า คนบาดเจ็บนับล้านในเยเมน กลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย
4.อบูบักร บัฆดาดีย์ อยากมีบทบาท
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 62 อบูบักร์บัฆดาดีย์ ปล่อยคลิปเสียง ว่าพวกตนยังไม่พินาศ และจะปฏิบัติการตามเป้าหมายต่อไป เขาได้ออกมาเรียงให้ทหารพ่ายศึก IS กลับมาทำงานก่อวินาศกรรมอีกครั้ง โดยมี 11 ประเทศเป็นเป้าหมาย มี 63 ภารกิจที่จะดำเนินการภายในสามวัน และจะยึด 10 จังหวัดเป้าหมายเป็นของพวกตน นอกจากนี้ ผู้นำ IS ยังเตือนทัพอเมริกา ที่ประจำอยู่ใน มาลี ไนจีเรีย เยเมน ตูนีเซีย ลิเบีย และประเทศละแวกนั้น ว่า กองทัพสหรัฐจะต้องเผชิญกับชะตากรรมเดียวกันที่เจอในอิรัค อัฟกานิสถาน และซีเรีย หลังจากผ่านไปได้ สิบวัน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
มุมอมงทางเลือก : ในทางสังคมในภูมิภาคตะวันออกกลาง IS ไม่สามารถครองใจประชาชน หรือ หลอกให้หลงเชื่อได้อีก ทางด้านทรัพยากรก็ไม่เพียงพอที่จะต่อสู้กับกองกำลังใหญ่ที่พร้อมจะยำ IS ทันทีที่พวกเขาปรากฎตัว แม่ทัพนายกองที่เคยมีก็โดนอิหร่าน ซีเรีย กวาดแทบไม่มีเหลือแล้ว หากจะมีหางโผล่ในที่ใหม่ ผู้เขียนมองว่า คงโผล่ได้ไม่นาน ถ้าเป็นตะวันออกกลาง แต่หากเป็นโซนเอเซีย ยังมีกลุ่มพันธมิตรที่เคยชูธง IS หลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ถูกทางการมาเลเซีย อินโดฯ และฟิลิปปินส์ เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด จึงไม่มีแนวโน้มที่แข็งแรงพอจะพิสูจน์ว่า พวกเขาจะสร้างกองทัพได้สำเร็จก่อนโดนทำลาย
5.รัสเซีย อิหร่าน ตุรกี จัดประชุมหารือความมั่นคง รูฮานี เยือนนิวยอร์ค
วันที่ 16 กันยายน 2562 นาย วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย นายรอญิบ ฏอยยิบ อูรดูกาน ผู้นำตุรกี และ นาย ฮะซัน รูฮานีย์ ประธานาธิบดีอิหร่าน ได้เข้าร่วมการประชุมในเมืองอังการา ในครั้งนี้ผู้นำทางสามประเทศจะหารือกันในหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องซีเรีย โดยเฉพาะเรื่องการลดภาวะแรงกดดันและความตึงเครียดของประเทศนี้ และจะมีการหารือถึงปัญหาสำคัญในภูมิภาค มีการคุยนอกรอบระหว่าง อิหร่าน-รัสเซีย อิหร่าน-ตุรกี ต่อจากนั้น ปธน.ฮะซัน รูฮานีย์ ได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าประชุมสหประชาชาติ หลังจากประกาศจุดยืน นโยบาย และประเด็นสำคัญคือ อิหร่านเสนอ ให้กลับมาเจรจา P5+1 โดยมีเงื่อนไขคือ ก่อนจะเจรจา สหรัฐจะต้องยกเลิกการคว่ำบาตร ซึ่งทางฝั่ง ปธน.สหรัฐ ก็ออกมาตอบโต้ แน่นอนเราไม่ตกลง เราจะไม่ยกเลิกการคว่ำบาตร
มุมมองทางเลือก เริ่มจาก ปูติน ยกอัลกุรอ่าน เตือนสติชาติมุสลิม โดยบอกว่า ความขัดแย้ง ในซีเรีย เยเมน ต้องแก่แบบพี่น้องทะเลาะก่อน เพราะอัลกุรอ่านสอนไว้ จากนั้น รัสเซีย ก็แสดงความเห็นว่า สหรัฐกล่าวหาอิหร่าน เรื่องโจมตีแหล่งน้ำมัน ส่วนทางตุรกี ดูจากผลการแถลงของ ปธน.เออร์โดกาน ดูเหมือนจะเป็นการสงวนท่าที ป้องกันตัวเองบวกวางเงื่อนไข และแสดงความเห็นเล็กน้อยมมากกว่า เขาประกาศว่า ถ้าภายในสองอาทิตย์นี้ เรายังไม่ได้บทสรุปในเขตปลอดภัย เราจะดำเนินการตามแผนที่เราได้วางไว้” แต่ก็มีนโยบายการแก้ปัญหาที่เสนอว่า ปัจจัยสำคัญที่จำให้ปัญหาในซีเรียคลี่คลาย คือ การรักษาความเป็นเอกภาพนอกจากนี้ คำแถลงของเออร์โดกาน ยังเรียกร้องให้ยุโรปสนับสนุนยุทธการในตะวันออกกลาง ส่วนทางด้านอิหร่าน ยังมีจุดยืนเดิม คือ การแก้ปัญหาซีเรีย สามารถทำได้ด้วยหนทางการเมือง โดยการให้ประชาชนชาวซีเรียทั้งหมดเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
ในส่วนของประเด็นการกลับมาเจรจากันอีกครั้งหนึ่งในแผนปฏิบัติการร่วมเบ็ดเสร็จ ซึ่งกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐได้เคยทำข้อตกลงไว้กับประเทศอิหร่านและสหรัฐได้ถอนตัวไปเมื่อปีที่แล้วทำให้ทางอิหร่านมีมุมมองว่าในการเจรจาครั้งต่อไปไม่อาจมีอะไรมายืนยันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าอิหร่านจะสามารถไว้ใจยุโรปได้เลย เพราะทันทีที่ทรัมป์ถอนตัวจากข้อตกลง ยุโรปก็ไม่ทำตามสัญญา แน่นอนว่าเรื่องนี้ทางฝั่งตะวันตกก็ออกมาพูดในทำนองเดียวกันว่าอิหร่าต่างหากที่ไม่รักษาสัญญา แต่ถ้าหากเราใช้แว่นตาแห่งประวัติศาสตร์ก็จะพบว่า ทุกครั้งที่เจรจาตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ฝรั่งมักจะยกเลิกศัญญาก่อนเสมอตั้งแต่สมัยซัดดัม เยเมนในวันนี้ก็เหมือนกับอิหร่านที่ต้องสู้ศึกในสงคราม 8 ปี อิรัก-อิหร่าน เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เพราะในครั้งนั้นสหรัฐก็สนับสนุนซัดดัมและมองว่าอิหร่านเป็นชาติก่อการร้ายเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์จะเป็นอย่างไรเราจะติดตามกันต่อในสัปดาห์หน้า
6.แคชเมียร์ อินเดีย-ปากีสถาน
ในสัปดาห์นี้ความไม่ลงรอยกันยังคงต่อเนื่องในเรื่องปัญหาแคชเมียร์ ระหว่าง อินเดีย และ ปากีสถาน มีอุณหภมิที่ร้อนแรงขึ้น หลังจาก อินเดีย ปิดล้อมแคชเมียร์ และยกเลิกกฎหมายมาตรา 370 ล่าสุด อิมราน ข่าน นายกรัฐมนตรีปากีสถานก็ได้ออกมากล่าวเตือน ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าอินเดีย กับ ปากีสถาน ทำสงครามกัน แต่ในคราวนี้ อิมราน ชี้สามประเด็นในเชิง ป้องกันตัว หนึ่งคือ ปากีสถาน จะสนับสนุนสิทธิพลเมืองชาวแคชเมียร์ สองคือ มีโอกาศที่อินเดียจะสร้างสถานการณ์และโยนความผิดให้ปากีสถาน สามคือ ถ้าสงครามเกิดขึ้น มันจะกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ เพิ่มเติมคือ นายกฯปากีสถาน เรียกร้องให้ทรัมป์เข้ามาเจรจา เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยปัญหาข้อพิพาทนี้ เขากล่าวว่า”ถ้าหากทรัมป์ได้เข้ามาภาคสนามในเหตุการณ์แคชเมียร์ ก็สามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างตลอดกาล”
มุมมองทางเลือก : หากทรัมป์กระโดดเข้ามารับหน้านี่เป็น”คนกลาง” มีแนวโน้มว่า ทรัมป์จะให้การสนับสนุนทางอินเดีย มากกว่า ปากีสถาน เพราะ ช่วงต้นเดือนกันยายนไม่นานมานี้เอง ปธน.สหรัฐ เพิ่งกล่าวโทษปากีสถาน ว่า”สงครามการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐในอัฟกานิสถานไม่ประสบความสำเร็จ เพราะปากีสถานไม่ทำอะไร แต่หากพิจารณากันในมุมมองของแนวคิดระหว่าง มนุษยชน กับ อรรถประโยชน์นิยม หากสหรัฐเลือกแนวคิดมนุษยชน ทรัมป์อาจเสียผลประโยชน์ต่ออินเดีย แต่หากเลือกแนวคิดอรรถประโยชน์นิยม บวก American First การสนับสนุนอินเดีย จะมีผลประโยชน์ทางการค้ากับสหรัฐ แต่สังคมก็มองว่า สหรัฐ เลือกผลประโยชน์มากกว่าศีลธรรม
7.เนทันยาฮู ต้องการคะแนนเสียงเพิ่มเพื่อจัดตั้งรัฐบาล
ผลการเลือกตั้งในอิสราเอล ได้บทสรุปว่า พรรคของเนทันยาฮู ยังไม่ได้คะแนนมมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาล โดยในครั้งนี้ พรรคลิคุดของเบนจามิน เนทันยาฮู ได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคบลูแอนไวท์ ของอดีตนายพลทหารเบนนี แกนซ์ ซึ่งคาดว่าพรรคลิคุด จะได้เก้าอี้ในสภา 31 ที่นั่ง ส่วนพรรคบลูแอนไวท์ 32 ที่นั่ง
มุมมองทางเลือก : ผลการนับคะแนนทำให้ไม่มีพรรคใดได้ที่นั่งมากพอจะจัดตั้งรัฐบาล เพราะทั้งสองพรรคได้รับเก่าอี้ น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งไม่ถึง 60 จาก 120 ที่นั่ง มองได้ว่า ประชาชนอิสราเอลหน่ายกับนโยบาย หรือ วิตกต่อนโยบายควบคุมเขตจอร์แดน และเลบานอน ของเนทันยาฮู และ เบนนี แกนซ์ ก็มีภาพลักษณ์เป็นทหารมากกว่านักการเมือง แต่เราก็ต้องติดตามต่อไปว่าสุดท้ายแล้ว อิสราเอลจะได้ใครมาเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล
source:
https://www.abnewstoday.com/13278
https://www.bangkokbiznews.com